การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design


Backward Design กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ มีหลักฐานที่ประเมินตามสภาพการณ์จริง นำไปสู่การออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้

       Backward  Design  เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้  เป็นแนวคิดของGrant Wiggins และ Jay Mc Tighe ซึ่งคิดค้นเมื่อปีค.ศ. 1998  เป็นกระบวนการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ มีการกำหนดหลักฐานหลังจากนั้นจึงออกแบบ
การจัดประสบการณ์เรียนรู้  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะและแสดงความสามารถ ตามหลักฐานที่เป็น
ผลจากการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้
   ขั้นตอนการออกแบบ Backward  Design มี 3 ขั้นตอน     
  ขั้นที่ 1   การกำหนดเป้าหมายหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ ( Identity  desired result )   
ขั้นตอนนี้ผู้สอนต้องตั้งคำถาม          1)  ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องอะไรและต้องมี     ความสามารถทำอะไรได้  2)  ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องใด  3) อะไรที่ต้องการให้เป็นความ   เข้าใจที่คงทน ในขั้นตอนนี้ผู้สอนต้องพิจารณาจุดม่งหมาย มาตรฐานต่างๆเช่น มาตรฐานการจัดการศึกษา ของชาติ ของรัฐและความคาดหวังของหลักสูตร

 กรอบแนวคิดในการพิจารณาความสำคัญในการการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 วง

     วงเล็กสุด เป็นความเข้าใจที่คงทน ( Enduring  understand ) เป็นความคิดหลัก

  ที่ต้องการให้เป็นความเข้าใจที่คงทน ฝังอยู่ในตัวผู้เรียนถึงแม้ว่าพวกเขาจะลืมรายละเอียดของเนื้อหา

  ไปแล้วและสามารถนำมาใช้ได้ทุกเวลาเมื่อต้องการ

     วงกลาง  แทนความรู้ที่สำคัญ ( Important to know ) ทักษะกระบวนการที่สำคัญ

  ( Important to do )  ที่ผู้เรียนต้องใช้ระหว่างในหน่วยการเรียน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ

  ตามที่กำหนดไว้

     วงใหญ่สุด  แทนความรู้ที่จะให้ผู้เรียนคุ้นเคย  ( Worth being familiar with ) โดยให้

  ผู้เรียนอ่าน ทบทวนสาระ /  เรื่อง หรือให้ประสบกับเหตุการณ์อื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ

  ในสิ่งที่เรียนมากขึ้น

 

          ขั้นที่ 2   การกำหนดหลักฐานที่ยอมรับว่าผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามที่กำหนดไว้     

  ( Determine  acceptance  evidence )  คำถามที่ผู้สอนต้องคิดก่อนวางแผนการ

  เรียนรู้   1)  ผู้สอนจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีผลการเรียนออกมาแล้วได้มาตรฐาน  2) ผู้สอนจะต้องมี 

  หลักฐานอะไรที่บ่งบอกว่าผู้เรียนเข้าใจและมีประสิทธิภาพ ในขั้นนี้ ผู้สอนต้องประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียน

  เป็นระยะๆด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

 

         ขั้นที่ 3  การออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ ( Plan learning  experience and

  instruction )

  คำถามที่ผู้สอนจะต้องคิด ได้แก่ 1) ข้อเท็จจริง  แนวคิด หลักการ และทักษะอะไร ที่ผู้เรียนจำเป็นต้อง 

  แสดงออกมาเพื่อบ่งบอกว่ามีประสิทธิภาพและผลที่ได้รับพึงพอใจ   2) ผู้สอนจะจัดกิจกรรมอะไรให้

  ผู้เรียน   3) อะไรเป็นสิ่งที่ต้องสอนและควรจะสอนอย่างไรจึงจะดีที่สุดที่ให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย 

  4) ผู้สอนควรใช้สื่ออุปกรณ์อะไร 5) การออกแบบการสอนมีความเชื่อมโยงกันและมีประสิทธิภาพหรือไม่

 

          กล่าวโดยสรุปแล้ว Backward  Design เป็นกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่นำ

  มาตรฐานการเรียนรู้มาเป็นเป้าหมายการจัดการเรียนการสอน โดยที่ครูผู้สอนจะต้องออกแบบวางแผน

  กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ที่จะแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนสามารถบรรลุซึ่งจุดหมายหลักสูตรรายวิชานั้นๆ

  และนอกจากนั้นครูผู้สอนจะต้องออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะและ

  แสดงความสามารถ ตามหลักฐานที่เป็นผลจากการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้

 

  การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward  Design  ที่ได้หยิบยกมาแลกเปลี่ยนความรู้   เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเนื้อหา  ยังคงมีรายละเอียดอีกมากมายให้ศึกษา เช่น รูปแบบการประเมินผู้เรียน    ในแต่ละวงของการออกแบบการเรียนรู้ในขั้นที่ 1   เทคนิคการใช้คำถามของผู้สอน และอื่นๆอีกมากมาย  ที่จะให้ท่านร่วมเติมเต็มความสมบูรณ์

หมายเลขบันทึก: 285998เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ได้ความรู้เรื่อง Backward Design จาก อาจารย์ วราณี มากมายทีเดียว อย่างน้อย ได้รู้ขั้นตอน ที่อาจารย์ กรุณาสรุปมาให้ โดยประสบการณ์ ส่วนตัว ยังไม่ค่อยเห็น ทำ ในระดับอุดมศึกษา แต่จะเห็น นิยมใช้ในระดับมัธยม แต่อาจจะมีในต่างประเทศ หรือไม่ ไม่ทราบจริงๆ ค่ะ

ถ้าเรานำมาพัฒนาใช้ในระดับอุดมศึกษา จะเป็นการคิดและวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ ช่วยเป็น แนวทางในการตรวจสอบตนเอง ของอาจารย์ผู้สอนได้เป็นอย่างดี มีเป้าหมายและวิธีการที่ชัดเจน ตลอดหลักสูตร .... น่าจะเป็นการพัฒนาด้านเทคนิควิธีการสอนไปมากทีเดียว  ในโอกาสต่อไป  คงจะลองได้ใช้ในเร็ววันนี้ แน่ๆ ค่ะ อาจารย์ป้อม....

เชื่อมั่นว่าการออกแบบหลักสูตรด้วยหลักการ Backward Design ซึ่งเป็นการเน้นการเรียนรู้ (Learning) นั้น จะทำให้ผู้เรียนสามารถบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการเรียนที่เรากำหนดไว้ได้อย่างแน่นอน และยังสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) อีกด้วยค่ะ

ขอบคุณ อ.ป้อม มากนะคะ ที่นำเสนอบทความที่เป็นประโยชน์แบบนี้ และจะรออ่านบทความจาก อ.ป้อม อีกนะคะ :)

สวัสดีค่ะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ http://gotoknow.org/blog/skuikratoke/toc 

สวัสดีค่ะ อ.วราณี

ข้อมูล Backward Design ที่อาจารย์ได้สรุปไว้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากค่ะ จากเดิมตัวเองไม่เคยรู้จักหลักการออกแบบการจัดการเรียนการสอนมาก่อน ตอนนี้มีรายวิชาที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับการจัดการหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษา ก็ได้รู้จักกับการออกแบบวิธีนี้ ดูน่าสนใจมากค่ะ ซึ่งถ้าลองค้นข้อมูลจาก google ส่วนใหญ่จะพบในประเด็นของการจัดเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมากกว่า

อาจารย์วราณีหรือเพื่อนๆ พอจะแนะนำงานวิจัยหรือบทความที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Backward Design ในการจัดการเรียนสอนระดับอุดมศึกษาบ้างหรือไม่คะ (สนใจอยากอ่าน)....ใจร้อนพอดีต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการศึกษาเรื่องนี้เพื่อทำ paper รายวิชาของตัวเองค่ะ

ขอบคุณในความเหนื่อยค่ะ

Backward Design มีจุดเน้นที่ ความเข้าใจที่คงทนในการเรียนรู้ (Enduring Understanding) และสิ่งที่ค่อนข้างยากในการออกแบบก็คือ การพยายามทำความเข้าใจว่าอะไรคือ "ความเข้าใจที่คงทน" ที่จะให้เกิดขึ้นในตัวนักศึกษา ... คนคิดวิธีออกแบบชนิดนี้  คงอยากฝึกการคิดวิเคราะห์ให้กับอาจารย์  ให้อาจารย์รู้ว่าอะไรควรสอน ไม่ควรสอน (ใน ชม.เรียน)  และคงอยากให้นักศึกษาเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองมากขึ้นในสิ่งที่อาจารย์ไม่ได้สอน  เวลาเรียนมีจำกัด  เนื้อหาอาจจะมีมาก    Backward Design จึงเป็นการออกแบบที่ช่วยให้อาจารย์บริหารจัดการเนื้อหาให้เหมาะสมกับเวลา โดยเลือกเฉพาะเด่นๆ เน้นๆ จริงๆ ...  ตนเองกำลังอยู่ในระหว่างการเรียนรู้และฝึกทำ Backward Design อยู่ค่ะ  สำเร็จหรือไม่อย่างไร  จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโอกาสต่อไปนะคะ  อ. ป้อม 

สวัสดีค่ะ อ.วราณี

ขอบคุณมากเลยนะคะที่กรุณาให้ความรู้ในเรื่อง Backward Design เพราะกำลังงง ๆ อยู่เหมือนกัน แต่พอได้อ่านขั้นตอนในการออกแบบการเรียนรู้แล้ว ก็ทำให้เข้าใจขึ้นบ้างค่ะ สำหรับในขั้นตอนการสร้างที่จริงแล้วมีประโยชน์มากเลยสำหรับผู้สอน เพราะการเขียนโครงการสอนนั้นผู้สอนจะต้องเขียนเพื่อบอกว่านักศึกษาจะได้ประโยชน์อะไรจากหัวข้อการเรียนการสอนในแต่ละเรื่อง แต่ถ้าผู้สอนไม่มีความรู้ในเรื่อง Backward Design เลย ก็คงจะทำให้ไม่มีแนวทางในการเขียนโครงการสอนที่ดีได้นะคะ ดังนั้น หัวข้อนี้เป็นที่น่าสนใจมากเลยค่ะ โดยเฉพาะขณะนี้กำลังจะออกแบบรายวิชาอยู่ ถ้ามีความรู้เพิ่มเติมใน Backward Design อีกก็ยินดีที่จะเข้ามาอ่านนะคะ ... ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ อ.วราณี มากค่ะ นับเป็นความรู้สำคัญที่จะนำไปใช้จริงได้ และอยากขอเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับ Backward Design ตามที่ ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง ได้เขียนไว้ในหนังสือการออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ Backward Design ว่าในขั้นตอนที่ 3 การออกแบบการเรียนรู้ ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ให้พิจารณาแนวทางการดำเนินงาน ในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย คือ เป้าหมายอยู่ที่ไหน ทำไมจึงเรียนเรื่องนี้ ผู้เรียนเกาะติดการเรียน ตรึงผู้เรียนให้ติดตามต่อไป จะช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะแสวงหาความรู้/เครื่องมือ/วิธีการเรียนรู้เพื่อไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร คิดซ้ำๆ สะท้อนความรู้ ทบทวนความรู้ ผู้เรียนมีโอกาสในการประเมินตนเอง/รู้ความก้าวหน้าของตนเองหรือไม่ อย่างไร ครูได้ออกแบบตามความต้องการ/ความสนใจ/ความแตกต่างของผู้เรียนแล้วหรือยัง และสุดท้าย ได้จัดระบบความรู้ ด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้งคงทน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท