เทคโนโลยีสารสนเทศ


นำไปใช้ในการศึกษา

 

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology เรียกย่อๆว่า IT)


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
             เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)มาจากการผสมคำระหว่างสารสนเทศ (Information)
กับคำว่าเทคโนโลยี(Technology) ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้
             เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูล และสามารถติดต่อ
สื่อสารกับเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน(ชัยพจน์ รักงาม, 2540, หน้า42)
       เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวล จัดเก็บรวบรวม เรียกใช้และนำเสนอด้วย
วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (พจนารถ ทองคำเจริญ, 2539, หน้า14)
       เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารทุกรูปแบบ  ไม่วาจะเป็น    ข้อความ
 ตัวเลข เสียง ภาพ ผ่านสื่อต่างๆ(วิภาวดี ดิษฐสุธรรม, 2540, หน้า10)
       เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ
 ซึ่งรวมแล้วคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม(ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540, หน้า17)
       จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูลทุก
รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพโดยผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ที่อยู่
ในระบบเครือข่าย โดยผ่านระบบโทรคมนาคม

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
           1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก็คือระบบคอมพิวเตอร์ทั้งใหญ่และน้อย อันประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์
 ซอฟท์แวร์และข้อมูล ฮาร์ดแวร์ คือ ตัวเครื่องที่ประกอบขึ้นหรือพัฒนาขึ้นได้  ด้วยความรู้ทางภาคทฤษฎีและ
ปฏิบัติ ทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ จนสามารถย่อวงจรที่ซับซ้อนประกอบด้วยวงจรนับล้านวงจร ลงบน
แผ่นวงจรหรือชิบขนาดเล็กเพียงหนึ่งตารางเซ็นติเมตรได้ อันที่จริงความก้าวหน้าทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น
เวลานี้ มาจากความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์นั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้ได้ย่อมมีเหตุผลอยู่ นั่นคือคอมพิวเตอร์
เป็นเครื่องมือที่ท้าทายคนทุกอาชีพ ทุกวัยดังนั้นผู้ที่สนใจเหล่านี้จึงจัดหาคอมพิวเตอร์มาศึกษาและประยุกต์
ในงานของตนเอง ทำให้เกิดความก้าวหน้าเป็นทวีคูณยิ่งกว่าช่วงสามสิบปีในยุคแรก ยุคของคอมพิวเตอร์ซึ่ง
มีแต่เฉพาะนักคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่เป็นผู้พัฒนางานประยุกต์
           2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ก็คือเทคโนโลยีเกี่ยวกับการสื่อสารทางไกลเริ่มต้นตั้งแต่เทคโนโลยี
เก่าแก่คือ โทรเลข โทรศัพท์ ไปจนถึงการสื่อสารผ่านดาวเทียม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมนั้นมีความสำคัญ
ต่อโลกในปัจจุบันมาก เพราะสามารถช่วยให้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลและสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหากมีเพียงคอมพิวเตอร์ก็อาจจะไม่ขยายตัวกว้างขวางและมีประโยชน์มากเท่าที่เห็นระบบ
สื่อสารโทรคมนาคมนั้น เมื่อนำมาใช้รวมกับระบบคอมพิวเตอร์ ก็ทำให้เกิดระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(computer network)ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้ แลกเปลี่ยนข้อมูล
กันได้และทำให้เกิดระบบที่ที่มีประโยชน์ต่องานธุรกิจอย่างกว้างขวาง เช่นระบบฝากถอนเงินโดยอัตโนมัติ
 ระบบสำรองที่นั่งเครื่องบิน ระบบประชุมทางไกล
          3. ระบบสำนักงาน ก็คืออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในสำนักงานเช่นเครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์
ต่างๆ  เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสารฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยให้งานที่เกี่ยวกับการพิมพ์เอกสารต่างๆ
 สะดวกมากขึ้นกว่าสมัยเมื่อครั้งต้องเขียน หรือคัดลายมือลงบนกระดาษ สมุดข่อย แต่เมื่อถึงยุคนี้อุปกรณ์
เหล่านี้ได้ก้าวหน้าต่อไปอีกมากมีการนำวงจรคอมพิวเตอร์มากมายบวกเข้าในเครื่องมือเหล่านี้ หรือมิฉะนั้น
ก็นำเครื่องมือเหล่านี้ไปเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สำนักงานในปัจจุบันกลายเป็นสำนักงานอัตโนมัติ
          4. ระบบอัตโนมัติ คืออุปกรณ์อัตโนมัติที่นำไปใช้ในงานต่างๆหลายประเภท ตัวอย่างเช่นเครื่องจักร
อัตโนมัติ ในโรงงาน ระบบเช่นนี้มักจะใช้หลักการฟีดแบค(feedback) คือมีการเซ็นเซอร์(sensor)สำหรับ
รับข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของเครื่องมือหรือระบบ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาเปรียบเทียบว่าการดำเนิน
งานนั้นเป็นไปตามแผนงานและตรงตามเป้าหมายหรือไม่ ถ้าไม่ตรงก็จะมีการปรับปรุงเครื่องมือและระบบ
ให้ทำงานดีขึ้น ระบบอัตโนมัตินี้มีมาก่อนยุคสมัยคอมพิวเตอร์ แต่ต่อมาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือ
ควบคุมการทำงานของเครื่องมือและระบบมากขึ้นระบบอัตโนมัติที่ก้าวหน้ามากก็คือระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
           จากความสามารถและคุณลักษณะพิเศษของคอมพิวเตอร์ จึงทำให้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโน
โลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์มากมายต่างๆดังนี้
            1. ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าทางด้านเทคโนโลยี คือช่วยในการค้นคว้าทดลองทางเทคโนโลยีด้านต่างๆให้
ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยช่วยในการคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถคิดได้ด้วยสมองตนเอง
            2. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ คือช่วยให้มนุษย์ทำงานได้สบายขึ้น เช่นควบคุมการทำงาน
ของเครื่องจักร ช่วยในการผลิตและตรวจสอบผลิตภัณฑ์
            3. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คือ ช่วยให้มนุษย์ได้ใช้สติปัญญาของตนเองในการเขียนโปรแกรม
หรือช่วยในการศึกษา เช่น การฝึกสถานการณ์จำลองและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
           4.ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็วเข้ากับยุคโลกไร้พรมแดน
           5.ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น
เครื่องมือตรวจวัดคลื่นสมอง
           6.ใช้ในวงการอุตสาหกรรม เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการทำงานของเครื่องจักร
           7.ในด้านธุรกิจ มีการขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต
           8.การให้การบริการด้านต่างๆ เช่นการชำระค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต



เอกสารอ้างอิง

ครรชิต  มาลัยวงศ์. (2540). ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชัยพจน์ รักงาม. (2540). เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิทยบริการ, 8(2), 41-53
พจนารถ  ทองคำเจริญ. (2539). สภาพความต้องการและปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตในการเรียนการสอนใน
              สถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยา นิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, 
              สาขาโสตทัศนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.
พรเพ็ญ ทัศนิจ. (2543). เจตคติต่อคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของอาจารย์สาขาวิชาการศึกษาใน
              สถาบันอุดมศึกษา ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,สาขาเทคโนโลยีทางการ
              ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิภาวดี ดิษฐสุธรรม. (2540). ก้าวสู่ยุค IT ก้าวสู่คุณภาพชีวิต. นักบริหาร, 17(3),10.

หมายเลขบันทึก: 272717เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาชม

ในมุมคิดดี ๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท