สรท.และก.ช. เสนอกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันควรมีตำแหน่งนักรังสีฯ 3,540 ตำแหน่ง


เรื่องตำแหน่งของนักรังสีการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้ไม่มีกรอบตำแหน่งให้บรรจุใหม่ และไม่มีการปรับปรุงให้เพียงพอ อีกปัญหาหนึ่งคือ การปรับปรุงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฯ เป็นนักรังสีการแพทย์ จะต้องลดระดับลงมา ทำให้ดูเหมือนไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ที่ไปพัฒนาความรู้เพื่อบริการประชาชนในหน่วยงาน ซึ่งขณะลาศึกษานั้นเงินเดือนก็ไม่ได้ขึ้นอยู่แล้ว ปัญหาสำคัญทั้งสองประการนี้ได้มีการย้ำว่า ควรมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

จาก RT News ปีที่ 7 ฉบับที่ 19 ประจำเดือน มีนาคม พุทธศักราช 2549

     ตามที่สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย (สรท) ได้ดำเนินการสำรวจสภาวะการณ์ของรังสีเทคนิคไทยในปัจจุบัน ซึ่ง RT News ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับผลการสำรวจไปแล้วใน RT News ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549 นับเป็นโอกาสที่สอดคล้องกันอย่างดีที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประสานให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนงานต่างๆ สำหรับจัดกิจกรรม World Health Day 2006 โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้ และได้มีการจัดประชุมผู้เกี่ยวข้องไปแล้วเมื่อ 29 ธันวาคม 2548 ซึ่งสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคเข้าร่วมประชุมด้วย โดยตั้งบนพื้นฐานข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งล่าสุดดังกล่าวนั้น
|     โดยที่การประชุมในครั้งนั้น มีการสรุปแนวทางในการทำงานไว้หลายอย่าง และที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาชีพรังสีเทคนิคคือ ได้มีการขอความร่วมมือให้ผู้แทนทุกวิชาชีพจัดทำสรุปประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะต่างๆ ส่งให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายในต้นเดือนมกราคม 2549 เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุขในภาพรวม ดังนั้น ก.ช.และสรท. จึงได้ดำเนินการจัดส่งข้อมูลตามที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขต้องการทราบไปแล้ว
     ต่อเรื่องนี้ นายสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคฯ กล่าวว่า "ที่ผ่านมา สมาคมรังสีเทคนิคฯได้ตระหนักดีถึงความเดือดร้อนของสมาชิกฯ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยสมาคมฯได้ดำเนินการเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ผมได้ประสานงานใกล้ชิดกับ รศ.จิตต์ชัย สุริยะไชยากร ประธาน ก.ช. และที่ปรึกษาสมาคมรังสีเทคนิคฯ เพราะเห็นว่าเรื่องนี้มีผลกระทบโดยตรงกับวิชาชีพของเราในระยะยาว และต้องการให้มีแนวทางปฏิบัติหรือการเคลื่อนไหวต่างๆเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สมาคมฯได้สนับสนุนให้มีการหาข้อมูลรังสีเทคนิคในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้ว่าเป็นอย่างไรเพื่อให้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนและการตัดสินใจว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งเราก็ได้รับความกรุณาจากท่านประธาน ก.ช. รับทำตรงนี้ให้ครับ ต้องขอขอบคุณประธาน ก.ช.เป็นอย่างสูง " เรื่องเดียวกันนี้ประธานก.ช.เปิดเผยว่า "จากข้อมูลที่ได้ทำการสำรวจสภาวะการณ์รังสีเทคนิคไทยล่าสุด โดยความสนับสนุนอย่างดีจากสมาคมรังสีเทคนิคฯ ขณะนี้ผมได้ทำเรื่องเสนอไปให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2549 ทั้งนี้เพื่อให้ข้อเสนอต่างๆนั้นไปในแนวทางอันเดียวกันตามที่ได้หารือกับนายกสมาคมรังสีเทคนิคฯ คือในระบบงานที่เราเกี่ยวข้องนั้นยังมีปัญหามากและยังขาดตำแหน่งงานอยู่อีกมากเช่นกัน ซึ่งในการเสนอครั้งนี้ เราได้สะท้อนให้กระทรวงสาธารณสุขเห็นปัญหาต่างๆและแนวทางแก้ไข"
     ประเด็นปัญหาสำคัญที่ได้ทำการเสนอไปยัง สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข คือ เรื่องตำแหน่งของนักรังสีการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้ไม่มีกรอบตำแหน่งให้บรรจุใหม่ และไม่มีการปรับปรุงให้เพียงพอ อีกปัญหาหนึ่งคือ การปรับปรุงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฯ เป็นนักรังสีการแพทย์ จะต้องลดระดับลงมา ทำให้ดูเหมือนไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ที่ไปพัฒนาความรู้เพื่อบริการประชาชนในหน่วยงาน ซึ่งขณะลาศึกษานั้นเงินเดือนก็ไม่ได้ขึ้นอยู่แล้ว ปัญหาสำคัญทั้งสองประการนี้ได้มีการย้ำว่า ควรมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
     แนวทางการแก้ปัญหาที่เสนอไปยัง สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข คือ
     ประการที่หนึ่ง ควรตั้งกรอบบรรจุตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลปะฯ โดยให้เป็นไปตามจำนวนเครื่องมือรังสีที่ใช้ในการบริการผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หมายความว่า โรงพยาบาลใดมีเครื่องมือรังสีจำนวนมาก ก็ควรมีตำแหน่งนักรังสีฯมาก ดังแสดงในตารางข้างล่างนี้ ซึ่งแสดงจำนวนตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ที่ควรมีในปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 3,540 ตำแหน่ง โดยที่ปัจจุบันมีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ 1,929 ตำแหน่ง และตำแหน่งนักรังสีฯ 712 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีการครองเรียบร้อยแล้วตามที่ RT News ได้เสนอข่าวไปแล้ว

 ประเภท
โรงพยาบาล

 จำนวน
โรงพยาบาล
(แห่ง)

 จำนวนคน/แห่ง
(คน)

 จำนวนตำแหน่ง
(คน)

 รพ.ศูนย์

 25

18 

450 

 รพ.ทั่วไปกลุ่ม 1

 27

216 

 รพ.ทั่วไปกลุ่ม 2

 43

 12

 516

 รพ.ชุมชนขนาด
120-160 เตียง

 22

110 

 รพ.ชุมชนขนาด
60-90 เตียง

 204

1020 

 รพ.ชุมชนขนาด
10-30 เตียง

 409

1228 

 

 

 รวม

 3540

     ประการที่สอง ควรมีการปรับปรุงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฯ ที่มีวุฒิ วท.บ.(รังสีเทคนิค) และมีใบประกอบโรคศิลปะฯแล้ว บรรจุเป็นนักรังสีการแพทย์โดยไม่ต้องมีการลดระดับลง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ทำงานทางด้านรังสีการแพทย์
     นอกจากนี้ ยังมีภาระกิจต่อเนื่องที่สมาคมรังสีเทคนิคฯ และคณะกรรมการวิชาชีพฯจะต้องร่วมกันกระทำต่อไปอีก เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมและการจัดทำ work plan ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขตลอดปี 2549 โดยเฉพาะ การทำแผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุขในภาพรวมของประเทศ ครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน ในระยะเวลา 10 ปี ทั้งระยะเร่งด่วนและระยะยาว กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่สามารถตอบสนองต่อการแก้ปัญหากำลังคนได้ ซึ่ง RT News จะได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใก้ลชิด และจะได้นำเสนอต่อไปเมื่อมีความก้าวหน้าเกิดขึ้น

หมายเลขบันทึก: 28688เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2006 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ดีมากเลยค่ะ และขอเป็นกำลังใจหนุนให้การทำงานครั้งนีเป็นสำเร็จด้วยนะคะ และคนที่ทำงานขอให้เอาจริงเอาจังนะค่ะ เพื่อ RT ที่ยิ่งใหญ่

อยากให้ชาวรังสีเราหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันครับไม่ควรมีการแยก2ปี/4ปีหรือแยกสถาบันกัน   จะได้เข้มแข็งเหมือนสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยครับ

ถ้าทำสำเร็จจะเป็นกำลังใจในปฎิบัติงานต่อไป เพราะการไปศึกษาต่อเพิ่มเติมต้องเสียสละหลายๆด้านอยู่แล้ว และศักยภาพในการทำงานของ 2 ปี/4ปี ก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ และตอนนี้ผู้ที่กำลังศึกษาต่อก็ยังไม่รู้ว่าจะได้ตำแหน่งไหม แนวทางเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะได้ตำแหน่งยังไงก็ขอฝากทางผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยนะคะ

จบ 4 ปีค่ะ ทำงานในตำแหน่งนักรังสี(ลูกจ้างชั่วคราว) มาหลายปีแล้วค่ะ ไม่มีวี่แววว่าจะได้ตำแหน่งเลย เงินเดือนแค่ 7630 บาท ค่าใบประกอบวิชาชีพก็ยังไม่ได้ เงินเวรอีกไม่เกิน 3000 บ./เดือน แย่จริงๆเลย ไม่ทราบว่าทางสมาคมดำเนินการถึงไหนแล้วคะ อย่างนี้สิ นักรังสีถึงได้อยากทำงานเอกชนมากกว่ารัฐบาล

ขอบคุณกช.ที่เสียสละเวลาดำเนินการ  เราทราบว่ากช กำลังทำงานหนัก ภาระมีมาก ทำให้ไม่ทันใจ tech อยากให้ tech ช่วยงานกช. บ้าง กช สนใจไหม

กช.ให้ช่วยอะไร  แจ้งในBlog ได้เลย

ขอบคุณ

สสจ.ขอตำแหน่งให้ โดยการยุบ ตำแหน่ง จนท.รังสีการแพทย์ 2 ตำแหน่งรวมกันเพื่อ กำหนดเป็น ตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ แต่ทาง สำนักงานปลัดกระทรวงตอบกลับมาบอกว่า กำหนดไม่ได้แล้วเพราะว่าเค้าดึงเอาไปเกลี่ยให้ที่อื่นแล้ว แบบนี้หมายความว่าอย่างไร???ช่วยตอบให้ที จุดอ่อนที่เราเป็นอยู่ตอนนี้ใครเป็นคนกำหนดให้เกิดขึ้น??รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมสำหรับวิชาชีพ รังสีเทคนิคเลย support แต่วิชาชีพอื่น ๆ ไม่อยากเห็นว่าประชากรทางรังสีเทคนิค มีจำนวนลดน้อยลง แต่ถึงตอนนี้มันสวนทางกันคือมีความต้องการมากแต่ว่าไม่เอื้ออะไรให้เลย ทั้งตำแหน่งหน้าที่การงาน เรื่องเงินที่เป็นตัว support ความเสี่ยงทางรังสี แล้วแบบนี้จะพัฒนาเพื่ออะไรอีกกี่ปีจะได้ตำแหน่ง คำว่า นักรังสีการแพทย์ บางคนต้องรอถึงเกษียณหรือเปล่า?ทำไมถึงแสนยากเย็นเช่นนี้??ตอบหน่อยได้หรือไม่??/ท้อแท้ใจจริงๆ

เรียนจบมา เป็นนักรังสีมาหลายปีดีดักแล้ว ไม่เห็นมีวี่แววจะได้ตำแหน่งกะเค้าเลย ท้อแท้มากๆเลย ค่าประกอบวิชาชีพก็ยังไม่ได้ เสียดายตังค์ที่สอบใบประกอบฯจัง

เบื่อเหมือนกัน ตอนเรียนภูมิใจมากกับรังสีเทคนิคเป็นคณะที่มีเกียรติ ไม่น้อยหน้าใคร แต่ความรู้สึกเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือหลังจากที่จบมาทำงาน เป็นลูกจ้างชั่วคราว ไม่มีความมั่นคง ได้เงินเดือนบรรจุ 7, 260 เท่ากับเพื่อนพยาบาล ปัจจุบันเพื่อนพยาบาลปรับเงินเดือนขึ้นเป็น 9,100 ขณะที่เราเงินเดือนอยู่ที่ 7,780 น้อง 2 ปี (จ.พ.ง.) เงินเดือนบรรจุ 7,100 กว่าๆ เห็นถึงความแตกต่างที่ไม่ยุติธรรม เรากับน้อง 2 ปีเงินเดือนบรรจุห่างกัน ร้อยกว่า ในขณะที่เรากับเพื่อนพยาบาลห่างกัน 1,000 กว่าบาท สาเหตุที่เพื่อนพยาบาลกับน้อง 2 ปีเงินเดือนขึ้นเพราะเป็นเด็กทุน แล้วคนที่ใช้ทุนตัวเองเกียรติและศักดิ์ศรีต่างกันแค่ไหน????

อย่าบนและเบื้อกันเลยค่ะควรไปเตรียมตัวทำผลงานวิชาการเอาไว้เวลาได้ตำแหน่งถ้าไม่มีผลงานส่ง จะ Copy ไม่ได้นะค่ะเพราะการประเมินแบบใหม่  ว 140 เข้มค่ะ ขอบอก  เรื่องตำแหน่งไม่ต้องกังวล เพราะ รอมานานยังรอได้รออีกหน่อยนะค่ะ

หันกลับไปทำผลงานกันดีกว่า การประเมิน Competency เข้มนะค่ะไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างก็ประเมินเหมือนกัน

หลากหลายแนวความคิดครับ บางท่านบอกราชการเงินน้อย แต่ต้องเลือกเพื่อสวัสดิการและความมั่นคง บางท่านบอกว่าราชการก็ชักจะไม่มั่นคงซะแล้ว (แต่ว่าการที่ราชการจะเลิกจ้างมักจะยากกว่าเอกชนนะครับ) รายรับและรายจ่ายขององค์กรเอกชนกับรัฐ มันไม่ค่อยจะสอดคล้องเท่าไหร่นะ  และเรื่อง competency ผมมีคำถามว่า จะสามารถดึง maximum competency ของแต่ละคนได้แค่ใหน ในเมื่อขวัญและกำลังใจที่หลายคนรอคอยมันแทบมองไม่เห็นทาง .....มีคนเคยกล่าวว่า จะทำอะไรมากมาย เงินเดือนก็ติดเพดานแล้ว เอาแค่ base line ก็พอแล้ว.....แล้ว competency ที่วาดหวังไว้ซะเริดหรู .....ไม่อยากเซด 

ถ้าเข้าใจ copetency  และการใช้ระบบแท่ง จะรู้ว่าเงินเดือนของทั่งทั่วไป (แท่งที่เริ่มต้นในขั้นไม่จบปริญญา)สามารุถขึ้นไปได้เรื่อยๆตามผลงานที่แสดงให้เห็นชัด ขอให้ไปอ่านที่กพ.เขียนไว้ วันหลังจะนำมาลงให้ดูค่ะ

คำถาม competency ดีมาก แต่คำถามมีอยู่ว่าเมื่อประเมินโดยใช้ competency เราชาวรังสีเทคนิคที่มีตำแหน่ง จนท.รังสีการแพทย์ แต่ จบ.ป.ตรี + มีใบประกอบฯ จะอยู่แท่งสายงานอะไรกันแน่เมื่อติดอยู่ตรงตำแหน่ง..ไม่ได้เป็น นักรังสีเทคนิค จัดอยู่หมวดอะไร?ตรงนี้เลยเป็นอะไรที่ไม่แน่ใจเลยอยากถามผู้รู้บ้าง?เข้าใจว่าแบบประเมิน กพ.ใหม่ที่มีให้มาเข้มข้น การรอคอยย่อมมีความคาดหวังบ้างและความคาดหวังจะเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เมื่อไหร่??ถึงจะมีรูปธรรมที่ชัดเจนแต่เห็นน้อยมากและมีความต่างของความชัดเจนตรงนั้นอยู่..ใครจะรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นนะ?ใครนะที่สร้างให้ชาวรังสีเทคนิคต้องเป็นแบบนี้?ไม่ใช่โทษผู้ก่อร่างชาวรังสีเทคนิคขึ้นมาแต่โทษระบบราชการเดี๋ยวนี้ว่าเกิดความไม่ยุติธรรมกับสายงานวิชาชีพนี้มากและ support แต่กลุ่มพยาบาลและวิชาชีพอื่นๆ มองเห็น สหวิชาชีพเป็นอะไรไปเหรอ??หรือว่าแค่เป็นส่วนประกอบของสถานพยาบาลเท่านั้น?ศักดิ์ศรีไม่ต้องพูดถึงหรอกเค้าไม่ค่อยเห็นศักดิ์ศรีและคุณค่าหรอก ทำอะไรก็เสียเปรียบ..ไม่รู้เหมือนกันอาจจะคิดมากไปก้อได้นะ?? อาชีพรับราชการก็เหมือนกับอาชีพที่ต้องรักในงานและรักในเกียรติที่เป็นแต่อาชีพที่รับจ้างตามเอกชนนั้นเงินย่อมดีกว่าข้าราชการ2 เท่าได้มั้งเพราะฉะนั้นไม่แปลกใจเลยว่าทำไม ขรก.จึงสมองไหลไปเอกชนนัก...

มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมวิชาการเรื่องการทำผลงานวิชาการแบบใหม่(ว10หรือ ว140)มีการพูดถึงเรื่องการเข้าแท่งของระบบราชการแต่วิทยากรบอกว่ายังไม่นิ่งไม่อยากบอกว่าใครอยู่แท่งใหนแต่ที่สำคัญและแน่นอนตอนนี้มี 4 แท่ง แท่งทั่วไป  แท่งวิชาการ แท่งอำนวยการ และอีแท่งขอโทษจำไม่ได้ ขอไปเปิดหนังสือก่อน แล้วจะลงให้อีครั้ง

วิทยากร บอกว่า ใครจะถูกลงแท่งใหนไม่เป็นไร จะถูกประเมินผลงาน สมรรถนะ  ข้ามแท่งได้

แท่งทั่วไป  เป็นผู้ที่มีตำแหน่งเริ่มต้นที่ระดับ 1หรือ 2 เดิม

แท่งวิชาการ ผู้ที่มีตำแหน่งเมต้นที่ระดับ 3 เดิม

รองคิดดูว่าใครจะเข้าแท่ง?

อยากจะทราบแบบเน้นเนื้อหาที่ชัดๆ เกี่ยวกับ Compotency  ในการประเมิน เพราะว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ คงไม่รู้สึกหรอกว่าคนที่ยังไม่ได้รับตำแหน่งนั้น เป็นอย่างไร เหมือนเป็นมะเร็งที่กินความรู้สึกและบั่นทอนจิตใจในการทำงาน นอกจากเรื่องที่ต้องเสียเปรียบหลายๆอย่างแล้ว เงินค่าใบประกอบก็ยังไม่ได้ เสียสิทธิตรงนี้ ต่อให้มีสมรรถนะแค่ไหนหากยังไม่มีการ Progress เรื่องตำแหน่งก็ยังคงเป็นเรื่องที่ทำให้ชาวรังสีเทคนิครู้สึกท้อแท้ใจในอาชีพนี้มากๆ..

 ได้รับ e-mail จากคุณประชุมพร เป็นความเห็นที่น่าจะเป็นประโยชน์จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่........

"ได้อ่านข้อความที่อาจารย์ส่งมาให้แล้วคิดว่าวิชาชีพรังสีเทคนิคเป็นอีกวิชาชีพหนึ่งที่ต้องเสียสละและทำประโยชน์เพื่อสังคมในการให้บริการผู้ที่มีทุกข์ทางกายดังนั้นผู้ที่เรียนจบมาแล้วมีโอกาสได้ใช้วิชาชีพตรงตามที่ตนได้ศึกษาก็จงภูมิใจเถิดสิ่งที่เราได้รับเป็นค่าตอบแทนแม้จะน้อยคงไม่ทำให้เรารู้สึกด้อยค่ามั้งคะ..พวกเราเหมือนชนกลุ่มน้อยเมื่อไปเทียบกับสาขาวิชาชีพอื่นๆและเราไม่มีตัวแทนจริงจังเข้าไปมีบทบาทมากเท่ากับวิชาชีพอื่นที่จะเป็นตัวแทนในการร้องขอสิทธิต่างๆเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม..น่าจะเป็นอย่างนั้นค่ะ...ไม่รู้ว่าคนอื่นคิดยังไงนะคะ.."

ขอบคุณ อาจารย์มนัส มงคลสุข ที่ได้ส่งความเห็นที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนรังสีเทคนิค..อย่างที่คุณประชุมพรได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งถูกต้องที่บางคนอาจจะรู้สึกและคิดเช่นนี้ แต่บางคนก็อาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างได้ ความรู้สึกด้อยค่า ไม่ได้หมายความว่าความรู้ความสามารถหรือสมรรถนะด้อยกว่าวิชาชีพแต่อย่างใด แต่ว่าความรู้สึกมันเกิดจากผลจากการกระทำของนโยบายของรัฐทำให้บางคนอาจจะรู้สึกเช่นนั้น และได้เรียนรู้ว่าในโลกนี้แม้จะมีความยุติธรรมอยู่บ้างแต่ไม่รู้ว่าความยุติธรรมจะเกิดขึ้นกับวิชาชีพรังสีเทคนิคหรือไม่? บทบาทที่จริงจังในการที่จะเรียกร้องสิทธิตรงนี้เราควรจะมีการทำหรือแก้ปัญหาอย่างไร?หรือจะให้ชนรุ่นหลังที่สืบทอดเจตนารมณ์ของวิชาชีพรังสีเทคนิคผหรือจะปล่อยให้จญภัยไปอีกในอนาคต หากเราไม่ได้แก้ไขจะปล่อยให้เป็นมะเร็งเนื้อร้ายที่ทำลายความรู้สึกไปตลอดชีวิตการทำงานหรือไม่??ที่ได้แสดงความคิดเห็นนี้ก็เพราะว่าไม่อยากรู้สึกว่า จากการที่เราได้มีการพัฒนาในวิชาชีพ มีคุณสมบัติที่ครบ พร้อมที่จะ Progress ตำแหน่งหน้าที่การงานไปข้างหน้า ต้อง หยุดอยู่ตรงตำแหน่ง จนท.รังสีการแพทย์ และในส่วนลึกของความรู้สึกทุกคนก็คงไม่อยากดำรงตำแหน่ง จนท.รังสีการแพทย์ตลอดจนเกษียณ ยกเว้นคนที่กำลังจะใกล้เกษียณหรือ early retire ก่อน

สุดท้ายก็อยากจะฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการวิชาชีพที่จะเข้าไปมีบทบาทในการขอตำแหน่ง นักรังสีการแพทย์ ให้กับชาวรังสีเทคนิคทุกคนที่กำลังรอคอยอยู่หลายชีวิต

 

ตัวหนังสืออ่านยากมาก ๆ ค่ะ

น่าจะมีการปรับปรุงระบบของกลุ่มรังสีเทคนิค 

ทุกคนที่ทำงานด้านนี้ก็คือรังสีเทคนิคหมด  ไม่แบ่งแยก ลูกจ้าง ข้าราชการ

อยู่ด้วยกันก็ต้องรักกัน  เข้าใจกัน  ไม่เอาเปรียบกัน  แล้วก็จะขับเคลื่อนไปได้ทั้งระบบและผลดีก็จะตกมาที่ทุกคน 

อยากเห็นการร่วมมือกันพัฒนาอย่างจริงจัง  โดยไม่มีเส้นใครสายใคร

 ไม่มีสถาบันไหน  พี่ใคร  น้องใคร

ไม่เอาเปรียบใคร ขอบคุณค่ะ

พนักงานเอกซเรย์ รพช.
อยากให้ทาง สรท. จัดให้มีการเรียนหลักสูตรระยะสั้นประมาณ 1 ปี เพื่อให้พนักงานเอกซเรย์ที่อยู่ตาม รพช.ต่าง ๆ ทั่วประเทศที่เป็นลูกจ้างประจำได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และบรรจุเป็นข้าราชการระดับ 1 โดยกำหนดว่าต้องมีคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือปริญญาตรีทุกสาขา คิดว่าน่าจะทำให้ตำแหน่งพนักงานเอกซเรย์มีคุณภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นะครับ เหมือนกับตำแหน่งผู้ช่วยทันตแพทย์ครับ ยังไงก็ขอฝากสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ช่วยดำเนินการในเรื่องนี่ให้ด้วยนะครับ เพราะบางโรงพยาบาลในชนบทยังไม่มีแม้กระทั่ง จพง.รังสีการแพทย์เลย มีแต่ลูกจ้างทำหน้าที่แทน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานเพราะลูกจ้างพวกนี้ไม่ไปไหนหรองครับเขาต้องการทำงานใกล้บ้านของตัวเองอยู่แล้ว อย่างผมอยู่ในตำแหน่งมาเมื่อปี 2537แนะครับ เพราะว่าถ้าได้ไปเรียนก็จะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้ตัวเอง และเพิ่มศักยภาพในการทำงานเพื่อการบริการชุมชนด้วย ขอให้ทาง สรท. ช่วยพินิจพิจารณาด้วยครับ จะเป็นประโยชน์อันใหญ่หลวงต่อชุมชนและต่อ สรท.นะครับ
ข้าราชการ รพ.ชุมชน(ในเขตพื้นที่กันดาร)

กราบเรียนท่านอาจารย์ทุกท่าน ก่อนอื่นดิฉันกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านที่ทำให้ชาวรังสีได้มีโอกาสปรับเปลี่ยนตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ แม้ว่าตอนนี้ดิฉันจะเรียนต่อเนื่องจบมาหลายปีแล้วแต่ก็ยังไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งชาวรังสีอีกหลายท่านก็คงเช่นกัน ก็คงต้องรอกันต่อไป แต่ดิฉันมีเรื่องหนึ่งที่ยังไม่เข้าใจว่าเกณฑ์ในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากจนท.รังสีการแพทย์ไปเป็นนักรังสีการแพทย์ ซึ่งกำหนดโดยกพ.นั้นทำไมจนท.รังสีการแพทย์ 6 ต้องลดระดับมาเป็นจนท.รังสีการแพทย์ 5 พร้อมกับลดระดับเงินเดือนก่อน แล้วต้องรอเป็นระยะเวลาอีกอย่างน้อย 3 ปีจึงจะมีสิทธิ์เลื่อนระดับเป็น 6ว ได้ และต้องรออีกอย่างน้อย 3 ปีจึงจะมีสิทธิ์เลื่อนระดับเป็น 7วชได้ ซึ่งในขณะที่พยาบาลเทคนิค 6 ซึ่งศึกษาต่อเนื่องจบมา(ได้รับอนุมัติศึกษาต่อโดยวิธีคัดเลือกเรียนโดยโควต้า คือไม่ต้องสอบ)นั้น สามารถปรับเปลี่ยนจากพยาบาลเทคนิค 6 เป็นพยาบาลวิชาชีพ 6 ได้ และรอเวลาอีกไม่เกิน 2 ปีสามารถเลื่อนระดับเป็นพยาบาลวิชาชีพ 7 ได้ ขอความกรุณาท่านอาจารย์โปรดไขข้อใจให้ดิฉันและชาวรังสีอีกหลายท่านให้เข้าใจด้วยค่ะ  จากสมาชิกรังสีที่เสียสละทำงานในพื้นที่ที่ได้รับเบี้ยกันดารมากว่า 10 ปี(แต่ไม่ได้รับเบี้ยกันดารเช่นวิชาชีพอื่น)

 

จิตต์ชัย สุริยะไชยากร

ผมขอตอบคำถามข้าราชการ รพ.ชุมชน(ในเขตพื้นที่กันดาน) เมื่อศุกร์ที่ 23 กพ 2550 ดังนี้

1.เรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่เป็นนักทำไมต้องลดระดับด้วย เหตุผลอะไรผมไม่ทราบ

2.เรื่องพยาบาลเทคนิค 6 เมื่อเรียน วท.บ. จบมาแล้วสามารถจะปรับเป็นพยาบาลวิชาชีพ 6 ได้เลยนั้น เพราะว่าสภาพยาบาลได้ทำหนังสือชี้แจงไปที่กระทรวงฯ ซึ่งขณะนี้ทางคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ก็กำลังดำเนินการทำเอกสารชี้แจงให้กระทรวงพิจารณาเรื่องที่เจ้าหน้าที่ที่เรียนจบ วท.บ. รังสีเทคนิคและมีใบประกอบโรคศิลปะแล้ว สามารถปรับเทียบตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่เป็นนักรังสีการแพทย์โดยมิต้องลดระดับให้พิจารณาต่อไป

จิตต์ชัย สุริยะไชยากร
ประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค

อาจจะมีการเข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่าค่ะ

กระทรวง /กพ กำหนดให้พยาบาลเทคนิคที่จบการศึกษาต่อแล้ว สามารถปรับเป็นพยาบาลวิชาชีพได้เลยโดยไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม

แต่การที่จะเข้าสู่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพระดับใดนั้น   ต้องเข้าอยู่ในหลักเกณฑ์ ว10 เหมือนกัน

หลักเกณฑ์ มีอยู่ว่า ปัจจุบันคุณจะอยู่ซี อะไรก็แล้วแต่  ถ้าคุณจบปริญญา มาแล้ว 6 ปี คุณสามารถขอทำเกื่อกูล เป็นพยาบาลวิชาชีพ 6 ได้ เนื่องจากงานที่ปฏิบัติเป็นสายที่เอื้อหรือเกื่อกูลกัน แต่ถ้าคุณจบปีนี้ แล้วจะเป็นเป็นพยาบาลวิชาชีพในปีที่คุณจบคุณก็ต้องลดไป ซี 5 เหมือนกันแต่ อยู่ ซี 5   ..1 ปี ก็สามารถทำวิชาการเป็น ซี 6 ได้  หาอ่านได้ที่ www.moph.go.th  กลุ่มบริหารงานบุคคลกลาง

ที่ดีที่สุดคือเขาเปลียนตำแหน่งได้ด้วยเลขตำแหน่งเดิมไม่ต้องหาเลขหรือตำแหน่งใหม่มายุบรวมค่ะ

การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง

ข้อมูลหรือหลักการกระผมขอขอบคุณ คุณคนิษฐามาก สมาชิกตอนนี้ช่วยดูรายละเอียดตามที่คุณคนิษฐาได้ช่วยให้ข้อมูลมา(www.moph.go.th กลุ่มบริหารบุคลกลาง)

   สละ อุบลฉาย (นายก สรท)

เกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งนี้ RT News ได้เสนอข่าวไปแล้วครับ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ดูได้ที่
http://www.tsrt.or.th/RT_News/RTnews21.htm หรือ
http://gotoknow.org/blog/radspark/78240

อยากทราบว่าจะมีตำแหน่งสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับต้นสังกัด เบิกจ่ายตรงบ้างหรือไม่ เพราะงานนี้ก็จะมีให้ทำไปเรื่อย ๆ และงานมากขึ้นเรื่อย ๆ

พนักงานราชการศูนย์มะเร็ง

ขอบคุณที่สรท.และก.ช ยังเห็นว่าอาชีพนักรังสีการแพทย์ยังมีความสำคัญ

ดิฉันทำงานมา 5 ปี ชีวิตนักรังสีไม่มีอะไรดีขึ้นเลยตอนเป็นลูกจ้างชั่วคราวเงิน7 พันกว่าๆ เป็นพนักงาน 9พันกว่าสวัสดิการห่วยแตกหักประกันสังคมทุกเดือนแค่กินกับเก็บเงินไว้ใช้หนี้ที่กู้ยืมเรียนไม่รู้ว่าจะทนได้ถึง15ปีหรือเปล่า ความมั่นคงก็ไม่มีค่าใบประกอบก็ไม่ได้ ตำแหน่งข้าราชการไปไหนหมด ทำไมไม่กำหนดอายุการทำงานว่านักรังสีที่ทำงานเกิน.....ปีให้ปรับเป็นข้าราชการเลยและตอนนี้ลูกจ้างชั่วคราวเงินเดิน12000บาทแล้วทำไมไม่ยุบตำแหน่งพนักงานซะเลย มีไว้เพื่ออะไรถ้าดิฉันไม่ติดที่กู้ยืนเงินเรียน3แสน ดิฉันลาออกนานแล้วไม่ทนให้ตนเองรู้สึกต่ำต้อยในวิชาชีพนักรังสีแน่นอน

ทุกความเห็นที่เป็นประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ และเป็นความเดือดร้อนที่มีผลกระทบในภาพรวม ได้ถูกส่งต่อไปยัง ประธานคณะกรรมกาวิชาชีพฯ และนายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยแล้ว

ประกายรังสี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท