การทดลองเพาะพืชคลุมดิน


ทดลองเพาะพืชคลุมดินที่บ้าน

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 เวลาประมาณ 17.00 น. ผมได้ทดลองเพาะเมล็ดพืชคลุมดิน 2 ชนิดคือ ถั่วมูคูนา Mucuna pruriens และถั่วซีรูเลียม Calopogonium caeruleum เนื่องจากเมล็ดถั่วพวกนี้หาซื้อได้ยากและราคาแพง ผมก็เลยพิถีพิถันในการเพาะคือ ได้เพาะในกะบะเพาะ โดยถั่วซีรูเลียมผมได้แช่น้ำไว้ 1 คืน ส่วนถั่วมูคูนาไม่ได้แช่ครับ กดใส่กระบะเพาะที่ใส่ดินไว้แล้ว (ที่ไม่แช่เพราะว่าลองแช่ตอนที่ปลูกในที่ทำงาน เน่าหมดเลยครับ)

            กะบะเพาะเมล็ด                                         วางไว้ในที่แสงแดดรำไร

และใช้ดินเพาะ(ไม่ได้โฆษณาครับแต่เพื่อเป็นบันทึกไว้) ดินไทรน้อย ดินเพาะกล้าสูตร 1 ซึ่งที่ข้างถุงเขาเขียนไว้ว่า มีดินร่วน ปุ๋ยคอก แกลบดำ ขุยมะพร้าว และแร่ธาตุอาหารอย่างอื่น ราคาค่อนข้างแพงสอบละ 120 บาท วันนี้ วันที่ 9 พฤษภาคม 2552 เวลา 06.30 ผมก็ได้มาสังเกตดูว่า ถั่วที่ผมเพาะไว้อาการเป็นอย่างไรบ้าง

 

เห็นแล้วก็ดีใจครับแม้นว่ายังงอกอยู่ไม่มากและบางส่วนเน่าไปเลยโดยเฉพาะเมล็ดถั่วมูคูนา

หมายเลขบันทึก: 260065เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2009 07:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

จำหน่ายพืชคลุมดิน Mucuna ที่นิยมปลูกกันมากในสวนปาล์มน้ำมันและยางพารา ในประเทศมาเลเซีย มีอายุประมาณไม่เกิน 8 ปี ให้อินทรียวัตถุสูงมาก ราคากิโลกรัมละ 4500 บาท สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับพืชคลุมดิน โทร 08 9926 3074, 0 7725 9079 คุณสาโรจน์

หวัดดีครับ คุณสาโรจน์ ขอบคุณมากครับที่ให้ข้อมูล

ตอนนี้ผมกำลังศึกษาการติดเมล้ดของพืชคลุม Mucuna อยู่ครับ ซึ่งมีทั้ง Mucuna bracteata จากมาเลเซีย ที่คุณสาโรจน์ว่า Mucuna pruriens ที่มีคนนำมาให้จาก ซิมบับเว และอีกตัว ไม่แน่ใจว่า เป็น Mucuna spp. ใดจากญี่ปุ่นอยู่ครับ

เนื่องจากเมล็ด มูคูน่า ค่อนข้างจะแพงมากๆสำหรับเกษตรกร ซึ่งตอนนี้ Mucuna pruriens การติดเมล็ดจากการทดลองของผม ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ผมก็จะใช้วิธีการที่ผมใช้กับ Mucuna pruriens ไปลองใฃ้กับ Mucuna bracteata ที่มีการปลูกกันมากในมาเลเซียตอนนี้ ถ้าได้ผลเกษตรกรก็คงไม่ต้องซื้อเมล็ด มูคูนา แพงๆจากมาเลเซีย (จริงๆ แล้ว มาเลเซียก็ซื้อจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง เนื่องจากมีปํญหาไม่ติดเมล็ดเหมือนกัน )ซึ่งตอนนี้ผมได้เมล็ดมาไม่ถึง 1 กำมือหรอกครับ แต่เอามาเพาะงอกได้หลายต้นแล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วสำหรับผม ต้นเดียวก็เพียงพอแล้วครับ และในการจัดงานยางพาราแห่งชาติปีหน้า ผมคาดว่าจะมีเมล็ด Mucuna pruriens ไปแจกเกษตรกรได้ส่วนหนึ่ง แล้วปีถัดไป ผมก็จะแจก Mucuna bracteata พร้อมทั้งการศึกษาการติดเมล็ดก็น่าจะได้ข้อสรุปบ้างพอสมควรเพื่อให้เกษตรกรไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ที่แพงๆครับ

จะส่งวิธีเพาะไปให้ครับ ขออีเมล์ด้วยครับ สาโรจน์

ขอวิธีเพาะเมล็ดซีลูเลียมหน่อยครับได้เมล็ดมากิโลละ 500 บาท แต่ไม่รู้วิธีปลูก อยากปลูกเมล็ดลงในสวนเลยได้ไหมไม่อยากทำหลายขั้นตอนคือขุดหลุมหยอดเมล็ด ขอความรู้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

1. ซีรูเลี่ยมในระยะแรกจะเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ก่อนปลูกต้องเตรียมดินให้ดี อาจจะไถพรวน ฉีดยาคุมหญ้าก่อนการปลูก

2. ซีรูเลี่ยมเมล็ดมีเปลือกหุ้มค่อนข้างหนา ก่อนปลูกจำเป็นต้องแช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นค่อนข้างร้อน อุณหภูมิประมาณ 70 องศาเซลเซียส แล้วแช่ทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นเทน้ำที่แช่ทิ้ง ใช้ผ้าหรือถุงตะข่ายเขียวห่อไว้ ปล่อยให้เมล็ดหมาดๆ จากนั้นคลุกกับปุ๋ยหินฟอสเฟต(0-3-0)

3. ควรปลูกต้นฤดูฝน เมล็ดที่เตรียมเสร็จแล้วควรปลูกให้หมดในแต่ละครั้ง ก่อนนำไปปลูกคัดเอาเฉพาะเมล็ดที่อมน้ำและเปลือกนิ่มส่วนเมล็ดที่ยังแข็งอยู่ นำไปแช่น้ำอุ่นซ้ำโดยวิธีเดิมอีกรอบ จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์ และคุ้มกับราคาเมล็ดที่แพง

4. ปลูกพืชคลุม 2-3 แถว ห่างจากแถวยางประมาณ 2 เมตร โดยการปลูกเป็นหลุมห่างกันหลุมละ 75 เซนติเมตร ลึก 1-2 นิ้ว ใช้เมล็ดซีรูเลียม 2-3 เมล็ด/หลุม การปลูกตามวิธีนี้เมล็ดพืชคลุม 1 กิโลกรัมสามารถปลูกในสวนยางได้ประมาณ 4-5 ไร่

5. ขอให้ประสบผลสำเร็จครับ

มาดูพืชคลุมดิน

และนำภาพมาฝากครับ

English Camp at Markwin Lodge Huahin

Mucuna pruiens กับ Mucuna bracteata แตกต่างกันอย่างไรครับ

เรียน คุณ วัธ เข้าไปอ่านดูที่ http://www.live-rubber.com/rubberforum/viewtopic.php?f=2&t=900&start=120&sid=4a28ba8c79cebb4fbc9bdea37a836822 น่ะครับ ผมเขียนไว้ค่อนข้างชัดเจน

เรียนคุณ แดง ประสิทธิ์ กาญจนา

ผมอยากได้เมล็ดซีรูเลียมมาปลูกที่สวนยางครับ หาซื้อได้ที่ไหนบ้าง ช่วยแนะนำด้วยครับ

เรียน คุณวิทยา

ตอนนี้ไม่ทราบครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท