หลักการสำคัญในการป้องกันยาเสพิด


การป้องกันยาเสพติด

 

หลักการสำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติด

                สรุปความจากเอกสาร เรื่อง Prevent Drug Use among Children and Adolescents : A Research-Based Guide for Parents, Educators, and Community Leaders. ของ Nation Institute on Drug Abuse (NIDA)

หลักการข้อที่ 1.    มาตรการป้องกันยาเสพติดที่ดี ควรมีทั้งมาตรการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และมาตรการเพื่อสร้างเสริมปัจจัยป้องกัน

a.      ความเสี่ยงที่จะติดสารเสพติดเป็นผลรวมจากปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยป้องกันหลายปัจจัยรวมกัน มิใช่เกิดจากปัจจัยหนึ่งปัจจัยเดียวเท่านั้น

b.     ช่วงอายุ มีผลต่อผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกัน ปัจจัยบางอย่างมีผลมากในบางช่วงอายุ แต่มีผลลดลงในอีกกลุ่มอายุ ตัวอย่างเช่น ปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัวจะมีผลมากต่อเด็กเล็ก ในขณะที่การใช้เวลากับเพื่อนที่ใช้ยาจะมีผลมากในช่วงวัยรุ่น

c.       การใช้มาตรการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงแต่เนิ่นๆตั้งแต่อายุน้อย อาทิการแก้ไขปัญหาอารมณ์ก้าวร้าวในวัยเด็ก ให้ผลดีกว่าใช้มาตรการในช่วงอายุที่เริ่มมีปัญหาแล้ว

d.     ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องเหล่านี้ถึงแม้จะมีผลต่อประชากรทุกกลุ่ม แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นกับ อายุ เพศ เชื้อชาติ วัฒนธรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมของประชากรแต่ละกลุ่ม

หลักการข้อที่ 2.    มาตรการป้องกันยาเสพติด ควรที่จะครอบคลุมการป้องกันสารเสพติดทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย โดยรวมถึงมาตราการต่างๆดังนี้

a.      มาตรการป้องการการใช้สารเสพติด ที่ถูกกฎหมาย อาทิ บุหรี่และสุราในเด็กและเยาวชน,

b.     มาตรการป้องกันการใช้ยาเสพติดให้โทษ อาทิ กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน,

c.      มาตรการป้องกันการใช้สารเสพติดที่หาซื้อได้โดยไม่ผิดกฎหมาย อาทิ กาว สารระเหย

d.     มาตรการป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิด อาทิ การใช้ยานอนหลับ ยาแก้ไอ ยาแก้ปวด

หลักการข้อที่ 3.     มาตรการการป้องกันยาเสพติด ควรให้เน้นความสำคัญกับสารเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ หรือชุมชน นั้นๆ ไม่ควรใช้มาตรการแบบหว่านแหที่ดำเนินการเหมือนๆกันในทุกพื้นที่

หลักการข้อที่ 4.    มาตรการป้องกันยาเสพติด ควรได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับ ประชากรกลุ่มเสี่ยงแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะ อาทิ กลุ่มแก็งค์วัยรุ่น กลุ่มผู้หญิง กลุ่มนักเรียนอาชีวะ ฯลฯ

หลักการข้อที่ 5.    มาตรการป้องกันในระดับครอบครัว ควรเน้นมาตรการที่เสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว เพิ่มทักษะของพ่อ แม่ ผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานของตน ฝึกการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งเสริมการรับฟังความคิดเห็นของทุกคนในครอบครัว 

หลักการข้อที่ 6.    มาตรการป้องกันสามารถเริ่มได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ ตั้งแต่วัยก่อนเข้าเรียน โดยลดปัจจัยเสี่ยงที่พบ อาทิ พฤติกรรมก้าวร้าว การขาดทักษะในการเข้าสังคม ความไม่สัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา

หลักการข้อที่ 7.    มาตรการป้องกันในระดับประถมศึกษา ควรวางเป้าหมายที่จะพัฒนาการเรียนรู้ และพัฒนาการทางอารมณ์ ให้การดูแลปัญหา อารมณ์ก้าวร้าว ปัญหาการเรียน การขาดเรียน โดยควรมีเป้าหมายที่พัฒนาทักษะเหล่านี้

a.      ทักษะการควบคุมตนเอง

b.     ทักษะการรับรู้อารมณ์ตนเอง

c.      ทักษะการสื่อสาร

d.     ทักษะการแก้ปัญหาในการเข้าสังคม

e.      ทักษะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยเฉพาะทักษะการอ่าน

หลักการข้อที่ 8.    มาตรการป้องกันในระดับ มัธยมต้น และมัธยมปลาย ควรเป็นมาตรการที่เพิ่มความสมรรถภาพด้านการศึกษา และความสามารถด้านสังคม อาทิ

a.      นิสัยรักการเรียน และการช่วยเหลือด้านการเรียน

b.     ทักษะการสื่อสาร

c.      ความสัมพันธ์กับเพื่อน

d.     ความสามารถในการรักษาสิทธิตนเอง การแสดงความเป็นตัวของตนเอง

e.      ทักษะการปฏิเสธ หลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติด

f.        เสริมทัศนคติเชิงลบกับการใช้ยาเสพติด

g.     เสริมสร้าง คำปฏิญานตนในการที่จะไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด

หลักการข้อที่ 9.    มาตรการป้องกันสำหรับเด็กและเยาวชนทุกคน ในช่วงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น การเข้าเรียนชั้นมัธยม เป็นมาตรการที่มีประโยชน์แม้ในเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงสูง โดยเป็นมาตรการที่ไม่เลือกปฏิบัติ อันเป็นการช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการเฉพาะกลุ่ม

หลักการข้อที่ 10.                       การดำเนินมาตรการป้องกันในชุมชน ควรใช้มาตรการอย่างน้อยสองมาตรการเสริมกัน อาทิ การใช้มาตรการป้องกันในครอบครัว ร่วมกับการใช้มาตรการป้องกันในโรงเรียน

หลักการข้อที่ 11.                       การดำเนินงานมาตรการป้องกันยาเสพติดในชุมชน ควรดำเนินการในหลายๆ พื้นที่ อาทิ ในโรงเรียน ในศูนย์เยาวชน ในโรงพยาบาล ในศาสนสถาน

หลักการข้อที่ 12.                       การปรับเปลี่ยนมาตรการการป้องกันเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของพื้นที่ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น จำเป็นต้องกระทำโดยการยึดหลักแนวคิดสำคัญที่ได้จากการวิจัย ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง เนื้อหา และกระบวนการประเมินผล โครงการ

หลักการข้อที่ 13.                       มาตรการป้องกันควรเป็นมาตรการระยะยาว มีมาตรการกระตุ้นเป็นระยะ  มาตรการในชั้นมัธยมต้นจะได้ผลน้อยลงถ้าไม่มีมาตรการกระตุ้นในชั้นมัธยมปลาย

หลักการข้อที่ 14.                       ควรมีการจัดการอบรมครู เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลนักเรียน อาทิ การให้แรงจูงใจที่เหมาะสมกับพฤติกรรมดีของนักเรียน  

หลักการข้อที่ 15.                       มาตรการที่ได้ผล ต้องเป็นมาตรการที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาทิ การให้ผู้ปกครองแสดงบทบาทสมมุติ การทำกลุ่มแสดงความคิดเห็นระหว่างเยาวชน ซึ่งจะกระตุ้นการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องยาเสพติด และกิจกรรมเพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็น

หลักการข้อที่ 16.                       มาตรการป้องกันเมื่อเลือกใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพ มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน จะเป็นมาตรการที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

 

 

หมายเลขบันทึก: 255621เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2009 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 08:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกคนใหม่ด้วยคนนะคะ คนหมอเก่งมากคะ ชื่นชมท่านมากชอบในการถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย อยากทราบวิธีการในการจัดการกับอารมณ์โดยเฉพาะอารมณ์ด้านลบ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท