เชื้อโรคในจิตใจ "คน"


การจัดการกับเชื้อโรคเหล่านี้ให้เริ่มต้นจัดการกับ “ความหลง” เสียก่อน เพราะเป็นหัวหน้าใหญ่ เครื่องมือที่ใช้คือการควบคุมสติเป็นสำคัญ ให้คิดไปในทางกุศล หรือคิดทางบวก

     จากหนังสือวิธีฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันอย่างง่าย ๆ เขียนโดย นพ.เอกชัย จุละจาลิตต์ ซึ่งกะ(พี่สาว)สุคนธ์ พยาบาลวิชาชีพ รพ.ปากพะยูน ซื้อมาฝากผมตอนไปประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับงานคนพิการ และได้ฝากถึงผมเมื่อสองสัปดาห์ก่อน คืนนี้อยู่นิ่ง ๆ ในขณะที่ระบบ Internet ช้ามาก ก็เลยได้เปิดอ่านอย่างตั้งใจ ก็ได้พบประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือผู้เขียนบอกว่า เชื้อโรคในจิตใจ 3 ชนิดเท่านั้นเอง แต่ป้องกันรักษายากมาก ลองมาดูกันนะครับว่ามีอะไรบ้าง สำหรับส่วนขยายความผมต่อเติมเอง หากผิดพลาดก็ได้โปรดชี้แนะด้วย

     1. ความโลภ คือความอยากซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ แต่หากเมื่อไหร่มีน้อยหรือมากเกินไปจะไม่พอดี เกิดเป็นอสมดุล เลยเถิดไปถึงขั้นเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นได้ เมื่อมีความโลภเกิดขึ้น ก็จะเกิดเป็นความทะเยอทะยานอยากที่จะให้เป็นไปตามความโลภ เรียกว่า “ตัณหา” เมื่อเกิดเป็นความซ้ำ ๆ หากได้ยึดมั่นถือมั่นเข้าไปอีก ก็จะเรียกว่า “อุปาทาน”

     2. ความโกรธ คือ ความไม่ชอบ ไม่ถูกใจ หรือไม่พอใจที่มากจนเกินควร เกินพอเหมาะ ไม่พอดี เกิดเป็นอสมดุล เลยเถิดไปถึงขั้นเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นได้ สาเหตุที่เกิดความโกรธเพราะการได้รับสิ่งสัมผัสทางอายตนะทั้ง 6 คือ หู ตา ลิ้น จมูก กาย และใจ หากมีมากถึงขั้นทะยานอยาก ก็จะเรียก “ตัณหา” เมื่อเกิดเป็นความซ้ำ ๆ หากได้ยึดมั่นถือมั่นเข้าไปอีก ก็จะเรียกว่า “อุปาทาน” เช่นกัน

     3. ความหลง คือหัวหน้าใหญ่ของเชื้อโรคทั้ง 3 ประเภทนี้ หมายถึงความไม่รู้ในอริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) รวมทั้งการไม่มีความสามารถในการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ 8 อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และต่อเนื่อง

     การจัดการกับเชื้อโรคเหล่านี้ให้เริ่มต้นจัดการกับ “ความหลง” เสียก่อน เพราะเป็นหัวหน้าใหญ่ เครื่องมือที่ใช้คือการควบคุมสติเป็นสำคัญ ให้คิดไปในทางกุศล หรือคิดทางบวกนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 26193เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2006 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
งั้นหากใช้สติคิดเชิงบวก จะจัดการความหลง นำไปสู่การจัดการความโกรธ และความโลภได้สินะ ดีจังครับผม ยากเอาตรงที่มักลืมสตินี่แหละครับ
     คิดว่าใช่นะครับ! ป้องกันและแก้ไขได้โดยการใช้สติ...ซึ่งเดิม ๆ ผมมักจะเรียกว่าใช้ตัวตนของตัวเอง จัดการกับตัวตนเอง
     แต่ก็ยากตรงที่เรามักลืมสตินี่แหละครับ จึงต้องฝึกการใช้สติ ที่เรียกว่า "การฝึกเจริญสติ"

อ่านเจอ...เลยทำให้ get และนึกอะไรได้บางอย่าง เลยไปต่อยอดเป็นบันทึกใหม่นะคะ "คำอำนวยพร ตอน ละวางความโกรธ"

แต่ทำไมมนุษย์ชอบพูดสี่คำล่ะ
รัก โลภ โกรธ หลง
สติ  การยั้งคิด และความเพียงพอ
เป็นวัคซีนป้องกันโรคได้

คุณบัวใต้น้ำ

     เพราะ "รัก" เป็นสิ่งที่ดีไงครับ จึงไม่พูดถึงในบันทึกนี้

Dr.Ka-poom

     ตามไปอ่านหลายรอบแล้วครับ จะรอดูตัวอย่างจากการปฏิบัติครับ...ยิ้ม

     บันทึกถูกแสดงสุ่มขึ้นมาให้ผมเห็น ขอบคุณมาก ๆ ครับสำหรับ GotoKnow ผมกำลังต้องการเพื่อจัดการอะไร ๆ กับตัวเองอยู่พอดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท