ครูติดแผ่นดินข้าว : เวทีเรียนรู้ที่อำเภอทรายทองวัฒนา


          วันที่  18  มิถุนายน  2552  ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่ไปร่วมกระบวนการเรียนรู้ในโครงการขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าว  ที่อำเภอทรายทองวัฒนา  โดยวันนี้ได้จัดเวทีเรียนรู้กันที่บ้านผู้ใหญ่พยูร  ทองเพียร  หมู่ที่  17  ตำบลทุ่งทราย  อำเภอทรายทองวัฒนา  มีคุณนิวัตร  บุสบง  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบลนี้เป็นผู้ร่วมจัดกระบวนการ  และคุณปรารภ  คันธวัน  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอีกท่าหนึ่งของอำเภอทรายทองวัฒนา  ได้ร่วมเวทีเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วย

 

 

          หลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการผลิตข้าวที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน  การป้องกันพืชโดยวิธีผสมผสาน แล้วจากนั้นก็เป็นเวทีของการตรวจวัดธาตุอาหารในดินอย่างง่าย  โดยผมจะเป็นผู้ดำเนินกระบวนการ โดยมีพี่ปรารภ  ร่วมสังเกตและเรียนรู้วิธีการ  และมีเกษตรกรเจ้าของดินเป็นผู้ช่วยในการตรวจวิเคราะห์ดินในครั้งนี้อย่างสนุกสนาน


รอลุ้น.....

 


ใครตาดีๆ ช่วยดูหน่อย

 

          ระหว่างที่ผมตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินให้แก่ตัวอย่างดินของเกษตรกร  คุณนิวัตร  บุสบง ก็เดินสายลงแปลงนาเพื่อตรวจวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ด้วยเครื่องจีพีเอส 

          งานนี้เริ่มฉลาดขึ้น เนื่องจากทุกครั้งผมจะต้องลงมือไปตรวจเอง เพราะเจ้าหน้าที่หรือเกษตรกรใช้เครื่องมือวัดไม่เป็น  ผมเลยให้ถือเครื่องจีพีเอสไปยังแปลงนาแล้วอ่านค่าพิกัดกันที่หน้าจอเอาก็แล้วกัน  ยอมช้าหน่อยแต่ก็สามารถแก้ปัญหาไปได้ด้วยดี  งานต่อไปผมคงจะสบายขึ้น เพราะว่าคงไม่ต้องลงแปลงนาในทุกๆ แปลงอีกแล้ว  ...555

          จากการสังเกตเกษตรกรแต่ละรายที่มาร่วมเวทีเรียนรู้  ต่างให้ความสนใจและจดจ่อกับการวัดปริมาณธาตุอาหารในดินเป็นอย่างมาก  เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยวัดธาตุอาหารในดินกันมาก่อน   งานนี้ก็เลยตรงกับความต้องการของเกษตรกรเป็นอย่างมาก  และได้ยินเกษตรกรต่างหารือและตกลงเป็นเสียงเดียวกันว่า  ฤดูกาลหน้าจะต้องตรวจอีก และจะของบของหมู่บ้านซื้อไว้ตรวจกันเองภายในหมู่บ้าน  เพราะจะได้ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยลง  จะไม่ใช้กันแบบตามมีตามเกิดอีกต่อไป

          กว่าผมจะตรวจเสร็จก็เกือบค่ำ เพราะมีตัวอย่างดินมากกว่าจำนวนแปลงของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ  เพราะมีเกษตรกรคนอื่นสนใจและขอส่งตัวอย่างมาให้ตรวจวิเคราะห์ด้วย   ตอนนี้ก็รอเพียงผลการตรวจสอบว่าชุดดินของเกษตรกรแต่ละแปลงเป็นดินชุดใดก็จะสามารถคำนวณสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมแนะนำแก่เกษตรกรได้

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

 

หมายเลขบันทึก: 270634เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ..มีวิธีการตรวจแบบไม่ใช้เครื่องมือที่ต้องซื้อ..ง่ายทุกคนทำได้บ้างไหมคะ..จะได้นำไปทดลองตรวจดูบ้าง...ยายธี

  • แวะมา ลปรร ค่ะ
  • วันนี้ขอเม้มตอบคุณสิงห์ป่าสัก ปิดท้ายเป็นคนสุดท้ายสำหรับคืนนี้
  • ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
  • ขอไปดูละครค่ะ ติดละครค่ะ

ชอบประโยคนี้คะ

เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยวัดธาตุอาหารในดินกันมาก่อน   งานนี้ก็เลยตรงกับความต้องการของเกษตรกรเป็นอย่างมาก  และได้ยินเกษตรกรต่างหารือและตกลงเป็นเสียงเดียวกันว่า  ฤดูกาลหน้าจะต้องตรวจอีก

และประโยคนี้

มีเกษตรกรคนอื่นสนใจและขอส่งตัวอย่างมาให้ตรวจวิเคราะห์ด้วย  

แสดงว่าเกษตรกรสนใจและเป็นประโยชน์กับเขาจริง ๆ ดีใจแทนด้วยคะและขอบคุณนะคะที่นำมาเล่าสู่กันฟัง

  • สวัสดีครับ ยายธี
  • ยินดีที่ได้ ลปรร. ครับ
  • แบบไม่ใช้อุปกรณ์ทีต้องซื้อ ผมไม่มีข้อมูลเลยครับ
  • ตอนนี้ก็ใช้บริการของหมอดินของ พด.ไปก่อนนะครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยียมเยียน

 

  • สวัสดีครับคุณ berger0123
  • ..ผมติดดูเสาร์ 5 ครับ 555
  • สนุกดีไม่ต้องคิดมาก
  • เพราะในละคร...คนชั่วล้วนถูกล้างผลาญ...
  • ทำดีย่อมได้ดี...
  • อิอิ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ ผอ.ธุวนันท์ พานิชโยทัย
  • ข้อมูลจากการสอบถามชาวบ้านเป็นเช่นนั้นจริงๆ ครับ
  • จะมีที่เคยตรวจก็มีแต่ยังน้อยนะครับ
  • ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรายใหญ่
  • ชาวสวนส้ม..ซึ่งก็ตรวจวิเคราะห์ใบพืชประกอบด้วย
  • มีหลายกลุ่มที่คิดจะซื้อไว้เอง
  • เท่าที่สังเกตกระบวนการของเรา
  • 4 เวที ประเด็นการตรวจดินและใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์น่าจะเป็นพระเอกครับ
  • ปีหน้าถ้าขนายผลประเด็นนี้ก็ยังน่าสนใจ
  • ไม่เฉพาะแต่เกษตรกรนะครับ
  • เจ้าหน้าที่ของเราก็สนใจมากครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท