สมรรถนะที่แตกต่างระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยมหิดล


 วันนี้ได้ฟังเรื่องสมรรถนะกับการขึ้นเงินเดือน ระหว่าง . นพ. ประสิทธิ์  วัฒนาภา แห่ง มม. และ รศ. ดร. สมชาย  รัตนทองคำ แห่ง มข. ทั้งสองมหาวิทยาลัยนี้จะมีแนวทางหรือนโยบายเกี่ยวกับสมรรถนะกับการขึ้นเงินเดือนที่แตกต่างกัน

. นพ. ประสิทธิ์  วัฒนาภา ได้เล่าว่า “ทั้งสองโมเดลนี้มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันไป” นั่นคือ

Competency กับเงินเดือนตอนนี้มีอยู่  2 model คือ

1.  นำ competency เข้าไปผูกกับเงินเดือน มข. เลือก model นี้

2.  ไม่นำ competency เข้าไปผูกกับเงินเดือน มม. เลือก model นี้

การนำ competency เข้าไปผูกกับเงินเดือน จะทำให้เกิดการเบี่ยงเบน competency เช่น คนสองคน คนแรกจะมี competency และ performance ที่ดีกว่าคนที่สอง แต่คนที่สองจะช่วยเหลืองานเจ้านายมากกว่า เรียกเมื่อไหร่มาเมื่อนั้น ถ้าจะมีการขึ้นเงินเดือน โดยทำการประเมิน เจ้านายอาจจะขึ้นเงินเดือนให้กับคนที่สอง (เกิด bias) ส่งผลให้คนที่สองที่ได้ขึ้นเงินเดือน ก็จะไม่เกิดการพัฒนาตนเอง ไม่เพิ่มความรู้ให้แก่ตนเอง นี่คือช่องว่างแห่งการพัฒนา

แต่ในทางกลับกัน ถ้าขึ้นเงินเดือนให้แก่คนที่หนึ่ง คือ มี competency และ performance มากกว่าคนที่สอง จะทำให้คนที่สองเกิดการพัฒนา ว่ายังมีจุดตรงไหนที่ต้องปรับปรุง และได้ทราบว่าจะพัฒนาด้านไหนต่อไป

ดังนั้น  “มม. จึงเลือก Model ที่ไม่นำ competency เข้าไปผูกกับเงินเดือน”

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่หนึ่งยังไม่ค่อยเข้าใจ ผิด ถูกอย่างไร ท่านผู้อ่านช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยนะคะ

ขอบคุณคะ

น้ำหนึ่ง

7 .. 52 UKM15

 

 

หมายเลขบันทึก: 284420เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะ

ขอปรบมือให้คุณน้ำหนึ่งค่ะ ที่รายงานกิจกรรมและถอดบทเรียนจากกิจกรรมงาน UKM 15 มาให้สมาชิกใน GotoKnow.org ได้ติดตามอ่านอย่างต่อเนื่องค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะคะ ^_^

มาอ่านค่ะ...ที่ ม.อ. ก็นำมาผูกกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนค่ะ และกำลังปรับว่าอาจต้องแยกออกมาเพื่อ ประเมินเพื่อการพัฒนาบุคลากร..ในเร็ววันนี้ค่ะ

กฎหมายว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนมีอยู่แล้ว

ใครก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ มีสิทธิได้ทุกคน

เพียง... ใครกันเล่าที่มีทั้ง

ความดี และความชอบ

ทั้งนี้ ความดีความชอบตั้งอยู่บนฐานของอะไร และที่สำคัญเหนือสิ่งใด

ใคร... เป็นผู้ตัดสิน

เป็นเรื่องที่บุคลากรควรติดตาม เพราะเป็นผลที่จะเกิดกับตัวเอง

และเป็นเรื่องที่ผู้บริหาร...ควรรับรู้ ตระหนัก และแสดงความคิดเห็น

ด้วยอยู่ในฐานะให้คุณให้โทษ...จะอวยประโยชน์ให้ใคร...

รู้แท้แน่จริงในทุกมิติแล้วหรือว่าจะวัดสมรรถนะได้อย่างไร จะไม่ bias

สวัสดีค่ะ

*** แวะมาเรียนรู้ ขอบคุณค่ะ

เสริมพงษ์ คุณาวงศ์

เห็นว่า การวัดสมรรถนะน่าจะวัดยาก และมีหลากหลายแง่มุม

การวัดประสิทธิผลทั้งคุณภาพ และปริมาณ โดยดูองคประกอบที่แวดล้อม

น่าจะใช้วัดได้ส่วนหนึ่ง นอกจาก การสร้างงานที่สอดคล้องต่อเป้าหมายทิศทางองค์กร

อย่างได้จังหวะ การแสดงบทบาทที่สมฐานะ คุณธรรมจริยธรรมที่ไม่ขัดต่อสังคม

เหล่านี้ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณารึเปล่า!

เพิ่งทราบว่า มข นำ competencyผูกกับเงินเดือนครับ เข้าใจว่า นำไปเหี่ยวกับการพัฒนา ครับ

อ่านนะ ดีจัง

สวัสดีคะคุณมะปรางเปรี้ยว

ขอบคุณ คุณ  P   มากคะ

หนึ่งจะรายงานกิจกรรมและถอดบทเรียนจากโครงการต่างๆ มาให้ติดตามอย่างต่อเนื่องคะ

สวัสดีคะพี่เมตตา

  * ที่ มมส. ก็นำมาผูกกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนเหมือนกันคะ และก็มีมานานแล้ว ถ้าจะปรับแบบใหม่ คงต้องใช้เวลาค่อนข้างนานคะ

สวัสดีคะคุณเปลวเทียน

  เรื่องความดีความชอบ ผู้ที่ตัดสินคงต้องมีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง แต่ถ้าคนๆหนึ่งไม่มีเรื่องที่ผิดใจกัน ไม่ถูกกันกับผู้ที่ตัดสิน...แล้วความยุติรรม ความลำเอียงจะเป็นอย่างไร........

สวัสดีคะคุณ สิริพร ทิวะสิงห์ tuk-a-toon

   สมรรถนะของแต่ละคน คงเป็นเรื่องที่วัดยาก ถ้ามีผู้บริหารที่ดี มีความยุติธรรมแล้ว...คงวัดไม่ยากคะ

สวัสดีคะอาจารย์ กิติยา เตชะวรรณวุฒิ

    ขอบคุณเช่นกันคะ

สวัสดีคะอาจารย์จิตเจริญ

  มมส. ก็นำ competency มาผูกกับเงินเดือนเช่นกันคะ วันที่ 25 กันยายน นี้ มมส. จะไปดูงานที่ มม. คะ เพื่อจะได้แนวทางนำกลับมาพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไปคะ

สวัสดีคะอาจารย์ศุภรัตน์

  ขอบคุณมากคะ ที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม

สวัสดีคะคุณ เสริมพงษ์ คุณาวงศ์

 ขอบคุณมากคะ หนึ่งคิดว่าน่าจะนำมาพิจารณาคะ

    ซ้าย ศ. นพ. ประสิทธิ์  วัฒนาภา          ขวา รศ. ดร. สมชาย  รัตนทองคำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท