อาจารย์คุมกลุ่ม PBL ต่อ


PBL 2

1.      อาจารย์ผู้คุมกลุ่ม

-          ไม่เข้าใจกระบวนการ PBL หรือเข้าใจแบบไม่ถูกต้อง

                                                               i.      ทำความเข้าใจกับอาจารย์ทุกคนในเรื่อง PBL รวมทั้งบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้คุมกลุ่ม

                                                             ii.      ติดตาม ประเมิน อภิปรายร่วมกันในกลุ่มอาจารย์เป็นระยะ เพื่อเรียนรู้และให้ความช่วยเหลือในกลุ่มอาจารย์ด้วยกัน ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นประสบการณ์ตรงของอาจารย์ที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันกับผู้เรียนจากเรื่องจริง หรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำ PBL

-          มีความหลากหลายในด้านความคิดต่อกระบวนการ PBL รวมทั้งการส่งเสริมบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่มผู้เรียน

                                                               i.      ให้ผู้เรียนและอาจารย์ผู้คุม มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีความเข้าใจเกี่ยวกับ PBL ในประเด็นที่สำคัญตรงกัน และเห็นพ้องต้องกันว่า กระบวนการ PBL เป็นเรื่องที่ดี และเป็นวิถีที่ควรจะนำมาพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่จะทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ความคิด ส่วนที่เหลือถ้ามีความต่างกันบ้างก็ไม่น่าจะเป็นอะไร เพราะมีเป้าหมายและเส้นทางเดินเดียวกันแล้ว

-          การให้คะแนนมีความแปรปรวนในแต่ละคน ไม่แม่น และไม่เที่ยงตรง

                                                               i.      ปรับการให้คะแนนเป็นสิ่งที่วัดได้ ไม่มีเรื่องการใช้ความรู้สึก

                                                             ii.      เข้าใจในสิ่งที่วัด และให้ความหมายที่ตรงกัน ในอาจารย์ผู้คุมทั้งกลุ่ม

                                                            iii.      เปลี่ยนการใช้อาจารย์เป็นผู้ประเมินเป็นการสอบให้ผู้เรียนประเมินตนเองตามกระบวนการ PBL 7 ขั้นตอน

2.      scenario

-          มีคำถาม วัตถุประสงค์การเรียนรู้มากไป

                                                               i.      ในภาพรวมของทุก block ควรมีการวางแผนว่าวัตถุประสงค์ใหญ่ของการเรียนรู้ในชั้นก่อนขึ้นคลินิกทั้ง 3 ปี ว่ามีทั้งหมดเท่าไร และจะจัดให้มีการเรียนรู้ในแต่ละปีอย่างไร จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากส่วนไหน….. lecture หรือ PBL หรือ SDL ภายในช่วงเวลาที่จำกัดและไม่เกิดความซ้ำซ้อนกันในเรื่องที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ รวมทั้งจะบูรณาการเชื่อมโยงความรู้ในแต่ละ block อย่างไร เพื่อสุดท้ายจะได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในภาพรวมใหญ่ทั้งหมด ภายในเวลา 3 ปี

                                                             ii.      ส่วนของแต่ละ block ย่อยมีอะไรบ้างในส่วนที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ และจะได้จากการเรียนแบบไหน lecture, PBL , SDL

                                                            iii.      แต่ละ PBL ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และน้อยก่อนในเบื้องต้น หลังจากนั้น จึงทำให้ซับซ้อนขึ้น ภายใต้ความรู้และการเรียนรู้ที่ผ่านมา เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการ เชิงวิเคราะห์ และสังเคราะห์แนวลึก มากขึ้น

-          ไม่มีการทดสอบว่า scenario ที่ตั้งมาจะนำไปสู่การตั้งคำถามเดียวกันหรือไม่ ในแต่ละกลุ่ม

                                                               i.      ลองให้อาจารย์ผู้คุมกลุ่มซึ่งคิดว่าเป็นผู้ที่เข้าใจกระบวนการทำ PBL ทั้งหมดเป็นอย่างทำกระบวนการ PBL ทั้งหมดภายใต้ scenario เดียวกันกับ นศ. เพื่อที่จะได้ประเมินว่าโจทย์ที่ให้มาสามารถนำไปสู่วัตถุประสงค์เดียวกันหรือไม่ ที่ผ่านมาอาจารย์ผู้คุมก็ถูกให้ comment ในจุดนี้หลังจากคุม PBL เสร็จ แต่ก็จะมองภาพไม่ค่อยออก เพราะแม้ผู้เรียนจะไม่ตั้งประเด็นนี้ ผู้คุมก็จะมีวิธีการทำให้ผู้เรียนได้ครบถ้วนทั้งหมด ตามที่มีไว้ในคู่มืออาจารย์ผู้คุม ดังนั้นถ้าให้อาจารย์ทำ โดยเริ่มจากความไม่รู้ก็น่าจะมองเห็นจุดที่ scenario ควรพัฒนาและปรับปรุงได้

คำสำคัญ (Tags): #problem based learning
หมายเลขบันทึก: 270630เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการที่ให้ผู้ดรียนประเมินตนเองครับ ดีๆๆ

น่าจะนำไปใช้ที่ภาควิชาด้วยนะ สำหรับการประเมินตนเอง ที่อ.แป๊ะบอกว่าดีๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท