อิบนุ มิซกะวัยฮฺ


อิบนุ  มิซกะวัยฮฺ

          ท่านมีชื่อจริงว่า  อบู อะหมัด บิน มูหัมมัด บิน  ยะอฺกูบ  ท่านเกิดที่เมืองรอยบในปี ค.ศ.932  และเสียชีวิตในปี ค.ศ.1030  บิดาของท่านทำงานอยู่กับผู้ครองประเทศ  ท่านจึงมีโอกาสได้คลุกคลีกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่มีการศึกษา ในช่วงวัยหนุ่มท่านทำงานอยู่กับมุฮัลละบี (Muhallabi) วะสีรของราชวงศ์บุวัยฮิด  เมื่อมุฮัลละบีเสียชีวิต  ท่านก็ไปทำงานอยู่กับอิบนุ อัล อะมีดรัฐมนตรีของมุอีซ  อัล-เดาะละฮฺ (Muiz al - Daulah) ที่เมืองรอยบ  โดยทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์ในหอสมุดของอิบนุ อัล อะมีด  ในช่วงปฏิบัติงานอยู่ในหอสมุดแห่งนี้  ท่านได้ใช้เวลาศึกษาหาความรู้ และต่อมาท่านได้ไปปฏิบัติงานกับอะฎูด  อัล  เดาะละฮฺ (Adud  al-Daulah) ที่กรุงแบกแดด  อิบนุ มิซกะวัยฮฺ สนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์  ปรัชญาและจริยศาสตร์  ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ประพันธ์หนังสือในสาขาวิชาดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

 

           มิสกาวัยฮฺ แต่เดิมนั้น คือ เป็นนักประวัติศาสตร์และจริยธรรมและเขาก็ยังเป็นนักกวีอีกด้วย เขามีความสนใจแก่ Alkimia ไม่ใช่เพื่อความรู้แต่เพื่อเงินทองและทรัพย์สมบัติ และเขาคนที่นับถือแก่อาจารย์เขามาก แต่ ยากูต ได้พูดถึงว่า สิบห้าต้นที่ชี้ให้เห็นถึงจริยธรรม เขาเองได้ปรึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของจริยธรรมในหนังสือของเขาเอง คือ จากหนงสือTahdzi ai-Ahlaq.ที่ชี้ให้เห็นว่าเขาได้ตรวจสอบเป็นอย่างดี เมื่อเขาได้เขียนเกี่ยวกับจริยศาสตร์เขา (มูฮำหมัด) เรียนประวัติศาสตร์  ที่สำคัญเรียน Tarikh al - Thabari  ถึง   อบูบักร อะหมัด อิบนุ กามิล al - Qadhi (350ฮ / ค. ศ 960) อิบนุ อัลกัมมัรมีผลงานเป็นนักแปลที่มีชื่อเสียงโดยที่อริสโตเติลเป็นอาจารย์ของเขาด้านความรู้ทางปรัชญา Miskawaih ได้ทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเคมี พร้อมกับอบู  al Tayyib al - Razi ซึ่งเป็นนักเคมีคนหนึ่งจากหลายๆ  สิ่งที่เป็นความจริง อิบนุ - ซีนัร และ al Tauhidi แท้จริงพวกเขาได้เจริญรอยตามทัศนะและเขาไม่สามารถมีความคิดทางปรัชญา ยอมรับ ตรงกันข้าม เขาถูกกล่าวว่าเป็นนักคิด จริยธรรมและ sejarawan  Parsi ที่มีชื่อเสียง

 

           Miskawaih อาศัยอยู่กับอัล ฟัดล. อัล อามิด เป็นเวลา 7 ปี (360 ฮ / ค.ศ.970) ทำงานในห้องสมุด อบู อัลฟัดล ได้เสียชีวิตในปี (360 ฮ / ค.ศ.970) เขาได้มอบคนที่เขานับถือเขาให้แก่ลูกชายของเขา คือ อบู al fath ออาลี อิบนุ มูฮำหมัด อิบนุ al Amid ด้วยชื่อครอบครัวของเขาว่า  DZU

           Al kifayatain เขานับถือแก่ Adud al Daulah เป็นบุคคลหนึ่งที่นับถือเชื้อสาย (คนเผ่า)และหลังจากนั้นหลายอย่าง pengeran ที่นอกเหนือจากครอบครัวที่มีชื่อเสียงแล้ว

 

           Miskawaih เสียชีวิต 9 ซาฟัร 421 ฮ / 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1030 วัน เดือน ปี เกิดของท่านไม่แน่ใจ ตามที่ Margoliouth ได้กล่าวว่า วัน เดือน ปี เกิด ของท่าน คือ ปี 330 ฮ /ค.ศ.941 แต่ที่พวกเราคิดคือ ปี 320 ฮ /ค.ศ.932 เพราะว่าเขาเคยอยู่กับ Al Mahallabi ที่มีตำแหน่งเป็น wazir ปี 352 ฮ /ค.ศ.352 และเสียชีวิตปี 352 ฮ / ค.ศ.963 ที่เวลานั้นเขาไม่ใช่อายุเพียง 19 ปี

 

ผลงานของท่าน

  • 1. Al- Fauz al- Akbar.
  • 2. Al- Fauz a al- Asghar.
  • 3. Tajarib al- Umam. (เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับฝนตกที่รุนแรงและยิ่งที่ได้เขียนในปี 369 ฮ / ค.ศ.979 )
  • 4. Uns al- Farid. (รวบรวม enekdot, syair,peribahasa dan kata - kata rnutiara)
  • 5. Tattib al- sa adah. (เกี่ยวกับอัคลาคและโปลีติด)
  • 6. Al- Musthafa. (นัก Syairที่ถูกคัดเลือก)
  • 7. Jawidah khirad (Kumpulan ungkapan bijak.)
  • 8. Al- jami.
  • 9. Al- siyar (เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่)
  • 10. เกี่ยวกับการรักษาที่ปานกลาง (การแพทย์)
  • 11. เกี่ยวกับการทำอาหาร
  • 12. Kitab al- Asynibah (เกี่ยวกับเครื่องดื่ม)
  • 13. Tahdzib al- Akhiaq (เกี่ยวกับกิริยามารยาท)
  • 14. Risalah fi al- ladzdat wal- alam fi jauhar al- nafs.
  • 15. Ajwibah wa As ilah fi al - nafs (Naskah di istanbul,Raghib Majrmu ah No.1463,lembar 57-59 a.)
  • 16. Al-jawab fi al- masa il al- tslats (Naskah di Teheran, FihnstMaktabat al Majlis,ll,No.634 31)
  • 17. Risalah fi jawab fi sual Ali bin Muhammad Abu Hayyan al-shufi fi hakikat al-aql (perpustakaan Mashhad di lran,l,no.43 137)
  • 18. Thaharat al-Nafs (Naskah di koprulu,Istanbul,No.767)

 

    Muhhammad Baqir อิบนุ Zain ai -Abidin al-Hawanshan ได้กล่าวว่า เมื่อเขาก็เขียนบาง

หนังสือที่สั้น ๆในภาษา ฟัรซี (Raudhat al-jannah ,Teheran,1287 ฮ / ค.ศ.1870.hal70 )

    เกี่ยวกับผลงานของเขานั้น พวกเราได้รู้จาก Miskawaih เองเมื่อ al-fauzal-Akbar ได้เขียน

            หลังจาก al-Fauz al-Asgharและ Tahdzid al-Akhlaq ได้เขียนหลังจาก Tartib al-Sa adah

 

 จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้

 

จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)

              การศึกษาพยายามที่จะช่วยเหลือคนในการปรับตัวได้อย่างดีที่สุดส่วนจิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่คำนึงเกี่ยวกับการปรับตัวของคน ดังนั้นจิตวิทยาการศึกษาจะเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวของคนไปปฏิบัติจริง เพื่อช่วยเหลือในการปรับตัว ดังนั้นหน้าที่สำคัญประการแรกคือการจัดการเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น

Horace B. English and Ava C. English ซึ่งได้กล่าวถึง ความหมายของจิตวิทยาว่า จิตวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ
                      - พฤติกรรม (Behavior)
                      - การกระทำ (Acts)
                      - กระบวนการคิด (Mental process)
พร้อมกับการศึกษาเรื่อง สติปัญญา, ความคิด , ความเข้าใจ การใช้เหตุผล การเข้าใจตนเอง (Selfconcept) ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลด้วยจิตวิทยาการศึกษา ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการ จึงครอบคลุมผู้เรียน ผู้สอน และสิ่งแวดล้อมขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา จึงมีในเรื่องต่อไปนี้


        1. ศึกษาเรื่องประวัติความเป็นมา ของจิตวิทยา แนวคิดของนักจิตวิทยา ที่มีผลต่อการ
เรียนรู้
        2. ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นเรื่อง ความ
แตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่อง สติปัญญา ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ และแรงจูงใจ เป็นต้น
        3. การเรียนรู้ โดยเน้นศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้ องค์ประกอบของการเรียนรู้ การแก้ปัญหาโดยอาศัยหลักการเรียนรู้ การถ่ายโยง ตลอดจนการจัดสภาพการเรียนรู้ต่าง ๆ
        4. การประยุกต์เทคนิคและวิธีการเรียนรู้ โดยผู้สอนเน้นให้ ผู้เรียนสามารถนำ
เทคนิคและวิธีการไปใช้ในการเรียนการสอนการแก้ปัญหาในการพัฒนาตน

        5. การปรับพฤติกรรม โดยเน้นการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา ไปสู่พฤติกรรมที่พึง
ปรารถนา โดยใช้หลักการเรียนรู้ เป็นต้น
         6. เทคนิค และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาจิตวิทยา เช่น การสังเกต การสำรวจ การ
ทดลอง และศึกษาเป็นรายกรณี

         บทบาทของจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาเป็นศาสตร์ที่มีมาประมาณแปดสิบปีแล้วและบทบาทของมันยังคงเป็นที่ทกเถียงกันอยู่ บางคนเชื่อว่าจิตวิทยาการศึกษาเป็นการนำความรู้หลักการและผลการศึกษาวิจัยทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน บางคนเชื่อว่าเป็นการนำเอาวิธีการทางจิตวิทยามาใช้ในห้องเรียนหรือโรงเรียน บางคนแย้งว่าจิตวิทยาการศึกษามีหลักการที่เด่นชัดและทฤษฎีของตนเองรวมทั้งมีเทคนิคและวิธีการวิจัยในการศึกษาปัญหาของตนเองจากแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบันจิตวิทยาการศึกษาสัมพันธ์กับ

1.การทำความเข้าใจกับกระบวนการสอนและกระบวนการในการเรียนรู้

2.พยายามแสวงหาวิธีทางในการพัฒนากระบวนการเหล่านี้

         นักจิตวิทยาการศึกษาตรวจสอบศึกษาการเรียนรู้ในห้องทดลองก่อนนำไปใช้ในโรงเรียน ในบ้าน มหาวิทยาลัย กองทัพ โรงงานอุตสาหกรรม ในสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการศึกษากับใครที่ไหน สิ่งที่นักจิตวิทยาการศึกษาให้ความสนใจมากที่สุดคือ การประยุกต์ความรู้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนเป็นการศึกษาว่าคนเรามีการเรียนรู้อย่างไร และควรสอนอย่างไร โดยศึกษาทั้งในห้องทดลองและนอกห้องทดลอง (ศิริบูรณ์ สายโกสุม, 2542:4-5)

วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
      Good win and Klausmeier ได้กล่าวอยู่ 2 ประการ คือ


         1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
         2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ

 

จิตวิทยาการศึกษามีขอบข่ายกว้างขวาง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่น ดังนี้
        1. จิตวิทยา (Psychology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และสัตว์ การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาในปัจจุบันใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน
         2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการความสนใจของคนในวัยต่างๆซึ่งอาจแบ่งเป็น  จิตวิทยาเด็ก  จิตวิทยาวัยรุ่น  จิตวิทยาผู้ใหญ่
         3. จิตวิทยาสังคม(SocialPsychology) เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม จิตวิทยาสังคมเกี่ยวพันถึงวิชาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมวิทยา(Sociology)และมนุษยวิทยารวมทั้งเกี่ยวพันถึงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมากเป็นต้นว่าการเมืองศาสนาเศรษฐศาสตร์สุขภาพจิต
         4. จิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology) เป็นการศึกษาถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคจิต และโรคประสาท ความผิดปกติอันเนื่องจาก ความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น
         5.จิตวิทยาประยุกต์(AppliedPsychology)เป็นการนำความรู้และกฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาแขนงต่างๆมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์หรือนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น นำไปใช้ในการรักษาพยาบาล การให้คำปรึกษาหารือในวงการอุตสาหกรรม การควบคุมผู้ประพฤติผิด เป็นต้น
         6. จิตวิทยาการเรียนรู้(Psychology of learning) เป็นการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การจำ การลืม รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
         7.จิตวิทยาบุคลิกภาพ(Psychology of Personality)เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัว

ของบุคคลที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น ทั้งในด้านแนวคิด ทัศนคติ การปรับตัวและการแก้ปัญหา

ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษามีดังต่อไปนี้
       1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม
       2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
       3.ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้
       4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ
       5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
       6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
       7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง
       8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข

 

แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์

อิบนุมัสกะวัย มองว่าในตัวมนุษย์มี  นัฟซู 3 อย่างคือ

        1. นัฟซูสัตว์เลี้ยงชนิดทั่วไป (บาฮีมียะฮฺ) เช่น วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น

        2. นัฟซูสัตว์ชนิดดุร้าย (สะบูอียะฮฺ) เช่น เสือ สิงโต จระเข้ เป็นต้น

        3. นัฟซูพิเศษ แบบคิดใคร่ครวญ (นาติกอฮฺ)

 

จากข้างต้นสามารถนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ได้ ดังนี้

 

         1. นัฟซูชนิดแรกหากเปรียบเทียบกับมนุษย์ ก็ขอแค่ได้กิน ได้นอน หรือเรียกง่ายๆ ตามความเข้าใจของมนุษย์ทั่วไปต้องการคือ ปัจจัย 4

         2. นัฟซูชนิดที่ 2 หากเปรียบเทียบกับมนุษย์ก็จะเป็นมนุษย์จำพวกต้องการทรัพย์สิน เงิน

ทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ สุรา นารี ต่างๆ

         3. นัฟซูชนิดที่ 3 มีความพิเศษ สามารถคิดใคร่ครวญ

ทั้งสามนัฟซูข้างต้น นัฟซูชนิดที่ 1 และ 2 มากับร่างกายของมนุษย์แต่ละคนอยู่แล้ว ส่วนนัฟซูชนิดที่ 3 มาจากจิตวิญญาณที่พระองค์ให้มา ดังนั้น เมื่อมนุษย์เสียชีวิตนัฟซู 1 และ2 ก็จะหายไป ส่วนนัฟซูที่ 3 จะไม่หายไปไหน แต่จะอยู่กับวิญญาณต่อไป

            หลังจากนั้นมิสกาวัย ได้กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายนั้น เป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะแน่นแฟ้น กล่าว คือ เมื่อใดก็ตามที่จิตใจป่วย ร่างกายก็จะป่วยไปด้วย และเมื่อใดที่ร่างกายป่วย ก็จะมีผลกับจิตใจด้วย ซึ่งระหว่างร่างกายกับจิตใจนั้น ต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

แนวคิดทางด้านจิตวิทยา

                ท่านมีทัศนะว่า มนุษย์ถือเกิดในโลกที่เล็ก ในตําราของท่านส่วนหนึ่งพูดเกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์ โดยพูดใน 2 ประเด็น คือ

                1. ด้านกายภาพ สัมผัสทั้งห้า หู ตา จมูก ปาก ผิวหนัง

                2. ด้านจิตวิญญาณ

ด้านกายภาพ โดยธรรมชาติปกติของมนุษย์ทั่วไปแล้ว ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สามารถที่จะใช้ได้โดยปกติเหมือนคนธรรมดาทั่ว ๆไป แต่ทัศนะของท่านหากบุคคลคนหนึ่งได้รับ การช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ (ซบ) บุคคลคนนั้นสามารถที่จะทำในสิ่งที่บุคคลธรรมดาทั่วๆไปไม่สามารถที่จะทำได้

ด้านจิตวิญญาณ ท่านมีทัศนะว่ามนุษย์ มีคุณลักษณะ 2 ด้าน คือ จิตวิญญาณที่ดี มนุษย์จะแสดงออกมาซึ่งมารยาทที่ดีงาม ตรงกันข้ามหากมีจิตวิญญาณที่ชั่ว เลวทราม มนุษย์จะแสดงออกมาซึ่งมารยาที่ชั่ว ดังนั้นเด็กๆ ควรจะได้รับการอบรม สั่งสอน ตั่งแต่ยังเล็กๆ ดังสุภาษิตไทย ไม้อ่อนดัดง่าย ไม่แก่ดัดยาก

ทฤษฎีความรู้ของอิบนุ มิซกะวัยฮฺ

          ท่านได้อธิบายความรู้บนพื้นฐานแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ท่านมีทัศนะว่าความจริงแท้จะได้มาโดยอาศัยเหตุผลโดยผ่านสติปัญญาของมนุษย์ ท่านยังถืออีกว่าความรู้คือพื้นฐานของพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่ดีงาม และเป็นพื้นฐานของความดีทั้งมวล ดังนั้นการแสวงหาความรู้เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์เป็นผู้ที่สมบูรณ์  ท่านมีทัศนะว่าวิญญาณจะทำให้มนุษย์ปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม  แต่ร่างกายจะโน้มเอียงมนุษย์ไปยังสิ่งชั่วร้าย

          ทฤษฎีทางการศึกษาของอิบนุ มิซกะวัยฮฺ วางอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีทางการศึกษาของอริสโตเติล  ท่านมีทัศนะว่าการศึกษาต้องอาศัยสติปัญญา  ร่างกาย และคุณธรรมเพื่อผลิตมนุษย์ที่ประสบกับความสุขแห่งตน และความสุขที่แท้จริงอันเป็นนิรันดร์  การศึกษาจะต้องช่วยสนับสนุนรัฐ  และการศึกษาเพื่อความสมบูรณ์ของร่างกายควรเริ่มก่อนการศึกษาทางจิตวิญญาณและสติปัญญา เนื่องจากท่านมีแนวคิดว่าเป้าหมายของชีวิตคือ การผสมผสานระหว่างความต้องการของมนุษย์กับความต้องการของพระเจ้า  ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับศาสนาจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะมันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มนุษย์บรรลุซึ่งความต้องการของตนเองและความต้องการของพระเจ้า เป้าหมายของการศึกษาศาสนาไม่เพียงแต่จะต่อต้านสิ่งที่ขัดกับหลักการศาสนา  แต่จะสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

 

แนวคิดทางการศึกษาของอิบนุ มิซกะวัยฮฺ

          ท่านมีทัศนะว่าการศึกษาของเด็ก ๆ ควรเป็นดังต่อไปนี้

  • 1. ควรสอนให้เด็กเดินสายกลาง
  • 2. เด็กไม่ควรแต่งกายด้วยการแต่งกายที่มีสีฉูดฉาดหรือมีลวดลายมากเกินไป
  • 3. ให้เด็กฝึกท่องหะดีษ และบทกวีที่ดี ๆ ให้หลีกเลี่ยงบทกวีที่ไร้สาระและบทกวีเกี่ยวกับความรัก
  • 4. เด็ก ๆ ควรได้รับการยกย่องสำหรับการปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม
  • 5. เริ่มฝึกเด็ก ๆ เกี่ยวกับมารยาทในการรับประทานอาหาร และการดูแลสุขภาพอนามัย
  • 6. ฝึกอย่าให้เด็ก ๆ นอนมากจนเกินไป เพราะการนอนมากจนเกินไปจะทำให้สติปัญญาเฉื่อยชา
  • 7. ไม่ควรฝึกให้เด็กเคยชินกับความหรูหรา
  • 8. ฝึกให้เด็ก ๆ พูดแต่น้อย ๆ
  • 9. ฝึกให้เด็กเป็นคนที่เข้มแข็ง
  • 10. ฝึกให้เชื่อฟังพ่อแม่

          อิบนุ มิซกะวัยฮฺ มีทัศนะว่า  จริยธรรมมีความสำคัญมากสำหรับการศึกษาของเด็ก ๆ ท่านได้สรุปเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่ดีงามของเด็ก ๆ ดังต่อไปนี้ (Alavi, 1988)

  • 1. ควรฝึกเด็กให้ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย
  • 2. ควรคบเพื่อนที่ดี หลีกเลี่ยงบทกวีที่ไร้สาระ
  • 3. ฝึกมารยาทในการรับประทานอาหาร
  • 4. ฝึกให้นอนแต่น้อย ๆ ไม่ควรนอนบนที่นอนที่หรูหรา
  • 5. ควรสอนให้เด็กตระหนักว่าการลุ่มหลงในเงินทองเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ

อิบนุ  มิซกะวัยฮฺ มีทัศนะดังกล่าวเพราะท่านเชื่อว่าเด็กที่เกิดมาไม่ใช่ดีหรือชั่วโดยกำเนิด แต่เด็ก ๆ จะเป็นผู้บริสุทธิ์

 เนื้อหาในข้างต้น เป็นข้อมูลจากการค้นคว้าของผู้นําเสนอเอง

หมายเลขบันทึก: 284417เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท