การวิจัยเพื่อชุมชน


เรียนรู้ถึงการวิจัยชีวิต,วิจัยที่ประสมประสานระหว่างแนวความคิด ทฤษฎี และสิ่งที่ดีในชุมชน,พึ่งพาอาศัยทุก ๆ อย่างซึ่งกัน,พลังที่เหมาะสม เข้มแข็ง และ ยั่งยืนกับทุกสิ่งอย่าง,“ความสุข” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกๆฝ่ายร่วมกันให้และร่วมกันรับ

 


การวิจัยคือกระบวนการค้นหาความจริง ค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีกๆๆ จนกระทั่งได้สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมกับ ผู้นำไปใช้และผู้ที่ได้รับผลกระทบกับสิ่งที่นำใช้นั้น”


การทำงานในครั้งนี้ นักศึกษานอกจากเรียนระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจในเชิงคุณภาพแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมแล้ว ยังได้เรียนรู้ถึงการวิจัยชีวิตพร้อมกันไปด้วย พร้อมกันนั้นยังได้ประยุกต์และหัดใช้วิชาความรู้ตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเป็นวิชาตัดกระดาษ วิชาเย็บปักถักร้อย การพูด การยืน การเดินในที่สาธารณะ การปรับตัว วิชาความรู้ตั้งแต่เรียนประถม มัธยม จนกระทั่งปริญญาตรี


การทำวิจัยที่ภาษานักวิชาการเขาชอบเรียกกันติดปากว่า “พา (PAR)”เป็นการวิจัยเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ปัญหาในชุมชนเพราะเวลานักศึกษาที่มาเรียนเขาก็จะมีปัญหาหรือโจทย์วิจัยติดตัวของเขามาอยู่แล้วนั่นก็คือ ปัญหาของชุมชน

PAR เป็นการวิจัยที่ประสมประสานระหว่างแนวความคิด ทฤษฎี และสิ่งที่ดีในชุมชน

ดังนั้นองค์ประกอบของ PAR ก็จะต้องมีเจ้าของความคิด มีทฤษฎี มีหลักวิชาการและสำคัญที่สุดคือเจ้าของปัญหาก็คือชุมชน เข้ามาร่วมมือร่วมใจกันทำงาน

การวิจัยแบบ “พา” เป็นความหมายที่สมบูรณ์อยู่ในตัวของตัวมันเองอยู่แล้วเพราะในการทำงานครั้งนี้นิยมได้ว่าพึ่งพาทุกคนทุกส่วนทุกองค์กรที่จะนำมากันทำงานแล้วตั้งแต่ต้น ตั้งแต่การวางแผนจะต้องมี

ส่วน1 คือความคิดภูมิปัญญา

การปฏิบัติการจะต้องพึ่งพาสรรพกำลังทั้งทางด้านร่างกาย วัสดุ และทุกอย่าง ที่มีอยู่ในชุมเป็นคำว่า "ที่มีอยู่ในชุมชน" เพราะสิ่งที่มีในชุมชนไม่ใช้สิ่งที่ใครนำเอาเข้าไปแต่สิ่งที่เป็นส่วนของหลายๆ สิ่งที่ชุมชนมีหรือที่เรียกว่าแผนชุมชนนั้นเอง

เมื่อประกอบกับการร่วมกันในการตรวจสอบความติดตามประเมินผลและแก้ไขในทุกๆ ขั้นตอนหรือกระบวนการวางแผนแบบพึ่งพาอาศัยทุก ๆ อย่างซึ่งกันและกันแล้วนั้นสิ่งที่จะได้ตามมาก็คือ

“พลัง”

ซึ่งเป็นที่พลังที่เหมาะสม เข้มแข็ง และ ยั่งยืนกับทุกสิ่งอย่างที่ก็พึ่งพาอาศัยกัน

จากนั้นก็จะมาถึงจุดสุดยอดหรือหัวใจที่พบเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นกลไกในการซึ่งไม่เป็นเฉพาะแต่ในการทำงานครั้งทุกสิ่ง ทุกอย่าง คือ “ผลประโยชน์”

ไม่ว่าจะเป็นผลงาน แผนชีวิต แผนชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนั่นก็คือ “ความสุข” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกๆฝ่ายร่วมกันให้และร่วมกันรับ “ยิ้ม”

รอยยิ้มในการทำงานก็จะเกิดขึ้นกับทุก ๆ คนซึ่งเป็นรอยยิ้มที่เกิดขึ้นภายในหัวใจผ่านออกมา แต่ไม่ใช่รอยยิ้มมีจะหาได้ทั่ว ๆ ไปของคนที่ร่วมกันทำสิ่งที่เรียกว่า “งานแบบมีส่วนร่วม”ที่ผ่องถ่ายผ่านไดอารี่เล่มนี้ซึ่งเป็นเล่มแรกแต่คงจะไม่ใช่เล่มสุดท้ายของพวกเรา


อ.ปภังกร  วงศ์ชิดวรรณ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

หมายเลขบันทึก: 28674เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2006 03:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

เรียน อาจารย์ปภังกร

     ยินดีต้อนรับสู่ชุมชน "นักส่งเสริมกาเกษตร" ครับ    

     ทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร, กรมส่งเสริมการเกษตร (ส่วนกลาง) และภาคีเครือข่าย  กำลัง ลปรร. นำกระบวนการวิจัย PAR มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานประจำ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาอาชีพทางการเกษตร
     ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในบันทึกของเพื่อนๆ ในชุมชนนี้ด้วยนะครับ

สวัสดีครับคุณสิงห์ป่าสัก

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับที่ได้แลกเปลี่ยนกัน

ดีใจมาก ๆ ครับที่ได้เห็นกำลังสำคัญของจังหวัด

ผมก็เป็นคนกำแพงเพชรเหมือนกันครับ บ้านอยู่คลองลาน

แต่ตอนนี้มาทำงานอยู่ที่อุตรดิตถ์ ฝากเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจังหวัดของเราด้วยนะครับ

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท