บทความ “รู้เรา รู้เขา เข้าถึง จึงพัฒนา”


การรู้ตัว” เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่สิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ตนเองยึดติดอยู่ เพื่อแก้ไขปัญหาทางจิตวิทยา ส่งผลทำให้เราเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน นำไปสู่ความเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง และเกิดกระบวนการปรับตัวเข้าหากันโดยยอมรับความแตกต่างโดยดุษฎี

             การทำงานร่วมกันเป็นทีมในองค์กรสำคัญที่สุดคือการเข้าใจสมาชิกในทีมโดยมีความรู้สึกร่วมของการเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะต้องมาจากการรับรู้ ยอมรับ และเคารพซึ่งกันและกัน  โดย  Enneagram (นพลักษณ์)  เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตัวตนเพื่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างแท้จริงถึงรากแห่งที่มาว่าทำไมแต่ละคนจึงมีโลกทัศน์แตกต่างกัน และการมองโลกที่แตกต่างกันนี้ ย่อมทำให้เกิดวิธีการทำงานหลากหลายสไตล์    และหากไม่เข้าใจกัน  อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งและไม่สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกันได้ 

            การเรียนรู้และเข้าใจตัวตนของกันและกันผ่านนพลักษณ์จะทำให้เกิดการยอมรับความแตกต่างโดยดุษฎีอย่างมีเมตตาต่อกันและนำมาซึ่งความสันติหรือสามัคคีในองค์กรอย่างแท้จริง  ทั้งนี้ในการเรียนรู้กันและกันนั้น จะต้องเริ่มต้นจากการเรียนรู้ ตนเอง โดยมีความกล้าในการยอมรับจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง    เนื่องจากแต่ละคนที่มีลักษณ์เดียวกันหรือต่างกันย่อมมีการเรียนรู้สะสมประสบการณ์และกลไกการปรับตัวแตกต่างกันในรายละเอียด ต่างใช้กลไกตอบสนองต่อโลกภาพนอกตามความคุ้นเคยของตน  โดยหากสำรวจและค้นพบตัวเองจะเห็นว่ามีศูนย์ที่เรามักใช้เป็นประจำเพียงศูนย์หลักศูนย์เดียวในระหว่าง 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ใจ ศูนย์สมอง  และศูนย์ท้อง  จึงควรเปิดใจที่จะศึกษาเรียนรู้พัฒนาตนเองให้เกิดความสมดุลของอีกสองศูนย์ที่เราไม่ค่อยคุ้นเคย  

                จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ตัวเองมาจากความเชื่อที่ว่า “เราเปลี่ยนแปลงตนเองได้” การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า “Self Transformation”   ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปแบบจากดักแด้ไปเป็นผีเสื้อ  คำถามต่อไปคือว่า “เราจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร”  คำตอบที่เป็นแก่นแท้จริงคือว่า  “เรารู้ตัว  เราจึงเปลี่ยนแปลงได้”  คำว่า “รู้ตัว” ในบริบทของการศึกษา Enneagram (นพลักษณ์) มีสองนัยยะหลัก ได้แก่ 

1.      รู้ลักษณ์ว่าตนเองมีบุคลิกภายในคืออะไร  ที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้มีวิธีคิด วิธีรู้สึกและการแสดงออกเช่นนั้น 

2.      รู้ตัว  โดยมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมตามจริง  ตามคำกล่าวของหลวงพ่อปราโมทย์ที่ว่า “มีสติรู้กาย รู้ใจที่กำลังปรากฎตามความเป็นจริงด้วยจิตตั้งมั่นและใจที่เป็นกลาง”  

การรู้ตัวและการเปลี่ยนแปลงตนเองในระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นเป็นสิ่งที่เกิดภายใน ผลที่วัดได้คือความสุขสงบภายใน  และส่งผลต่อความเข้าใจในบุคคลอื่นที่มีลักษณ์เดียวกันหรือต่างลักษณ์กัน ทำให้เกิดความเมตตาและสันติสุขในการอยู่ร่วมกัน  ที่กล่าวมานั้นคือภาพรวมของคุณค่าในการเรียนรู้ Enneagram มาปรับใช้แก่ตนเองและสังคมเป็นการทั่วไป สำหรับการนำ Enneagram มาปรับใช้ในระดับองค์กร  คุณประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนคือการทำงานร่วมกันเป็นทีมดังกล่าวมาแล้ว  ดังนั้น “การรู้เรา รู้เขา เข้าถึง จึงพัฒนา”  ในบริบทของ Enneagram จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ศึกษารู้ว่าตนเองเป็นลักษณ์อะไร  อะไรที่เรายึดติดและใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตระหว่าง ศูนย์ใจ ศูนย์สมอง และศูนย์ท้อง เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจลักษณ์ในศูนย์ของตนเอง และมองเห็นศูนย์และลักษณ์ของคนอื่นที่แตกต่างจากเรา และเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันในการนำมาพัฒนาตัวเองและทีมงาน   ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน เนื่องจากเป็นการเข้าใจถึงรากแห่งปัญหาว่าทำไมคนเราจึงแตกต่างกันและการเรียนรู้ในความแตกต่างอย่างยอมรับกันจะต้องเริ่มที่การมองเห็นว่าคนเรามีลักษณ์อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

 

ความเป็นมา   ขอเล่าประวัติความเป็นมาของ Enneagram โดยสังเขป  หากท่านใดสนใจในรายละเอียด สามารถค้นคว้าทาง internet ที่กล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างแพร่หลาย  Enneagram (นพลักษณ์) เป็นศาสตร์องค์ความรู้โบราณระบบหนึ่งที่เกิดขึ้นแถบเอเชียกลางมานานนับสหัสวรรษ โดยอาจารย์กลุ่มซูฟีซึ่งเป็นนักภาวนาในศาสนาอิสลามที่ได้ศึกษาบุคลิกภาพ แก่นแท้ของมนุษย์และพัฒนาเป็นศาสตร์ที่มีการถ่ายทอดในวงเฉพาะระหว่างคุรุ (อาจารย์ทางจิตวิญญาณ) กับลูกศิษย์  อาจารย์จะแนะนำให้ลูกศิษย์ซึ่งต่างมีบุคลิกลักษณะ พื้นฐานนิสัยใจคอที่แตกต่างกันไปให้แต่ละคนได้รู้จักและเฝ้าสังเกตกระบวนการรู้สึกนึกคิดภายใน เมื่อสังเกตฝ่ายกิเลสแล้วจะสะท้อนให้เห็นถึงฝ่ายตรงข้ามหรือที่เรียกว่าฝ่ายบารมีทั้งนี้เป็นไปเพื่อช่วยลูกศิษย์ได้รู้จักตนเองทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อเป็นพื้นฐานนำไปสู่การยกระดับจิตวิญญาณของตน[1]  จากนั้น ได้มีการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับนพลักษณ์มาพัฒนาต่อและแพร่หลายในทวีปยุโรป โดยปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในการนำมาใช้กับการพัฒนาจิตวิทยาบุคลิกภาพและการพัฒนาองค์กรธุรกิจ  ในสหรัฐอเมริกาได้นิยมนำศาสตร์นี้มาใช้จัดการกับชีวิตครอบครัว การงานและสังคมและการบริหารองค์กรต่างๆ  ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการศึกษานพลักษณ์ในระดับของการอยู่ร่วมกันภายในสังคมคือ “การรู้ตัว” เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่สิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ตนเองยึดติดอยู่  เพื่อแก้ไขปัญหาทางจิตวิทยา ส่งผลทำให้เราเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน นำไปสู่ความเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง และเกิดกระบวนการปรับตัวเข้าหากันโดยยอมรับความแตกต่างโดยดุษฎี

คำอธิบายเกี่ยวกับ 9 ลักษณ์

(1) Enneagram (นพลักษณ์)  เป็นการแบ่งประเภทคนตามบุคลิกภาพภายใน ออกเป็น 9 แบบ ซึ่งไม่มีแบบไหนเด่นหรือด้อยไปกว่ากัน แต่ละแบบแตกต่างกันไปตามแรงจูงใจและวิธีการมองโลกตามลักษณ์ตน           ลักษณ์ทั้ง 9 แบบนี้มาจากการยึดศูนย์ใดศูนย์หนึ่งของร่างกายเป็นศูนย์หลัก โดยร่างกายประกอบด้วย 3 ศูนย์ ได้แก่     

(2)     3 ศูนย์    2.1  ศูนย์ใจ (ลักษณ์ 2   3   4)  เป็นศูนย์ที่เกี่ยวกับอารมณ์ และภาพลักษณ์  จะมีประสาทการรับรู้ว่าเรารู้สึกอย่างไรมากกว่าเราคิดอะไร มีจินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึก  คนศูนย์ใจจะมีระดับอารมณ์หลากหลายระดับตั้งแต่รุนแรงไปจนถึงซ่อนเร้นจนตนเองไม่รู้สึกตัว  ลักษณ์ทั้งสามของศูนย์ใจจะดำเนินชีวิตด้วยการมุ่งเน้นสัมพันธภาพ โดยจะมองไปที่ผู้อื่น ห่วงคนอื่น หรือไวต่อความรู้สึกของคนอื่น และเชื่อมโยงมาที่ตนเองว่าคนอื่นจะมองตนว่าอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องของภาพลักษณ์ที่อยากให้คนอื่นมองเห็นในตนเอง    2.2 ศูนย์สมอง (ลักษณ์ 5  6  7)  เป็นศูนย์ที่เกี่ยวกับความคิด เหตุผล การวิเคราะห์แยกแยะ ตรรกะ ระบบความคิด ความจำ การคาดการณ์เกี่ยวกับคน เหตุการณ์ การวางแผน ลักษณ์ทั้งสามของศูนย์สมองจะดำเนินชีวิตด้วยการใช้ความนึกคิด มีจินตภาพ การวิเคราะห์และการเชื่อมโยงความคิด  การหมกมุ่นหรือความพึงพอใจอยู่ในความคิดของตนเอง ซึ่งเป็นวิธีเก็บกดความกลัวที่มีต่อโลกภายนอก  มีระดับของการใช้ความคิดตั้งแต่หมกมุ่นครุ่นคิดย้ำคิดย้ำทำจนถึงสร้างจินตภาพ คิดวางแผนแล้วพุ่งกระโจนออกสู่ภายนอก          2.3 ศูนย์ท้อง (ลักษณ์ 8  9  1)  เป็นศูนย์รวมของพลังตามสัญชาตญาณมนุษย์ โดยจะเชื่อมโยงตนเองกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมด้วยการกระทำหรือกายภาพ ลักษณ์ทั้งสามของศูนย์ท้องจะดำเนินชีวิตโดยใช้ความรู้สึกนึกคิดตามสัญชาตญาณส่วนลึกเป็นแรงผลักดันในการตัดสินใจและลงมือกระทำ มีตั้งแต่ระดับกระทำอย่างสุดโต่งจนถึงการไม่ลงมือกระทำอะไรเลยด้วยความเฉื่อยชาจนกว่าจะมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงดึงพลังที่ซ่อนเร้นเก็บกดออกมาสู่ภายนอก

(3)      ลักษณะของ 9 ลักษณ์โดยสังเขป (รายละเอียดอยู่ในบันทึกที่สองของ Blog นี้)

 

ลักษณ์ 2    ผู้เสียสละ หรือนักสังคมสงเคราะห์   ทำงานด้วยใจรักหรือความพึงพอใจที่จะทำ   มีสัมผัสที่ไวเป็นพิเศษในการรับรู้และนึกถึงอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น  เน้นสัมพันธภาพ เอาใจใส่  ความใกล้ชิด  และห่วงใยคนอื่น อารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้นบ่อยคือความรัก  ความหลง ความเสียสละ  ความช่วยเหลือ การพึ่งพิงซึ่งกันและกัน  ความต้องการที่จะเป็นที่ต้องการของคนอื่น  หาก รู้ตัวก็จะเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนแม้แต่ความรักตอบแทนจากผู้อื่น

ลักษณ์ 3     นักสร้างแรงจูงใจ  หรือนักปฏิบัติ   ยึดถือบทบาทหน้าที่ที่ตัวเองมีอยู่และมุ่งมั่นที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย หรือ ความสำเร็จที่ตั้งใจไว้   ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม  ชอบลงมือกระทำโดยตัดขาดจากการรับรู้ความรู้สึกหรือความต้องการของตนเอง  ชอบกระตุ้นให้ทีมงานหรือคนใกล้ตัวมีความกระตือรือร้น   มักมีคำพูดที่ชักจูงใจน่าฟัง ดึงความสนใจผู้อื่นได้ดี ตัวให้เป็นที่ยอมรับของสังคม และเป็นคนที่ชอบเลียนแบบให้ เป็น ตามแบบอย่าง (model) ที่ตนอยากจะเป็น

 

ลักษณ์ 4   ศิลปิน   เป็นคนที่จริงใจต่อความรู้สึกแท้จริงของตนเอง  มีความรู้สึกลึก ๆ ว่าตนเองมีอะไรขาดหายไป และอยากหามาเติมเต็ม โดยพยายามขวนขวายหาอัตลักษณ์แบบฉบับของตนเองให้แปลกแยกแตกต่างจากคนทั่วไป  เพราะไม่ชอบความธรรมดา จึงทำให้ตัวเองมีความเป็นพิเศษ ไม่ว่าการแสดงออกให้ปรากฎ หรืออารมณ์ความรู้สึกที่เข้าถึงสรรพสิ่ง  เป็นคนที่มีจินตนาการสูง สร้างสรรค์ทางอารมณ์ และชอบดื่มด่ำกับอารมณ์ลึกซึ้งภายในของตนเอง

 

ลักษณ์  5    นักสังเกตการณ์   เป็นคนที่ชอบใช้ความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นระบบความคิด  ชอบสังเกตและสำรวจสรรพสิ่งอย่างเป็นกลาง   ไม่ชอบแสดงอารมณ์ส่วนตัวออกมา ความรู้สึกภายในขาดความมั่นคง ไม่ปลอดภัย โลกนี้ขาดแคลน จึงต้องการสะสมเครื่องมือต่างๆ ให้เกิดความมั่นคง ได้แก่ ความรู้  ข้อมูล  บุคลิกมักเป็นคนตะหนี่ในเรื่องพลังงาน วัตถุ และเวลา   มีพื้นที่อาณาเขตของตัวเอง (นามธรรมและรูปธรรม)  มีความต้องการอย่างพอเพียง  

 

ลักษณ์  6  นักปุจฉา    ชอบประเมินสถานการณ์ภายนอกต่าง ๆล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความมั่นใจ มั่นคงปลอดภัย มีนิสัยระมัดระวังและลงรายละเอียด มีจินตภาพล่วงหน้า  เชื่อว่าตนมีสัมผัสที่ 6 ชอบตั้งคำถามหรือสงสัยกับทุกสถานการณ์ อาการตอบสนองต่อความวิตกกังวลจะมีสองรูปแบบหลัก บุคลิกสู้กับ บุคลิกหนีมองภายนอกอาจจะต่างกันคือแบบสู้ดูจะไม่กลัวอะไร แต่ลึก ๆ คือกลัวแล้วปกป้องตัวเองด้วยการโต้ตอบภายนอกก่อน ส่วนแบบหนีคือกลัวแบบหลบเลี่ยงไม่เผชิญกับสิ่งนั้น หรือหากต้องเผชิญก็เตรียมพร้อมป้องกันรับมือไว้แล้วอย่างรอบคอบ                                          

ลักษณ์  7  นักผจญภัย  นักวางแผน   ชอบมีทางเลือกไว้มากมาย ชอบหมกมุ่นครุ่นคิดกับการวางแผน  ชอบเชื่อมโยง หรือเป็นนักสังเคราะห์  นักคิดสร้างสรรค์  นักผจญภัยตามลักษณ์ 7 คือการไม่ชอบข้อจำกัด  มักทำตัวสดใส ร่าเริง อารมณ์เกิดบ่อยคือ ขี้เบื่อสมาธิสั้น ..มีนิสัยชอบสนใจทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวใด ชอบความสนุกสนาน เป็นนักลิ้มชิมรสประสบการณ์แปลกใหม่ ไม่อยู่นิ่ง  และชอบมองโลกในแง่ดี

 ลักษณ์ 8    เจ้านาย  หรือผู้ท้าทาย เป็นผู้มีพลังชีวิตที่จะทำอะไรสุดโต่ง มีความเป็นผู้นำตามสัญชาตญาณที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมมิให้มีผลกระทบต่อตัวเอง  ชอบพึ่งพิงตัวเอง ไม่ชอบความอ่อนแอ กล้าได้กล้าเสีย ตอบโต้ต่อสิ่งที่เข้ามากระทบได้ว่องไว  เป็นคนตรงไปตรงมา  เน้นการลงมือกระทำ มีความชัดเจน  ตัดสินใจเด็ดขาด เด็ดเดี่ยว อารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายคือความโกรธฉุนเฉียว  

ลักษณ์ 9   ผู้ประสานไมตรี  ชอบทำตัวกลมกลืนในกลุ่มผู้คนหรือสังคม มักหลงลืมตนเอง หรือแปลกแยกจากอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง สูญเสียการรับรู้เรื่องสำคัญของตนเอง โดยจะเข้าไปกลมกลืน รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนรอบข้างแทน   ไม่ชอบจัดลำดับความสำคัญ  เป็นลักษณ์ที่เก็บกดอารมณ์โกรธ แต่มีอาการ ดื้อเงียบ  แทน  ที่ได้ชื่อขนานนามลักษณ์ว่านักประสานไมตรี เพราะไม่ชอบมีเรื่องกับใคร คำว่า ไม่เป็นไร” “เข้าใจผู้อื่นไปหมดก็เพราะ ขี้เกียจมีเรื่อง              

ลักษณ์ 1  นักปฏิรูป   เข้มงวดกับตัวเอง มีวินัยแบบแผน และชอบบังคับตัวเองมาก  มีอุดมการณ์และตั้งมาตรฐานให้กับการดำเนินชีวิตหรือการกระทำของตนเอง เคร่งเครียด เคร่งครัด เอาจริงเอาจังกับชีวิต   ชอบตัดสินและวิพากษ์วิจารณ์ จู้จี้จุกจิก สไตล์เหมือนครูดุๆ เจ้าระเบียบ อารมณ์ที่มักเกิดขึ้นบ่อยคือความขุ่นเคือง     (มีสรุปตอนต่อไป)   โดยศิลา ภู ชยา

หมายเลขบันทึก: 254957เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2009 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (43)

เข้ามาหาความรู้ค่ะ พี่ศิลา ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะพี่สาวที่แสนดี...

สวัสดีค่ะ

เข้ามาพิจารณาตนเองว่าตนเองเป็นคนมีมีลักษณ์แบบไหน

ขอบคุณที่นำสิ่งดงามมาแบ่งปันค่ะ

ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ

 

“เรารู้ตัว เราจึงเปลี่ยนแปลงได้” คำว่า “รู้ตัว”

อ่านแล้วได้ข้อคิดที่ดี ๆ

ติดตามบล็อกเสมอ

  • รับรู้ ยอมรับ และเคารพซึ่งกันและกัน
  • เป็นสิ่งสำคัญมากนะคะ
  • ถ้าองค์กรใดขาด ในสิ่งเหล่านี้ องค์กรนั้นก็คงยากแก่การบริหาร
  • ขอบคุณนะคะ สำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ
  • มีความสุขช่วงวันหยุดยาว ๆ นะคะ

ขอบคุณครับ อาจารย์

พันคำ ลักษณ์ไหน

ช่างไม่รู้ตัวเองบ้างเลย......

 

  • ขอบคุณคุณครูแป๋ม P ที่แวะมาเยี่ยมก่อนพี่ศิลาเข้านอนพอดีเลย
  • ขอให้คุณครูแป๋ม มีความสุขกับการเห็นเด็กไทยได้เจริญเติบโตท้ังทางโลกและทางธรรมนะคะ  อย่างน้อยเขาก็รักการอ่านเหมือนคุณครูแป๋มและมีคุณธรรมอ่อนน้อมถ่อมตนควบคู่กันไปค่ะ

เข้ามาเก็บลักษณ์ไปเพ่งพินิจ เพื่อรู้ลักษณ์ รู้ตัว และรู้ตน ก่อนรู้เขาครับ ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะพี่ศิลา

มีคนบอกว่าสี่หลากหลายบุคลิกค่ะ ข้อดีคือมีสิ่งดีๆ ของทุกบุคลิกรวมกัน ข้อเสียคือ รับเอาส่วนที่แย่ๆ รวมกันเช่นกันค่ะ

แต่นพลักษณ์ของพี่คงต้องค่อยๆ พิจารณาค่ะ ถึงจะรู้ว่าเป็นแบบใด จะให้ดีคงต้องให้เพื่อนช่วยบอกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • ขอบพระคุณคุณพี่ krutoi P ที่เป็นกำลังใจให้ศิลาทุกครั้งค่ะ
  • ศิลาอยากออกตัวก่อนว่าเรื่องนพลักษณ์ในรายละเอียดเชิงลึกที่ศิลาศึกษาจะเน้นควบคู่กับเรื่อง "การรู้ตัว" โดยยึดถือการปฏิบัติธรรม... ภาวนาเป็นหลัก  ไม่ได้มุ่งโดยตรงในตัวศาสตร์เหมือนผู้รู้วิทยาการท่านอื่น ๆ สอนกัน
  • แต่บทความนี้ที่เขียนขึ้นมา เพราะทางทีมงานพัฒนาบุคลากรขององค์กรขอมา ศิลาจึงจัดให้ ไม่ได้อยากทำตัวเป็นผู้รู้อะไร
  • สำหรับศิลาแล้ว การจะมาแนะนำนพลักษณ์ให้แก่ใคร ถามตอบกับตัวเองเสมอว่า "เราต้องพัฒนาจิตภายใน" ของตนให้ได้ก่อนค่ะ  จึงใช้เวลาเกือบ 10 ปีเฝ้าดูตัวเอง ก่อนออกมาบอกต่อ ในฐานะผู้ศึกษามาก่อนเท่านั้น 
  • ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะที่เป็นกัลยาณมิตรที่งดงามให้กับศิลาเสมอ  ศิลาไปคารวะที่บ้านแล้วนะคะ

หวัดดีค่ะ

  • มารับรู้เรื่องรวมของการพัฒนาตนเองใน"การรู้ตัว"
  • ธรรมะให้สิ่งดี ๆ ในการดำรงชีวิตเสมอ
  • ขอบคุณสาระดี ๆ ค่ะ
  • สวัสดีค่ะท่านมหาเหรียญชัย P  ดีใจที่ได้พบกัลยาณมิตรที่เข้าถึงธรรมอีกท่านหนึ่ง
  • ก่อนหน้านี้ที่ครูบาอาจารย์สอนคำว่า "รู้ตัว" ศิลาก็ไม่ค่อยเข้าใจนัก นึกว่าแค่รู้ลักษณ์ 
  • ต่อมาได้ใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ตัวเอง (ลืมตำราไปเลย) ดูแต่ตัวเอง จึงเข้าใจคำว่า "รู้ตัว" ค่ะ

ขอให้พี่ศิลามีความสุขมากๆ
ในวันปีใหม่ไทย2552และตลอดไปนะคะ
                                จาก ครูแป๋ม  ค่ะ

                  

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ

ความรู้สึกร่วมของการเป็นหนึ่งเดียว จะรู้สึกการเป็นเจ้าขององค์กร อยากร่วมให้พัฒนา และสร้างความสุขในองค์กรค่ะ เที่ยวสงกรานต์ให้สนุกนะคะ

  • ขอบคุณคุณอิงจันทร์ Pค่ะ ที่แวะมาทักทายอยู่เสมอ
  • สงกรานต์ปีนี้อยู่บ้านดีที่สุด อบอุ่นใจที่เห็นกัลยาณมิตรมากมายแลกเปลี่ยนกันในช่วงวันหยุด  เป็นมิติใหม่ค่ะ ที่เราอยู่ร่วมกันเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกันในสังคมออนไลน์
  • ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ขอให้คุณอิงจันทร์สุขกาย สบายใจนะคะ
  • ท่านอาจารย์พันคำ P สังเกตตัวเองบ่อย ๆ ก็จะ "ปิ๊ง" ขึ้นมาเองค่ะ
  • คำว่าสังเกตก็เช่น ดูว่าเราชอบใช้ความคิดกับเรื่องต่าง ๆ ไหมเรามักจะใช้ความรู้สึก หรือนึกถึงความสัมพันธ์รับรู้อารมณ์ผู้อื่นมากไปไหม
  • หรือเราชอบลงมือทำทันที จนลืมคิดบ่อย ๆ
  • สังเกตไปเรื่อย ๆ ก็จะมองเห็นอะไรบางอย่างค่ะ ตำราไม่ได้ช่วยอะไรเราเท่าก้บเราเข้าใจตัวเอง ...เพราะถึงจุดหนึ่งศิลาก็ไม่ได้เชื่อตำราค่ะ ศิลาเชื่อการมองเห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเองค่ะ
  • ระลึกถึงเสมอ จึงไปเยี่ยมบ่อย ๆ นะคะนี่
  • ธรรมะสวัสดีค่ะ ท่านบวร P กล่าวได้ถูกต้องแล้วค่ะ รู้เราก่อน จึงค่อยรู้เขา  รู้ตัวก็คือรู้ลักษณ์และรู้ตัวทั่วพร้อมตามความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน ... จริง ๆ แล้วบันทึกนี้ ศิลาตั้งใจนำบทความที่เผยแพร่ในองค์กรตัวเองมาหาที่เก็บให้เป็นหมวดหมู่ พอดีมี G2K เป็นที่พักพิงและสะสมความรู้ จึงถือเป็นแหล่งคลังที่จะอาศัยเก็บข้อมูลไว้ค่ะ
  • หวังว่าองค์กรใดจะได้เห็นและนำไปศึกษาเผื่อจะเปฺ็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรในเรียนรู้ทีมงานค่ะ
  • สวัสดีค่ะน้องสี่ซี่P 
  • มีคนบอกว่าสี่หลากหลายบุคลิกค่ะ ข้อดีคือมีสิ่งดีๆ ของทุกบุคลิกรวมกัน ข้อเสียคือ รับเอาส่วนที่แย่ๆ รวมกันเช่นกันค่ะ

  • นพลักษณ์มุ่งเน้นที่การค้นหาบุคลิกภายใน หรือกิเลสหลักที่เป็นตัวผลักดันให้เรามีการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นบุคลิกภายนอกค่ะ  การที่บางคนบอกว่าน้องสี่ซี่มีหลากหลายบุคลิกภาพเพราะเขามองจากภายนอกของเราค่ะ ดังนั้น เขาย่อมไม่ทราบจริง ๆ ว่าอะไรที่ผลักดันให้เรามีความหลากหลายเช่นนั้น

  • การค้นหาแรงขับภายในเรา เป็นเราที่จะค้นพบเองค่ะ  ไม่มีใครบอกกิเลสภายในเราได้ค่ะ  แต่อาจจะช่วยสะท้อนอะไรบางอย่างเป็นข้อมูลให้เราเท่านั้นค่ะ  จรรยาบรรณข้อหนึ่งของนพลักษณ์คือการไม่วิจารณ์ผู้อื่น ไม่ว่าเขาจะทราบอะไรเกี่ยวกับเรามากแค่ไหน ทำให้แค่เป็นกระจกสะท้อนเพื่อการศึกษาร่วมกัน แต่มาตัดสินว่าเราเป็นลักษณ์อะไรไม่ได้ค่ะ  ทั้งนี้เพื่อรักษา "การเคารพยกย่องตัวตน" ของกันและกัน

  • มีอะไรมากมายที่อยากถ่ายทอดโดยละเอียด แต่แล้วแต่ความสนใจว่าจะไปถึงระดับไหน  หลายคนไปอบรมแล้วแต่ก็หยุดเพียงบางขั้น  ... แก่นแท้ที่สำคัญไม่ใช่ตำรา แต่คือการสังเกตตนเองและพัฒนาจิตตนให้ก้าวพ้นการกระทำตามกิเลสที่ตนยึดติด  เขียนแค่นี้ก่อนนะคะ  หากสนใจคงได้สนทนากันอีก

  • ระลึกถึงเสมอเลยค่ะ คำถาม ข้อสงสัยต่าง ๆที่น้องสี่ซี่จุดประเด็นเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าต่อไปอยู่เรื่อย ๆ

  • สวัสดีค่ะคุณ phayorm แซ่เฮ   P 
  • ชอบคำที่คุณ phayorm กล่าวค่ะ "การพัฒนาตนเองในการรู้ตัว"  และ "ธรรมะให้สิ่งดี ๆ ในการดำรงชีวิตเสมอ"
  • จริงค่ะ การพัฒนาตัวเองด้วยการรู้ตัวทั่วพร้อมจะต้องควบคู่กับธรรมะในจิต   ผู้ที่มีธรรมะสัมผัสเบื้องต้นได้ที่เห็นชัดเจนคือความเยือกเย็น  อ้อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่นค่ะ
  • ขอบพระคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

สวัสดีค่ะคุณศิลา

มาอ่านและอยากบอกว่า

ชอบลักษณ์ที่ 2

  • ขอบพระคุณค่ะท่านประจักษ์ P ที่แวะมาเยี่ยม ขอให้ท่านสุขกายสุขใจสมหวังในชีวิตตลอดไปค่ะ

สวัสดีค่ะคุณศิลา

ไม่ได้คุยกัน...นานเชียวค่ะ....^_^...

ไปเป็นวิทยากรบรรยายหรือยังค่ะ

คิดถึงค่ะ

ส่งดอกไม้...น่ารัก ๆ มาแทนความคิดถึงค่ะ...^_^...

มาอีกครั้งค่ะ....

"การเปิดใจ" เป็นการ "เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้"

เพื่อแบ่งปัน เพิ่มพูน เสริมสร้าง...ให้สังคมอุดมด้วยปัญญาและเปี่ยมความสุข...

ส่วนตัวคิดว่า...หากมีเวลาพอ มีใจให้ ... ก็ไม่น่าจะปิดตัวเองไว้เพียงที่แห่งเดียว ....

บางทีเราอาจมี พื้นที่ศักยภาพ บางส่วนที่ซ่อนเร้นไว้โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวค่ะ...

(^___^)

สวัสดีค่ะ

  • ทำอย่างไรพี่คิมอยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับ workshop เกี่ยวกับรู้ตัวเพื่อการพัฒนาจิต
  • มีโครงการจะฝึกที่โรงเรียนภายในเดือนพฤษภาคมนี้ค่ะ
  • ถ้าน้องจะกรุณา..[email protected]
  • ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
  • สวัสดี ครับ คุณ sila

    ดื่มน้ำ..แล้ว ก็เดินเล่นบ้านคุณ sila

    คุณ ลักษณ์ ทั้ง 9  ของคุณ sila  ครับ

    ดี กันไปคนละแบบ ชอบทุกแบบ เพราะทำให้แต่ละลักษณ์ มีความเป็นเอกลักษณ์ ของตัวเอง ดี เป็นเหมือนจุดขาย เลย ครับ

    เมื่อ รู้จุดขาย และนำเสนอ ถูกที่ ถูกเวลา ถือว่า ...เยี่ยมมากเลยครับ

    ผมเห็น ภาพ ดอกไม้ที่คุณ คนไม่มีราก นำมาฝาก และ อดยิ้ม ไม่ได้ครับ ถ้ามองลักษณ์ เหมือน ช่อดอก ที่เลือกแทง ตามยิ่งที่ต้องการผลิดอก แทงช่อ ออกมา   แต่ละช่อ คือแต่ละ ลักษณ์

    คน sila คิดเหมือนผมมั้ยครับ  สวยงามกันไปคนละแบบ

    แต่ทุกช่อ อาศัย การหล่อเลี้ยงจาก เลือดเนื้อ เดียวกัน

    ขอบพระคุณมากครับ

    เดี๋ยว ผม จะแวะไปดูดพลัง จากสิ่ง ดี ดี ของกัลยาณมิตร ของคุณ sila ในบันทึก ดูดพลัง อีกรอบ

    แต่ที่แน่ แน่ ....ผมได้สิ่งสวยงามจาดดอกไม้กิ่งนี้ แล้ว ครับ

    เลยถือโอกาส ขอบคุณ เจ้าของภาพปริศนาลักษณ์ทั้ง 9 ด้วย ครับ

    สวัสดี ครับ ดีใจที่ได้มาเยี่ยมเยือน บ้านคุณ sila เสมอ

     

    • ขอบคุณมากค่ะ คุณkpam&p'pink   P แวะไปให้กำลังใจขอให้คุณครูแป๋มประสบความสำเร็จมาแล้วนะคะ
    • ดีจังเลย มีน้อง pink มาเป็นกำลังเสริมอีกแรก ขอให้มีความสุขกับการทำหน้าที่แทนใน G2K ด้วยเช่นกันนะคะ
    • สวัสดีปีใหม่ไทย เช่นกันค่ะคุณ Nu11 P สุขกายสบายใจตลอดไปเลยนะคะ
    • สวัสดีค่ะคุณน้อยหน่า P  หลังสงกรานต์มานี้ เครื่องสตาร์ทติดช้ามากค่ะ กว่าจะทำงานรู้เรื่องก็ใช้เวลาพอสมควร
    • แล้วจะรีบไปทักทายที่บ้านนะคะ ทักทายดูว่า สบายหรือเหนื่อยมากไหมหลังเริ่มทำงานมาแล้วได้หนึ่งสัปดาห์ค่ะ
    • สวัสดีค่ะคุณพี่แดง P ชอบลักษณ์ 2 หรือคะ
    • ขอให้มีความสุขมาก ๆ นะคะในการเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง 
    • รบกวนบอกด้วยนะคะ ว่าน้อง ๆ อยากได้อะไรบ้างที่เป็นสิ่งของหรือขนม  ศิลายังอยู่ในช่วงรอฟังผลอยู่ว่าจะมีการนัดหมาย present ผลงานที่นำเสนอไปเมื่อไหร่ หากว่าเวลาไม่ตรงกันและแฟนว่างก็จะไปร่วมกิจกรรมด้วยค่ะ

    ผมเห็น ภาพ ดอกไม้ที่คุณ คนไม่มีราก นำมาฝาก และ อดยิ้ม ไม่ได้ครับ ถ้ามองลักษณ์ เหมือน ช่อดอก ที่เลือกแทง ตามยิ่งกิ่งที่ต้องการผลิดอก แทงช่อ ออกมา   แต่ละช่อ คือแต่ละ ลักษณ์

    แวะมาแก้คำ ผิด

    เห็นคุณ sila รั่วนิ้ว ....บนkeyboard เร็วมากเลย(อมยิ้ม ครับ)

    ยืนยิ้ม อย่างมี ความสุข  มีความสุขนะครับ

    สวัสดีค่ะคุณศิลา

    ขอบคุณที่ยังคิดถึงโครงการดีๆ

     คุณพอลล่าจะมาจัดกิจกรรมที่ขอนแก่น วันที่9พ.ค.52ค่ะ

     สิ่งที่น้องอยากได้เป็นพวกตุ๊กตา ของเล่นเล็กๆน้อยๆ...

    เอาไว้คุณศิลาว่างจริงๆและมี ธุระมาขอนแก่นค่อยแวะมาก็ได้ค่ะ.... ขอแค่กำลังใจก็ดีมากๆแล้วค่ะ...

    ฝากกิจกรรมน่ารักๆมาฝากค่ะ

    • ขอบพระคุณคุณคนไม่มีราก P ที่มาต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปค่ะ  ศิลากำลังทบทวนตามที่แนะนำมาและกำลังวาดภาพการเปิดใจเพื่อการสร้างชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตแบบเห็นหน้าค่าตากันคงต้องใช้พลังและการอุทิศตัวมากทีเดียว และยังนึกรูปแบบอยู่เหมือนกันค่ะว่าจะทำอย่างไรดี
    • จริง ๆ แล้วคงเป็นเรื่องของเวลามากกว่าค่ะ กลัวว่าจะทำแล้วไม่มีคุณภาพ เพราะศิลามีเป้าหมายจะทำงานนอกเวลาเพื่อการกุศลอยู่เหมือนกัน ซึ่งเป็นการทำให้กับคนยากจน 
    • คงต้องใช้เวลาช่วงนี้ขบคิดแบบสบาย ๆ ไปก่อน บางครั้งก็เชื่อเรื่องโชคชะตาเหมือนกันค่ะ

    สวัสดีค่ะ มาทักทาย

     ฝากกล้วยไม้สวยๆ ที่บ้านมาให้ดูค่ะ

     

    • คุณแสงแห่งความดี P กล่าวได้กินใจมากเลยค่ะ  ขอนำคำเปรียบเทียบที่คุณแสงแห่งความดีเคยเปรียบเทียบกลีบดอกไม้ที่เรียงกันเป็นวงดอกอย่างสวยงาม  หากขาดกลีบใดไป ก็คงไม่งาม  เหมือนคนเราแต่ละลักษณ์ที่แม้แตกต่างกันจากบุคลิกภาพภายใน แต่ก็ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยและผูกพันกันไว้แยกจากกันไม่ได้ค่ะ 
    • อมยิ้มด้วยเช่นกันค่ะ สังเกตว่าเวลามีจำกัด จะรัวนิ้วตอบเม้นท์เร็วมาก  แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ทันสมองและหัวใจที่เร็วเหลือเกิน จนนิ้วทำงานตามไม่ทัน

    ขอเรี่ยนรู้ด้วยค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    มาชม

    เห็นมุมมองการปรับตัว...

    • ขอบพระคุณคุณพี่แดง P สำหรับดอกไม้ช่องามหลากหลาย เห็นอย่างนี้แล้ว ไม่แปลกใจเลยค่ะว่าดอกไม้ที่สวย ๆ นี้สะท้อนมาจากจิตใจที่งดงามนั่นเอง...รู้สึกเช่นนั้นจริง ๆ
    • ดีใจที่คุณพี่ krutoi P แวะมาเยี่ยมและทักทายค่ะ  ศิลาเองก็มีหลาย ๆ เรื่องที่ต้องเรียนรู้จากคุณพี่เช่นกัน...การมีวินัยในตนเอง เพื่อการปฏิบัติจริงค่ะ
    • สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ umi P  มุมมองของการปรับตัว เป็นมุม 360 องศาที่น่าสนใจมากค่ะ อิอิ

    สวัสดีค่ะขอบคุณนะคะ

    คำทักทายที่ห่วงใย...

     

    สวัสดีค่ะ

    * พาฟ้าเมฆมาฝากค่ะ

    * สุขกายสุขใจนะคะ

    มาอ่านดู แล้วเทียบกับตัวเอง สงสัยจะปนๆกัน แต่ที่คนอื่นเห็นมากหน่อยคือ...
    ลักษณ์ 1 แบบอ่อนๆ ไม่เครียดนัก  แต่ถ้าต้องรับผิดชอบ คือ ต้องทำให้ดีที่สุด  / ลักษณ์ 6 / ลักษณ์ 9 ชอบเอาใจคน แต่ก็อยู่ในขอบเขต ที่ไม่มาเบียดเบียนตัวเรา
    อาจต้องให้คนอื่นวิจารณ์เพิ่ม  แต่ตัวเอง จะรู้ตัวเองมากที่สุดค่ะ..
    ดีนะคะ  เป็นการทำให้รู้ตัวเอง และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้

    แวะมาอ่านบทความครับ บทความมีประโยชน์มากครับ ให้คติสนใจดีครับ ผมชอบมาก

    ขอบพระคุณค่ะพี่แดง Pดอกไม้รูปหัวใจสีม่วงสวยงามมากค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท