ไอน์สไตน์เป็นเด็กออทิสติก จริงหรือ?


...

ภาพที่ 1: ท่านไอน์สไตน์กับท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีรางวัลโนเบลชาวอินเดีย > [ Wikipedia ]

...

ภาพที่ 2: เด็กที่เป็นออทิสติกแบบอ่อน (Asperger's syndrome) ดูเผินๆ ราวกับเป็นคนลึกซึ้ง (ตัวต่อในภาพคือ ตัวต่อโครงสร้างโมเลกุล) ทว่า... ถ้าลองให้อธิบายเรื่องที่อยู่ตรงหน้าจะพบว่า ไม่รู้เรื่องอะไรเลย > [ Wikipedia ]

...

ศ.ไซมอน บารอน-โคเฮน และคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์-ออกซฟอร์ดตั้งสมมติฐานว่า ไอน์สไตน์และนิวตัน (นักวิทยาศาสตร์คนดัง) เป็นโรคกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger's syndrome) หรือออทิสติก (autistic) อย่างอ่อน

ความเป็นไปได้คือ คนที่เป็นโรคนี้มักจะเข้าสังคมไม่ค่อยได้ มีปัญหาในการสื่อสาร เช่น พูดไม่รู้เรื่อง อธิบายอะไรให้คนอื่นฟังไม่ค่อยได้ ย้ำคิดย้ำทำ ฯลฯ

...

ไอน์สไตน์นั้นมีชื่อเสียงในเรื่องชอบพูดประโยคเดิมซ้ำๆ หลายครั้งจนถึงอายุ 7 ขวบ แถมยังเลคเชอร์(บรรยาย)ฟังยากสุดๆ อีกด้วย

ลักษณะอื่นๆ คือ พูดเล่นไม่ค่อยเป็น ('small talk' = พูดทีเล่นทีจริง ทักทาย ใช้เป็นชื่อหูฟังโทรศัพท์มือถือด้วย; 'large talk' = พูดแต่เรื่องสาระ)

...

ส่วนนิวตันอาการหนักกว่านั้น... ท่านมักจะทุ่มเทกับงานจนลืมกินข้าว หรืออารมณ์เสียบ่อยครั้ง เช่น ถ้าใครฟังบรรยายไม่รู้เร่องก็จะบรรยายต่อคนเดียว

พออายุ 50 ปี... เบรคก็แตก เป็นทั้งโรคจิตหวาดระแวง (paranoia) และซึมเศร้า (depression)

...

เรื่องนี้ ดร.นพ.เกลน เอลเลียทท์ จิตแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แฟนพันธุ์แท้ของไอน์สไตน์และนิวตันบอกว่า "รับ บ่ได้ดอก (รับไม่ได้)"

ท่านบอกว่า จริงๆ แล้วไอน์สไตน์และนิวตันเป็นคนที่ฉลาดมากๆ ซึ่งบางทีก็ปรับการสื่อสารให้เข้ากับคนที่คิดช้ากว่าไม่ได้เหมือนกัน

...

ไอน์สไตน์เป็นคนที่มีอารมณ์ขัน ประวัติว่า ตอนเด็กๆ สนิทกับแม่ดี เล่นไวโอลินได้ ซึ่งไม่เข้ากับโรคออทิสติก

ส่วนที่ช่วงเด็กๆ เรียนได้ไม่ดีอาจเป็นผลจากการติดเชื้อ เช่น สมองอักเสบ ฯลฯ ขาดสารอาหารบางอย่างในวัยเด็ก ระบบการเรียนการสอนไม่ดี หรือครูที่สอนอาจจะไม่เก่ง

... 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของไอน์สไตน์คือ มีแม่ดี... และชาวยิวมีธรรมเนียมพิเศษ ไม่เหมือนชาติอื่นในโลก คือ ลูกเรียนอะไรไม่รู้เรื่อง... พ่อแม่จะเรียนไปด้วย และสอนลูกเสริมแทน

แม่ของไอน์สไตน์เป็นคนที่ไม่เชื่อว่า ลูกไม่เก่ง และจัดการสอนที่บ้านแทนครูเสียเลย

...

โลกเบี้ยวๆ ใบนี้ไม่เคยมีรายงานการศึกษาว่า เด็กออทิสติกหรือแอสเพอร์เกอร์(ออทิสติกแบบอ่อน) ประสบความสำเร็จในอาชีพเลยแม้แต่คนเดียว

เด็กออทิสติกบางคนอาจจะมีความจำดี แต่ที่ไม่เคยมีคือ "ความเชื่อมโยง (interconnection)" ระหว่างองค์ความรู้หลายๆ สาขาเข้าด้วยกัน

...

ผลการศึกษาสมองของเด็กออทิสติกพบว่า ทำงานหนักเป็นส่วนๆ แต่ไม่ค่อยจะประสานงานกัน ทำให้ประสิทธิภาพรวมต่ำ

เปรียบคล้ายประเทศหรือหน่วยงานที่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย... ให้คนกลุ่มโน้นเดินไปทางขวา กลุ่มนี้เดินไปทางซ้าย กลุ่มที่เหลือเดินตามใจชอบ ทำให้ไปไม่ถึงไหน

...

 

ไอน์สไตน์เป็นชาวยิวในเยอรมนี อพยพออกนอกประเทศไปอยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งทำสงครามกับญี่ปุ่นและเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

จุดอ่อนอย่างหนึ่งของคนฉลาดมากๆ คือ มักจะขาดความรอบคอบ... ช่วงนั้นมีกระแสการเมืองที่สนับสนุนให้สร้างระเบิดปรมาณู

...

เรื่องนี้ต้องลงทุนมาก และไม่เคยมีชาติไหนทำได้มาก่อน วิธีที่จะเกลี่ยกล่อมให้คนดังเซ็นต์ชื่อสนับสนุนการสร้างระเบิดเป็นคนแรกได้คือ ต้องหลอกไอน์สไตน์ว่า ญี่ปุ่นสร้างระเบิดได้แล้ว

หลังสงครามโลกฯ... ไอนสไตน์เสียใจมากที่มีส่วนในการฆ่าคนจำนวนมาก และหันไปสนใจแนวคิดของโลกตะวันออก (ดังปรากฏในรูปของท่านกับรพินทรนาถ ฐากูร และการศึกษาพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา)

...

 

เด็กฝรั่ง (ชาวตะวันตก) มีโอกาสเป็นโรคออทิสติก (autism) หรือโรคใกล้เคียงกัน เช่น แอสเพอร์เกอร์ (Asperger's = ออทิสติกแบบอ่อน) ฯลฯ ประมาณ 1 ใน 100

เด็กผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิงในช่วง 2.5-16 ต่อ 1 และอาการมักจะหนักกว่า เช่น เด็กแอสเพอร์เกอร์ผู้ชายอาจจะไม่มีเพื่อนเลย ขณะที่เด็กแอสเพอร์เกอร์ผู้หญิงอาจจะมีเพื่อน 1 คนในชีวิตจริงกับอีก 1 คนในฝัน (fantasy world) ฯลฯ

...

ยังไม่มีใครทราบแน่ว่า สาเหตุที่พบเด็กออทิสติกมากขึ้นเรื่อยๆ มาจากอะไร แต่พบว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ อายุของพ่อ... ยิ่งมากยิ่งเสี่ยง โรคนี้รักษาไม่หาย และเด็กออทิสติกมี IQ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ไม่ใช่เด็กอัจฉริยะด้วย > [ ลักษณะเด็กออทิสติก ]

ถึงตรงนี้... พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา >                                                

  • Thank BBC > Einstein and Newton 'had autism' > [ Click ] > 30 April 2003. / Source > New Scientist.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 15 เมษายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 255625เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2009 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท