functional competency สมรรถนะด้านปฏิบัติการของนักเทคนิคการแพทย์


functional competency ผู้ปฏิบัติการ

สมรรถนระดับปฏิบัติการของนักเทคนิคการแพทย์ (Functional competency)

1. ความรู้และทักษะ ในการปฏิบัติงานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical laboratory skill)

                        คือ การมีความรู้ ความสามารถในการตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจ โดยใช้วิธีมาตรฐาน ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการวินิจฉัยและรักษาโรค โดยมีคุณสมบัติสำคัญ คือ สามารถปฏิบัติงานตรวจวิเคราะห์ประจำวันตามที่ได้รับมอบหมายได้

                ห้องปฏิบิตการทางการแพทย์สำหรับนักเทคนิคการแพทย์ แบ่งได้เป็นหลายส่วนตามประเภทของงาน ดังนี้

                                1.) จุลทรรศนศาสตร์คลีนิค

                                2.) เคมีคลีนิค

                                3.) จุลชีววิทยาคลีนิค

                                4.) ภูมิคุ้มกันวิทยาคลีนิค

                                5.) งานธนาคารเลือด

                หลังจากการได้รับ Specimen มา นักเทคนิคการแพทย์ในระดับปฏิบัติการควรมีความรู้ว่า จะจัดการอย่างไรกับ specimen นั้นๆ เพื่อส่งตรวจในส่วนต่างๆ ตามที่ใบรีเควสระบุมาให้ได้ผลที่ถูกต้องมากที่สุด รวมถึงการเตรียมน้ำยาที่ใช้ในการตรวจวัด การใช้เครื่องอัตโนมัติในการตรวจวิเคราะห์ค่าต่างๆ และวิธีการทำ lab manual บางอย่างได้ 

                ถึงแม้ในปัจจุบันเครื่องออโตเมทจะเข้ามามีบทบาทในงานทางห้องปฏิบัติการค่อนข้างมาก แต่นักเทคนิคการแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำงานของเครื่องเพื่อให้ได้การตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง สามารถอ่านและแปลผลที่ได้จากเครื่องอัตโนมัติวิเคราะห์ได้  และสามารถสังเกตพบเมื่อ เกิดการวิเคราะห์ที่ผิดพลาด รวมทั้งสามารถจัดการแก้ไขในเบื้องต้น เพื่อให้สามารถออกผลได้อีกด้วย

 

2. การมุ่งเน้นด้านคุณภาพทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Laboratory quality focus)

                        คือ การมีความสามารถในการควบคุมคุณภาพ และประกันคุณภาพ ผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้ โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพและกระบวนการประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ

                        นักเทคนิคการแพทย์จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการเนื่องจากจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการยืนยันผลการตรวจวิเคราะห์ที่ทางห้องปฏิบัติการออกให้กับผู้ป่วยหรือผู้ที่เข้ามารับการตรวจ ว่าถูกต้อง และน่าเชื่อถือมากแค่ไหน โดยนักเทคนิคการแพทย์ระดับปฏิบัติการอย่างน้อยควรมีความรู้ในการทำ QC ของห้องปฏิบัติการเช่น การอ่าน แปลผล และสามารถแก้ไขได้ เมื่อ OCV, RCV graph มีลักษณะที่ผิดปกติ เป็นต้น

 

3. การมีความรู้พื้นฐานทางการศึกษาค้นคว้าและการทำวิจัย (Research Based Practice)

                คือ การมีความรู้ความสามารถในการใช้กระบวนการค้นคว้า ทดลอง รวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ เพื่อสรุปผล ใช้แก้ปัญหาและพัฒนางานได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ โดยคุณสมบัติสำคัญ คือ บันทึกปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีระบบ

                        จากข้างต้นที่ว่านักเทคนิคการแทพย์ระดับปฏิบัติการ ควรสามารถสังเกตุเห็นเมื่อเกิดความผิดปกติในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ได้นั้น นอกจากการสังเกตได้แล้ว ควรรีบทำการจดบันทึก ลักษณะของความผิดปกติที่พบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อระดับที่สูงขึ้นไปสามารถจัดการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

4. ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT literacy)

                คือ การมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงานและองค์กร ให้มีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานได้ในงานประจำ/งานในหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม เช่น Word processor, Excel, Power point และสามารถใช้โปรแกรมที่สร้างขึ้นในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านได้

                ความรู้ด้านไอทีเบื้องต้น จะสามารถช่วยให้การทำงานต่างๆ ให้ห้องปฏิบัติการมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความผิดพลาดบางประการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งรายการตรวจ หรือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งผลตรวจไปยังแพทย์โดยตรง จะลดความผิดพลาดในการเขียนผลลงกระดาษได้ เป็นต้น

 

5.การให้คำแนะนำ และคำปรึกษา (laboratory consulting)

                คือ การมีความสามารถในการให้คำแนะนำ และคำปรึกษา แก่ผู้ที่เข้ามารับบริการจากห้องปฏิบัติการได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามารับบริการ และความประทับใจในการบริการที่ดีต่อห้องปฏิบัติการนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อห้องปฏิบัติการเอง โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ สามารถอ่าน แปลผล อธิบายผลที่ออกจากห้องปฏิบัติการ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้

                การให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เข้ามาขอคำปรึกษานั้น จัดว่าเป็นหน้าที่ ที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักเทคนิคการแพทย์ ถึงแม้ว่าจะเป็นนักเทคนิคการแพยท์ระดับปฏิบัติการ แต่ก็ต้องมีความเข้าใจทั้งในผลแปล และตัวผู้ป่วย โดยยึดหลัก “ผู้ป่วย คือ คนในครอบครัวของเรา” เพื่อที่จะได้คำนึงถึงตัวผู้ป่วยให้มากที่สุด และให้คำแนะนำหรือคำปรีกษาที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการมาใช้บริการของห้องปฏิบัติการนั้นๆ ด้วย

  credits :  นางสาวธารารัตน์ สระทองแดง 491110037
            นางสาวพรทิพย์  เผ่าผาง  491110060
            นางสาวมลลิกา  รัตนเมือง 491110076
            นายยุทธพงศ์  อาฤทธิ์  491110081
            นางสาวรฐา  นวปราโมทย์  491110082
            นางสาวรวีวรรณ สมศักดิ์ชัยเจริญ 491110083
            นางสาวรัชดาพร  วงษ์กมลชุณห์  491110085
            นางสาววราลักษณ์  มงคล  491110092
            นายเอกฉันท์ ไชยเรียน 491110134    
คำสำคัญ (Tags): #funrional competency
หมายเลขบันทึก: 269554เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท