มีความประทับใจในหลาย ๆ
เรื่องในการเยี่ยมชม ถอดองค์ความรู้
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตาม บันทึกที่ 1
บันทึกนี้ขอยกความประทับใจที่ผมมีให้กับทีมงานที่ไปร่วมกัน
เวทีเรียนรู้ของเราถือว่าประสบความสำเร็จ
ตามแบบฉบับของนักจัดกระบวนการ KM คือเป็นผู้ฟังที่ดีในลักษณะ ฟังด้วยความสนใจ
ฟังเชิงลึก ไม่คุยกันเอง ฟังและจดบันทึก ถามเท่าที่จำเป็นและเป็นจังหวะ
ไม่ทำให้ผู้เล่าเสียสมาธิในการเล่าที่ท่านต้องการเล่าถ่ายทอดให้เรารู้
และผู้เล่าเล่าอย่างมีความสุขเมื่อผู้ฟังตั้งใจ
เพราะท่านยืนเรานั่งท่านเห็นพฤติกรรมเราได้หมด
อาจารย์วิรัฐ กาญจนพรหม (เสื้อชมพู) คุณจำเนียร
กาญจนพรหม (เสื้อเหลือง) ภรรยา
ผู้ร่วมเวทีด้วยกันทุกคนก็สามารถมีสมาธิในการคิดตามและจับประเด็น
พี่เดโช พลายชุม (เสื้อนอกน้ำเงิน) เป็นผู้ดำเนินการ "คุณอำนวย"
และ"ลิขิต" ไปด้วยการทำ Mind Map
นำทางไว้ล่วงหน้าโดยแตกกิ่งประเด็นไว้ก่อนในประเด็นที่ต้องการรู้
และดูเหมือนอาจารย์ วิรัฐ จะสอดรับได้เป็นอย่างดี
เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่สามารถนำไปปรับใช้ในกรณีที่เวลามีน้อยแต่เราอยากรู้ในประเด็นใดก็ขึ้น
Mind Map ให้เห็นผู้เล่าจะได้เล่าให้เรารู้ในประเด็นที่ต้องการได้
สำหรับผมยังไม่คุ้นชิน
ก็เลยต้องจดบันทึกไปตามความถนัดของตนเองคือตามที่เคยปฏิบัติมา
คือฟังเสียงผ่านหูโดยใช้เสียงที่ได้ยินเป็นหลักตามองที่เครื่องมือที่ทำอยู่
จับประเด็น และสั่งมือ เขียนเป็น Mind Map เหมือนกัน
สาระใกล้เคียงกันแต่หน้าตาแตกต่างไปตามความคิดความถนัดของแต่ละคนถือได้ว่าครั้งนี้ได้แลกเปลี่ยนการใช้เครื่องด้วยอีกประเด็นหนึ่ง
วันนี้ได้เรียนรู้ว่าตนเองถนัดแบบไหน เมื่อมาร่วมกิจกรรมกับพี่
ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ หลาย ๆคน ผมสังเกตุว่าพี่เดโช
คล้ายกับผมอย่างหนึ่งคือ ทำหน้าที่ไปพร้อมกัน 2 หน้าที่ คือ
เป็นคุณอำนวย + คุณลิขิต ซึ่งผมก็ถนัดแบบนี้
ถ้าเป็นคุณอำนวยอย่างเดียวผมรู้สึกฝืดไม่ลื่นไหลต้องลิขิตด้วยโดย Mind
Map นี่แหละรู้สึกว่าสมองจะคิดตามเพื่อตั้งคำถามจะทำให้ลื่นไหลกว่ามาก
แต่ถ้าทำหน้าที่ลิขิตอย่างเดียวก็ไม่เป็นไร

ภาพนี้เป็น Mind Map ในกระดาษฟาง
ปิดหน้าเวทีตอนถอดองค์ความรู้ที่เราต้องการ โดยพี่เดโช
สร้างกิ่งหลักไว้ก่อน
เมื่อผู้เล่าเล่าไปก็นำประเด็นไปใส่ตามกิ่งประเด็นนั้น ๆ
โดยประเด็นที่ต้องการรู้ครั้งนี้คือการบริหารจัดการ
ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงศูนย์นี้

ภาพนี้คือลิขิตของผมในกระดาษ เอ 4 ตามที่ผมถนัด ฟังแล้วคิดตาม
และเขียน จนจบการฟัง การสร้างตามแบบพี่เดโช ผมต้องฝึกเพิ่มอีก
เพราะบางครั้งต้องนำไปปรับใช้บ้างในเวทีที่มีเวลาสั้น ๆ
ประเด็นที่ได้ก็เหมือนกันครับ
แตกต่างตรงวิธีการตามความคิดที่ตนถนัด
เวทีครั้งนี้ผมว่าถ้าสถานที่อำนวย เวลามีพอควร ทุกคนทั้งผู้เล่า
ผู้ฟังนั่งหันเข้าหากันเป็นรูปตัวยู
ส่วนคุณลิขิต+อำนวยยืนเดินเป็นธรรมดาอยู่แล้ว คงสนุกมาก ๆ
เพราะทุกคนเปิดใจเข้าหากัน ที่เด่นในการกระบวนการที่เกิดขึ้นก็คือ
เรามีโอกาสได้ผ่อนคลายในช่วงที่ไปถึงสถานที่ใหม่ ๆ
โดยเดินชมก่อนด้วยภาพของจริง พร้อมกับการบอกเล่าสั้น ๆ
เมื่อมาฟังเรื่องเล่ายาวทำให้ทุกคนประติดประต่อประเด็นกับภาพจริงที่เห็นได้
โดยคำถามแบบจุกจิกจึงไม่เกิดขึ้นเราจึงได้สาระเยอะมาก เสียดายที่เวลาเราน้อย แต่อย่างไรก็ตามเห็นบรรยากาศเวทีแบบนี้แล้วมีความสุข
บันทึกนี้จากเหตุการณ์ ระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม
2552 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
จังหวัดสงขลา จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับเขตภาคใต้ ครั้งที่ 2/2552
ณ โรงแรมวัฒนา พาร์ค จังหวัดตรัง
โดยมีเป้าหมายนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จาก 14 จังหวัดภาคใต้
จังหวัดละ 3 คน