บันทึกการเดินทางในอินเดีย วันที่ 6 7:พาราณสี มคธ ดินแดนแห่งตำนานพระพุทธศาสนา


พาราณสี มคธ ดินแดนแห่งแห่งพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา และดินแดนแห่งพระพุทธเจ้าตรัสรู้

10 พค.52

 

 

      เช้านี้ ผู้เขียนถูกปลุกตั้งแต่ 02.30 น.เพื่อเดินทางต่อไปที่เมืองพาราณสี ถึงจุดหมายปลายทาง ประมาณ 11. 00น. พระอาจารย์สุเทพพาไปดูที่ดิน 2-3 แปลง ซึ่งพระอาจารย์มีแผนจะซื้อเพื่อสร้างวัดไทยเพื่อเผยแผ่พระพุทธสาสนาอีกแห่ง แต่ยังไม่ตกลงว่าจะซื้อแปลงไหน แต่เท่าที่ได้ยินดูเหมือนว่าท่านชอบแปลงที่ใกล้สถานที่ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวคีทั้ง 5 ในเมืองนี้มีสังเวชนียสถาน 2 แห่ง คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าพบกับปัญจวคีย์ ทั้ง 5 แต่ยังไม่แสดงปฐมเทศนา และอีกแห่งคือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวคีทั้ง หลังจากดูที่ดินเสร็จแล้ว พระอาจารย์ก็พาพวกเราไปกราบ สถูปที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวคีทั้ง 5 จากนั้นก็แวะรับประทานอาหารเที่ยงที่ในเมืองพาราณสี และช่วง บ่าย 14.00 น.ก็เดินทางกลับเมืองคยา หรือเมืองมคธ มุ่งสู่วัดไทยมคธ พุทธวิปัสนา ถึงวัด เวลา  18.00 น.  ซึ่งวัดนี้ผู้เขียนเคยบอกไปแล้วว่าเป็นวัดที่พระอาจารย์สุเทพเป็นผู้นำสำคัญในการระดมทุนมาก่อสร้างและมีพระอาจารย์จรัญที่เป็นกำลังสำคัญอีกท่าน (พระอาจารย์จรัญ ที่อยู่ที่เมืองคยามาหลายสิบปี ) อาณาบริเวณวัดกว้างประมาณ 4  ไร่  ตั้งอยู่ใกล้ๆ วัดแถบเอเชียหลายวัด  มีอาคารที่พักสำหรับเณร ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่พระอาจารย์สุเทพอุปการะ และส่งเสียเล่าเรียน 3 รูป มีแม่ชีคนไทย อีก 1 คน พักอยู่ที่วัดด้วยคอยทำอาหารถวายพระอาจารย์ และคนงานก่อสร้าง มีอาคารที่กำลังก่อสร้างอยู่เอาไว้สำหรับรองรับญาติ โยมที่มาทำบุญจากเมืองไทย ประมาณ 50 ห้อง และมีอาคารเล็กๆ 2 ชั้นสำหรับไว้ให้แขกพักชั้นบน และชั้นล่างพระอาจารย์จะจัดให้มีการตรวจรักษาผู้ป่วยและแจกจ่ายยา  อากาศที่นี่ร้อนมากประมาณ 44 C หลังจากอาบน้ำ และรับประทานอาหารเย็นเรียบร้อย พระอาจารย์พาคณะเราไปที่พุทธคยา ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากที่วัดที่พวกเราพักมากนัก ระหว่างที่จะไปพุทธคยามีนักท่องเที่ยว ผู้คนชาวอินเดีย เดินเป็นกลุ่มๆ เพื่อไปไหว้พระที่พุทธคยาตลอดทาง พวกเราไปถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แห่งนี้ประมาณ 19.00น. ปากทางที่จะถึงเจดีย์มีคนอินเดียขายของที่ระลึกมากมาย พอไปถึงก่อนเข้าไปในบริเวณรอบๆพระเจดีย์ ทุกคนต้องถอดรองเท้าและฝากรองเท้าไว้ที่ เจ้าหน้าที่ที่รับฝาก รอบๆ บริเวณ และใกล้ๆพระเจดีย์ มีผู้คนมากมายที่มากราบไหว้ และเที่ยวชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ทันที่ที่ก้าวเข้าประตู ไปตลอดทาง และอาณาบริเวณรอบๆ พระเจดียประดับประดาไว้ด้วยไฟสวยงาม พวกเรา ซื้อดอกไม้ และพากันเดินเวียนเทียน 3 รอบพร้อมพระอาจารย์ แล้วก็ไปหยุดที่ ต้นโพธิ์ (ตรงนี้ปัจจุบันเป็นต้นที่ 4 แล้วอายุได้ 129 ปี ) ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสรู้ และพระอาจารย์สุเทพ พาสวดมนต์ และเจริญสติภาวนา ประมาณ 10 นาที  จากนั้นก็เดินชมรอบๆ พระเจดีย์อีกไม่นานก็กลับมาที่พัก เป็นอันเสร็จสิ้นกิจกรรมวันนี้ ซึ่งวันนี้เนื่องจากคณะเราไม่มีกิจกรรมเดินทางไปไหนต่อวันนี้ จึงสบายๆ ไม่รีบร้อนนอน เท่าใดนัก

11 พค.52

    วันนี้คณะเราไม่มีโปรแกรมไปไหน จึงตื่นสายได้ หลังจากทำกิจวัตรและรับประทานอาหารเช้าเสร็จ ก็พักผ่อนตามอัธยาศัย ผู้เขียนเองก็มีเวลาซักผ้า จากนั้นก็มานั่งอ่านทบทวน power point ที่ต้องเตรียมตัวเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้เข้าอบรม ในวันที่ 17 พค.52 ที่จะถึงนี้ ที่คณะพยาบาลศาสสตร์ ขอนแก่น   ตกบ่ายคุณกล้วยพาไปชมความงามของเจดีย์พุทธคยาตอนกลางวัน แล้วเลยเดินดู หินสี เทอควอยท์ ที่เขาวางขายแถวเจดีย์ พุทธคยา มีหลายแบบที่เดียวแต่ที่ถูกใจได้ สำหรับตัวเอง มา 2 นอกนั้นก็ได้ กำไลสีนิลอีก 6 เส้นเอามาฝากคนรู้จัก ตกเย็นหลังรับประทานอาหารเย็นแล้ว ยังชมความงามของเจดีย์พุทธคยา ไม่จุใจชวนคณะไปอีกวันนี้พระอาจารย์ไม่ไปด้วย มีผู้เขียน วิศวะ1 และดร.ชำนาญ (มหาราชาพลัดถิ่น) ไปด้วย โดยมีคุณกล้วยเป็นสารถี วันนี้อากาศเย็นสบายมีผู้คน และนักท่องเที่ยวมากมาย ผู้เขียนเลยถือโอกาศเดินรอบๆ สวน สนามหญ้าที่ปลูกรอบพระเจดีย์ สวยมาก เมื่อเดินรอบแล้วก็เลยแวะไปกราบตรงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อีกครั้ง รู้สึกสบายใจ ปลื้มปิติและอิ่มใจอย่างบอกไม่ถูก ถ้าเราพักอยู่ที่วัดไทยพุทธวิปัสนาคงมากราบไหว้พระทุกวัน เหมือนคนชาวเมืองนี้แน่ๆ  3ทุ่มพวกเราก็กลับถึงวัด วันนี้ก็เป็นอีกวัน ที่ต้องรีบนอน เพราะพรุ่งนี้ก็ต้องตื่นแต่ 03.00 น. เพื่อไปขึ้นรถไฟไปถึงจุดหมายที่เมือง Kolgata และพักที่วัดเบงกอล (วัดที่คณะผู้เขียนมาพักผ่อนวันแรกก่อนเดินทางต่อ) อีกครั้ง และทางคณะเรา จะพักค้างคืนที่วัดไทย เบงกอลอีก 1 คืน (คืนวันที่12พค.52) และเช้าวันที่ 13 พค.52 เวลา 9.00 น.คณะเราก็จะเดินทางกลับเมืองไทย เป็นอันสิ้นสุดการเดินทาง ของtrip นี้

     โดยรวมแล้ว 8 คืน 9 วันของการเดินทางมาอินเดียครั้งแรก ก็ถือว่าประทับใจ ได้ความรู้ มากมายทั้งเกี่ยวกับเมืองอินเดีย และสังเวชนียสถานที่สำคัญ  ตำนานพระพุทธศาสนา  ผู้เขียนเก็บเกี่ยวความรู้ ความประทับใจเอาไว้เต็ม  ท้ายสุดขอกราบขอบพระคุณพระอาจารย์สุเทพ ที่ได้ให้ความเมตตา ให้ข้อมูล ต่างๆ และดูแลผู้ร่วมเดินทางทุกคน ขอขอบคุณ ดร.ชำนาญพี่ชายที่ใจดีคอยพุดคุย เย้าแหย่ตลอดการเดินทาง ขอบคุณคุณกล้วย ไกด์หน่มผู้คล่องแคล่วและเชี่ยวชาญเมืองอินเดีย และที่ลืมไม่ได้ขอขอบคุณนายช่างใหญ่ผู้ใจดีที่นอกจากมีหน้าที่หลักในการควบคุมงานก่อสร้างวัดแล้วยังช่วยดูแล แนะนำผู้เขียนตลอดการเดินทาง 

 

 

 

 

 

 

 

    

หมายเลขบันทึก: 264035เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2009 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไปทำงานแดนไกล...ห่างไกลจากขอนแก่นที่ทำงานคุณพรนิภา..อยากอ่านบันทึกการเดินทางในอินเดีย ใจจะขาด เพิ่งมาถึงครับเลยอ่านซะ 2 เที่ยว ดูจากรูปถ่ายถ้าคุณอยู่อินเดียก็คงกลมกลืนไปกับคนอินเดียได้ไม่ยาก(ขออนุญาตไปเล่าความ exite ส่วนตัว ใน yahoo ครับ)

สถิต ศรชัย

ขออนุญาตกลับเข้ามาบอกกล่าวอีกรอบต่อจากเมื่อวานครับ (สงสัย address คงจะล่มส่ง email ออกไม่ได้เลย ร้อนใจมาก)จากการอ่านแบบละเอียดจึงได้รู้ว่าคณะเดินทางของคุณพรนิภา เป็น IRON MAN ครับ เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปสถานที่ต่างๆอย่างมากมาย คงตื่นเต้นจนลืมความเหน็ดเหนื่อย...ผมชอบเรื่องที่ เมืองดาเจริ่ง ดูจากรูปถ่ายเป็นเมืองแปลกๆ อยู่บนเขาสูงอากาศหนาวในฤดูร้อน เหมือนเมืองสวรรค์ที่ผู้คนขึ้นไปสัมผัสได้..เมืองสวรรค์เป็นที่อยู่ของนางฟ้า นางสวรรค์ เป็นเมืองที่เหมาะกับผู้ที่มีจิตใจเมตตาเหมือนนางฟ้า เช่น คุณพรนิภา

สถิต ศรชัย

สวัสดีค่ะ คุณสถิตย์

ขอบคุณนะคะที่แวะมาชมและทักทาย Have a good weekend นะคะ

พรนิภา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท