22 วิธีป้องกันสมองเสื่อม


 

...

อ.ดร. คริสเตอร์ ฮาคานซัน (Krister Hakannsonนักวิจัยจากสถาบันคาโรลินสกา สวีเดนพบว่า คนที่มียีนส์หรือพันธุกรรม (DNA) เสี่ยงชนิด 'APOE variant 4' และอยู่คนเดียว เสี่ยงโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) เพิ่มขึ้น

ความเสี่ยงนี้พบในคนที่แยกกันอยู่ หรือหย่าร้างจากคู่ครองที่อยู่กันมานานก่อนอายุ 50 ปี

...

โลกเบี้ยวๆ ใบนี้มีคนเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) 25 ล้านคนในปี 2005 และจะเพิ่มเป็น 81 ล้านคนในปี 2040

ถึงตรงนี้... ขอให้นำตัวเลข 543 ไปบวกปี ค.ศ. เพื่อทำเป็นปี พ.ศ. ในใจ ห้ามใช้กระดาษ (โปรดสังเกตว่า บล็อกของเราโหดร้ายมากทีเดียว)  ถ้าทำได้... โอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมของท่านตอนนี้นับว่า ค่อนไปทางต่ำ (ลองดู!)

...

การศึกษานี้ทำในกลุ่มตัวอย่างทางตะวันออกของฟินแลนด์ อายุเฉลี่ย 50 ปี 2,000 คน ติดตามไป 21 ปี

ผลการศึกษาพบว่า

  • (1). คนที่อยู่คนเดียว (live alone) ในวัยกลางคน > เสี่ยงสมองเสื่อม 2 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่อยู่กับคู่ครอง (partner)
  • (2). "คนเคย(มี)คู่" ได้แก่ แม่ม่าย-พ่อม่ายจากการหย่าร้าง (widows) และแม่ม่าย-พ่อม่ายจากอีกฝ่ายเสียชีวิต และไม่มีคู่ใหม่ (widowers) > เสี่ยงสมองเสื่อม 3 เท่า
  • (3). ถ้ามียีนส์ (ชุด DNA หรือรหัสพันธุกรรมที่แสดงผลได้) อะโปโฟร์กลายพันธุ์จะเสี่ยงมากขึ้น

...

การศึกษานี้พบว่า ปัจจัยเพิ่มเสี่ยงสำคัญได้แก่ อายุที่มากขึ้น, ยีนส์ผิดปกติ "อะโปโฟร์", และการอยู่คนเดียวในวัยกลางคน

อ.ดร.ซูซานน์ ซอเรนเซน ผู้อำนวยการวิจัยสมาคมอัลไซเมอร์สหราชอาณาจักรกล่าวว่า พันธุกรรมมีผลก็จริง (พันธุกรรมมีผลประมาณ 25%), ทว่า... "คนโสดอย่าเพิ่งตกใจ" คนเรายังป้องกันโรคนี้ได้ดังต่อไปนี้ [ helpguide ]

...

  • (1). เข้าสังคมพอประมาณ ไม่ว่าจะเป็นออฟไลน์ (off-line = ชีวิตจริง) หรือออนไลน์ (online) เช่น สังคมในอินเตอร์เน็ต ฯลฯ
  • (2). กินอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเน้นธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ฯลฯ, ผัก, ผลไม้ทั้งผล, ถั่วหรือนัท (ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ) ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด ฯลฯ
  • (3). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ > ควรเน้นทั้งแบบคาร์ดิโอหรือแอโรบิค เช่น เดินเร็ว ฯลฯ และออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก เล่นเวท ดึงสปริง ดึงยางยืด ฯลฯ, การออกกำลังที่ได้ผลทั้งสองด้าน คือ เดินขึ้นลงบันได (ควรทำอย่างต่ำวันละ 7 นาที เสริมไปในการออกกำลังแบบอื่นๆ)
  • (4). ตรวจเช็คความดันเลือดสูง > ถ้าสูง... ปรับการใช้ชีวิต และรักษาให้ต่อเนื่อง

...

  • (5). ตรวจเช็คโคเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือด > ถ้าสูง... ปรับการใช้ชีวิต และรักษาให้ต่อเนื่อง
  • (6). ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด > ถ้าสูง... ปรับการใช้ชีวิต และรักษาให้ต่อเนื่อง > เป็นเบาหวานเพิ่มเสี่ยง 2 เท่า
  • (7). ไม่สูบบุหรี่ > คนที่สูบบุหรี่หลังอายุ 65 ปี เพิ่มเสี่ยง 79%
  • (8). ระวังอย่าให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน > คนที่อ้วนในวัยกลางคนเพิ่มเสี่ยง 3.5 เท่า
...
  • (9). ความเครียดเรื้อรังเพิ่มเสี่ยงได้มากจนถึง 4 เท่า
  • (10). ลดไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีมากในกะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และเนื้อสัตว์ใหญ่ (เนื้อแดง เช่น วัว แพะ แกะ หมู ฯลฯ) - เนื้อสำเร็จรูปมักจะมีการปนมันสัตว์เข้าไป เช่น ไส้กรอก หมูยอ หมูแผ่น หมูหยอง แฮม เบคอน ฯลฯ
  • (11). ลดไขมันทรานส์ ซึ่งมีมากในเบเกอรี เนยขาว เนยเทียมส่วนใหญ่ ขนมกรุบกรอบ อาหารจานด่วน ฟาสต์ฟูด
  • (12). ไม่กินน้ำตาล ซึ่งมีมากในน้ำผลไม้กรองกาก น้ำหวาน เครื่องดื่มเติมน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ ฯลฯ > การชงชา-กาแฟเอง ใช้ครีมเทียมที่ทำจากน้ำมันถั่วเหลือง ใช้น้ำตาลแต่น้อย หรือใช้น้ำตาลเทียม มีส่วนช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้มาก
...
  • (13). ฝึกสมองกับ 2 มือเสมอ > ฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัด เช่น ถนัดขวา-ลองใช้เมาส์ด้วยมือซ้าย, ฝึกพิมพ์ดีดสัมผัส 10 นิ้วหลายๆ ภาษา, เปลี่ยนเส้นทางไปที่ต่างๆ บ้างตามโอกาส, ลองเดินหรือขี่จักรยานแทนการใช้รถ (ถ้าปลอดภัย) ฯลฯ
  • (14). ฝึกเป็นนักสืบ+นักวิเคราะห์ '5W' > ฝึกทบทวนย้อนหลังว่า วันนี้เราทำอะไรบ้าง โดยตั้งคำถามให้ครบ '5W' ได้แก่ "who, what, where, when, why = ใคร, อะไร, ที่ไหน, เมื่อไร, ทำไม" เช่น อ่านข่าวหรืออ่านบล็อกจบแล้ว ให้ลองทบทวนดูว่า เรื่องนี้ใครเป็นพระเอก-นางเอก พระรอง-นางรอง หรือผู้ร้าย, เรื่องอะไร (ลองวาดภาพประกอบ), เหตุเกิดที่ไหน, เมื่อไร, และทำไมจึงเกิดเหตุนี้ขึ้น
  • (15). นอนให้พอ
  • (16). ถ้านอนกรน > ให้ฝึกนอนตะแคง บริหารกล้ามเนื้อช่องปาก และหาทางลดน้ำหนัก เพื่อให้นอนหลับได้สนิทขึ้น
...
  • (17). อย่าฝันกลางวันนาน > ฝันกลางวันได้... แต่ถ้านานเกิน 10 นาที ควรลุกขึ้น เดินไปมา แล้วกลับสู่โลกของความเป็นจริง
  • (18). ฝึกผ่อนคลาย > ออกกำลังแผนตะวันออก เช่น ไทเกก-ไทชิ โยคะ มวยจีน รำกระบองชีวจิต ฯลฯ + ฝึกหายใจช้าๆ วางมือหนึ่งไว้ที่หน้าอก มืออีกข้างวางไว้ที่ท้อง เวลาหายใจเข้าให้ท้องป่องเล็กน้อย หายใจออกให้ท้องแฟบเล็กน้อย แล้วฝึกหายใจไม่เกิน 10 ครั้ง/นาที คราวละ 10-15 นาที
  • (19). ไม่ดื่มหนัก > การสูบบุหรี่ + ดื่มแอลกอฮอล์มากทำให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น 6-7 ปี
  • (20). ระวังอุบัติเหตุ > เมาไม่ขับ + ง่วงไม่ขับ + สวมหมวกกันน็อคบนจักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ + สวมเข็มขัดนิรภัยบนรถยนต์

... 

  • (21). ระวังตะกั่ว > ตะกั่วมีมากในหมึกพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ ควรล้างมือหลังอ่านหนังสือพิมพ์ หรืออ่านฉบับออนไลน์ในอินเตอร์เน็ตแทนฉบับจริง, ไม่กินก๋วยเตี๋ยวหรือซุป ยกเว้นตรวจสอบแล้วว่า หม้อต้มไม่ได้ใช้สารตะกั่ว, ไม่ดื่มน้ำจากตู้น้ำกด ซึ่งอาจเชื่อมด้วยตะกั่ว, ล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ
  • (22). ระวังอลูมิเนียม > อลูมิเนียมมีมากในยาดับกลิ่นชนิดทารักแร้ ยาลดกรดชนิดน้ำขาวขุ่น ควรล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ
...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank BBC; [ helpguide ]

ที่มา                                                                      

หมายเลขบันทึก: 273492เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท