ตามไปเยี่ยมปราชญ์ชาวบ้านผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายฟางข้าวที่บึงสมัคคี


เยี่ยมให้กำลังใจปราชญ์ชาวบ้านที่ชื่อวิชาญ การภักดี

เยี่ยมปราชญ์ชาวบ้านปรับโครงสร้างดินโดยไม่เผาฟางที่บึงสามัคคี

 

 

เมื่อต้นเดือนเมษายน 2552 ( 2.เมย.52 )ผมมีโอกาสไปเยี่ยมปราชญ์ชาวบ้านที่ชื่อคุณพี่วิชาญ การภักดี อยู่บ้านเลขที่ 90 หมู่7 ตำบลเทพนิมิต อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร คุณพี่วิชาญ  ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองประกอบอชีพทำนามาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันนี้มีอายุ 52 ปีแล้ว คิดและทำอยู่เสมอว่า เราจะทำการปรับปรุงดินเพื่อให้เพิ่มผลผลิตข้าวที่ปลูกในพื้นที่ 30 ไร่ของตนเองให้สูงขี้นได้อย่างไร จากเดิมที่เคยทำนาได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 53 ถังต่อไร่  ก็คิดอยู่เสมอว่าจะทำอย่างไรที่จะลดต้นทุนการผลิตได้และขณะเดียวกันก็จะต้องค้นหาองค์ความรู้ที่จะทำให้ผลผลิตข้าวต่อไร่ให้สูงขั้นตามไปด้วย

 

 

คุณพี่วิชาญ  การภักดี

         แต่ผมต้องยอมรับในความมุ่งมั่น ขยันในการทำนาและทำกิจกรรมทางการเกษตร ของคุณพิ่วิชาญ  ทำหลายกิจกรรม มีทั้งกิจกรรมปรับพื้นที่นาบางส่วนมาทำกิจกรรมไร่นาสวนผสม ขุดร่องปลูกไม้ผลและเลี้ยงปลากินพืช ปลูกผักบนคันร่อง ยังนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านมาประยุกต์ใช้อีกด้วย

 

 

           พี่วิชาญ ยังได้เล่าต่อไปอีกว่าสำหรับในนาข้าว หากเราจะต้องการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้นั้น จะต้องศึกษาหาความรู้ ประกอบกับฝึกประสบการณ์กล้าทำกล้าตัดสินใจในการนำกิจกรรมหรือความรู้ใหม่ที่เราขาด โดยนำมาพัฒนาในไร่นาของตนเองอยู่เสมอ มีการบั นทึกเก็บข้อมูลไว้สำหรับเคล็ดลับของตนเอง ได้สังเกตว่าการปรับปรุงดิน โดยไม่ทำการเผาฟางและตอซัง ด้วยการผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ จากหน่อกล้วยเพื่อทำการย่อยสลายฟาง ซึ่งได้ผลดีทีเดียว นอกจากนี้ยังได้ผลิตน้ำหมักจากสารสกัดชีวภาพมาใช้เพื่อลดการระบาดของโรคและแมลงในนาข้าว โดยไม่ใช้สารเคมีเลย สำหรับศัตรูข้าวบางชนิดเช่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ได้ทดลองใช้เชื้อราบิวเวอร์รี่ย ฉีดพ่นปรากฏว่าสามารถลดประชากรของเพลี้ยกระโดดในแปลงนาได้อย่างน่าพอใจ

 

                              ขณะรถเกี่ยวข้าวจะมีฟางข้าวตกลงพื้นนาโดยไม่กระจาย

 

                           คุณพี่วิชาญ กำลังสาธิตเครื่องตีฟางที่ตนเองประดิ๋ษฐ์เองให้ทีมงานได้ดู

                     เมื่อตีฟางหรือกระจายฟางแล้วก็ใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง

            ปัจจุบันนี้ยังได้ผลิตเครื่องมือเกลี่ยฟางหรือกระจายฟางข้าวในแปลงนาที่มีหารใช้รถเกี่ยวข้าวส่วน ฟางข้าวที่ออกมาจากเครื่องเกี่ยว ฟางจะรวมกันอยู่เป็นกองๆ ตามพื้นนา หากใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ย่อยฟางแล้ว หากไม่ทำการตีฟางหรือทำการกระจายฟาง จะได้ผลดีไม่เท่าที่ควร  ตนเองได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องตีฟางหรือกระจายฟางได้สำเร็จ และใช้ได้ผลดีมากใช้เวลาน้อย ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาของเครื่องตีฟางดังรูป พร้อมยังได้ทำการทดลองให้ทีมงานของเราได้ดูและเรียนรู้ด้วย ปัจจุบันนี้คุณพี่วิชาญ ยังได้บอกอีกว่า ทุกวันนี้ผลผลิตของเขาดีเพิ่มขึ้น จากเดิมเคยได้ประมาณ 53 ถัง แต่ปัจจุบันได้ถึง 90 ถังเลยทีเดียว ในขณะที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย

 

 

 

       ทุกวันนี้มีเกษตรกรในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่วิชาญ อยู่เป็นประจำ จึงนับได้ว่าเป็นแกนนำในการพัฒนาการเกษตรในชุมชนอย่างแท้จริง  ทั้งนี้ผมจึงต้องขออนุญาตบันทึกผลงานของคุณพี่วิชาญ ไว้ในBlog G2K ด้วยครับ..........

 

 

แหล่งข้อมูล; สายัณห์ ปิกวงศ์

                     28 เมย. 52.

หมายเลขบันทึก: 257823เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 06:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • ตามไปเยี่ยมปราชญ์ชาวบ้านด้วยค่ะ
  • ยินดี ภูมิใจ กับท่านปราชญ์ และดีใจแทนชาวไทยทุกท่านค่ะ
  • รักประเทศไทยจังเลย

ขอบคุณมากค่ะ  สบายดีนะคะ

  • ขอบคุณอาจารย์อ้อยมากครับ
  • ที่แวะมาให้กำลังใจเสมอมา
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ

 

เป็นตัวอย่างที่ดีมากคะ  ขอบคุณคะ

ครูเกื้อ กิ่งสายหยุด

ดีใจที่มีคนดีมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะเมืองเกษตรกรรมอย่างบ้านเรา ซึ่งกำลังตกลงสู่ช่วงมรสุมทางการเมืองหลาย ๆ อย่าง จนพี่น้องชาวเกษตรและเราชาวรากหญ้าเอือมระอาไปตามๆกัน

ผมขอเป็นกำลังใจให้ท่านด้วยความศรัทธาอันแรงกล้าอีกคนหนึ่งครับ หวังว่าชาวไทยทุกหย่อมหญ้าคงดีใจและหันมาทำความดีเหมือนดังที่มีตัวอย่างดีดีอย่างท่านปราชญ์ท่านนี้ แล้วเราทุกคนก็จะพบกับความสุขอันแท้จริง ไม่เชื่อลองทำดูครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท