9 สารพิษใกล้ตัว


    เดือนก่อนเพื่อนร่วมงานมาเปรยว่า ไปเจาะเลือดพบว่าสารพิษในตัวอยู่ในเกณฑ์สูงทั้งๆ ที่ก็รับประทานผักผลไม้ปลอดสารพิษตลอดและก็ไม่ได้รับประทานยาหรือใช้สารเคมีอะไรเป็นพิเศษ คำปรารภของเพื่อนทำให้นึกถึงว่า มีการศึกษาที่พบว่าผู้หญิงในจังหวัดเชียงใหม่มีอัตราการเกิดมะเร็งปอดสูง (Nakachi และคณะ, 1999) ซึ่งผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่าน่าจะเกิดจากสภาพแวดล้อมเป็นพิษ ก็ทำให้ตระหนักว่า สารพิษอยู่รอบๆตัวเรานี่เอง 

     ดร. Ben Kin จาก แคนาดา (http://drbenkim.com/articles-household-toxins.htm) สรุปสารพิษ 9 ชนิดที่พบมากในบ้านและในชีวิตประจำวันของเราๆ ท่านๆ คือ

     1. Triclosan: สารป้องกันแบคทีเรียที่พบได้ในยาระงับกลิ่นตัว ยาสีฟัน เครื่องสำอางค์ เครื่องครัวและของเล่นเด็ก
       2.  Phthalatesสารผสมในพลาสติกที่พบได้ในพื้นเคลือบวานิว กล่องพลาสติกบรรจุอาหาร ถุงพลาสติก ผงซักผ้า ของเล่นเด็ก ผ้าม่านห้องน้ำ และอุปกรณ์ส่วนตัวเช่นสบู่ แชมพู ยาทาเล็บและสเปรย์ฉีดผม
        3.  Bisphenol A: สารประกอบเรซินที่พบได้ในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ พบได้ในกระป๋องบรรจุอาหาร ขวดนมเด็ก ของเล่น กระป๋องอาหาร
        4.  Carbon monoxide: ที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่หมด พบได้ทั่วไปเช่นเตาไฟทำครัว และจากท่อไอเสีย
         5.  Perfluorinated chemicals: ที่เป็นสารเคลือบพื้นผิวป้องกันอาหารติดกะทะ เช่นกะทะเทฟล่อน ถุงบรรจุข้าวโพดคั่วกึ่งสำร็จรูปสำหรับไมโครเวฟ
          6. Volatile organic compounds (VOCs): สารเคมีที่ผสมในกระป๋องสเปรย์เพื่อการฉีดพ่น เช่นสเปรย์ดับกลิ่น สเปรย์ฉีดผม น้ำหอม น้ำยาทำความสะอาด สีทาบ้าน พรม และเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัด
          7.  Radon: ก๊าซไร้กลิ่นที่เกิดจากการแตกตัวของชั้นหินหรือดินคล้ายยูเรเนี่ยม พบได้จากพื้นห้องที่ติดดินที่แตกและระบายอากาศไม่ดี 
          8.  Lead: สารตะกั่วพบได้ในสีทาบ้าน เครื่องจานชามคริสตัลและอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ
          9.  Pesticides and herbicides: ยาฆ่าแมลงต่างๆ พบได้จากการปนเปื้อนผ่านทางผัก ผลไม้
           ดูแล้วเหมือนกับว่า สารพิษส่วนใหญ่ที่ต้องพบเจอ หลีกเลี่ยงยากจริงๆ นะคะ แต่ก็มีสารพิษหลายตัวที่อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยการใช้ในขนาดพอเหมาะพอดี เช่นคุณผู้หญิงก็งดหรือลดการฉีดสเปรย์ผม พยายามไม่ใช้พลาสติกบรรจุอาหาร เลี่ยงการรับประทานข้าวโพดคั่วกึ่งสำเร็จรูปประเภททำสำหรับไมโครเวฟ นะคะ
            พยายามใช้ผลิตภัณฑ์หรือรับประทานอาหารจากธรรมชาติ และที่สำคัญ ต้องระวังว่าจะไม่ทำอะไรที่เป็นการเพิ่มสารพิษให้กับสภาพแวดล้อมโดยเจตนาด้วยค่ะ

อ้างอิง Nakachi, et al, 1999, Risk factors for lung cancer among Northern Thai women: epidermiological, nutritional, serological, and bacteriological surveys of residents in high-and low-incidence areas. Japanese Journal of Cancer Research, 90, 1187-1195

หมายเลขบันทึก: 26735เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าจะมี ผลของการรับสารพิษแต่ละตัวด้วยนะคะ

http://gotoknow.org/blog/thaiwomen/63223

เจอ หน้าผลของการรับสารพิษแล้วคะ ขอบคุณคะ อาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท