การจัดการความรู้ 9 เทคนิควิธีสู่..ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา


การจัดการความรู้ 9 เทคนิควิธีสู่..ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา

การจัดการความรู้ 9 เทคนิควิธีสู่..ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา(ตอนที่ 1)

            ปัจจุบันสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงจากยุคอุตสาหกรรมที่มีปัจจัยสำคัญในการแข่งขันคือ “ทุน”  เข้าสู่ยุคที่ปัจจัยสำคัญในการแข่งขันคือความรู้ (Knowledge)ที่องค์การและผู้คนจำเป็นจะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถที่จะนำประสบการณ์ความรู้ ที่มีอยู่หลากหลาย ทั้งในตัวตน ในองค์การ หรือในตำรา มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้(KM : Knowledge  Management)

          สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้จะนำตัวอย่างแนวทางการจัดการความรู้ที่สถานศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพและบริบทของตนเอง เป็นเทคนิคการจัดการความรู้ 9 วิธี ดังนี้

            1.การจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย  นอกจากการจัดการศึกษาในระบบแล้ว โรงเรียนต้องส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดให้มีโครงการ “ห้องเรียนในโลกกว้าง” โดยจัดตั้ง Internet ให้บริการครูและนักเรียน ได้ศึกษาค้นคว้าข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ต่างๆอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน

          2.การบริหารแบบมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจ

                   - ให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมและมีการกระจายอำนาจการบริหารโดยการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาครู คณะกรรมการสายชั้น คณะกรรมการฝ่าย

                   - จัดระบบการบริหารงานตามวงจรเดมมิ่ง เพื่อให้การประสานงาน ติดตาม ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

                   - จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ นำไปศึกษาดูงาน นิเทศภายในให้คำปรึกษาและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของครูอย่างต่อเนื่อง

                   - สร้างเครือข่ายผู้ปกครอง ระดมความคิดเห็น คำแนะนำ ข้อเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียนและโรงเรียนโดยส่วนรวม

                   - ส่งเสริมให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มีบทบาท มีส่วนร่วมในการบริหารงานในโรงเรียน

                   - คณะครูได้มีการจัดตั้งกลุ่ม STAR (Small  Team  Activity Relationship)ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยมีสมาชิกประมาณ 12-15 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบในสายชั้นของตนเอง เช่นการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง การฝึกระเบียบวินัยและมารยาท การไหว้ เป็นต้น

          3.การพัฒนาบุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษา

                   - จัดให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน

                   - จัดให้มีการแลกเปลี่ยนครูและผู้บริหารกับสมาคมทางการศึกษากับหน่วยงานทางการศึกษาอื่น

                   - จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการศึกษาและขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาในการเป็นวิทยากรภูมิปัญญาชาวบ้านให้การอบรมความรู้ให้แก่นักเรียน

          4.ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาโดยการ “ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน”

                   - จากเดิม ครูทำหน้าที่เป็นผู้สอน ปรับเปลี่ยนเป็น ผู้อำนวยการจัดการความรู้

                   - จากเดิม ที่สอนในห้องเรียน  ปรับเปลี่ยนเป็น จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน

                   - จากเดิม ที่สอนเป็นรายวิชา ปรับเปลี่ยนเป็น บูรณาการหลากหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้

                   - จากเดิม ที่เคยวัดผลประเมินผลจากการสอบ ปรับเปลี่ยนเป็นการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงและหลากหลายวิธีเพื่อค้นหาและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

          จะเห็นว่ากว่าจะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ผู้บริหารจะต้องอดทนและใช้เวลาพอสมควร ทั้งนี้โดยอาศัยวิธีการ “สร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และผลักดันคุณภาพ” อย่างต่อเนื่อง จึงจะบังเกิดผลดี

          จัดให้มีการนำเสนอผลงานของครูและนักเรียนในเวที ศักยภาพนักเรียน( Child Show )และเวทีศักยภาพครู(Teachers Show) เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

          5.พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลจิระศาสตร์(JIRASART Teaching’s Model) ดังนี้

          J มาจากคำว่า Joyfull to learning หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเองและมีความสุขในการเรียน

          I มาจากคำว่า Integrating Knowledge หมายถึง การนำความรู้จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมาบูรณาการสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่

          R มาจากคำว่า Reflecting observation หมายถึง การสะท้อนความรู้สึกนึกคิดจากการสังเกตออกมาเป็นคำพูดหรือการเขียนเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ เข้าใจ

          A มาจากคำว่า Acting experimentation หมายถึงการลงมือปฏิบัติ/ทดลองตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้

           

            S มาจากคำว่า satisfaction หมายถึง ความภาคภูมิใจในผลงานและการยอมรับความรู้ความสามารถของตนเองและผู้อื่น

            A มาจากคำว่า Achievement หมายถึง การมุ่งมั่นทำงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นดำเนินการจนสำเร็จ

          R มาจากคำว่า Research & Development หมายถึง การค้นหาปัญหา ข้อบกพร่องของผลงานหรือการทำงานและหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

          T มาจากคำว่า Teamwork หมายถึง การรู้จักทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่น

          ครูสามารถดำเนินการสอนตามโมเดลการสอนของจิระศาสตร์ได้ดังนี้

                        1.การให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข (Joyfull to learning )ขั้นนี้เป็นการใช้เกม เพลง หรือกิจกรรมประกอบบทเรียน ให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นอยากเรียนและได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

                    2.ขั้นการบูรณาการความรู้(Integrating Knowledge)ขั้นนี้เป็นการทบทวนความรู้เดิมและการให้ความรู้ใหม่แก่นักเรียนโดยผู้เรียนต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลความรู้ที่หามาได้

                    3.ขั้นสะท้อนความรู้สึกนึกคิด(Reflecting observayion)ขั้นนี้เป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนจากการสังเกตออกมาเป็นคำพูด หรือการเขียนเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ เข้าใจ

                   -ติดตามตอนที่ 2นะคะ-

หมายเลขบันทึก: 281970เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2009 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

มาอ่านแล้วได้ความรู้ครับ

ถ้าทุกท่านนำไปประยุกต์ใช้

คงเป็นความสำเร็จของลูก ๆ ในอนาคตครับ

จะมาติดตามอ่านตอนต่อไปครับ

มาเยี่ยมชม ได้ความรู้ดีค่ะ

เป็นขุมของความรู้เลยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท