การวิเคราะห์และสรุปผล มีขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม 2548 ณ ห้องประชุมคณะวิทยาการจัดการ 13101 ซึ่งการสรุปและวิเคราะห์ผลในวันนี้ ได้มีการเชิญตัวแทนจากฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาร่วมรับฟัง วิเคราะห์ วิพากษ์ เสนอแนะให้ความคิด รวมถึงเติมเต็มให้งานวิจัยในครั้งนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ และตัวแทนจากท่าสัก ชุมชนที่น่ารักของพวกเรา รวมถึงอาจารย์ในคณะวิทยาการจัดการ เดินทางมาร่วมงานอย่างนี้ด้วยใจจริง ๆ กิจกรรมในวันนั้นได้เริ่มต้นขึ้นในเวลาประมาณ 10.30 น. ได้มีการเล่าถึงกิจกรรมในการทำงานครั้งนี้ตั้งแต่กิจกรรมแรกการตัดสินใจในการทำโครงการ การวางแผนดำเนินงาน จนกระทั่งมาถึงในวันนี้ ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมรองสุดท้าย (ก่อนการเขียนรายงาน) จากนั้นทั้งในส่วนของหน่วยงานราชการก็คือพัฒนาชุมชนจังหวัด ชุมชนและนักวิชาการ ได้ร่วมกันวิพากษ์ วิจารณ์ เสนอแนะข้อคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก ไม่เฉพาะแต่กับงานวิจัยครั้งนี้ ตัวนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมสรุปโครงการในวันนั้น ก็ได้รับความรู้เพิ่มเติมและเห็นภาพในชุมชนมากยิ่งขึ้น
“ครับในส่วนของผม ถ้าหากว่าเรามองไป ตอนนี้เราจะมาว่าถึง ถ้าชุมชนที่หมู่บ้าน ตำบล ว่าชุมชนคราวนี้ถ้าหากว่าเศรษฐกิจก็เหมือนกับอาจารย์ได้ดำเนินไปเมื่อกี้ว่าในเรื่องของรายได้ เพราะฉะนั้นตัวที่เป็นตัววัดของเศรษฐกิจน่าจะเป็นเรื่องของรายได้เป็นหลักหลังจากนั้น คราวนี้ในส่วนของเศรษฐกิจชุมชนก็คือ อย่างในหมู่บ้านก็คงจะหมายถึงว่า ชาวบ้าน มีรายได้เท่าไหร่ ต่อคนต่อปี ตอนนี้เราก็หาอยู่นะครับว่า ก็คือถ้าหากว่ารายได้ของครัวเรือนต่ำกว่า 20,000 บาทต่อคนต่อปีก็ถือว่า ครัวเรือนนั้นเป็นครัวเรือนที่จัดว่ายากจน นะครับ คือเส้นความยากจนอยู่ที่ 20,000 บาทต่อคนต่อปี เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็ควรจะพูดถึงในส่วนของรายได้นะครับ คราวนี้ในส่วนของเศรษฐกิจตรงนี้ เราจะดูกันหลายอย่างว่าทำอย่างไรที่จะทำให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้นมันจะต้องรวมด้วยกัน 3 อย่าง ด้วยกัน อันแรกก็ควรจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน นะครับ ตอนนี้ละครับอันนี้มีความสำคัญเพราะว่าเดี๋ยวนี้หลาย ๆ แห่งจะใช้ในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายเพราะว่าบางที การสร้างรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นมันอาจจะไม่ได้อย่าง เช่น อย่างที่เราปลูกข้าวกันทุกวัน บางทีข้าวราคาอย่างที่ท่าสัก เพราะผมก็อยู่ท่าสักเหมือนกัน แล้วก็ทำไร่ทำนา แถว ๆ ท่าสักเหมือนกัน ข้าวก็คงจะไม่ขึ้นสักเท่าไหร่หรอกครับแต่ว่าทำอย่างไรถึงจะลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ถ้าเราลดค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับปุ๋ย เราเคยไปดูงานที่คอรุมมาแล้ว คือปุ๋ยชีวภาพต่างๆ ถ้าเราลดตรงนี้ได้ก็เหมือนว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นตรงนี้ ส่วนหนึ่งเพราะเราเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง แต่ว่า การขายก็ขายในราคาเท่าเดิม แต่ถ้าเราไปใช้ปุ๋ยเคมีไปใช้สารเคมีต่าง ๆ ต้นทุนเป็นไงครับ สูง พอขายแล้วเป็นไงครับ มันอาจจะส่งผลในส่วนของกำไรก็ได้ครับ ก็คงจะน้อยลง แต่ก็เป็นการสร้างรายได้ เศรษฐกิจก็คือ รายได้ของประชาชนตรงนี้ คราวนี้ ถ้าดูรายได้อย่างเดียวก็เป็นไปไม่ได้นะครับ ก็คงจะดูส่วนอื่น ๆ ด้วยนะครับ เช่น ดูเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย แต่ว่าความเป็นอยู่ของประชาชนและคุณภาพชีวิตของประชาชนเนี่ยดีไหม นะครับ แต่ตอนนี้ก็ต้องดูส่วนนั้นด้วย ถ้าหากว่าสุขภาพดี นะครับ สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี โอกาสที่จะไปสร้างเสริมรายได้ต่าง ๆ มันก็นะดีขึ้นนะครับ แต่ถ้าหากว่าภาพรวมคนจะพูดถึงในส่วนรายได้ประชาชน เป็นหลักในส่วนที่ผมจะพูดคือ เรื่องความยากจนก็คือ ต่ำกว่า 20,000 แต่ถ้าหากว่าพ้นจาก 20,000 ก็คือ จะเป็นครัวเรือนที่อาจจะไม่ใช่ร่ำรวยแต่ว่า พ้นจากเส้นความยากจน ตอนนี้ของ จังหวัด อุตรดิตถ์เรา การสำรวนข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานในข้อมูล (จปถ.) แต่ในปี 2548 เราสำรวจครัวเรือนทั้งหมด 78,000 กว่าครัวเรือน อุตรดิตถ์และเฉพาะนอกเขตเทศบาล ในส่วนของชุมชนที่อยู่นอกเขตเทศบาล ตอนนี้เราเหลือครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อคนต่อปี เหลือประมาณ 3,541 ครัวเรือน ที่รายได้ต่ำกว่า 20,000 นอกนั้นก็พ้นขีดตรงนี้ เพราะว่าถ้าดูแล้วจะเป็นครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จะอยู่ในส่วนของน้ำปาด และอีกส่วนหนึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่า รายได้ดี ทำนาปี เกือบ ๆ 3 ครั้ง แต่ทั้งนี้ในส่วนของท่าสักมันมีอยู่ถ้าหากที่อยู่ติดกับลำน้ำน่าน ทำนาเกือบ 3 ครั้ง ตอนนี้อีกส่วนหนึ่ง คือ ที่เลยไปทางที่จะไปหมู่ 10 ตรงนั้นคือน้ำจะไม่ถึง เพราะฉะนั้นก็จะมีในส่วนของชุมชนตอนนี้ก็จะมี รายได้ที่ตกเกณฑ์อันนี้ก็อยากจะนำมาเรียนให้ทราบว่า คงจะพูดถึงในส่วนของรายได้ ไว้ก่อนนะครับ” (คุณกุศล เกษประสิทธิ หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์)
“ครับในส่วนของผม ผมมองว่า เศรษฐกิจชุมชนในหมู่บ้าน ก็คือปัญหาหนี้สิน เพราะผมอยู่ในกองทุนจะรู้ว่า ชาวบ้านมีหนี้สินกันไหม แล้วเราเป็นหนี้สามารถชำระกันได้ไหม อันนี้เป็นหลักครับ ถ้าในปีใดที่เราเก็บหนี้ได้ รวดเร็วแล้วไม่มีปัญหา แสดงว่าไม่มีปัญหา ก็คือ ปีนั้นเศรษฐกิจดี ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับหลักราคาผลผลิตของการเกษตรเป็นหลัก แต่สิ่งที่สำคัญเราเอารายได้ของราคาผลผลิต เรารับรายได้มั่นคงที่อยู่จะทำยังไงถึงจะรู้ว่า มีรายได้เพิ่มขึ้นรายจ่ายในส่วนของสารเคมี เช่น พวกเกษตรอินทรีย์ เกษตรชีวภาพ “ (คุณกฤษดากร กระเสาร์ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์)
“ครับตอนนั้นก็ได้คุยกับทางคอรุม ว่าตอนนี้กฎหมายมันยังไม่ออกมาคือ ถ้ากฎหมายออกมา ก็มีปัญหาต่อผู้ผลิตสารชีวภาพ ตรงนี้แหล่ะครับ แต่ว่าถ้าหากว่าลองทำแล้ว แล้วเราใช้เองในครัวเรือนหรือในชุมชนโดยทีไม่ต้องขาย แต่ว่าอาจจะทำร่วมกันและเรียนรู้ร่วมกัน ก็นำสิทธิตรงนี้ไปใช้กันคงไม่ผิดกฎหมายกันในลักษณะนี้ ถ้าหากว่ามีการจำหน่ายตรงนี้คือกฎหมายตรงนี้ยังไม่รับรองถ้า หากว่ามีกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันแล้ว ก็สร้างทั้งปุ๋ยชีวภาพและสารเคมีแล้วออกมาใช้ในส่วนของพืชผัก และส่วนของการทำนา นะครับ ตรงนี้ถ้าใช้เองนี้ก็คงไม่ผิด เพราะว่า มันช่วยลด ความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ด้วย แล้วก็ลดมลภาวะที่จะเป็นพิษเป็นภัยกับชาวบ้านด้วย แทนที่สูตรสารเคมีที่เป็นพิษเป็นภัยทุกวันนี้ที่เราเป็นโรคมาก ในทุกวันนี้ไม่ว่าโรคทางเดินหายใจ หรือว่า โรคมะเร็งต่าง ๆ นี้มันก็เกิดจากไอ้พวกสารเคมีพวกนั้น แต่ถ้าหาว่าเราใช้สารพวกนี้นะครับก็จะทำให้มลพิษและก็มลภาวะต่าง ๆ และก็โรงเรือนกระจกต่าง ๆ มันก็จะเบาบางลงหรืออาจะลดน้อยลงไปตรงนี้ ประโยชน์มันอาจจะมากกว่า ในอนาคตหากเรามีโรงเรือนดี มีการรับรอง คือตอนแรกที่เค้าไม่รับเองก็คือว่า ผลผลิตออกมามีคุณภาพไหมในส่วนของตลาดมีปุ๋ยปลอม ถ้าหากว่ามีตัวที่ทดสอบคุณภาพว่ามีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ที่มันเหมาะสม ตามหลักของทางเกษตร แล้วก็สารเคมีที่จะเป็นประโยชน์กับ พืชตรงนั้นมันจะ น้อยลง” (คุณพนมคุ้มโท : ประธานกองทุนหมู่บ้านหมู่1 บ้านท่าสัก และผู้จัดการสถาบันการเงินชุมชนบ้านท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์)
“จะตัดค่าใช้จ่ายเรื่องการซื้อข้าวกินของชาวนาที่ปลูกข้าวอยู่แล้วอย่างไรดี หรือต้องซื้อข้าวกินตลอดไป”
“คือจริง ๆ แล้วทั้งพิชัยที่จริงแล้วข้าว กข ไม่นิยมที่จะเอามาบริโภคเพราะว่ามันแข็งอย่างที่ว่า แต่ในตรงนี้ถ้าคุยกันทั้งพิชัยก็ยังจะต้องซื้ออยู่ คราวนี้ถ้าหากว่ามันมีส่วนหนึ่งจะต้องทำข้าวให้ได้เช่น หมู่ที่จะทำเกี่ยวกับเรื่องนารับฝนคือจะใช้ของ กข ไม่ได้ จะต้องอาศัยน้ำแต่ถ้าเป็นส่วนที่ทำนาอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ที่จะทำข้าวนาปีนะได้ พวกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวหมอมะลิอาจจะไม่ใช่บ้านเรา อาจจะนำมาแปลรูปเป็นข้าวสาร แต่ว่าต้องขายข้าวอยู่ดีแหละมันก็มีผลต่อข้าวที่ปลูก เพราะว่าถ้าปลูกทั้งนาปีด้วย กข ด้วย คือเกสร ที่เราคุยกัน ที่ผมอยุ่ตรงนั้น 20 ปี คือเกสรของข้าว กข เมื่อมาผสมกับข้าวนาปีปั๊ปมันก็จะทำให้ข้าวที่อ่อนนิ่มส่วนหนึ่ง กับข้าวแข็งเมื่อผสมกันก็จะเป็นข้าวแข็งเพราะฉะนั้นโอกาสที่จะกินข้าวนิ้ม ๆ เหมือนกับเมื่อก่อนที่เฉพาะทำนาปีอย่างเดียวมันไม่อ่อนนิ้มอย่างนั้น เพราะฉะนั้นถ้าปลูกในพื้นที่เดียวกัน มันถูกผสมเกสรก็จะทำให้ข้าวนั้นแข็งไปด้วย ถ้าหากจะแก้ไขจริง ๆ ต้อแบ่งเป็นโซน จะต้องปลูกห่างไกลจากข้าว กข คงต้องทำกันจริง ๆ ต้องแบ่งโซนแบ่งอะไรกัน”
(คุณชูจิตต์ เหมาะประไพพันธ์ : เลขานุการกองทุนหมู่บ้าน บ้านท่าสัก)
“ความจริงข้าว กข ทางการเขาทำการส่งเสริม ในการปลูก ถ้าปลูกไปนาน ๆ มันจะกลาย อย่างที่บอกว่าต้องแบ่งโซนกัน บางที่มันพากันไปได้อยู่ ผมมีแนวคิดที่นอกกรอบนิดหนึ่ง เมื่อกี่ที่วังดินมีข้าวที่พี่น้องสามารถกินได้เป็นข้าวนุ่ม เพราะฉะนั้นกระบวนการที่เชื่อมโยงนอกเขตชุมชนมันน่าจะเกิดขึ้นในแนวคิดของ แอ็คเคาน์เทรด (Account Trade) คือการแลกเปลี่ยนสินค้า แนวคิดว่า ถ้าคนในชุมชนอุตรดิตถ์ก็มีข้าวที่ดีกว่า หมายถึงข้าววังดินที่ยังบริโภคได้น่าจะแลกเปลี่ยนกันได้ อาจจะเอาสินค้าแลกสินค้า ถ้าเป็นข้าวแข็งแลกข้าวอ่อนถ้าที่น้องวังดินอยากจะกินข้าวแข็งเพื่อบริหารฟัน หรือเอาสินค้าอื่นของท่าสักมาแลกเปลี่ยนเพื่อที่จะเอาข้าวมาบริโภค เราไม่ต้องให้ไปซื้อที่โลตัส หรือ พวกบริษัทข้าวชาติ คือพวกโลตัส สร้างผุดขึ้นมาเยอะแยะพวกพี่น้องชุมชนก็เกิดปัญหา อีกมุมมองหนึ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับท่าสัก” (คุณกฤษดากร กระเสาร์ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์)
แล้วกิจกรรมในช่วงเช้าก็จบลงในเวลาประมาณ 12.20 น.
ไม่มีความเห็น