สำหรับผู้ที่เข้าไปดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ของผู้เขียน (๓)


(ต่อ)

3. รูปแบบการนำเสนอกรณีศึกษาความร่วมมือระหว่าง LW กับ MST ในการสร้างความรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอผู้ริเริ่ม (initiator), เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและริเริ่มการใช้ LW กับ MST เพื่อการสร้างสรรค์ ที่คุณยุวนุชเรียกว่า Disruptive moment หรืออาจเรียกว่า Tipping point, และผู้ช่วยเหลืออำนวยความสะดวก (Facilitator) ผมเห็นด้วยว่าองค์ประกอบทั้ง 3 นี้มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างสรรค์
4.
การชี้ให้เห็นคุณค่าของวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มในปี พ.ศ.2540 ทำให้สังคมไทยตระหนักถึงความร่ำรวยทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชนบท และทุนดังกล่าวส่วนหนึ่งคือ LW
5.
การนำเสนอเรื่องราวในกรณีศึกษา ให้เห็นว่าเมื่อ initiator กำหนดเป้าหมายความมุ่งมั่นของตนแล้ว ได้พยายามเสาะหาความรู้ LW อย่างไร และได้แสวงหา MST มาใช้ประกอบ นำไปสู่ความสำเร็จในกิจกรรมอย่างไรบ้าง
6.
การเปรียบเทียบ LW กับ MST ในรายงานหน้า 126
7.
เมื่อได้อ่านวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผมรู้สึกเห็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์ตามกรณีศึกษาทั้ง 9 มากขึ้นอย่างชัดเจน การได้รับรู้ที่มาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดว่ามีองค์ประกอบของ LW อย่างไรบ้าง เป็นการเสพเชิงวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง นำมาซึ่งความอิ่มเอมจิตใจ


ข้อควรปรับปรุง
1. ข้อเขียนหน้า 124 ถึง LW ว่า “mostly orally transmitted” ผมไม่เห็นด้วย ผมคิดว่า LW อยู่ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และในกิจกรรมร่วมกันในสังคม ที่เรียกกันว่าชีวิตวัฒนธรรม และอยู่ในศิลปะต่าง ๆ ที่เรียกว่า ศิลปวัฒนธรรม ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องน่าจะว่า “not transmitted in written form” มากกว่า
ที่จริงข้อโต้แย้งนี้ไม่น่าจะสำคัญนัก เพราะคุณยุวนุชได้เขียนไว้แล้วว่า LW ส่วนใหญ่อยู่ใน culture
2.
การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง LW กับ MST ตาม SECI Model ไม่ชัดเจนในส่วนของ Externalization ในหน้า 342 – 344
ผมเข้าใจ (ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด) ว่า externalization เป็นการดึงความรู้ออกมาจากคนมาเข้ารหัสเป็นตัวหนังสือ รูป หรือรหัสแบบอื่น ซึ่งตามที่ครูบาสุทธินันท์และทีมงานฟ้าสู่ดินของท่านใช้ คือมีทีมงานไปถ่ายรูปกิจกรรม เอามาทำ PowerPoint ประกอบการพูดในที่ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการฟ้าสู่ดิน ช่วยทำให้ชาวบ้านเข้าใจกิจกรรมที่ตนทำในอีกระดับหนึ่ง คือ externalize แล้วก็มีการตีความและสังเคราะห์ (combination) รวมกับความรู้เดิมที่มี แล้วพอมาผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก็เกิด internalization เข้าไปในชาวบ้านแต่ละคน
ผมไม่คิดว่าวงจร SECI จะต้องหมุนอย่างเป็นระเบียบจาก S ไปยัง E ไปยัง C ไปยัง I ไปยัง S...ผมคิดว่ากระบวนการ SECI เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนมาก ในกรณีศึกษา 9 กรณีของวิทยานิพนธ์นี้ เป็นกระบวนการที่ตัวละครสำคัญคือ initiator, facilitator, ผู้มี LW, ผู้มี MST และผู้ปฏิบัติ มีปฏิสัมพันธ์กันและเกิด knowledge creation ขึ้น
ผมมองว่าในหลาย ๆ กรณีเกิด S ไปยัง E ไปยัง I คือพอ externalize ก็มีคนดูดซับเอาความรู้นั้นไปปฏิบัติทันที เป็นวงจรลัดโดยไม่จำเป็นต้องเกิด combination ระหว่าง explicit knowledge
3.
ที่จริงในส่วนของการวิเคราะห์และสรุป (บทที่ 12) เป็นส่วนที่น่าสนุกที่สุด มีการถกเถียงกันได้มากที่สุด และจริง ๆ แล้วน่าจะตีความได้หลายแบบ ผมมองว่าคุณยุวนุชได้รวบรวม วัตถุดิบที่เป็นข้อมูลที่ดีมากมาได้มากมาย แต่แล้วเอามาปรุงเพียงนิดเดียว (25 หน้า) รู้สึกเสียดาย ว่าน่าจะปรุงให้เกิด อาหาร” (ปัญญา) หลากหลายชนิดกว่านี้
หลังจากวิทยานิพนธ์นี้ผ่านการพิจารณาไปแล้ว ผมอยากเชิญ ดร. ยุวนุช เป็นวิทยากรนำเสนอวิทยานิพนธ์นี้ และเชิญคนที่ critical จริง ๆ มาร่วมถกเถียงกระบวนการสร้างความรู้ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง LW กับ MST มาคุยกันในรายละเอียดและลงลึกจริง ๆ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในภาคเศรษฐกิจพอเพียง


ความเห็นทั่วไป
1.
ถือเป็นวิทยานิพนธ์ตัวอย่างได้ ผมอยากชวนคุณยุวนุชทำกิจกรรม 2 จังหวะ จังหวะแรกคือจัดประชุมนำเสนอและร่วมกันตีความและถกเถียงกระบวนการสร้างความรู้ในกรณีศึกษา 9 กรณีนี้ จังหวะที่ 2 คือเรียบเรียงใหม่เป็นหนังสือภาษาไทย เชื่อว่าจะมีสำนักพิมพ์แย่งต้นฉบับไปพิมพ์
2.
ผมอยากเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่าง LW กับ MST มาก ๆ แต่เป็นปฏิสัมพันธ์โดยเอาฝ่ายที่มี LW เป็นฐาน ใช้ปฏิสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของฝ่ายท้องถิ่น/ชุมชน ซึ่งก็คือเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง
3.
คุณยุวนุชได้วิจารณ์ไว้บ้าง ว่ากรณีที่ initiator เป็นนักธุรกิจ ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้ไม่ต่อเนื่อง กรณีเช่นนี้เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่าง LW กับ MST เพื่อประโยชน์ของคนนอก ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนในกลุ่มที่มี LW ผมอยากเห็นวิทยานิพนธ์ที่เน้นเปรียบเทียบการเรียนรู้ของชาวบ้านในโครงการที่ initiator เป็นคนในชุมชนเอง กับโครงการที่ initiator เป็นคนนอกที่มีเป้าหมายเพื่อธุรกิจของเขา ศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มละสัก 5 กรณี ศึกษาให้ลึกดูว่าชาวบ้านเกิดหรือไม่เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใด และวิเคราะห์นำเสนอว่าแม้ initiator จะเป็นคนนอก ชาวบ้านก็เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่องยั่งยืนได้ โดยต้องมีปัจจัยใด ฯลฯ


โจทย์วิจัยที่น่าจะมีคนทำต่อ
เรื่องนี้คิดจินตนาการออกไปได้มากมายไม่มีที่สิ้นสุด ขอยกมาเป็นตัวอย่างพอสังเขป
1)
การวิจัยลงไปในระดับ micro & participatory เพื่อดูกลไกของการสร้างความรู้/หมุนเกลียวความรู้โดยเจ้าของ LW จากปฏิสัมพันธ์ของ LW กับ MST
การวิจัยของคุณยุวนุชเป็นแบบ macro & non – participatory เรายังต้องการการวิจัยเพื่อสื่อให้เห็นแนวทางที่คนใน LW จะได้รับประโยชน์จากการใช้ทั้ง LW และ MST ในกิจการของตน โดยการทำกระบวนการ KM หมุนเกลียวความรู้เรื่อยไปไม่จบสิ้น
2)
การวิจัยแบบ long term ใช้เวลาสัก 3 – 4 ปี ดูการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการสร้างความรู้ในเจ้าของ LW เมื่อใช้ MST เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ด้วย
นี่คือการศึกษา KM ในชาวบ้าน เพื่อชาวบ้าน
3)
คุณยุวนุชเลือกศึกษากรณีศึกษาที่เป็นเรื่องราวของความสำเร็จ ถ้าเราเข้าไปศึกษาในชุมชนจริง ๆ จะพบว่าเรื่องราวของความสำเร็จมีน้อยกว่าเรื่องราวของความล้มเหลว ดังกรณี OTOP เป็นที่รู้กันว่า OTOP ที่สำเร็จจริง ๆ มีน้อยมาก จึงน่าจะมีผู้ศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีความสำเร็จยั่งยืนต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 5 – 10 ปี กับกลุ่มที่สำเร็จเพียง 2 – 3 ปีก็ล้มเลิกไป ไม่ยั่งยืน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรในเรื่องการสร้างความรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง LW กับ MST และในเรื่องปัจจัยอื่น ๆ

ผมมีความรู้สึกมานานแล้วว่า การเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเชิดชูยกย่องและใช้ประโยชน์นั้น
มักมีลักษณะใช้ภูมิปัญญาที่หยุดนิ่งแข็งตัว ไม่คิดผสมผสานความรู้จากภายนอก โดยเฉพาะความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ยั่งยืน แข่งขันไม่ได้ วิทยานิพนธ์ของคุณยุวนุช ศึกษาเข้าไปในประเด็นนี้อย่างเหมาะเหม็ง และทำให้ผมฝันว่าจะมีคนที่มีพื้นฐานการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างจากคุณยุวนุช เข้ามาศึกษาการสร้างความรู้จากปฏิสัมพันธ์ของ LW กับ MST

หมายเลขบันทึก: 257922เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขออนุญาตต่อตรงนี้อีกนิดเดียวค่ะ

ในแง่มุมที่ต่างออกไป

แต่ความลำเอียงของผมก็คือ ผมอยากให้มีคนศึกษาเพื่อให้คนในฝั่ง LW ได้รับประโยชน์จากการเข้าไปศึกษาตีความแบบนี้ให้มาก ๆ ให้เกิดการสร้างความรู้ LW ที่เป็นพลวัต

วิจารณ์ พานิช
17
พ.ค.48
จังหวัดชุมพร

ตามมาอ่านจนถึงบันทึกนี้แล้วครับ จะอ่านอีกหลายๆ รอบ ขอบพระคุณมากครับ

สวัสดีครับ

เพิ่งได้เห็นบันทึกเรื่องนี้ เลยตามอ่านจนจบทั้ง 3 ตอน

ชวนให้ย้อนกลับไปอ่านวิทยานิพนธ์ฯ อีกรอบเช่นกันครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท