วันที่ 17 – 21 มีนาคม 2549 ณ วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
หนึ่งบทเรียน ที่อยากนำเสนอ คือ
การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
“วิปัสสนากรรมฐาน”
วิปัสสนากรรมฐาน คือ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจตามสภาพธรรม
ตามความเป็นจริง โดยฝึกปฏิบัติ 3 แบบ ได้แก่ ฝึกกิริยา
บริกรรม และรู้สึกในอาการนั้นๆ
เป็นการเจริญสติเฝ้าตามดูและระลึกรู้ความรู้สึกทางร่างกายและจิตใจอย่างถูกตรง
ไม่คิดปรุงแต่ง วิเคราะห์วิจารณ์ใดๆ
เป็นการทำความรู้สึกตัวอย่างชัดเจน จากอากัปกิริยาทุกขณะเดินจงกรม
“ขวา – ย่าง –หนอ” “ซ้าย – ย่าง – หนอ”
ขณะเปล่งเสียงก็มีสติให้รู้ถึงกิริยาที่ยกขาขวาเมื่อกล่าวคำว่า "ขวา"
รู้ขณะกำลังย่างขาขวาออกไปพร้อมเสียงที่ผัสสะอวัยวะรับเสียง(หู) ว่า "ย่าง"
รู้ขณะกำลังจรดปลายเท้า และสิ้นสุด..รู้ขณะสัมผัสพื้นด้วยส้นเท้า เมื่อสิ้นเสียงว่า "หนอ"
เป็นการมีสติตื่นรู้...ปลุกปฏิภาณไหวพริบให้ได้เจริญพัฒนา
ได้เข้าใจใน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ...รู้ว่า เมื่อยหนอ เจ็บหนอ
ง่วงหนอ ... เป็นการรับรู้และเรียนรู้ “ ละ” และ “ วาง ”
ถึงสรรพสิ่งที่ .. .ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่
และดับไป
สิ่งที่ได้จากบทเรียนครั้งนี้... ดิฉันขอนำบทประพันธ์ของ พระครูพุทธิสารสุนทร (พระอาจารย์บุญกู้
อนุวฑฒโน) วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพ ในหนังสือ " ตามรอยธรรม
ย้ำรอยครู " หน้า 98
...ศึกษาจาก...ห้องสมุดวัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
มาเป็นบทสรุปความรู้ที่ได้รับ
เหตุเพราะ...เป็นเกร็ดธรรม
...บทประพันธ์ที่เรียบเรียงไว้ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งค่ะ
จิตคนเราดุจลิงนิ่งไม่ได้
คุมจิตไว้จะได้สมอารมณ์หวัง
สำรวมตา ระวังปาก รู้จักฟัง
จิตคอยย้ำ เพ่งกรรมฐานงานสำคัญ
การภาวนาแม้เหนื่อยยาก
ยอมลำบากอย่าท้อถอย
สุดทางที่รอคอย
คืออมตสุขสิ้นทุกข์ใจ