"วิทยากร " ต่างจาก "วิทยากรกระบวนการ" อย่างไร


"วิทยากรกระบวนการ... เหมือนชาวนา กับเมล็ดข้าว"

 

              ย้อนไปเมื่อ วันที่ 1พ.ค.49 เวลา 9.00- 16.00 น. และ เวลา 19.00- 21.00น. เราใช้เวลากับหัวข้อเรียน ว่าด้วย เรื่อง Action Learning กับวิทยากรกระบวนการ ยาวนานมาก ประมาณ 8 ชั่วยาม ณ ห้องประชุมโรงแรมเจมส์ลอร์ด (จากหลักสูตร นสส.เช่นเดิม) วิทยากร โดย อาจารย์ปกรณ์ สุวรรณประภา

             สาระโดยสรุป อาจารย์บอกว่า คือ หลักการการเป็นวิทยากร ต่างจากการเป็น วิทยากรกระบวนการ ตรงที่...วิทยากร เป็นนักตอบ ส่วนวิทยากรกระบวนการ เป็นนักถาม  แต่เรื่องของเรื่องที่น่ารู้ กว่าคำสรุปสั้นๆ คือ

      

สิ่งที่พึงปฏิบัติสำหรับวิทยากรกระบวนการ คือ


1.วิทยากรกระบวนการต้องมองหาเป้าหมายให้ได้
หลักการ คือ กำหนดเป้าหมายร่วม และที่สำคัญ คือ เป้าหมายต้องชัดเจน


2. ต้องตั้งคำถามเป็น
คำถามที่ดีควรใช้ภาษาชาวบ้านและเป็นคำถามเชิงบวก
 หลักการ คือ มองทุกคำตอบ เป็นคำถาม หรืออาจกล่าวได้ว่า มองหาคำถาม จากคำตอบ


3. ควบคุมกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสูงสุด
สิ่งที่วิทยากรกระบวนการพึงบอก... คือ ทุกคนมีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

คนเป็นวิทยากรจึงไม่พึงแบ่งแยกคนฟัง

การสร้างการมีส่วนร่วม

อาจใช้ FSC(Future Search Conference) หรือ  AIC (Appreciate Influence Conference)  เทคนิคที่ใช้ คือ 


            3.1.Time line หมายถึง ใช้การเล่าเรื่อง
 ทั้งนี้อาจเป็นการเล่าเรื่องความสำเร็จในอดีต (น่าจะเป็นความหมายเดียวกับ success story )
และการเล่าเรื่องของอนาคต  ซึ่งอาจารย์ปกรณ์ ใช้คำว่า Scenario Technique เพื่อมองจากปัจจุบันไปสู่อนาคต โดย...คิดให้ไกล มองให้เห็น Best case

            3.2.ใช้ SWOT Analysis (S = strength W = weakness  O = Opportunity T = threat) เข้ามาช่วยการวางแผนมองให้ละเอียดและลึกซึ้งมากขึ้น

            3.3.ใช้ทฤษฎีต้นไม้ เพื่อการเรียนรู้  นั่นคือ ราก เปรียบเสมือน วิธีคิด   ลำต้น เปรียบเสมือน โครงสร้าง (คนอยู่ภายในโครงสร้าง) และ ใบ ดอก  เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น
 
และสุดท้าย คือ

4. สรุปรวบยอด  โดยการสรุปจะพูด สองส่วน คือ พูดสิ่งที่ผ่านมา และพูดถึงสิ่งที่จะทำต่อ

        นอกจากนี้ทักษะสำคัญของวิทยากรกระบวนการที่ต้องมีภายใต้ กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างสูงสุด นั่น คือ ทักษะการอ่านใจ  และการทลายกรอบความคิดเดิม (Paradigm) เพราะมนุษย์มักจะยึดติดกรอบและวิธีคิดแบบเดิม  วิธีทลายกรอบ (Paradigm)  คือ  การปล่อยวาง (อุเบกขา) ความสำเร็จในอดีต จึงจะมองเห็นความสำเร็จในอนาคต

        ท้ายสุด อาจารย์ กล่าวว่า " วิทยากรกระบวนการ... เหมือนชาวนา กับเมล็ดข้าว
ชาวนา ไม่สามารถทำให้เมล็ดข้าวงอกได้   แต่สามารถเตรียมดิน น้ำ และปัจจัยอื่นๆ ที่เอื้อต่อการงอกของเมล็ดข้าวได้ "

        ฉันใดก็ฉันนั้น... การจัดการความรู้... คงเป็นงานแต่นี้และต่อๆไป

ที่เราได้เตรียมนา  เตรียมดิน เตรียมน้ำ และหว่านเมล็ดข้าว กันแล้ว  

เหลือเพียงฝันของเราชาว KMทุกท่าน ทุกคน ที่รอวัน "ข้าวออกรวง”  เพื่อเราจะชื่นชมร่วมกัน ณ ...ที่นี่...ประเทศไทย


                       



 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28684เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2006 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่อง กระบวนการกลุ่ม ก็มีที่ให้เรียนรู้ในเวปอีกมากมาย นะคะ ที่นี่ก็เป็นแนวคิดการทำกระบวนการกลุ่ม ของ ภก.ประชาสรรค์ แสนภักดี ที่ http://www.prachasan.com/ideaandido/IdeaJune2005.pdf ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ได้เรียนรู้มากเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท