หลังจากที่ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (GCOM) มีนโยบายขยายความรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ รีโมทเซนซิง จีพีเอส โดยพัฒนาหลักสูตรเพื่อจัดฝึกอบรมระบบภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) ให้กับครูภูมิศาสตร์ที่ต้องสอนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ในรายวิชาภูมิศาสตร์ไทย ภูมิศาสตร์โลก เพื่อให้ครูได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับการสอนเพื่อเสริมความรู้ให้กับนักเรียน ในด้านการใช้ระบบภูมิสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยพยายามหาแนวทางเลือกสำหรับการเลือกโปรแกรมให้กับครู
โจทย์อยู่ที่ มีโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบฟรีตัวใดบ้างที่สนับสนุนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้ในระดับที่เหมาะสม
ในทีมศูนย์วิจัยฯ ก็ได้พูดคุยกันจนพบว่าโปรแกรมควอนตัมจีไอเอส Quantum GIS (QGIS) เป็นโปรแกรมฟรีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่น่าจะนำมาพัฒนาเป็นคู่มือประกอบการฝึกอบรมสำหรับครูภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ในศาสตร์นี้สู่สังคมให้มากขึ้น
จึงได้ให้ทีมงานศูนย์วิจัยฯ โดย อาจารย์ณัฐพล จันทร์แก้ว ได้พัฒนาเอกสารประกอบการฝึกอบรมขึ้นมา ซึ่งได้พัฒนาให้ครอบคลุมหัวข้อที่ทางศูนย์วิจัยฯ จัดฝึกอบรมพื้นฐาน GIS ให้มากที่สุด
อ.ณัฐพล จันทร์แก้ว (อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชนบท)
โดยหากท่านใดต้องการศึกษาด้วยตนเอง อาจจะศึกษา โดยโปรแกรม QGIS ในเวอร์ชั่นที่ใช้งาน QGIS-0.11.0-1
สำหรับเวอร์ชั่นอื่นๆ โหลดได้ที่ http://download.qgis.org/downloads.rhtml
download เนื้อหาในการเรียนรู้ในตาราง คู่มือการใช้งาน QGIS
download QGIS-0.11.0-1 | http://download.osgeo.org/qgis/win32/QGIS-0.11.0-1-Setup.exe |
วิธีการติดตั้ง QGIS-0.11.0-1 | QGIS_part01.pdf (608 KB) |
การแสดงผลข้อมูลเวกเตอร์และแรสเตอร์ | QGIS_part02.pdf (4,916 KB) |
การตกแต่งสัญลักษณ์ และการวัดระะยะทาง และเนื้อที่ | QGIS_part03.pdf (4,016 KB) |
การเรียกใช้งานข้อมูล GIS ในสกุลอื่นๆ และการส่งออกเป็น Shapefile | QGIS_part04.pdf (1,529 KB) |
การตรึงพิกัดแผนที่ภูมิประเทศ | QGIS_part05.pdf (1,508 KB) |
การนำเข้าข้อมูลเวกเตอร์ digitizing | QGIS_part06.pdf (2,447 KB) |
การใช้งานข้อมูลตาราง Attribute Data | QGIS_part07.pdf (1,866 KB) |
การจัดการโปรเจกชั่น และแผนที่พร้อมพิมพ์ Layout | QGIS_part08.pdf (3,345 KB) |
อย่างไรก็ดียังคงมีโปรแกรม OpenSource GIS ที่ใช้งานอีกหลายโปรแกรม ที่ท่านสามารถเลือกใช้งานได้
และเพื่อสนับสนุนให้ครูภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา สามารถทบทวนบทเรียนด้วยตนเองได้ ทางศูนย์วิจัยฯ จึงได้พัฒนา สื่อเรียนรู้ CAI เพื่อให้ครูได้นำไปทบทวนวิธีการสร้างแผนที่โลก แผนที่ประเทศไทยไว้สอนนักเรียนได้อย่างสะดวกมากขึ้น สำหรับ CAI นี้ผมได้ทดลองทำขึ้นมาในระหว่างการเรียนรู้การใช้โปรแกรมผลิตสื่อ Adobe Captivate และ Camtasia Studio ด้วยเวลาที่จำกัด (2 วัน เสาร์และอาทิตย์) เพราะต้องใช้ประกอบการสอนด่วน เลยตัดบางส่วนมาแสดงผลผ่านเว็บไซต์ให้ดูกันเป็นตัวอย่าง สำหรับชุดสมบูรณ์ต้องมารับได้ในงานกิจกรรมต่างๆ ที่ภาควิชาฯ ศูนย์วิจัยฯ จัดขึ้นครับ
CAI (computer-assisted instruction ) ซึ่งราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพท์ว่า “ซีเอไอ” หรือ “การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” ซึ่งมักอ้างอิงถึงซอฟแวร์ทางการศึกษาชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน CAI มีลักษณะเด่นสามประการคือ ประหยัด ได้ผล และฉลาด [http://www.thaicai.com/cai]
ทั้งเอกสารประกอบการสอน และสื่อการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ได้สำเนาแจกให้กับครูภูมิศาสตร์ที่สมัครเข้าฝึกอบรมในหลักสูตร “เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์" และในกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ และกิจกรรม GISDAY ทุกปี ซึ่งเป็นนโยบายของศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ที่ต้องบริการวิชาการให้กับสังคม
ซึ่งสำหรับปี 2552 นี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สวทช. ให้จัดอบรมขึ้นจำนวน 2 รุ่น
รุ่นที่ 1/52 วันที่ 20 – 24 เมษายน 2552
รุ่นที่ 2/52 วันที่ 1 – 5 มิถุนายน 2552
ในการจัดการฝึกอบรม ก็ยังพบข้อจำกัดในหลายๆ ส่วนที่ทีมศูนย์วิจัยฯ ยังต้องปรับปรุงต่อไป เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ประกอบการสอนนักเรียนต่อไป
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ครูgisชนบท ใน ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
คำสำคัญ (Tags)#ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์#qgis#quantum gis#การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย#คู่มือการใช้ qgis
หมายเลขบันทึก: 264043, เขียน: 28 May 2009 @ 19:43 (), แก้ไข: 22 Jun 2012 @ 12:30 (), สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน, ความเห็น: 5, อ่าน: คลิก