ช่องทางใหม่ของใจที่รักการสื่อสาร


เมื่อ 3 ปีที่แล้ว หลายๆ ท่านคงจำกันได้ดี ตอนเปิดตัวเว็บ Thaingo ที่ตึกช้างมีเรื่องหนึ่งที่เราฝันถึงเรื่องการสร้างรถโมบาย ทีมงานทำข่าว ที่สามารถเคลื่อนที่เร็วโดยมีอุปกรณ์ การสื่อสารที่ครบครัน ทั้ง Internet วิทยุชุมชน โปรเจ็คเตอร์ ทำหน้าที่รายงานการประชุมสัมมนา เพสข่าวให้นักข่าว ...... ผมยังจำคำพูด บก.ลายจุด
ช่องทางใหม่ของใจที่รักการสื่อสาร
โดย : สุเทพ เชิดชม  เมื่อ : 18/02/2005 01:03 PM
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว หลายๆ ท่านคงจำกันได้ดี ตอนเปิดตัวเว็บ Thaingo ที่ตึกช้างมีเรื่องหนึ่งที่เราฝันถึงเรื่องการสร้างรถโมบาย ทีมงานทำข่าว ที่สามารถเคลื่อนที่เร็วโดยมีอุปกรณ์ การสื่อสารที่ครบครัน ทั้ง Internet วิทยุชุมชน โปรเจ็คเตอร์ ทำหน้าที่รายงานการประชุมสัมมนา เพสข่าวให้นักข่าว ...... ผมยังจำคำพูด บก.ลายจุด หรือ หนูหริ่ง ผู้เป็นผู้นำด้านการใช้ ICT ได้ยกตัวอย่างการใช้งาน รถโมบาย ทำหน้าที่ถ่ายทดการประชุมสัมมนากรณีเรื่อง โรงไฟฟ้าที่หินกรุด และ ท่อก๊าซที่จะนะ แล้วให้พี่น้องชาวไทย ที่ใช้ Internet ได้มีส่วนร่วมในการประชุมสัมมนา โดยการตั้งกระทู้ ถามกันสดๆ อะไรทำนองนี้ ...

 

ณ ตอนนั้นผมว่ามันยังเป็นความฝัน ที่ยังเลื่อนลอย ทั้งเรื่องระบบโครงข่ายการสื่อสารที่ยังแพงระยับ และอีกทั้ง จำนวนคนใช้ Internet ในประเทศไทย นั้นเพียงเท่าหยิบมือ.. มีคำถามตามมากอีกมากมาย ... ที่ทำให้แนวคิดนี้ต้องล้มเลิกไป ..
- งบกี่ล้าน ?
- ใครเป็นเจ้าภาพ ?
- ทำให้ใครดู ใครใช้ ?

Internet มันไม่มีพลัง....เหนื่อยเปล่า นี่เป็นทั้งคำบอกกล่าว และอาการของ NGOs รุ่นเก่าๆ ที่เราเจอในที่สุดเราก็เก็บความฝันเข้ากรุ ....

แต่ผมมีเครื่องหมายคำถามเกิดขึ้นในหัว... อะไรมันจะเสรีเท่า Internet ?? อะไรมันจะราคาถูกไปกว่า Internet เมื่อเทียบกัน อย่างหน่วยต่อหน่วยแล้ว ?? ในขณะที่เอกชน กำลังแข็งขันกันสร้าง content บนเครื่องข่าย Internet เพียงหวังว่าจะสามารถยึด หัวหาดให้ได้เพื่อที่จะสร้างมูลค่าให้กับ องค์กรของเขา .. แต่หลาย ๆ ท่านใน องค์กรพัฒนาเอกชนกลับมองว่ามันไร้สาระ ??

วันที่ 25-26 มกราคม ที่ผ่านถ้าท่านผู้อ่านได้ติดตามเว็บ http://vov.esanvoice.org คงจะได้ทึ่ง และไม่คิดว่ามันจะเป็นไปได้ กับการรายงานการจัดงาน มหกรรมผู้ใช้สิทธิ์ภาคอีสาน อย่างเกาะติดด้วยเครือข่าย Internet ความสำเร็จครั้งนี้ มีเบื้องหลังที่น่าประทับใจ จากการร่วมมือ ร่วมใจของพี่น้อง NGOs ทาง อีสานที่แบ่งหน้าที่ ต่าง ๆ กันไป โดยทำงานภายใต้ชื่อทีมว่า ทีมสื่อ .... ผมไปในนาม เว็บเสียงอีสาน ทำหน้าที่นำข้อมูลขึ้นเว็บ ทั้ง text ภาพ และเสียง อีกทีม เป็นทีมงานจากอุบล กลุ่มฮักแพง ที่ทำหนาที่ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ แจกในงาน และทีมจากกรุงเทพ ทำหน้าที่บันทึกภาพ ...

วันแรกผมถอดใจ เพราะทราบมาว่าทางเจ้าของงานไม่มีสายโทรศัพท์ให้ ? มีคำถามในใจว่า แล้วตูจะทำงานยังงัย ? ที่สำคัญทีมงานเองก็ไม่ได้ ประชุมกันเลย ก่อนเริ่มงาน ทำให้ผมไม่ทราบรายละเอียดงาน ฉนั้นสิ่งที่ผมต้องการคือรายละเอียดงาน เพื่อจะได้ว่างแผนงานถูก ... แต่เป็นที่หน้ายินดีที่ ก่อนหน้านี้ 1 วัน หนึ่งในทีมเสียงอีสาน ได้เปิดบริการ GRPS (Internet ผ่านมือถือ) เราแก้ปัญหาโดยการต่อเน็ตจาก GPRS ที่ มีความเร็วแค่ 30 K เท่านั้น (ปกติ เน็ตมีความเร็ว 56 k และถ้าป็นความเร็วสูงก็ จะเริ่มตั้งแต่ 128 k – 4 Mb) ถือว่าเป็นความเร็วที่ค้อนข้างต่ำ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทีมงานท้อ และหลายคนค่อนข้างพอใจในงานที่ออกมา

ทั้งหมดที่เล่ามา ผมมมองว่านี่คือช่องทางการนำเสนอสื่อของภาคประชาชนที่ไม่ถูดปิดกั้น

ฉนั้นผมว่าเลิกตั้งคำถามดีกว่าครับว่าใครจะใช้งาน ใครจะได้ประโยชน์จากนำเสนองานสื่อผ่านช่องทาง Internet ตราบใดที่ content ที่มีบน Internet ของเรา กลวงโบ๋อย่างนี้ใครละมาใช้ content ของเรา ?? ทั้งนี้ผมไม่ได้หมายความว่าเราไม่เก่งเรื่องข้อมูล และ content แต่เราขาดการร่วมมือช่วยเหลือกันต่างหาก สิ่งที่ควรทำคือการร่วมมือกันสร้างสรรค์ content ขึ้นมาแล้วมองต่อในเรื่องการ สอดประสานของแต่ละสื่อเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน , วารสาร รายปัก รายสัปดาห์ หรือรายสะดวก และ website ว่ามันจะ สามารถร้อยกันอย่างเข้มแข็งเกิดเครื่อข่ายที่เรียกว่าสื่อภาคประชาชนได้อย่างจริงจัง ไม่ใช่เอะก็ วิทยุชุมชน และวิทยุชุมชน อันนี้ผมไม่ได้ว่า ว่าวิทยุชุมชนมันไม่ดีนะครับ แต่ผมเบื่อ !! ผมกลุ่มทำงานเว็บไปนั้งฟังสัมมนาเรื่องเกี่ยวสื่อภาคประชาชนแล้วพูดแต่เรื่อง วิทยุ ๆๆๆ ไม่เอาเรื่องอื่นเลย แถมทิ้งท้ายไว้อีกว่า website ไม่เกี่ยว ผมว่าคับแคบ .....!?

ช่างหัวแนวคิดเก่าๆ เถอะครับ เรามาดูต่อดีกว่า ว่าต่อไป ผมในฐานะ อาสาสมัครของ ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นสุรินทร์ ที่มีรายได้ไม่พอจ่ายค่างวดรถ จนโดนยึดไปแล้ว และศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นสุรินทร์ จะเคลื่อนเรื่องอะไร ? ที่ไหน ? และอย่างไร ?

วันนี้ผมนั้นเขียนต้นฉบับอยู่ที่วัดบ้านโหล่น ต.นางแดด อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ เพื่อจะมาร่วมงาน และตั้งใจรายงานการจัดงานธรรมชาติยาตราเพื่อแม่น้ำชี อย่างเกาะ ติด เหมือนในงาน VOV ที่เกล่ามาแล้วข้างต้น โดยใช้ โทรศัพท์ มือถือ เครือข่าย GPRS ของ DTAC สำนึกรักบ้านเกิด (ผมจ่ายตังค์เขาปกตินะครับเดือนละ 999 บาท) แต่ปัญหาแรกที่ผมเจอ คือหนักกว่างาน VOV ซะอีก นอกจากที่นี่ไม่มี โทรศัทพ์พื้นฐานให้ใช้แล้ว ที่นี่ยังไม่มีสัญญา มือถือ อีก โอ้พระเจ้า งานที่วางแผนมา เกือบเดือนจะต้องพังเพราะเรื่อง ช่องว่างติจิตอล (digital device) หรือนี่ ....!! หลายท่านคงนึกขำ “ก็เอ็งอยากเพิ่งเทคโนโลยีมากเกินไป” ผมอยากจะอธิบายให้ทุกคนเข้าใจเลยนะครับ ว่าผมไม่ได้เพิ่งเทคโนโลยี่มากเกินไป แต่ผมเพิ่งช่องทาง ที่เทคโนโลยี เอื้อให้ผม .. ผมไม่ใช่เครื่อข่ายต่อต้านโลกาพิวัตน์ แต่ผมคือ คนที่อยากเห็นเสียงของคนจนๆ พูดเสียงดังๆ ผ่านช่องทางสื่อ แล้วก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีแก่สังคมของเขา ....

มาต่อดีกว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นผมได้คุยกับทีม เตรียมมแผนเอาไว้ 2 แผน คือไปหาบ้านที่มีโทรศัพท์ ผ่านดาวเทียม (รุ่นเก่าของ TOT ที่เป็นโทรศัพท์ชนบท) แล้วเจรจาของใช้ ในการรายงาน กิจกรรมครั้งนี้ ถ้าไม่แพงเราจะใช้ ถ้าแพงเราจะใช้แผนที่ 2 คือขันรถจากจุดงาน ออกไปหาสัญญาณที่ อยู่ห่างออกไปประมาณ 30 Km

อุปรกรณ์ทีทีมงานได้เตรียมมาเพื่อการรายงานกิจกรรมนี้
1. notebook 2 ตัว
2. เครื่อง printer. เพื่อ print สรุปรายงานกิจกรรมสั้น ๆ ในแต่ละวัน ให้ผู้ร่วมงาน เพื่อได้ เท่าทันกัน
3. กล้อง digital 2 ตัว
4. กล้อง VDO 1 ตัว
5. กระดาษ 1 กล่อง
6. ปลั๊กสายไฟยาว 50 M
7. เครื่องแปลงไฟจาก แบตเตอรีเป็นไฟบ้าน (12-240V) นำมาแปลงไฟ กรณีไม่มีไฟฟ้า เพื่อใช้ ชาท์ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องใช้ battery อย่างเช่นกล้อง notebook
8. โทรศัพท์มือถือ เครื่อข่าย GPRS Dtac 2 เครื่อง
9. อุปกรณ์ Bluetooth 2 ตัว ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อให้โทรศัพท์ กับ Notebook สามารถคุยกันรู้เรื่อง
10. เต็นท์นอน
11. ถุงนอน
12. เตาแก๊สปิกนิค
13. บะหมี่กึงสำเร็จรูป, กาแฟ

เรียกได้ว่า นี่ละ ชุดโมบายขนาดย่อม ๆ เพียงช่องทางการนำเสนอยังแคบอยู่ โดยพื้นฐานของ เทคโนโลยี่ Internet ที่มีการใช้งานเฉาะกลุ่ม แต่แผนงานของททีมงานแล้ว ตัวนี้จะสามารถ ประสานเครือข่ายสื่อได้ ถึง 3-4 ช่องทางด้วยกัน โดยที่ทีมงานได้ ทำห้องสำหรับนักข่าว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กัยนักข่าว ทั้ง ข้อมูล text และรูปภาพ ผมว่า อย่างน้อยก็สร้างแรงจูงใจให้นักข่าวได้หยิบประเด็น ชาวบ้านไปนำเสนอบ้างละ มากก็น้อย นักข่าวกลุ่มที่ได้ประโยชน์ก็มี นักข่าวหนังสือพิมพ์ นักข่าววิทยุ (ข่าวสั้นต้นชั่วโมง)

โดยโซลูชั่นที่ทีมงานคิดแล้ว อยากได้ถึงระดับ สามารถ ส่ง clip ข่าวให้กับ สถาณีโทรทัศน์ ด้วยซ้ำ ส่วนเขาจะเอาหรือไม่นั้นผมว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้เราทำได้ ซะ ก่อน ค่อยแก้ปัญหา ว่าทำไมเขาไม่เอาเป็นปัญหาที่เรา หรือที่ปัญหาเขา ถ้าเป็นที่เราก็ ตามแก้กันต่อ ถ้าเป็นที่เขา ก็ช่วยกันคิดต่อว่าเอาอย่างไร ?

ปฐมบทของการนำเสนอข้อมูลสู่ผู้รับสารคือ Internet ปัญหาที่เราเจอจากพื้นที่คือ ไม่มีช่องของการเข้าถึง Internet ได้เลย โดยที่เคิดว่า มือถือ สะดวกที่สุดแล้ว แต่ยังติดกรอบ ช่องว่างดิจิตอล(digital device) อยู่เช่นเดิมเมื่อเข้าไปในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล อย่างวันนี้ที่ทีมงาน Esanvoice เจอ ทำให้ผมคิดถึงเรื่องเมื่อ 3 ปีทีแล้ว รถโมบายอย่างเต็มรูปแบบ ที่เราเคยคุยกันบนชั้น 13 ของตึกช้าง กรอบเก่า ๆ ที่เราติดกันอยุ่เมื่อปีที่แล้ว

1. เรื่องค่าใช้จ่าย และความเร็วของ Internet นั้นเราออกจากกรอบแล้ว ...ด้วยที่ว่าราคา Internet นั้นถูกลงอย่างมาก จากเมือ 3 ปีที่แล้ว ลดลงกว่า 3 เท่าตัว จากเมื่อก่อน ชัวโมงละ 30 บาท ตอนนี้เหลือไม่ถึง 10 บาท ในขณะที่ความเร็ว เพิ่มขึ้น อีก 15 เท่าตัว (4 Mbs) ด้วยเทคโนโลยี บรอดแบน และคาดว่าจะทำให้ โมเด็ม 56 K สูญพันธ์ไปจากเมืองไทย ในไมช้านี้

2. จำนวนคนใช้ internet ในเมืองไทย ก็เพิ่มแบบก้าวกระโดน จากเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ยังมีคนใช้ที่ หลักแสน เท่านั้น 3 ปีให้หลัง เกือบ 6 ล้านคนไปแล้ว (แต่เทียยบกับ 60 ล้านคนก็ยังน้อยอยู่) และผมว่ามันจะก้าวกระโดดอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ยากที่จะถึงจุดอื่มตัว เพราะว่าเป็นความหลากหลายจาก content

ถามว่าเรากล้ากันหรือยังครับ ที่จะลงทุนเปิดช่องการสื่อสารสำหรับภาคประชาชนสักหนึ่งช่องด้วยราคาลงทุน ไม่น่าจะเกิน 2 แสนบาท ... แต่ผลที่ได้จะสามารถขยายผลได้อย่างไม่รู้จบดังแผนผังในภาพนี้


ปล. การจัดประชุมที่โรงแรมหรู ๆ ประชุมครั้งเดียวเสียไปเป็นล้าน หรือ การพาคณะไปประชุมสรุปงานถึงต่างประเทศ ผลพลอยได้ คณะอาจได้เปิดหูเปิดตา เห็นการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้าน ผมก็ยังมองว่าเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์อยู่ดี

ปอ.การกอดเงินไว้ที่ส่วนกลางมาก ๆ ไม่ได้ทำให้งานพัฒนาในประเทศไทยไปถึงฝั่งหรอก อย่างเช่นเขียนโครงการได้เงิน 50-60 ล้านบาท ให้พื้นที่ 1 ล้านแล้วกอดที่ส่วนกลาง 7 ล้าน อย่างเนี่ย ผมว่าไม่เข้าท่า

ปฮ. แล้วประเภทที่หวงบทบาทตัวเองเหลือเกินจนทำให้ติดกรอบไปหมดเนี่ย ผมว่าเลิกเถอะครับ เด็กรุ่นใหม่ ไม่มีทางเก่งไปกว่าท่านหรอกเขายังต้องการท่านอยู่ดี เลิกหวงแล้วชี้นำ และเอ็นดูพวกเขาเถอะครับ ..

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26962เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2006 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอขอบคุณ คุณสุเทพ เชิดชม ที่ให้ความกรุณาเข้าร่วมกับ ชุมชน: ศูนย์รวมความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท