เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ตอน 1


การบริหารจัดการองค์กรและการจัดการความรู้ (26)

สถาบันอุดมศึกษาขึ้นชื่อว่าเป็นสถาบันที่มีความรู้ภายนอก และความรู้ภายในอย่างมากมายมหาศาล เป็นที่คาดหวังของสังคมว่าจะสามารถสร้างสรรค์ผลิตผลต่างๆ ได้แก่ บัณฑิต การวิจัย  การแก้ไขปัญหาของสังคม เป็นที่พึงของประเทศ ดังนั้นหากสามารถใช้การจัดการความรู้ได้อย่างดี มีประสิทธิภาพแล้วจะก่อให้เกิดพลังอย่างมหาศาล แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอุปสรรคบางประการที่ไม่สามารถใช้การจัดการความรู้ได้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญได้แก่ บรรยากาศเชิงวิชาการ เป็นที่รู้กันว่าสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วยคนเก่งมากมาย แต่ละท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะด้าน  หากขาดการสื่อสารหรือเปิดใจรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำให้ไม่สามารถรวมพลังกันได้อย่างเต็มที่

เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยหรือ UKM (University Knowledge Management) เกิดจากผู้ริเริ่มสำคัญ คือ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในขณะนั้น ได้ชักชวนชาวมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง เพื่อร่วมกันลงนามก่อตั้งขึ้น ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อมามีการขยายเครือข่ายเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ในระยะเบื้องต้น สคส. เป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณ

ภาพศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช เมื่อคราวบรรยายเรื่อง R2R ใน UKM ครั้งที่ 13  ณ  จังหวัดกระบี่

ต่อมามหาวิทยาลัยร่วมกันรับภาระค่าใช้จ่ายและผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยการจัดกิจกรรมร่วมกันทุก 3-4 เดือน ประเด็นที่ชาวมหาวิทยาลัยปรึกษาหารือกันจะมีการกำหนดโจทย์ที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กัน นับตั้งแต่ลงนามความร่วมมือครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นวันที่เกิดคลื่นสึนามิพอดี รุ่นนี้จึงเรียกว่ารุ่นสึนามิ และลงนามความร่วมมือครั้งที่ 2 วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นับถึงปัจจุบันมีการประชุม UKM มาแล้วจำนวน 14 ครั้ง

ภาพการลงนามความร่วมมือ UKM ครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547

ครั้งที่ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดพิธีการลงนามความร่วมมือและอบรม หัวข้อเรื่อง การอบรมวิทยากรกระบวนการ-เครือข่ายคุณอำนวยที่บ้านผู้หว่าน จังหวัดนครปฐม

ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพ หัวข้อเรื่อง ประสบการณ์จัดการความรู้

ครั้งที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าภาพ จัดที่จังหวัดพิษณุโลก หัวข้อเรื่อง ระบบบริหารงานวิจัยที่มีคุณภาพในมหาวิทยาลัย

ครั้งที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพ จัดที่จังหวัดขอนแก่น หัวข้อเรื่อง การบริหารงานพัสดุและงานบุคคล

ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเจ้าภาพ จัดที่จังหวัดมหาสารคาม หัวข้อเรื่อง การบูรณาการระบบคุณภาพ

ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพ จัดที่หาดใหญ่ หัวข้อเรื่อง "การบริหารจัดการ ชุมชนนักปฏิบัติ"

ครั้งที่ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพ จัดที่จังหวัดนครปฐม หัวข้อเรื่อง "การจัดการความรู้: การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง"

ครั้งที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าภาพ จัดที่จังหวัดสุโขทัย หัวข้อเรื่อง "การพัฒนาทุนมนุษย์สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้"

ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพ จัดที่จังหวัดขอนแก่น หัวข้อเรื่อง "การก่อเกิดและดำรงอยู่ของศูนย์วิจัยเฉพาะทาง"

ครั้งที่ 10  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพ  จัดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวข้อเรื่อง "การบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) อะไร ทำไม และอย่างไร"

ครั้งที่ 11  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  เป็นเจ้าภาพ  จัดที่จังหวัดมหาสารคาม  หัวข้อเรื่อง  "การเชื่อมโยงวิชาการสู่ชุมชน"

ครั้งที่ 12  มหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นเจ้าภาพ  จัดที่จังหวัดนครนายก  หัวข้อเรื่อง "Routine to Research" 

ครั้งที่ 13  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เป็นเจ้าภาพ  จัดที่จังหวัดกระบี่  หัวข้อเรื่อง "การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์"

ครั้งที่ 14  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เป็นเจ้าภาพ  จัดที่จังหวัดมหาสารคาม  หัวข้อเรื่อง  "การเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีมุ่งสู่บัณฑิตอันพึงประสงค์"

การบริหารจัดการองค์กรและการจัดการความรู้ (รวมบท)

เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย  ตอน 1  ตอน 2  ตอน 3  ตอน 4  ตอน 5  ตอน 6

หมายเลขบันทึก: 279306เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท