ดัชนีชีวัดผลการปฏิบัติงาน(KPI)ของบุคลากรสายสนับสนุน


การเล่าประสบการณ์

            การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่เหมือน ๆ กันในบางครั้งวิธีการปฏิบัติมีความแตกต่างกันทำให้สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขในงานของตนให้พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว   จากการเข้าร่วมประชุม UKM และ การประชุมมขปท. หลาย ๆ ครั้งแต่ละครั้งมีประโยชน์นำมาใช้ได้ทันที  บันทึกนี้เป็นบันทึกแรกในการก่อตั้งชุมชน  ต้องการกำลังใจจากสมาชิกที่จะมาร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้      วันนี้คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ได้นำความรู้จากการ F2F จากการประชุม มขปท.ที่เชียงใหม่ มาใช้กำหนดดัชนีชีวัดผลการปฏิบัติงาน(KPI)ของบุคลากรสายสนับสนุน  วิธีการเรานำหลักการกำหนดตารางภาระงาน(Matix) ทำให้ทราบว่าบุคลากรภาระงานในเรื่องใดบ้างงานไปหนักอยู่ที่ใคร คนที่มีงานน้อยจะรีบออกตัวมารับงานจากคนที่มีงานมาก หรือบางครั้งการประชุมกลุ่ม กลุ่มงานจะช่วยมองมติกลุ่มเป็นเครื่องมือในการจัดสรรงานอย่างหนึ่ง     จากนั้นนำภาระกิจหลักมากำหนดประเภทดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงาน และเกณฑ์ชีวัดของแต่ละภาระงานหลัก  การทำงานครั้งนี้ต้องให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและกำหนด โดยการกำหนดดัชนีชี้วัดจะต้องอธิบายให้เข้าใจความหมายและเมื่อทำสำเร็จจะนำไปสู่เป้าหมายองค์กรอะไรบ้าง  หลังจากนั้นการกำหนดเกณฑ์ดัชนีชี้วัดจะง่ายขึ้น   วันนี้ขอจบการเล่าประสบการณ์ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 2 

 

คำสำคัญ (Tags): #ukm
หมายเลขบันทึก: 26969เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2006 03:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอเป็นกำลังใจให้กับบุคลากร มข.ที่นำ Blogไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

อย่าลืมเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์องค์กรด้วยนะคะ ถ้าบรรยาการในการจัดทำตัวชี้วัดมีผู้บริหารนั่งทำด้วยกันนี่ยอดไปเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท