นำเอาประสบการณ์ของปราชญ์ชาวบ้านปลูกกล้วยไข่ไปปฏิบัติจริง ( 2 )


ผมเรียนรู้จากประสบการณ์ชาวบ้านแล้วนำไปปฏิบัติจริง

ผมเรียนรู้จากประสบการณ์ชาวบ้านแล้วนำไปปฏิบัติจริง ในตอนที่ 2  นี้จะกล่าวถึงการดูแลรักษาแปลงปลูกกล้วยไข่หลังปลูกจนถึงอายุประมาณ 4- 5 สัปดาห์

 

 

ผมจะขอนำมาเล่าต่อจากตอนที่ 1 นะครับว่า หลังจากที่เราได้ปลูกกล้วยไข่ไปแล้ว ประมาณ 1-3 วัน ยอดอ่อนของกล้วยไข่ที่จะเจริญเติบโตเป็นยอดใหม่นั้น เกษตรกรได้ล่าให้ผมฟังว่า หากเป็นไปได้เมื่อเราปลูกหน่อกล้วยไข่ไปแล้วประมาณ 6-7 วัน  ปกติชาวบ้านเขาจะทำการปาดหน่อทิ้งทุกต้นเพื่อให้มีการแทงยอดใหม่ ด้วยเหตุผลคือเพื่อให้เกิดแทงยอดอ่อนที่เกิดใหม่จะมีความแข็งแรงสมบูรณ์และต้นกล้วยจะมีความเจริญใกล้เคียงกัน แต่ผมจะไม่ทำการปาดหน่อทุกหน่อเพื่อการเป็นการศึกษาทดลอง แต่ผมจะช่วยปาดหน่อเป็นบางต้นเฉพาะที่ไม่สามารถแทงยอดอ่อนขึ้นมาได้ด้วยสาเหตุความไม่สมบูรณ์ของหน่อกล้วยนั้นเอง 

 

                                       แทงยอดใหม่หลังจากปลูก1-3วัน

  

  

 

 

                                     แทงยอดใหม่หลังจากปลูก 3-4 สัปดาห์

 

            เมื่อต้นกล้วยมีอายุประมาณ 4-5 สัปดาห์ ยอดอ่อนที่แทงออกมาจะมีความยาวประมาณ 6- 12 นิ้ว ในระยะนี้จะต้องทำการพรวนดินหรือย่อยดินบริเวณรอบๆต้น รวมทั้งทำการกำจัดวัชพืชไปพร้อมๆกัน แต่ข้อสำคัญ จะต้องคำนึงถึงการให้น้ำ อย่าปล่อยให้ดินแห้งเกินไป ซึ่งจะกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไข่

 

 

 

           สรุปเป็นไปอย่างที่เกษตรกรมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในการปลูกกล้วยไข่มาก่อน ได้บอกว่า หากจะปลูกกล้วยไข่ให้ได้ผลที่มีความสมบูรณ์ผลใหญ่ และมี หวีใหญ่ มีความสมบูรณ์นั้น จะต้องดูแลทั้งการให้น้ำ อย่าให้กล้วยไข่ขาดน้ำ และสวนกล้วยไข่อย่าปล่อยให้หญ้ าหรือวัชพืชขึ้นรกมากเกินไป สวนกล้วยไข่จะต้องสะอาดอยู่อย่างเสมอ ทีแรกผมก็คิดว่า ปลูกกล้วยไข่แค่ 200 ต้น ผมก็อาศัยทำงานช่วงเวลาเลิกงานราชการตอนเย็นๆและวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพื่อทำการศึกษา และเก็บข้อมูลเพื่อที่จะนำเอาความรู้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้านที่ปลูกกล้วยไข่ต่อไป ซึ่งเมื่อลงมือทำการปฏิบัติจริงๆแล้ว ไม่เหมือนอ่านกันในตำราเลยครับ. เหนื่อยมาก ๆ  แดดก็ร้อน เมื่อเกษตรกรเขาทนได้ เราก้ต้องทนได้ เพื่อเตรียมตัวเตรียมใจเป็นเกษตรกรในอนาคตต่อไปครับผม

 

 

 

         สิ่งที่ผมได้เรียนรู้กับการลงมือปฏิบัติจริง  เราจะต้องนำสิ่งที่ปฏิบัติมาแล้วพบข้อสงสัยเพื่อที่จะนำไปแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรที่เขามีความรู้และประสบการณ์เพื่อค้นหาโจทย์ในการศึกษาร่วมกับเกษตรกร นี่คือบทบาทของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบัน มิใช่เปิดตำราคุยกับชาวบ้าน ตกลงว่าระหว่างนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจะทำงานกับเกษตรกรร่วมกันอย่างไรนั่นเองเราต้องยกระดับในการทำงานเพื่อให้เกิดการทำงานลักษณะBottom Up มิใช่Top Down นั่นเองครับ.เพื่อนๆนักส่งเสริมต้องก้าวสู้ต่อไป............

หมายเลขบันทึก: 257504เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2009 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ได้รับความรู้ใหม่
  • แล้วเอาวิธีนี้ไปใช้กับกล้วยอื่นๆ  เช่นกล้วยน้ำหว้า กล้วยหอม
  • ก็ได้ใช่ไหมคะ
  • ขอบคุณคุณมนัญญา
  • ที่แวะมาทักทายและลปรร.กัน
  • จากประสบการณ์จะพบว่ามีการปาดหน่อกล้วยไข่และกล้วยหอม
  • สำหรับกล้วยน้ำว้ายังไม่พบการปาดหน่อครับ
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ

           ได้ความรู้ดี อยากได้หน่อกล้วยน้ำว้าด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท