การสร้างเสริมสุขภาพกับการแก้ปัญหาสารเสพติด


สร้างเสริมสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพกับการแก้ปัญหาสารเสพติด

Health Promotion from The Ottawa Charter for Health Promotion*

Health promotion is the process of enabling people to increase control over, and to improve, their health. To reach a state of complete physical, mental and social well-being, an individual or group must be able to identify and to realize aspirations, to satisfy needs, and to change or cope with the environment. Health is, therefore, seen as a resource for everyday life, not the objective of living. Health is a positive concept emphasizing social and personal resources, as well as physical capacities. Therefore, health promotion is not just the responsibility of the health sector, but goes beyond healthy life-styles to well-being.

*http://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/index.html

ปัญหาการใช้สารเสพติดทั้งที่ถูกและผิดกฎหมายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของนานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาสารเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน การบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสภาพผู้ติดสารเสพติด มักจะถูกตั้งคำถามว่า เป็นมาตรการสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ เพื่อความกระจ่างในข้อคำถามดังกล่าว ผู้เขียนจึงใคร่ขอนำ คำจำกัดความ ของคำว่า การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) ของหน่วยงานระดับนานาชาติที่ได้รับการยอมรับสองหน่วยงาน คือ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) และวารสารการสร้างเสริมสุขภาพอเมริกัน (American Journal of Health Promotion) มาพิจารณา เพื่อวิเคราะห์ว่า การดำเนินงานแก้ไขปัญหาการเสพสารเสพติดนั้น ควรนับเป็นมาตรการในการสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่อย่างไร

จากการประชุมวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ ครั้งแรก ณ เมืองออตตาวา ประเทศคานาดา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2529 ที่ประชุมได้ให้คำอธิบาย การสร้างเสริมสุขภาพ ไว้ดังนี้ “การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึงกระบวนการที่สนับสนุนให้ประชาชนเพิ่มความสามารถในการควบคุมดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนได้ โดยมีเป้าหมายให้บรรลุสภาวะอยู่ดีมีสุขทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม บุคคลและชุมชน สามารถระบุความต้องการ และได้รับสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพ สามารถจัดการและปรับตัวให้เข้ากับกับสภาพแวดล้อม สุขภาพเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เป้าหมายของการมีชีวิต สุขภาพเป็นแนวคิดเชิงบวกที่เน้นความสำคัญของทรัพยากรทั้งจากบุคคลและสังคมรวมถึงโครงสร้างทางกายภาพ การสร้างเสริมสุขภาพไม่ใช่ความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงการสนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมิได้จำกัดแค่เพียงการมีวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพเท่านั้น

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังระบุสภาวะและปัจจัยพื้นฐาน ต่อการมีสุขภาวะที่ดี ไว้ดังนี้ สันติภาพ ความสงบสุข ที่พักอาศัย การศึกษา อาหาร รายได้ สภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย ทรัพยากรที่ยั่งยืน ความยุติธรรม และความเท่าเทียมกันในสังคม

Prerequisites for health*

The fundamental conditions and resources for health are peace, shelter, education, food, income, a stable ecosystem, sustainable resources, social justice and equity. Improvement in health requires a secure foundation in these basic prerequisites.

*http://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/index.html

 

หากพิจารณาจากคำจำกัดความข้างต้นจะเห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน บำบัดรักษา หรือ ฟื้นฟูสภาพผู้ติดยาเสพติด ล้วนเป็นการดำเนินงานที่ตรงกับการสร้างเสริมสุขภาพทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างเสริมสุขภาพ นับรวมมาตรการใดๆก็ตามที่ช่วยให้มีภาวะ อยู่ดีมีสุข ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การใช้ยาเสพติดก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการมีภาวะอยู่ดีมีสุข การให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ติดยาเสพติดการช่วยให้ผู้ที่ผ่านการบำบัด และสังคม มีภาวะอยู่ดีมีสุขได้ จึงนับเป็นการสร้างเสริมสุขภาพ

Definition of Health Promotion

"Health promotion is the science and art of helping people change their lifestyle to move toward a state of optimal health.  Optimal health is defined as a balance of physical, emotional, social, spiritual, and intellectual health.  Lifestyle change can be facilitated through a combination of efforts to enhance awareness, change behavior and create environments that support good health practices.  Of the three, supportive environments will probably have the greatest impact in producing lasting change".  (American Journal of Health Promotion, 1989,3,3,5)

จาก http://www.healthpromotionjournal.com/

อย่างไรก็ตามผู้อ่านหลายท่านอาจจะแย้งว่า คำจำกัดความที่ทางองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้นี้ มีความหมายที่กินความมาก ทำให้ไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนของ การสร้างเสริมสุขภาพได้ ผู้เขียนจึงขอนำ คำจำกัดความของ การสร้างเสริมสุขภาพ ที่ ให้ไว้ โดยวารสารการสร้างเสริมสุขภาพของอเมริกา ซึ่งให้คำจำกัดความ การสร้างเสริมสุขภาพ ไว้ว่า ” การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง ศาสตร์ และศิลป์ ในการช่วยเหลือผู้คนให้ปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตเพื่อการมีสุขภาพที่เหมาะสม โดยให้คำจำกัดความของ การมีสุขภาพที่เหมาะสมว่า หมายถึงสภาวะที่มีความสมดุลย์ทั้งทางสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต จิตวิญญาน และพุทธิปัญญา

            หากพิจารณาเป้าหมายของการแก้ปัญหายาเสพติดโดยเฉพาะการดำเนินงานด้านการลดอุปสงค์ (Demand Reduction) หรือ การป้องกันและบำบัดรักษา ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรการสามระดับ กล่าวคือ การป้องกันระดับปฐมภูมิ ที่มุ่งให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาที่เหมาะสมทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติด การป้องกันขั้นทุติยภูมิ อันหมายถึงการให้การบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดสารเสพติด ที่มุ่งปรับเปลี่ยนแก้ไขลดพฤติกรรมการใช้สารเสพติด เพื่อช่วยให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น และการป้องกันขั้นตติยภูมิ ซึ่งคือการฟื้นฟูสภาพผู้ติดยาเสพติด ให้สามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติสุขในสังคม สามารถประกอบสัมมาชีพ มีวิถีชีวิตที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นได้

จากคำจำกัดความข้างต้นจะเห็นได้ว่า มาตรการในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน การบำบัดรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ล้วนถือได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งนับได้ว่าเป็นมาตรการในการ สร้างเสริมสุขภาพ ทั้งสิ้น ในทำนองตรงกันข้ามการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพ โดยปราศจากการดำเนินการเพื่อป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ติดสารเสพติด ไม่อาจนับได้ว่าเป็นมาตราการสร้างเสริมสุขภาพ ที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดทั้งที่ถูกและผิดกฎหมายจึงควรเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการสร้างเสริมสุขภาพเสมอ

หมายเลขบันทึก: 255622เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2009 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจังเลยครับ ช่วยได้มากเลยในการรับรองคุณภาพ HA/HPH ที่เน้นด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เท่ากับว่า การบำบัดรักษายาเสพติดนั้น เป็น HPH ไปในตัว

แล้ว แต่ก็มีบางท่านให้ข้อแนะนำว่า ให้ เพิ่มมิติ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพฝ่ายกายตามปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย เข้าไปในกระบวนการบำบัดรักษายาเสพติดด้วยจะยิ่งดี อจ มีความเห็นอย่างไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท