Magic time (๑)


 

เมื่อวันที่ ๙ มิ.ย. ๕๒ ดิฉันได้ฟังคุณอรสา กาญจนชูศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนานาชาติแมจิกเยียร์ส ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองทองธานี  อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี เล่าประสบการณ์ตรงที่เธอได้รับจากแนวทางการศึกษาของประเทศสิงคโปร์เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เปรียบเทียบกับแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติที่หลานๆ เรียนอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งใช้หลักการเดียวกันแล้วรู้สึกมั่นใจว่าการศึกษาที่มุ่งพัฒนาฐานคิด ควบคู่ไปกับฐานกายนั้น ย่อมก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเสมอ

 

คุณอรสาเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ ไปจากเมืองไทย แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ เธอเล่าว่าวิชาที่ยากที่สุดคือวิชาภาษาจีน แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดีเพราะหนังสือเรียนสวยมาก ด้วยความที่ตอนอยู่เมืองไทยไม่เคยมีหนังสือเรียนที่มีภาพประกอบ สี่สีสวยงาม อย่างนี้ หนังสือสวยๆ จึงเป็นแรงบันดาลใจที่ดีที่สุดในการนำพาให้เด็กอยากรู้อยากเรียน

 

แม้ว่าประเทศสิงคโปร์จะใช้หนังสือเป็นแกนในการเรียนรู้ แต่กิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูจัดให้ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เนื้อหาในหนังสือ แต่ผู้สอนใช้หนังสือเป็นเหมือนแกนในการเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่โลกของความเป็นจริง

 

เท่าที่สังเกตดู คนไทยคนไทยรู้กว้าง แต่เอาไปใช้ไม่เป็นและไม่มีวิธีเรียนรู้ ที่สิงคโปร์จะใช้ project based เชี่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่การประยุกต์ใช้ ประเทศของเขามีป่าอยู่แห่งเดียว เขาป่าให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ พาเด็กไปเรียนรู้ในสถานที่จริง

 

 

เด็กสิงคโปร์ไปห้องสมุดเหมือนไปโรงอาหาร ที่โรงเรียนปลูกฝังจนเด็กทุกคนเข้าห้องสมุดเป็นนิสัย หนังสือพิมพ์สีสวยมาก ออกแบบดี มีเนื้อหาที่เหมาะกับวัย หลากหลายไปด้วยเรื่องราวที่ดึงดูดให้เด็กเต็มอิ่มกับเรื่องที่เขาอยากรู้ ถ้า software พร้อม โรงเรียนทำกิจกรรมกระตุ้นบ้าง เด็กก็รักการอ่านได้เอง

 

 

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องมีทั้ง reading club , reading log, reading week, reading month โรงเรียนทำทุกอย่างจนการอ่านเป็นเรื่องธรรมชาติ ทุกคนอ่านหนังสือได้หลายแนว

 

ผู้ผลิตหนังสือก็ทำหนังสือดีๆ ออกมาให้เด็กได้อ่าน ได้เรียน จูงใจให้เด็กอยากเรียนรู้ได้ดี แบ่งหนังสือตามระดับการอ่าน มี reading level ที่เหมาะกับทักษะการอ่านของเด็ก

ให้เลือกมากมาย เนื้อหาก็หลากหลาย

 

หนังสือเรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่ตลอด แม้ว่าจะมีหนังสือเรียนที่ดีมาก แต่ก็ไม่ได้เรียนจากเนื้อหาในหนังสือเป็นหลัก ครูจะหากิจกรรมมาเชื่อมเนื้อหา และสร้างทักษะเสริมในเรื่องนั้นๆ ด้วย

 

ระดับประถม เรียนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ๔ วิชาเท่านั้น ที่สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการเรียนคณิตศาสตร์มาก ทุกคนเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐาน  แต่ใครที่เก่งก็ให้เรียนคณิตศาสตร์ขั้นสูงเพิ่มเติมด้วย ส่วนวิชาอื่นๆ เป็นวิชาที่ไม่มีคะแนน แต่ต้องผ่าน

เรียนกันตั้งแต่ ๗ โมงเช้า พอเที่ยงครึ่งก็เลิกเรียนวิชาหลัก แล้วไปทำกิจกรรมหลังเลิกเรียน ซึ่งมีการกำหนดว่าตอนบ่ายต้องเล่นกีฬา  และ อีกกิจกรรมหนึ่งก็เลือกเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรง กิจกรรมภาคบ่ายนี้ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง แล้วก็กลับบ้าน

 

เขาเน้นพัฒนาการทางร่างกายมาก เพราะถ้าร่างกายพร้อม cognitive ก็มาเอง เรื่องที่ได้รับการปลูกฝังมาโดยไม่รู้ตัวก็คือเรื่องการออกกำลัง และเรื่องการอ่าน ต่างจากเด็กไทยที่ทั้งสองเรื่องนี้เป็นจุดอ่อน เด็กไทยส่วนมากไม่ชอบการออกกำลัง ไม่รักการอ่าน การส่งเสริมให้เรียนคณิตศาสตร์ก็เป็นการสร้างให้เรามีความคิดเชิงระบบและคิดต่อยอดไปได้มาก

 

อีกเรื่องหนึ่งคือ ที่โรงเรียนเขา trust เด็ก และ empowerเด็กมาก ไว้วางใจให้ทำงานต่างๆ เช่นเอาเงินค่าเล่าเรียนจากผู้ปกครองมาจ่ายที่เพื่อน แล้วเพื่อนก็รวบรวมเอาไปให้ครู มีการงานจริงที่ครูเป็นคนแนะนำให้เด็กทำ มีกิจกรรมให้เด็กได้แสดงศักยภาพ โดยเฉพาะการแข่งขันกีฬานี่มีตลอดปี ต้องลงแข่งกีฬาเยอะมาก ทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับเหรียญ

 

เพราะมีโอกาสได้แสดงความสามารถ จึงมั่นใจในตัวเอง กีฬาหลายชนิด เราฝึกเอง ว่ายน้ำเก็บระยะทางเอง ทำกิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด เช่นต้องยึดพื้นได้กี่ครั้ง  sit up ได้กี่ครั้ง เป็นการฝึกความมีวินัยในตัวเองไปด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 270632เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท