เรียนรู้เรื่องสมองกับการเรียนรู้


นักการศึกษาที่ไม่เรียนรู้ความก้าวหน้าเกี่ยวกับสมอง จะขาดความสนุกในการ facilitate การเรียนรู้


           วันที่ ๗ เม.ย. ๕๒ ผมไปร่วมประชุมกลุ่มสามพราน เพื่อฟัง นพ. อุดม เพชรสังหาร พูดเรื่องสมองกับการเรียนรู้    นพ. อุดม เป็นอดีต ผอ. รพ. ราชานุกูล (เดิมชื่อ รพ. ปัญญาอ่อน)   เวลานี้เป็นนักวิชาการสังกัดบริษัทรักลูก    ท่านเล่าว่าท่านสะกิดใจจากการเป็น ผอ. รพ. ปัญญาอ่อน แต่ไม่สามารถตอบสนองสังคมได้    ออกมาทำงานกับสถาบันพัฒนาการเรียนรู้ (พญ. จันทร์เพ็ญ) เกือบปี   แล้วออกมาอยู่กับรักลูก    กลายเป็นนักวิชาการที่ทำงานในภาคธุรกิจ ทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้กว้างขวางกว่า


          คุณหมออุดมพูด ๒ เรื่อง คือ (๑) ชีววิทยาของจิตใจ (Biology of Mind)  กับ (๒) ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา (mirror neurone)    เป็นการพูดแบบคนรู้จริง ค้นคว้ามามาก อ่านมาก   เอาหนังสือมาให้ดูมากมายหลายเล่ม   ผมเห็นแล้วน้ำลายไหล และสมเพชตนเองที่มีเวลาอ่านหนังสือน้อยลงเรื่อยๆ

หนังสือที่แนะนำ

 
• In Search of Memory. The Emergence of a New Science of Mind. เขียนโดย Eric R. Kandel จิตแพทย์ที่ได้รับรางวัลโนเบล 2000
• Miroring People. Marco Iacoboni 
• The Medici Effect, Frans Johansson 
• Proust was a Neuroscientist. Jonah Lehrer  ใช้หลักความรู้สึกมาตัดสิน  จะพบสิ่งใหม่ๆ
• Empathy in Mental Illness. Tom Farrow & Peter Woodruff (Eds)
• Psychiatry, Psychoanalysis, and the New Biology of Mind, ER Kandel
• Social Intelligence,   Daniel Goleman

 

ชีววิทยาของจิตใจ
          สรุปอย่างย่อที่สุดได้ว่า Mind เป็น function ของ brain

 


ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา
          เริ่มปี ค.ศ. ๑๙๙๖ กลุ่มวิจัยที่ Parma อิตาลี  ศึกษา premotor cortex (มี Broca Area อยู่) โดยใช้ลิง ดูกระแสไฟฟ้าในสมองเมื่อลิงเคลื่อนไหว   ระหว่างทดลองเกิดสิ่งไม่คาดคิดขึ้น   คือนักวิจัยต้องเข้าไปเอาของ   ลิงเห็นคนก็เฉยๆ ไม่เคลื่อนไหว แต่ไฟฟ้าใน premotor cortex เกิดขึ้นเหมือนตอนลิงเคลื่อนไหว   ข้อค้นพบโดยบังเอิญนี้ถูกเก็บเงียบอยู่นาน เพราะอธิบายไม่ได้    ต่อมาจึงมีผู้อธิบายว่า เป็นกระบวนการสร้างภาพในสมองโดยเซลล์กระจกเงา   
          เซลล์กระจกเงา ช่วยให้ Seeing = doing, Seeing = learning  เป็น imitative learning เป็นหัวใจของการพัฒนามนุษย์    ช่วยให้เหมือนเข้าไปนั่งในใจคนอื่น เกิด empathy 
          Imitative learning เรียนรู้จากการเลียนแบบ   ไม่ต้องทำจนชิน   เป็น social learning, หรือ socialization   เซลล์กระจกเงาไม่รู้จักผิดชอบดีชั่ว ไม่ตัดสิน   หากครูมีพฤติกรรมช่วยเหลือกัน ร่วมมือกัน เด็กจะเรียนรู้พฤติกรรมนี้ไปเอง ไม่ต้องสอน    เป็นการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม
          เซลล์กระจกเงาช่วยให้ได้ยินเสียง action ก็เหมือนได้เห็น action   อ่านหนังสือบรรยาย action ก็เหมือน    ทำให้เห็นความรู้สึก เข้าใจคนอื่น (empathy)   เป็นการเรียนรู้คุณธรรม   
          ผมนึกถึงประโยชน์ของการอ่านการ์ตูนที่ดี    ภาพวาดที่ดี    นิทานที่ดี   การพัฒนาเด็กและเยาวชนจึงต้องเน้น book sharing  ไม่ใช่แค่ storytelling
          แพทย์สมัยใหม่ เก่งเทคโนโลยี   แต่ไร้จิตใจ  มองผู้ป่วยเป็นวัตถุ   ทำหน้าที่ทำให้โรคหาย   ถูกฝึกให้มองทุกอย่างอย่างเป็นกลาง    ไม่มี emotion engagement   จะไม่เกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนอื่น (empathy) 
          ผมบอกตัวเองว่า ให้ฝึกวิธีดูภาพวาดให้ได้รส    โดยปล่อยให้เซลล์กระจกเงาเห็น    อย่าเอาสมองส่วนคิด (cerebral cortex) ดู      
          หมออุดมบอกว่า พัฒนาการด้านศีลธรรม/คุณธรรม ต้องการพัฒนาการ/การเรียนรู้ ด้านอารมณ์    มากกว่าการเรียนรู้เชิงเหตุผล   
          Norepinephrine อยู่ที่หนึ่งทำหน้าที่อย่างหนึ่ง    แล้วแต่เรามองตรงไหน อย่างไร 
     ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา ทำให้ทฤษฎี psychoanalysis กลับมา    คือมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ต่อทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis)  
        ทฤษฎีเซลล์กระจกเงานำมาใช้อธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้อีกมากมาย เช่นผมนึกถึงพฤติกรรม Backseat driver ที่ผมโดนอยู่เป็นประจำ    มีการวิจัย autism ว่าน่าจะเกิดจากความผิดปกติของเซลล์กระจกเงา    ใช้ ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา อธิบายการเรียนรู้จากการดูคนอื่นทำให้ดู (demonstration)  เช่น นศพ. เรียนวิธีผ่าตัดจากการช่วยผ่าตัด    มีคนในกลุ่มสามพรานพูดว่าการดูหน้งโป๊จริงๆ แล้วเซลล์กระจกเงาเป็นผู้ดู  
          หมออุดมเล่าอะไรๆ อีกมาก เช่น ความจำเป็นโปรตีน    Gene กับ gene expression เป็นคนละตัว     

 


         ผมสรุปกับตัวเองว่า นักการศึกษาที่ไม่เรียนรู้ความก้าวหน้าเกี่ยวกับสมอง จะขาดความสนุกในการ facilitate การเรียนรู้    และเวลานี้การติดตามและประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องสมองกับการรียนรู้ มีกลุ่มรักลูก ที่เป็นภาคธุรกิจเอกชน ดำเนินการอยู่อย่างเอาจริงเอาจัง

 

วิจารณ์ พานิช
๘ เม.ย. ๕๒
      

 

หมายเลขบันทึก: 256729เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2009 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

รับฟังความรู้ครับ อาจารย์หมอ :)

น่าสนใจมากครับ "เซลล์กระจกเงา ช่วยให้ Seeing = doing, Seeing = learning  เป็น imitative learning เป็นหัวใจของการพัฒนามนุษย์ "

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ จะลองนำมาใช้กับน้องเชกและน้องชีทดูค่ะเพราะเคยสะสมหนังสือรูปภาพวาดไว้เยอะ สมัยช่วง2540 ที่สถาบันการเงินล้มได้นำภาพวาดที่สะสมไว้มาพิมพ์ขายจำได้ว่าเล่มละ1500 ซื้อมาหลายเล่ม แต่ตอนนี้อยู่ในกล่อง ความสุนทรียในชีวิตหายไป พอไปเข้าร่วมโครงการIOCS ได้มีเวลาใคร่ครวญได้ถูกฝึกให้ใช้สมองซีกขวา ทำให้ได้ย้อนเวลากลับไปสมัยก่อนตอนเป็นพยาบาลอยู่จุฬาวาดรูปไม่เป็นแต่ใจรักงานงานศิลปะ ไปเรียนวาดรูปพู่กันจีน วาดรูปสีน้ำ อบรมความรู้งานศิลปะที่ศิลปกร ไปหอศิลป์เจ้าฟ้าอยู่บ่อยๆ ไปดูนิทรรศการภาพวาดปีละหลายๆครั้ง ตามประสาคนโสด แต่ชอบคิดว่าตัวเองวาดรูปไม่เป็น วาดรูปไม่สวย ต้องกลับมาคิดใหม่เราทำได้ และปรากฎว่ากลับมาจากIOCS น้องวันดีทำสมุดทำมือให้1เล่มคล้ายที่โครงการIOCSแจก ก็นำสมุดนั้นมาวาดรูปหลายคนชมว่าวาดสวยและเคยวาดรูปทำการ์ดในโครงการสวนแห่งความสุข ตอนแรกก็วาดไม่ได้นั้งคิดนิดก็เลยคิดถึงการวาดรูปพู่กันจีน ตวัดพู่กันไปมาได้ภาพกิ่งดอกเหมยที่มีแต่คนชมว่าสวยแต่ถ้าครูจีนที่สอนเห็นคงเอามือกุมหัว เซลล์กระจกเงาคงพอเห็นอะไรบ้างไม่มากก็น้อย

ตอนกลับจากIOCSเน้นเรื่องการวาดรูปจนน้องเชก ตอนนี้อายุ6ขวบชอบวาดรูปจะวาดทุกวัน บอกให้วาดอะไรก็ได้ตามจินตนา

ได้เรียนรู้ว่าการวาดรูปไม่ได้สำคัญที่รูปจะสวยหรือไม่สำคัญที่คนวาดแล้วมีความสุขขณะวาดมากกว่า ยิ่งถ้ามีคนชมก็เป็นความสุขอีกแบบแสดงว่าเทดนิคการชมใช้ได้ดีเสมอ

แวะมาเรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอท่านอาจารย์หมอ  มีสุขภาพแข็งแรงนะคะ

ด้วยความเคารพค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท