บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้บริหาร


บัญญัติ 10 ประการ

 

                 ผู้บริหารยุคใหม่ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีหลักการจึงจะบริหารคน  บริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ บทความที่แล้วได้พูดถึงสิ่งที่ผู้บริหารไม่ควรทำ  บทความนี้ขอนำเสนอ บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้บริหารไว้ ของอาจารย์มนัสวี  ธาดาสีห์  เห็นว่ามีประโยชน์จึงขอนำมาให้ผู้ที่สนใจอ่านและนำไปเป็นข้อคิด  ดังนี้

บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้บริหาร

1.        จัดลำดับความสำคัญของงาน

เป็นไปไม่ได้ที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ผู้บริหารต้องจัดลำดับความสำคัญของงานที่มีความสำคัญ และส่งผลกระทบสูงสุดควรทำก่อน แทนที่จะพยายามทำทุกสิ่งให้ได้สมบูรณ์ (Perfectly) ในครั้งเดียว

2.        กระจายงาน

พยายามแตกงานให้เล็กลงจะช่วยในการบริหาร เพราะเป็นการกระจายงาน และมอบหมายความรับผิดชอบไปด้วยพร้อมกัน

3.        ยืนอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง  และการระบุปัญหา

เวลาวางแผนก็ต้องระบุชัดว่าจะให้ทำอะไร เมื่อไหร่ เมื่อถึงเวลาติดตามก็จะมั่นใจว่าคนที่ได้รับมอบหมายได้ทำตามเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งติดตามดูความเป็นจริง และสามารถชี้ชัดถึงประเด็นปัญหาพร้อมให้คำแนะนำได้

4.        อาศัยพื้นฐานเทคโนโลยีทางวิศวกรรมช่วยในการบริหาร

ผู้บริหารต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการบริหารช่วยชี้ประเด็นปัญหา และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมช่วยในการแก้ปัญหา ทั้ง 2 เทคโนโลยีเปรียบเสมือนวงล้อทั้ง 2 ข้างของล้อจักรยาน ล้อหนึ่งนำทางและอีกล้อหนึ่งสร้างกำลังใจ  จากประสบการณ์ของท่านประธาน KOBATA คิดว่าเทคโนทางวิศวกรรมมีส่วนช่วยได้มาก จึงแนะนำผู้บริหารให้นำมาใช้ ไม่ควรละเลย

5.        เริ่มต้นด้วยการตั้งสมมติฐาน

เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น สามัญสำนึกของคนเราคือต้องหาสาเหตุ วิธีการหนึ่งคือ การตั้งสมมติฐานของสาเหตุที่จะเป็นไปได้ และค่อย ๆ คิดจนสุดท้ายจะพบข้อสรุป โดยพยายามหาหลากหลายความคิด

6.        บริหารเป้าหมาย

เมื่อคุณต้องบริการกระบวนการใด สิ่งสำคัญก็คือ ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อจะได้วัดผลการปฏิบัติได้ เช่น ต้องการประหยัดพลังงานและลดต้นทุน พลังงานก็จะเป็นตัวที่เราจะวัดผล ซึ่งจะต้องวัดให้ชัดถึงปริมาณที่ใช้ต่อนาที หรือต่อจำนวนผลิตผลที่ได้

7.        มุ่งการแก้ปัญหา ไม่ใช่ตำหนิหรือหาคนผิด

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมาก เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมักจะตำหนิผู้อื่น หรือหาคนกระทำผิดก่อน นั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง และไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเลย สิ่งแรกคือต้องคิดว่า ปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร และที่สำคัญคือ ต้องมุ่งแก้ปัญหาไม่ใช่ยึดถือตัวเอง

8.        ทฤษฎีเกิดขึ้นจากประสบการณ

การกระทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ทดลองทำและแก้ไขไปด้วย สุดท้ายคุณก็จะสามารถกำหนด และสร้างบททฤษฎีขึ้นมา นั่นคือ ผู้บริหารก็สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมั่นใจเสมอ

9.        ขจัดการพูดที่ไร้การกระทำ

บางคนพูดดีมาก เสนอแนะเรื่องต่าง ๆ และเป็นผู้รับฟังที่ดี และมีความสามารถในการชี้ชวนผู้อื่น แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องลงมือปฏิบัติกลับไม่ทำอะไรเลย นั่นไม่ใช่ผู้บริหารที่เราต้องการ เราต้องการผู้บริหารที่สามารถเข้าใจ หรือมองเห็นประเด็นปัญหา และใช้ประสบการณ์จริงมาลงมือปฏิบัติ

10.     จัดการที่สาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ต้องมั่นใจว่าเราจับประเด็นสาเหตุถูกต้องแล้ว จึงจะแก้ปัญหาเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำอีกในครั้งต่อไป วิธีการแก้ปัญหาบางทีก็เกี่ยวข้องกับเครื่องมืออุปกรณ์ (hardware) บ้างก็เกี่ยวข้องกับระบบ (software) หรือทั้งสองแบบ พยายามให้มั่นใจว่าเราจะเผชิญกับปัญหานี้เพียงครั้งเดียว คือ ต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีก

สรุป "รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"

 

คำสำคัญ (Tags): #คิดดีทำดี
หมายเลขบันทึก: 273496เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เป็นบทความที่อ่านแล้วสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ เพราะเป็นพื้นฐานที่ผู้บริหารต้องนำไปใช้ในการบริหาร

ขอขอบคุณค่ะน้องนางที่แวะมาอ่าน

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ที่มาเยี่ยม

ถ้าทำได้ทั้ง 10 ประการ จะเป็นผู้บริหารตัวอย่างได้เลยนะเนี่ย

ขอขอคุณพี่จิ๋ม และคุณ pa daeng มากที่แวะมาอ่าน

ขอบคุณมากค่ะที่แบ่งปันความรู้ดีๆ

ยินดีค่ะน้องกวิสราที่มาแวะอ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท