...รู้ รักษ์ วัฒนธรรมไทย.. มรดกประจำชาติ...
@ กำเนิดวันสงกรานต์ @
ประเพณี วัฒนธรรม
อันล้ำค่าของชาติไทย

ก่อนพุทธกาลมีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง
อายุเลยวัยกลางคนก็ยังไร้ทายาทสืบสกุล
ซึ่งทำให้ท่านเศรษฐีทุกข์ใจเป็นอันมาก
ข้างรั้วบ้านเศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง
หัวหน้าครอบครัวเป็นนักเลงสุรา
ถ้าวันไหนร่ำสุราสุดขีด
ก็จะพูดเสียงดังแสดงวาจาเยาะเย้ยเศรษฐีสบประมาท
ในความมีทรัพย์มาก
แต่ไร้ทายาทสืบสมบัติเสมอ
วันหนึ่งเศรษฐีจึงถามว่ามีความขุ่นเคืองอะไรจึงแสดงอาการเยาะเย้ยและสบประมาท
เฒ่านักดื่มจึงตอบ
ถึงท่านมั่งมีสมบัติมากก็จริง
แต่เป็นคนมีบาปกรรมท่านจึงไม่มีบุตร
ตายไปแล้วสมบัติก็ตกเป็นของผู้อื่นหมด
สู้เราไม่ได้ถึงแม้จะยากจนแต่ก็มีบุตรคอยดูแลรักษายามเจ็บไข้
และรักษาทรัพย์สมบัติเมื่อเราสิ้นใจ

นับแต่นั้นมา
เศรษฐียิ่งมีความเสียใจ
จึงพยายามไปบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์
เพียรพยายามตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร
ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันถึงสามปี
ก็ไม่ได้บุตรดังที่ตนปรารถนา
จนวันหนึ่งเป็น
วันนักขัตฤกษ์สงกรานต์
ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตน
มาที่โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง
ที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำที่อาศัยของนกทั้งหลาย
ท่านเศรษฐีให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาดถึง
7
ครั้ง
แล้วจึงหุงข้าวสารนั้น
เมื่อสุกแล้วยกขึ้นบูชาพระไทร
เทพเหล่านั้นเกิดความสงสาร
จึงขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์
ทูลขอบุตรแก่เศรษฐี
พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ
“ ธรรมบาล”
ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี
เมื่อครบกำหนดภรรยาเศรษฐีก็คลอดบุตรเป็นชาย
เศรษฐีจึงตั้งชื่อว่า
ธรรมบาลกุมาร
เพื่อตอบสนองพระคุณเทพเทวา
เศรษฐีจึงสร้างปราสาทสูง
7 ชั้น ถวายเทพต้นไทร

เมื่อธรรมบาลกุมารเจริญวัยขึ้น
เป็นเด็กที่มีปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้
และวัยเพียง
7
ขวบก็เรียนจบไตรเพท
ยังมีเทพองค์หนึ่งชื่อ
“ท้าวกบิลพรหม”
ได้ยินกิตติศัพท์ทางสติปัญญาอันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย
จึงคิดทดลองภูมิปัญญา
โดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงถามปัญหา
3 ข้อ
ถ้ากุมารน้อยแก้ปัญหาทั้ง
3 ข้อได้
กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา
ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้
ก็จะต้องเสียหัวเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้
ปัญหานั้นมีว่า
1.
ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด
2.
ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด
3.
ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด
เมื่อได้ฟังปัญหาแล้ว ธรรมบาล
ไม่อาจทราบคำตอบในทันทีได้
จึงผลัดวันตอบปัญหาไปอีก 7 วัน
ครั้นเวลาล่วงจากนั้นไป 6 วัน
ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้
จึงหลบออกจากปราสาทหนีเข้าป่า
และไปนอนพักเอาแรงใต้ต้นตาล

ขณะนั้นบนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่
นางนกถามสามีว่า
“พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน”
นกสามีก็ตอบว่า
“พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล
เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร
ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว
เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้”
นางนกถามว่า
“ปัญหานั้นว่าอย่างไร” นกสามีตอบว่า
ปัญหามีอยู่ 3 ข้อ และหมายถึง
ข้อหนึ่ง
ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า
คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า
ข้อสอง
ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก
มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
ข้อสาม
ต อนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า
มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน
ธรรมบาลกุมาร
ได้ยินการไขปัญหาของนกอินทรี และจำจนขึ้นใจ
ทั้งนี้เพราะธรรมบาลรู้ภาษานก
จึงกลับสู่ปราสาทอันเป็นที่อยู่แห่งตน
รุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนดแก้ปัญหา
ท้าวกบิลพรหมมาฟังคำตอบ
ธรรมบาลกุมาร
กล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุยกันทุกประการ

ท้าวกบิลพรหมจึงเรียก
ธิดาทั้ง
7
ของตนอันเป็นบริจาริกา
คือหญิงรับใช้ของพระอินทร์มาพร้อมกัน
แล้วบอกว่าตนจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร
แต่ถ้าเอาศีรษะพ่อวางไว้บนแผ่นดินก็จะลุกไหม้ไปทั้งโลก
ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ
อากาศจะแห้งแล้งฟ้าฝนจะหายไปสิ้น
ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทร
น้ำในมหาสมุทรจะเหือดแห้งไปเช่นกัน
จึงสั่งให้
นางทั้ง 7 คน
เอาพานมารองรับศีรษะ

แล้วจึงตัดศีรษะส่งให้นางทุงษธิดาคนโต
นางทุงษจึงเอาพานรับเศียรบิดาไว้แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ
60 นาที
แล้วอัญเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี
เขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์
พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว
7 ประการ ชื่อ ภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา
เทวดาทั้งปวงก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต 7
ครั้ง
แล้วก็แจกกันเสวยทุกๆ
องค์ ครั้นครบ 365 วัน
โลกสมมุติว่าเป็นหนึ่งปีเป็นสงกรานต์
ธิดา 7 องค์
ของเท้ากบิลพรหม
ก็ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของพระบิดาออกแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุทุกปี
... แล้วจึงกลับไปเทวโลก
...

เรื่องนี้
เป็นต้นกำเนิดประเพณีวันสงกรานต์
ตามความเชื่อของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ


ขอขอบคุณ
http://www.songkran.net
บริษัทสยามแกลเลอรี่ จำกัด, สำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพาณิชย์,
ที่เอื้อเฟื้อภาพประกอบและที่มาของข้อมูล