การจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Learning: PAL) ส่วนหนึ่งจากท่าสักไดอารี่ วิจัยชุมชน


มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น,สร้างให้นักศึกษารู้จักตนเองและท้องถิ่นของตนเอง,การทำงานร่วมกัน ทำให้เรารู้จักกันมากขึ้น

การจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Learning:PAL)

          ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการจัดการเรียนการสอนสำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสร้างให้เขารู้จักตนเอง รู้จักคนรอบข้างรู้อุปนิสัยจุดเด่น จุดด้อย ให้เขาได้วิเคราะห์ตนเองให้เขาได้รู้จักตนเอง “ปัญหาที่แก้ยากมากที่สุดก็ คือ ปัญหาที่เราไม่รู้ว่าปัญหามันคืออะไร” ถ้าเราจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เขาได้รู้จักปัญหาของตนเอง จะทำให้เขาได้รู้ปัญหาที่แท้จริงของตนเองซึ่งเป็นปัจจัยหลักหรือปัจจัยแรกที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหา


                ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนแบบ PAL นี้ จะต้องมีการเตรียมการอย่างดีที่สุด ทำให้สุดกำลังเหมือนกับการถอนหญ้าคาที่จะต้องกำให้แน่นแล้วดึงให้สุดกำลัง ถ้ากำแบบหลวม ๆ คงจะถอนหญ้าคาไม่ขึ้น แล้วหญ้าคาก็ยังบาดมือเราอีก ดังนั้นเราจะต้องคิดอยู่เสมอว่าจะมุ่งประโยชน์แก่นักศึกษาเป็นหลัก จัดกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งให้นักศึกษาได้คิด ได้ทำ ได้รู้จักแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างปัญญาของตนเอง จะเห็นได้ว่าการเตรียมงานครั้งเดียวแต่ว่าจะได้ประโยชน์หลายอย่างนักศึกษาได้รับประโยชน์ ชุมชน มหาวิทยาลัย ตัวเรา สังคม และ ประเทศชาติ เพราะมันก็จะเข้าไปแก้ไขปัญหาจัดกระบวนการคิดทุกอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
                การทำงานร่วมกัน ทำให้เรารู้จักกันมากขึ้น ทำให้ทุกคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ในองค์กร ในชุมชนหรือในหมู่บ้านทั่วๆไป รู้จักนิสัยใจคอซึ่งกันและกันมากขึ้น เพื่อนรู้จักเพื่อนมากขึ้น เพื่อนรักเพื่อนมากขึ้น รู้จักใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันไป รู้จักใช้ความสามารถโดยเฉพาะรู้จักใช้ปัญญาของผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ชุมชนของเราก้าวไปสู่ความสุขที่แท้จริงได้

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ



ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท