จริงหรือว่าวันนี้ เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้


สุดท้ายจริงหรือ ว่าวันนี้สังคมไทยได้เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ขึ้นแล้ว ??

กลับมาแล้ว

ห่างหายไป 2-3 วัน หลังจากที่เขียนเรื่อง AAR กับ อนุทิน ไปแล้ว เนื่องจากไปหมกตัวเพื่ออ่านและตีความเรื่องอื่นๆ ต่อไป

แต่วันนี้ได้หัวข้อใหม่มาคั่นกลาง นั่นคือ digital divide หรือ ความเหลื่อมล้ำทางความรู้

ยังคง งง กับหัวข้อนี้ ถกเถียงกันภายในที่ทำงาน แต่ก็ยังไม่เคลียร์ จนสุดท้ายอาจารย์ธวัชชัย ก็มาช่วยชีวิตไว้

digital divide ในความหมายนั้นจะแปลว่าอะไรนั้น สี่ขอไม่สนใจ แต่ขอทำความเข้าใจกับตัวอย่างเหล่านี้แทน

ทำความเข้าใจ digital divide

ตัวอย่างที่ 1
  • เด็กเมืองนั่งทำรายงาน สามารถยืมหนังสืิอทุกเล่ม จากทุกห้องสมุด (โดยผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ต้องเดินทาง ไม่เสียเงิน เสียเวลา) ตั้งใจทำรายงาน และได้รายงานที่ละเอียด ครบถ้วน สมองได้รับการเติมเต็มอย่างเต็มที่
  • เด็กนอกเมืองนั่งทำรายงาน หนังสือมีเพียงในห้องสมุดโรงเรียนเท่านั้น ตั้งใจทำรายงาน แต่ได้รายงานที่ไม่ครบถ้วน เนื้อหา อ้างอิง มีเท่าที่หาได้ สมองได้รับการเติมเต็มอย่างไม่เต็มที่
ตัวอย่างที่ 2
  • เด็กเมืองมีการเรียนพิเศษ หาตัวอย่างข้อสอบเก่าผ่านอินเทอร์เน็ต ฝึกฝนเตรียมพร้อมเต็มที่ ไปสอบเอ็นทรานติดคณะที่ต้องการ
  • เด็กนอกเมืองเรียนในห้องเรียน ไม่ได้เรียนพิเศษ ไม่มีอินเทอร์เน็ตให้หาตัวอย่างข้อสอบเก่า ฝึกฝนเท่าที่ได้ ไหนเลยจะสู้น้องๆ เด็กเมืองได้ สมองเก่งไหนเลยจะสู้ความพยายามและความพร้อมอื่นๆ 
ตัวอย่างที่ 3
  • เด็กเมืองเจออุบัติเหตุ กดโทรศัพท์มือถือ ประเดี๋ยวเดียว รถพยาบาล พร้อมพยาบาลและเครื่องมือช่วยชีวิตมาถึง และมีอนาคตอันสดใสต่อไป
  • เด็กนอกเมืองเจออุบัติเหตุ ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่มีรถพยาบาล ต้องตามคนช่วย หารถเพื่อพาไปโรงพยาบาล เดินทางอีกเป็นชั่วโมงกว่าจะถึงโรงพยาบาล ถ้าโชคดีมีชีวิตรอดก็ดีไป โชคร้ายนั่นคือเสียอนาคตของชาติไป
ตัวอย่างที่ 4
  • เด็กเมืองเจอเห็ดแปลกๆ ของแปลกๆ กระจายข่าวผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ว่าสิ่งนี้คืออะไร ไม่นานก็ได้คำตอบ
  • เด็กนอกเมืองเจอเห็ดแปลกๆ หรือของแปลกๆ หากมีผู้รู้ที่ตอบได้ก็ดีไป หากไม่มี แล้วนำสิ่งที่พบไปใช้ต่อนั่น ก็อาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิตได้

 

นี่คือตัวอย่างของความเหลื่อมล้ำทางความรู้ เท่าที่สี่พอจะเข้าใจ และนึกออกมาได้ เมื่อนึกจบเกิดคำถามว่า (เริ่มเป็นเจ้าหนูจำไม.....อิคิวซังอยู่ไหนค่ะ มาช่วยหน่อย)

สิ่งเหล่านี้คือปัญหาใช่หรือไม่ ??
ถ้าใช่ อะไรคือทางแก้ปัญหา ??
แล้ววันนี้คุณล่ะค่ะ เจอ digital divide ในชีวิตบ้างรึเปล่า ??

สุดท้ายจริงหรือ ว่าวันนี้สังคมไทยได้เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ขึ้นแล้ว ??

แลกเปลี่ยนกันบ้างนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ปล.บล็อกกับ KM อื่นๆ กำลังจะออกมาค่ะ ขอตั้งสติอีกนิดค่ะ ^_^

ปล.ครั้งที่ 2 อยากให้ผู้อ่านทุกท่านที่อ่านบันทึกฉบับนี้จบ ได้อ่านทุกความคิดเห็นจากสมาชิกทุกท่านที่ให้ไว้ เพราะมีค่าเหลือเกินค่ะ

ปล.ครั้งที่ 3 ตัวอย่างทั้งหมดในบันทึกนั้นเป็นเพียงความคิดส่วนตัวของสี่ค่ะ  สี่จึงอยากเชิญชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ เพราะสี่เป็นแค่เจ้าหนูจำไมค่ะ

ความคิดเห็นแตกต่าง การถกเถียงไม่ผิด หากความแตกต่างนั้นนำมาซึ่งความคิดอันหลากหลาย คำตอบของคำถามที่ชัดเจน ปัญญาที่เพิ่มพูนหรือแม้แต่แนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้  มาสิค่ะมาคุยกัน

ขอบคุณค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 254904เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2009 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2012 08:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (53)

แอบมาสวัสดีครับ :)

เรื่องที่ ๑ ... Internet เขียนทับศัพท์ว่า อินเทอร์เน็ต ครับ บ่ใช่ อินเตอร์เน็ต

(คำทับศัพท์ และ ศัพท์บัญญัติคอมพิวเตอร์ ... ที่คนไทยชอบเขียนผิด)

เรื่องที่ ๒ ... ตัวอย่างที่ ๔ ทำไมต้องเจอ "เห็ด" เจออย่างอื่นไม่ได้เหรอครับ 555

ขอบคุณครับ :)

  • พี่ศิลาขออนุญาตนำเสนอนะคะ จากประสบการณ์ที่ตอนเด็ก ๆ ย้ายตามคุณพ่อไปอยู่ต่างจังหวัดและเติบโตที่นั่นมานานก่อนจะเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวง
  • หากมองความรู้เป็นตัวตั้ง คงเหลื่อมล้ำในแง่การเข้าถึงข้อมูลอย่างที่น่องสี่ซี่กล่าวมา
  • พี่จำได้ว่าพี่จะอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ในสวน ในไร่ เห็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่อยู่แบบพึ่งพาอาศัยกันและกินอยู่จากพืชผักสวนครัวและไข่ไก่ที่เลี้ยงไว้...พี่จำได้ว่าพี่มีจินตนาการมากมาย จากการหยิบนำธรรมชาติใกล้ตัวมาใช้ สมัยนั้น ขี่ม้าก้านกล้วยที่ทำขึ้นเอง  วาดการ์ตูนตัดกระดาษเอง
  • สิ่งที่ได้ติดตัวมาจากการใช้ชีวิตที่ต่างจังหวัดคือคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดผูกพัน และจินตนาการตามประสาเด็กที่มีข้อจำกัดของข้อมูลความรู้หนังสือ เราจึงอาศัยความคิดสร้างสรรค์ทำสิ่งต่าง ๆ มากมายขึ้นด้วยตัวเอง...เวลาใครมีอะไรเดือดร้อน ก็วิ่งไปข้างบ้านให้คนมาช่วย เพราะไม่มีมือถือจริงด้วยค่ะ  ...แต่เขาก็มาช่วยนะคะ...ที่ศิลาอยู่ในเมืองทุกวันนี้ ไม่รู้จะเรียกใคร มีแต่บ้าน ไม่มีใครอยู่เลยค่ะ...ทุกคนใช้ชีวิตรีบเร่งออกไปทำงานนอกบ้านกันหมด เหลือคนชราเฝ้าบ้าน  เผลอ ๆ เราอาจต้องวิ่งไปช่วยเขาแทน...
  • เขียนยาวอีกแล้ว...แต่หากจะให้เลือก เชื่อว่าใครๆ ก็อยากอยู่ใกล้แหล่งความรู้ค่ะ...สำหรับพี่ศิลา หากว่าต้องอยู่ต่างจังหวัด เพราะเลือกมาอยู่ที่ตัวเมืองไม่ได้  ก็จะมีความสุขกับธรรมชาติที่อยู่รอบตัว...ลองไม่มีความรู้ก็จะอยู่ให้ได้ดูซิว่าจะเป็นอย่างไร (ท้าทายกับตัวเอง)...เคยนะคะ ไปเยี่ยมบ้านญาติที่ต่างจังหวัด  สัก 3 ทุ่ม ไฟดับเฉย ๆ เลย...เขาก็ไม่เดือดร้อนกันเลย ฟังเสียงจิ้งหรีดอย่างมีความสุข...
  • ชอบการตั้งประเด็นของน้องสี่ซี่ค่ะ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทบทวนตัวเองและไม่มีคำตอบถูกผิด มีแต่การต่อยอดความคิดและกิ่งก้านสาขาเสมือนดังต้นไม้ต้นใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านใบให้ความร่มรืนในป่าค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

ขอบคุณมากค่ะ สี่แก้ไขเรียบร้อยแล้วค่ะ

  1. ถือเป็น digital divide น่าจะได้ ถ้าวันนี้ไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มี GotoKnow.org สี่ก็ยังจะเข้าใจผิดๆ เขียนผิดๆ เช่นเดิม
  2. ทำไมต้องเป็นเห็ด ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ แต่รู้สึกว่าเห็ดจะเป็นพืชที่มักจะนำไปสู่การเข้าใจผิด บางครั้งคนไม่รู้เจอเห็ดพิษ และรับประทานเห็ดเข้าไปก็เป็นอันตรายค่ะ จึงเขียนออกมาว่าเป็นเห็ดเท่านั้นเองค่ะ ^_^
  3. อาจารย์เคยเจอ digital divide บ้างไหมค่ะ :)

สวัสดีค่ะพี่ศิลา (Sila Phu-Chaya)

ขอบคุณมากค่ะพี่ศิลา

  • ประเด็นนี้ สี่กับเพื่อนเถียงกันมาแล้วค่ะ
  • สี่บอกว่าสี่กลับบ้านสัญญาณโทรศัพท์ใช้ไม่ได้ โทรศัพท์บ้านก็เสีย สี่เข้า GotoKnow.org ไม่ได้ สี่ทำงานซึ่งปกติต้องใช้อีเมลติดต่อกันก็ไม่ได้ แต่สี่ได้พักผ่อน ก็มีความสุขดีค่ะ
  • เพื่อนบอกว่างั้นเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา ^_^
  • แต่สี่ก็ลังเลใจค่ะ
  • ถ้าสี่เดินทางจากไปนราธิวาสแล้วไม่มีสัญญาณมือถือเลย และสมมติว่ามีอุบัติเหตุบริเวณเปลี่ยวๆ สี่จะทำอย่างไร จะให้ใครช่วย ??
  • บันทึกนี้จึงเกิดค่ะ เพื่อตอบคำถามว่าจริงๆ แล้ว สังคมเราทุกวันนี้เกิด digital divide จริงๆ หรือไม่
  • และจริงๆ แล้วประเด็นที่ตั้งขึ้นก็ไม่มีถูกผิดจริงๆ นั่นแหละค่ะ เพราะตัวสี่เองยังสองจิตสองใจเลยค่ะ
  • ความคิดเห็นแตกต่าง ไม่ผิดจริงไหมค่ะพี่ศิลา ถ้ารู้จักใช้สุนทรียสนทนา (แอบวกเข้าเรื่องนี้จนได้)
  • ขอบคุณค่ะ^_^

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.และน้องม่อน

หนูก็คิดถึงน้องม่อนเช่นกันค่ะ ท่าน ผอ.สบายดีนะค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ

....

"ความเหลื่อมล้ำทางความรู้" เกิดจากสาเหตุใดบ้าง ?

....

"ความเหลื่อมล้ำทางความรู้" เกิดมาทุกยุคทุกสมัย และแต่ละยุคสมัยก็ย่อมมีปัจจัยของ "ความเหลื่อมล้ำทางความรู้" ที่แตกต่างกัน ?

....

ปัจจัยที่ เจ้าหนูจำไม  สี่ซี่ ตั้งไว้ ... ล้วนเกิดจากตัวแปรอิสระ คือ เด็กในเมือง กับ เด็กชนบท ... อันมีผลจากปัจจัยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น ... ซึ่งโดยความเป็นจริง ควรจะมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องอีก เช่น ความรวย ความยากจน พ่อแม่มีความรู้มีเวลาสอนลูก พ่อแม่หาเช้ากินค่ำไม่มีความรู้และไม่มีเวลาสอนลูก เป็นต้น (ใช่ป่ะ)

....

หากใช้ภาษาอังกฤษ คือ Digital Divide แล้ว ... ควรแปลภาษาไทยว่า "ความเหลื่อมล้ำทางความรู้" จริง ๆ หรือ ... ดูเหมือน Digital Divide เป็นความเหลื่อมล้ำทางความรู้อันผลจากความไม่เท่าเทียมทางเทคโนโลยีมากกว่า .... ดังนั้น หากพูดถึงปัจจัยอื่น อาจจะผิดความหมายก็ได้

....

Digital Divide อาจจะมีแง่มุมในการคิด หากมาใช้ประเทศไทย ประเทศที่เขาว่า กำลังพัฒนา หรือ ด้อยพัฒนา ... คนใช้เทคโนโลยีเป็นมีจำนวนไม่มากนัก ... ออกเป็น 2 แง่ คือ

1. ไม่มีประโยชน์ที่จะนำมาใช้คิด เพราะความด้อยพัฒนาทางเทคโนโลยที่ต้องเวลาอีกหลายปีกว่าจะเจริญจริง ๆ

2. มีประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล เพราะถือเป็นการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยี

....

หมดความคิดเพียงเท่านี้ ไปล่ะ .......... แว่บ ๆๆๆๆ

สวัสดีครับ

1.ในตัวอย่าง พอจะเห็นภาพว่า เป็นเรื่องของการรู้จักและใช้ข้อมูล หรือความรู้นั่นเอง (ภาษาสมัยใหม่ เรียกว่า การเข้าถึงข้อมูล, หรือเรียกให้เป็นภาษาไทยหน่อยก็ คือ เข้าไปให้ถึงข้อมูล)

อีกเรื่องก็คือ การมีเครื่องมือเครื่องใช้ช่วยอำนวยความสะดวก

2.จะว่าไป ก็เป็นเรื่องความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตามธรรมดาของโลกนั่นแหละครับ เทคโนโลยีเป็นสื่อนำความรู้ไปสู่ผู้คน สมัยที่คนรู้หนังสือยังไม่แพร่หลาย คนไม่รู้หนังสือก็ถือว่าขาดโอกาสไม่น้อย

เทคโนโลยีก็มาพร้อมกับความรู้ และสาระประโยชน์ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันคือสาระทั้งหมดที่มีอยู่

สมัยหนึ่ง ใครอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ก็ถือว่าเสียประโยชน์ในชีวิต

สมัยต่อมา เทคโนโลยีเป็นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นคอมพิวเตอร์ เป็นดิจิตอล จนเป็นอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

เรามีวิธีการจัดการกับข้อมูลความรู้, เรามีสื่อเพื่อค้นหาข้อมูลความรู้

สรุปว่า เป็นเรื่องของความรู้ ส่วนดิจิตอล เป็นเครื่องมือ หรือเปล่า

ส่วนเรื่องเครื่องใช้ก็อำนวยความสะดวก ไม่มีก็ไม่สะดวก เป็นธรรมดา

3. เป็นปัญหาหรือเปล่า น่าจะถามว่า เป็นปัญหาใหญ่หรือเปล่า

4. เกิดความเหลื่อมล้ำหรือยัง..

ตามคำจำกัดความที่ว่า ก็คงจะมี, แต่เป็นการมองจากมุมผู้ใช้เทคโนโลยีหมดเลยแฮะ... สิ่งที่นักเทคโนโลยีไม่รู้จัก หรือไม่สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวก หรือช่วยสื่อความรู้ ก็เป็นความด้อยโอกาสอีกด้านหนึ่ง

5. อากาศร้อน แค่นี้ก่อนครับ อิๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

กำลังรออยู่เลยค่ะ เพราะเชื่อว่าอิคิวซังต้องมาช่วยหนูจำไมแน่นอนค่ะ

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

ครั้งแรกที่คิดว่าความเหลื่อมล้ำทางความรู้นั้นส่วนหนึ่งเกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ การรักษาพยาบาล หรืออีกหลายๆ อย่างค่ะ แต่ไม่ได้เขียน (คิดตัวอย่างไม่ออกค่ะ ^_^)

ซึ่งสุดท้ายก็เข้าใจแบบที่กล่าว โดยอ้างอิงเป็นเด็กเมืองกับเด็กนอกเมือง แต่พอเห็นปัจจัยอันหลากหลายก็คิดว่าน่าสนใจดีเหมือนกัน ว่าจริงๆ แล้วคำนี้นั้นเหมาะแค่ "ความเหลื่อมล้ำทางความรู้อันผลจากความไม่เท่าเทียมทางเทคโนโลยี" หรือจริงๆ หรือควรเหมารวมในทุกๆ ปัจจัยกันแน่ ??

ขอขอบคุณมากค่ะ สำหรับแง่มุมดีๆ 2 มุมมอง

สำหรับสี่เชียร์ข้อ 2 ค่ะ คือมีประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล เพราะถือเป็นการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยี เพราะปัจจุบันแม้เทคโนโลยีจะน้อย ซึ่งน้อยทั้งจำนวนและน้อยทั้งคุณภาพ ถ้าหากรอให้เทคโนโลยีเยอะคงมีปัญหาล้านแปดพันเก้า ดังนั้นจึงเชียร์ข้อ 2 เพื่อให้เกิดประโยชน์อันมหาศาลต่อไปค่ะ

ขอบคุณค่ะ :)

สวัสดีค่ะ  คุณสี่ซี ขอแสดงความเห็นด้วยคน

  • มองในฐานะ คนใช้เทคโลโลยี ต้องบอกว่าเห็นด้วยเลยค่ะ  เกิดความเหลื่อมล้ำแน่นอน  ก็จังหวัดที่อยู่นี่ เราต้องการใช้ระบบ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย แต่ยังไม่มีเครือข่ายใดมารองรับความต้องการนี้   ถ้าอยากได้ต้องรอ.....และทำใจ

 

อาจจะเกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านการเข้าถึงข้อมูลในโลกดิจิตอลระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท...

แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงธรรมชาติและการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยนะครับ...

สำหรับตัวอย่างทั้งสี่ข้อถ้าถามพี่ว่าเป็นปัญหามั้ย...

พี่ว่ามันแล้วแต่วิถีของแต่ละสังคมนะครับ...

 

สวัสดีค่ะพี่ธ.วั ช ชั ย

ขอบคุณมากค่ะ

ดีจังค่ะที่มีบันทึกนี้ขึ้น สี่ได้เปิดหู เปิดตา เปิดใจ รับรู้รับอ่านในสิ่งดีๆ อันเป็นประโยชน์

ต้องเรียนว่าทุกความคิดเห็นต้องอ่านหลายๆ รอบ เพื่อถามตัวเองว่าใช่หรือไม่ และควรตอบอย่างไรดี

สุดท้ายตอบได้แค่ว่าขอบคุณมากค่ะ ^_^ เพราะสี่ก็ทราบแค่นั้นจริงๆ ยังเถียงกับเพื่อนๆ ในที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เลยค่ะ แต่วันนี้ความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติม ช่วยเปิดสมองสี่ได้ดีค่ะ

ต้องค่อยๆ เรียบเรียงแล้วกลับมาใหม่

แต่วันนี้สี่รู้ว่าหากสี่ไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มี GotoKnow สี่จะไม่มีโอกาสเข้าถึงผู้รู้และความรู้มากมายขนาดนี้

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมูน้อย

ขอบคุณมากค่ะคุณหมูน้อย ปัญหาที่เกิดขึ้นฟังแล้วรู้สึกแย่จังนะค่ะ

แต่เป็นกำลังใจให้ค่ะ เชื่อว่าสักวันสิ่งเหล่านี้จะหมดไป

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่Mr.Direct

สายลมเย็นมาช่วยพัดความอึมครึมของสมองออกไปได้ดีจังค่ะ:)

เห็นด้วยค่ะว่านอกจากความเหลื่อมล้ำทางความรู้อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีแล้ว ยังเกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงธรรมชาติและการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วย

ทุกประเด็น หนทางแก้ไขก็มิง่ายเลย

วันนี้ได้แต่บอกว่าขอบคุณที่ช่วยเปิดสมองให้คิดกว้างขึ้น นอกกรอบขึ้น มอง 360 องศามากขึ้น

ที่สำคัญรู้ว่าทุกๆ ปัญหาอยู่ที่คนมอง

เมื่อมองต่างกัน นำมาถกเถียงกันด้วยเหตุผล ย่อมไม่เกิดปัญหา แต่จะเกิดปัญญาและคำตอบแห่งคำถาม รวมทั้งหนทางการแก้ไขอีกด้วย

ขอบคุณสายลมแห่งความหวังดีค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • อ่านบันทึกของคุณปาณิก..ก็เจ็บปวดมาแล้วค่ะ
  • มาเจ็บปวด เจ็บแค้นทีได้อ่านบันทึกของน้องสี่อีก
  • พี่คิมก็เข้ามาแบบคน (ครู) บ้านนอกผู้ไม่ค่อยรู้อะไร
  • แต่มาหาในนี้ พอได้นำไปปรับปรุงตัวเอง
  • ความเหลื่อมล้ำของครูในเมืองกับครูบ้านนอกก็มีเยอะค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูคิม

สี่ต้องขอโทษด้วยนะค่ะ ถ้าบันทึกฉบับนี้ทำให้คุณครูคิมรู้สึกแย่ (หนูไม่เจตนาให้คุณครูรู้สึกแย่นะค่ะ)

แต่หนูเชื่อเสมอค่ะว่าสักวันความเหลื่อมล้ำเหล่านี้จะหมดไป

หนูเป็นแรงใจ ส่งกำลังใจถึงคุณครูทุกๆ ท่านเลยค่ะโดยเฉพาะคุณครูคิม เพราะเชื่อว่าส่วนหนึ่งความเหลื่อมล้ำเหล่านี้จะน้อยลง ด้วยมือของคุณครูค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ไม่ใช่อย่างนั้นน้องสี่
  • หมายความว่า..ในสังคมนี้ต่างหากที่มีแต่ความเจ็บปวด ความร้าวฉาน
  • ไม่ได้หมายถึงความรู้สึกต่อตัวตนของพี่คิมค่ะ
  • ขอขอบคุณน้องสี่ที่เป็นกำลังใจให้เสมอ ๆ

 

บันทึกนี้น่าสนใจมากค่ะ

ตามมาอ่าน มีผู้รู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมาย ทำให้มองเห็นอะไรกว้างขึ้นจริงๆ ต้องขอบคุณหนูจำไมพี่ สี่ซี่ ที่มาเปิดประเด็นนะคะ

โดยส่วนตัวมองว่า เห็นด้วยกับที่ อ.พี่ Wasawat Deemarnพูดถึงคอนเซ็บของ digital divideที่ว่า (ขออนุญาตโพสนะคะ)

"Digital Divide เป็นความเหลื่อมล้ำทางความรู้อันผลจากความไม่เท่าเทียมทางเทคโนโลยีมากกว่า "

จากประสบการณ์ กลับบ้านทีไร ใช้เนตทีนี่ค่อนข้างยุ่งยาก แม้ว่าจะสามารถต่ออินเตอร์เนตได้จากโทรศัพท์บ้าน หรือไม่ก็จากมือถือของตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม ความเร็วในการใช้งานก้ถือเป็นอีกหนึงตัวแปรสำคัญนะคะ มันช้าได้ใจจริงๆ ส่วน WL (ซึ่งแอบอิงจากinternet cafe ของโรงแรมใกล้บ้าน) มันก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาที่ค่อนข้างน่ากลัว อาทิ นาทีละบาท โอ้พระเจ้าา โหดไปมั้ยพี่!! แล้วคิดดูสิคะว่า เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กรอบนอกๆ เค้าจะทำไงกัน??

นี่แหละนะคะ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ นำมาสู่ความเหลื่อมล้ำทางการใช้เทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้

เล่าสู่กันฟัง อิอิ

สุขสันต์วันสงกรานต์นะคะ

ขอบคุณค่ะคุณครูคิม

ตกใจหมดเลยค่ะ นึกว่าทำให้คุณครูรู้สึกแย่แล้วจากบันทึกนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้นต้องเสียใจแย่เชียวค่ะ

รักและคิดถึงคุณครูคิมนะค่ะ

จะนอนแว่บเห็นบันทึกนี้ หลังอ่านของอ.นกฟ้ามาค่ะ

แล้วจะเล่า(story telling) เรื่องของพี่ภูกับน้องอาร์ค

  • พี่ภูรู้ไอทีแต่พี่ภูข้ามถนนเล็ก ๆ วันเวย์ไม่เป็น..จนเกือบพลาด/น้องอาร์ค หันซ้ายหันขวา แล้วหันซ้ายอีกครั้ง..วิ่งปรื๊ด ข้ามสบายเลยค่ะ
  • พี่ภูแฮ็คข้อมูลเกมจนโดน ban, น้องอาร์คไม่ค่อยรู้อะไรแต่มากระซิบบอกป้า(แม่ภู)ได้ ว่าสงสัยพี่ภูจะทำอะไรมิดีมิร้ายหรือเปล่า
  • พี่ภูไปดูที่ ๆ กำลังปลูกบ้าน ต้นอะไรที่แม่ปลูก เขาก็ช่วยปลูก เราเคยบอกเขา แต่เขาจำไม่ค่อยได้
  • น้องอาร์ค ไม่ต้องบอก ไม่ได้มาช่วยปลูกแต่รู้หมดว่า..ต้นเลี่ยนนี้นะป้า นกมันชอบกินลูกแบบนี้ ๆ มาก ๆ เลยล่ะ

ฯลฯ มันน่าจะอยู่ที่ตัว "คน" ด้วยนะคะ ..ไว้มาคุยใหม่ค่ะ มีเสียงประท้วง..ว่าทำไมตัวเองนอนดึกได้...นอนก่อน แวะมาใหม่ค่ะ

 

  • ผมเห็นความเหลื่อมล้ำเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
  • เชิงปริมาณคือ ต่างจังหวัด ด้อยโอกาสกว่า แต่ส่วนนี้ จะค่อย ๆ หดแคบลง เพราะเทคโนโลยีราคาถูกลง และมีกลไกตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนให้เทคโนโลยีแพร่กระจายไป แต่จะทั่วหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่อง แต่ที่แน่ ๆ คือ มุมอับที่เข้าไม่ได้เพราะขาดไปทุกอย่าง ก็ยังมี ตอนนี้แม้มีมาก แต่อีกไม่กี่ปี ก็คงน้อยลงจนเกือบหมด เพราะเทคโนโลยีหาง่ายและราคาถูกลง
  • แต่เชิงคุณภาพ น่าห่วงกว่า เพราะผมเห็นปัญหานี้ ก่อตัวเงียบ ๆ พอกพูน บานปลาย และเป็นปัญหาแบบโรคร้ายที่แฝงมากับโอกาส เหมือนมะเร็ง
  • ปัญหาที่ว่า คือการใช้โอกาสไม่เป็น
  • เหมือนสามล้อถูกหวย มักจบลงด้วยภาวะที่แย่กว่าตอนถูกหวย เพราะปกครองเงินไม่เป็น
  • ตัวอย่างคือ นักเรียนขโมยเนื้อหาจากอินเทอร์เน็ตมาส่งเป็นการบ้าน โดยที่อาจไม่เข้าใจเนื้อหาแม้แต่น้อย
  • สมัยก่อนยุค IT คนที่ลอกมาโดยการเขียน จะมากจะน้อย ก็ยังได้อะไรติดหัวบ้าง
  • ถ้านักเรียนจบมาบนเส้นทางลอกโดยไม่มีความรู้ทั้งสังคม แล้วสังคมอีกยี่สิบหรือสามสิบปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ?

สวัสดีค่ะน้องสาวหัวใจติดปีก

ขอบคุณมากๆ เลยจ๊ะ อยากบอกว่าถ้าเป็นเรื่องความเร็วของอินเทอร์เน็ตแค่บ้านพี่ก็สุดๆ แล้วจ๊ะ กว่าจะได้ตอบคอมเม้น เล่นเอาลุ้นว่ามันจะล่มรึเปล่า

แถมติดตั้ง ADSL แต่ต้องยกหูโทรศัพท์วางนอกเครื่อง ไม่อย่างนั้นเน็ตไม่วิ่งค่ะ

คงไม่ต้องถึงบ้านน้องสาวคนดีแน่ๆ เพราะบ้านพี่ก็ไม่ได้ต่างกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่หมอเล็ก (ภูสุภา)

เห็นภาพค่ะพี่ เล่าจนสี่อยากเห็นน้องทั้งสองคนแล้วสิค่ะ

สรุป 2 หนุ่มน่าจะเติมเต็มในกันและกันนะค่ะ เหลื่อมล้ำกันบ้างแต่ต้องอยู่ด้วยกัน น่ารักดีค่ะ

ขอบคุณเรื่องเล่าดีๆ ยามดึกๆ ค่ะ หลับฝันดีนะค่ะ

  • แวะมาราตรีสวัสดิ์ค่ะ
  • เข้าใจน้องสี่ซี่ค่ะ   ความแตกต่างตามบริบทที่เรานำมาใช้อ้างอิงเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะขณะที่เรากำลังยกเรื่องหนึ่งมาคุยกัน เราต่างนึกถึงสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดคนละอย่างกัน จึงเป็นการเรียนรู้วิธีคิดของกันและกัน
  • แตกต่างกันเพียงวิธีการมองโลก เป็นสุนทรียสนทนาที่งดงามค่ะ อย่างน้อย พี่ศิลาก็เข้าใจน้องสี่ซี่แล้วว่านักวิทยาศาสตร์ที่คิดแนวคิดทฤษฎีใหม่ ๆ ต้องเริ่มมาจากการเป็นนักสงสัยแบบน้องสี่ซี่ค่ะ
  • หาคำตอบเจอเมื่อไหร่ มาบอกพี่ด้วยนะคะ ขอให้มีความสุขกับการสนทนาที่แตกกิ่งก้านสาขาเป็นร่มไทรใหญ่โตค่ะ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์วิบุล(wwibul)

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ ทุกๆ ครั้งที่ถามอาจารย์สี่จะได้คำตอบดีๆ เสมอค่ะ วันนี้ก็เช่นกันค่ะ

ความเหลื่อมล้ำเชิงคุณภาพ เรื่องนี้น่ากลัวนะค่ะ การคัดลอกมาโดยที่ไม่ได้อ่านเลยเพราะเทคโนโลยีที่ง่ายเกินไปเพียงแค่ copy และ paste ไว้แล้วก็ print ส่งอาจารย์ รู้รึเปล่าว่าในนั้นมีอะไรก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

รู้สึกหนักใจแทนสังคมไทย

ขอบคุณค่ะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะพี่ศิลา(Sila Phu-Chaya)

ขอบคุณมากค่ะพี่ศิลา

สี่คงเป็นได้แค่เจ้าหนูจำไม ที่ชอบคิด แต่ไม่ค่อยมีคำตอบจึงต้องถามอาจารย์ทั้งหลายค่ะ

แต่ที่สำคัญอาจารย์ก็ใจดีค่ะ คำถามจึงมีคำตอบมากมาย ช่วยให้เจ้าหนูจำไมคนนี้พอจะมีคำตอบให้กับตนเอง

พี่ศิลาก็เป็นอาจารย์ของสี่ท่านหนึ่งนะค่ะ

เพราะฉะนั้นอาจารย์ต้องคอยแนะนำสั่งสอนลูกศิษย์ค่ะ มาสนทนาต่อยอดความรู้ไปด้วยกันนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มารวมสุนทรียสนทนาความคิดเห็นกับเจ้าหนูจำไมด้วยนะคะ

ยืมประโยคของอาจารย์ 7. Wasawat Deemarn  มานะคะ

"Digital Divide แล้ว ... ควรแปลภาษาไทยว่า "ความเหลื่อมล้ำทางความรู้" จริง ๆ หรือ ... ดูเหมือน Digital Divide เป็นความเหลื่อมล้ำทางความรู้อันผลจากความไม่เท่าเทียมทางเทคโนโลยีมากกว่า .... ดังนั้น หากพูดถึงปัจจัยอื่น อาจจะผิดความหมายก็ได้.."

พี่คิด(เอง)ว่าน่าจะเกิดจากความไม่ใส่ใจ ไม่เอาใจใส่ ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้มา มีอยู่ด้วยนะคะ เรียกว่าไม่มีการพัฒนาตนเองในอย่างต่อเนื่องด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้ช่องว่างทางความรู้ ความคิดกว้างขึ้น ปัญหาอุปสรรคในความไม่มี ขาดการสนับสนุน สามารถแก้ไขได้ อาจเริ่มต้นช้า เร็วต่างกัน แต่สุดท้ายช่องว่างก็จะขยับแคบลง สำคัญที่การเตรียมตัวเรียนรู้ พี่เลยมีความเห็นว่า "คน" มากกว่าไหม? ที่เป็นปัจจัยแรกๆ ที่ทำตัวเองให้ยิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ด้านเทคโนโลยีจากคนอื่น พี่ดูตัวอย่างรอบตัว ในฐานะเป็น "คนนอกเมือง(หลวง)" เหมือนกันนะคะ

ดูง่ายที่สุดเรื่อง "โทรศัพท์มือถือ" ต่อให้ไฮเทคขนาดไหนใช้รุ่นเดียวกันแต่ยังใช้คุณสมบัติได้ไม่มากเท่ากัน เพราะไม่ศึกษาคู่มือให้เข้าใจ (คู่มือยุคใหม่ก็อยู่ในมือถือเสียอีก ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่นะคะ)

พูดถึงอาชีพให้บริการข้อมูลข่าวสาร ถ้าผู้ให้บริการไม่ศึกษาค้นคว้าติดตามข้อมูลใหม่ๆ ไม่รู้จักการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ก็จะไม่รู้ว่าโลกไอทีก้าวหน้าไปถึงไหน แล้วผู้ใช้บริการของเราเขาชอบอะไรในด้านไอที การให้บริการของคนสองคนอาชีพเดียวกัน ที่พัฒนาตนเองต่างกันก็เกิดช่องว่างด้านความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการ เราก็รู้อยู่ว่าโลกดิจิตอลเปลี่ยนแปลงทุกวินาที เราวิ่งตามมันไม่ทันแต่เราก็คงต้องทำตัวเหมือนนาฬิกา เดินช้าบ้างไม่เป็นไร ก็เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ แต่หยุดเดินไม่ได้

สรุปความเห็น(เอง)ของพี่หลังจากอ่านมาทั้งหมดด้วยนี้นะคะ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ในโลกดิจิตอล น่าจะเป็นที่ "ตัวเรา กับกระบวนการใช้ความคิด พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง" ด้วยหรือเปล่าคะ

สวัสดีค่ะพี่ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี

สี่ชอบบันทึกนี้แล้วสิค่ะ เพราะสี่ได้ความรู้ ความคิดเห็นมากมายจากบันทึกนี้ มีประโยชน์มากเลยๆ ค่ะ

ทุกความคิดเห็นมิมีถูกผิด เพราะสิ่งนี้คือเรื่องใหม่ค่ะ การถกเถียง อภิปรายด้วยสุนทรียสนทนาจึงเป็นเรื่องที่สมควรค่ะ ได้แต่บอกว่าขอบคุณค่ะทุกๆ ความคิดเห็น

และคงต้องขอความร่วมมือจากสมาชิกทุกๆ ท่านต่อไป เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อไปค่ะ

เพื่อตอบคำถามว่าจริงๆ แล้ว digital divide นั้นมีเหตุปัจจัยจากสิ่งใดบ้างและพอจะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไรบ้างค่ะ

เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศของเรา

ขอบคุณค่ะ

เรียน ท่านประธาน สี่ซี่ ผ่านไปยังท่านพี่หม่อม ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี :)

ไม่ย้อม ไม่ยอม ... อันประโยคนี้นั้น

"Digital Divide แล้ว ... ควรแปลภาษาไทยว่า "ความเหลื่อมล้ำทางความรู้" จริง ๆ หรือ ... ดูเหมือน Digital Divide เป็นความเหลื่อมล้ำทางความรู้อันผลจากความไม่เท่าเทียมทางเทคโนโลยีมากกว่า .... ดังนั้น หากพูดถึงปัจจัยอื่น อาจจะผิดความหมายก็ได้.."

ผมใช้วิธีคิดเริ่มต้นตั้งแต่ประเด็นที่ศูนย์ คือ "ความหมายที่ควรเป็นของตัวคำว่า Digital Divide" เท่านั้นครับ เน้นที่ "ความหมาย" มิได้เน้นถึง "บริบทของ Digital Divide" ครับ

เพียงแต่ตอนนี้ "Digital Divide" ไม่ได้แปลว่า "ความเหลื่อมล้ำทางความรู้" จากบันทึกของหลาย ๆ ท่านแล้วล่ะครับ

ท่าน สายน้ำความคิด ได้ให้ความหมายของคำว่า "Digital Divide" คือ การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้

อ้างจากบันทึก กลัวโรค...Digital Divide

ดูจะชัดเจนมากขึ้นกว่าคำเดิม ครับ

ดังนั้น การวิเคราะห์ของพี่หม่อมจึงได้ขยายฐานความคิดจากความหมายออกไปสู่บริบทและประเด็นที่เกี่ยวข้องแล้วครับ ... มิได้คิดตามความหมายอย่างเดียวในประโยคที่อ้างถึง ...

นี่ ๆๆๆ :) ... ผมเขียนได้ยังไงกันเนี่ย คิดอะไรไม่ออกมาก่อนเลยนะครับ

ขอบคุณ พี่หม่อม ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี ... ที่อ่านความคิดเห็นผมด้วย ทำให้เกิดการต่อยอด

ขอบคุณ เจ้าหนูจำไม สี่ซี่ ... ที่ตั้งประเด็นหาเรื่องให้คิด จ๊าก ๆ แว่บ ๆ

สวัสดียามเช้าๆ ค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

สี่ไปทำบุญมาค่ะ ที่บ้านเริ่มทำบุญกันแล้วค่ะ

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ที่ยังมาต่อยอดเสมอ สี่ชอบจังค่ะ

ตอนนี้เจ้าหนูจำไมอย่างสี่เริ่มหมดมุขค่ะ คิดตามไม่ค่อยทันค่ะ

จึงได้แต่อ่านทุกความคิดเห็นอันมีค่า และค่อยๆ คิดตามทีละนิดค่ะ

สี่เคยสงสัยว่าการทำสุนทรียสนทนาสักเรื่องนั้นยากหรือไม่ และคำตอบคือยากค่ะ

แม้ว่าขณะนี้ทุกท่านกำลังทำสุนทรียสนทนาเรื่อง digital divide

และสุดท้ายสี่ได้รู้ว่าหากวันนี้สี่ไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มี GotoKnow.org สี่คงไม่ได้เจออาจารย์ทุกท่าน สี่คงไม่รู้ว่า digital divide คืออะไร ที่แน่ๆ สี่คงไม่ได้เข้าถึงความรู้ดีๆ เหล่านี้ค่ะ

ปล.สี่อยากให้เด็กๆ ในประเทศไทยได้รับรู้เรื่องเหล่านี้ พวกเขาจะได้คิดเป็น คิดตาม และต่อยอดความรู้ออกไปจังค่ะ

มาบ่นๆ และแอบไปทานข้าวกลางวันแล้วค่ะ

ปล.อีกครั้งเน็ตบ้านสี่ช้ามากๆ ค่ะ แถมไม่สามารถเรียกตัวใช้งานตัวจัดการข้อความได้ จะใส่ link กลับไปที่ใครๆ ไม่ได้เลย ได้แค่แสดงความคิดเห็นไว้ นี่หรูสุดๆ แล้วค่ะ :)

ให้ยอมรับกับสภาพที่เป็นอยู่ อย่าไปน้อยใจในสถานะภาพที่แตกต่างกัน

เกิดต่างถิ่นต่างที่ แต่คนมีสิทธิ์เลือกได้ที่จะเดินไปถึง

อย่าไปยึดติดกับการเหลื่อมล้ำทางความรู้เลย " เดินให้ไกล ไปก็ถึงคะ "

การเหลี่อมล้ำทางด้านความรู้

ผมถือว่าเป็นเรื่องปกติมากในสังคมนะ  แต่ปรากฏการณ์นี้จะมีมากขึ้น กับสังคมที่ paradox เช่นสังคมขณะนี้

ปัจจัยอื่นๆที่ทุกท่านได้กล่าวมานั้น ล้วนแต่เป็นสาเหตุทั้งนั้น

สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่า เราอาจไม่ได้มอง หรือ ไม่ได้นำมาวิเคราะห์

คือ เหลื่อมล้ำจากผู้ส่งข่าวสารเอง หรือ จากพวกเราเองที่นำเสนอชุดข้อมูลออกไป

เรานำเสนอออกไปตามมุมของเรา ตามความคุ้นชินของเรา เเละมีมาตรฐานของเรา แต่เราไม่ได้วิเคราะห์คนรับสื่อ ว่าเขารับได้ไหม และรับได้มากน้อยขนาดไหน

ความสมานฉันท์ทางด้านความรู้ ผมคิดว่า บางทีนักวิชาการก็ฉวยโอกาสเอาเปรียบสังคม โดยพยายามเขียนวาทกรรมที่หรูหรา วาทกรรมแบบเทพ ที่ชาวบ้านเข้าถึงไม่ได้เลย

 

สวัสดีค่ะพี่เอก(จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร)

ขอบคุณมากค่ะ

เป็นอีกแนวคิดที่น่าสนใจมากค่ะ

ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ที่เกิดตั้งแต่ผู้ส่งสาร ที่สื่อสารด้วยสำนวนโวหารอันยากจะเข้าใจ ก่อเกิดเป็นช่องว่างแห่งการเข้าถึงความรู้ และสุดท้ายความเหลื่อมล้ำทางความรู้จึงเกิดขึ้น

ขอบคุณค่ะ

Pน้องเอก...

*ความสมานฉันท์ทางด้านความรู้ ผมคิดว่า บางทีนักวิชาการก็ฉวยโอกาสเอาเปรียบสังคม โดยพยายามเขียนวาทกรรมที่หรูหรา วาทกรรมแบบเทพ ที่ชาวบ้านเข้าถึงไม่ได้เลย*

ขอใช้ห้องรับแขกหน่อยนะคะน้องสี่ซี่(หายไปไหนอีกยี่สิบแปดซี่?)

  • paradox
  • สมานฉันท์..
  • วาทกรรม

สองสามคำนี้ก็หรู..นะ อิ อิ

เข้าใจค่ะ เพราะเป็นคนหนึ่งที่ฟังคำหรู ๆ ไม่ค่อยรู้เรื่องเลยล่ะค่ะ

**         ****           **

น้องสี่ซี่คะ คุยต่ออีกนิดค่ะ

วันนี้เพิ่งดูหนังสามมิติกันมาเรื่อง Monster and Alien มันส์ดีค่ะ เนื้อหาไม่มีอะไร หนังสนุก ๆ สไตล์ฮีโรแบบอเมริกัน ไฮไล้ท์ที่จะเล่าคือ ขากลับได้หยิบยกเรื่องนี้คือ ประเด็นจากบันทึกน้องสี่ซี่ อาจารย์นกฟ้า และอาจารย์จัน ..เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำฯ คุยกันหลังจากดูหนังสนุก ๆ จึงคุยกันแบบสนุก ๆ

ลูกยอมรับว่าใช้ search engine ช่วยในการทำการบ้าน
แม่ใช้ search engine ช่วยในการทำงาน, เขียนงาน(บ่อย)..
พ่อก็..ใช้ช่วยในการทำงาน research, Thesis ฯลฯ

แต่สำหรับประเด็นนี้ เราสามคนตั้งกติกาและมีปฏิญญาสากลแบบบ้าน ๆ ของเราว่า เราต้องอ่าน และต้องค้นคว้า(จากตำรา)ตามหลังเพื่อความมั่นใจ เพราะเคยพบว่ามันไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ก็มี

อย่างน้อยตำรา เช่น พจนานุกรม สารานุกรม Text ย่อมน่าเชื่อถือกว่า

โดยเฉพาะลูก จะโดนพ่อและแม่ขู่ ๆ ไว้ว่า ยิ่งอายุน้อย ๆ ก็จะยังไม่ค่อยรู้..นะลูกนะ

ลูกแซวกลับว่า ไหนแม่ว่า ความรู้อาจเรียนทันกันหมด ไงล่ะแม่..ดูสิคะ

เม้นท์นี่ตั้งใจให้ไม่เครียดนะคะ เพิ่งดูหนังสนุกแบบเด็ก ๆ มา อิ อิ

 

สวัสดีค่ะพี่หมอเล็ก

  • อีกยี่สิบแปดซี่หักหมดค่ะพี่หมอเล็ก เหลือแค่สี่ซี่ ^__^
  • ล้อเล่นค่ะ จริงๆ แล้วตอนคิดไม่รู้จะใช้คำอะไรให้คล้องกับชื่อเล่น เลยใช้คำนี้ค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ ที่มาต่อเติมเสริมแต่งและร่วมสุนทรียสนทนาให้บรรยากาศผ่อนคลาย
  • เป็นแนวคิดที่ดีนะค่ะ เอามาจากอินเทอร์เน็ต แต่ต้องค้นคว้าตามหลัง
  1. ได้อ่าน ได้รู้ว่าเอาอะไรมา
  2. ได้ค้น ได้คว้า ความถูกต้อง
  3. ได้คิด ได้จำ เพราะอ่านหลานครั้งหลายหน
  4. ได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เยี่ยมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ศึกษาประวัติคุณ สี่ซี แล้วน่าสนใจค่ะ
  • มีความคิดที่เป็นเอกภาพ
  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
  • มีสุขวันสงกรานต์ด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะคุณphayorm แซ่เฮ

ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกัน

ประวัติสี่อาจจะไม่ค่อยน่าอ่านเท่าไหร่นะค่ะ

เพราะเป็นแค่คนที่เอาแต่ใจเท่านั้น

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ สี่ซี่

อิอิ แวะมา รดน้ำๆๆๆๆๆๆ ปะแป้งๆๆๆ อิอิ

สุขสันต์วันสงกรานต์นะค่ะ พี่สาว

สวัสดีค่ะ พี่แวะมาหาข้อมูลและได้ไขข้อข้องใจตัวเองขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ...สี่ซี่

***พบเด็กในเมืองใหญ่บางคนเหลื่อมล้ำจากเพื่อนๆและอยู่แนวหลังเด็กนอกเมืองด้วยซ้ำ เพราะไม่ได้รับการฝึกทักษะชีวิตให้มองเห็นคุณค่าของโอกาส อีกกลุ่มก็ใกล้ชิดเทคโนโลยีแต่ใช้ไม่ถูกทางมากเกินไปก็มีค่ะ

สวัสดีจ๊ะหนูนา(กล้วยแขก~natadee~natachoei♥.•°♥)

สุขสันต์วันสงกรานต์จ๊ะ

มีความสุขมากๆ ค่ะ

คิดถึงนะ

สวัสดีค่ะคุณkrutoi

ขอบคุณค่ะ

ยินดีค่ะหากบันทึกนี้พอเป็นประโยชน์กับคุณครูได้บ้าง

^__^

สวัสดีค่ะคุณครูกิติยา เตชะวรรณวุฒิ

เห็นด้วยค่ะ

บางคนขาดโอกาสทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้

แต่บางคนมีโอกาสมากเกินไปแต่ใช้ไม่เป็น หรือใช้ผิดทาง ก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ได้เช่นกันค่ะ

เหมือนที่อาจารย์วิบุลท่านได้บอกไว้ที่บันทึกนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

มันน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆนะ

เหตุใดเล่า จึงเห็นความสำคัญแค่ ในที่เจริญอยู่แล้ว

ทั้งที่ รอบนอก ยังขาดสิ่งต่างๆอยู่มาก

เหตุใดเล่า การศึกษาจึงกระจุกตัวอยู่แต่ในเมือง

เหตุใดเล่า จึงเห็นความสำคัญเฉพาะแต่ในเมือง

การพัฒนาประเทศจะพัฒนาแค่นี้เองหรือ

การหลื่อมล้ำ แ้ปัญหาได้ไม่ยาก โดยการเข้าไปแก้ที่ระบบการจัดการของรัฐ

รัฐ คือผุ้ให้ความหมาย

ฉะนั้นการแก้ ก็ต้องแก้ที่ระบบการจัดการของรัฐ ในการกำหนดนโยบาย เพื่อคนในรัฐได้กระทำตาม

ฉะนั้น การทีคนทีอยุ่ ระหว่าง สอง ที่ สอง วาระ สองความรู้สึก สองความเข้าใจ ย่อมจะความรู้สึกในความไม่เท่ากัน เท่าเทียม กัน .....

สวัสดีค่ะคุณครูดอย

การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณคนตานี

การแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายค่ะ

ปัญหาจึงจะค่อยๆ ลดลงค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • เมื่อวานพี่คิมได้เข้ามานั้งอ่าน AAR ของน้องสี่
  • เพื่อความเข้าใจว่า..จะทำกับอะไรได้บ้าง
  • เข้ามาก็เห็นน้องสี่แว๊บ ๆ ๆ ๆ อยู่บนบล้อกทุกวัน
  • วันนี้เห็นเจ้าของอยู่จึงมาทักทายค่ะ
  • รักและคิดถึงนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครูคิม

สี่เข้ามาแว๊บๆ ค่ะ ครั้งละ 2-3 นาที ค่ะ

วันหยุดให้เวลากับลูกมากหน่อยค่ะ นานๆ จะได้นอนกลิ้งกอดเด็กๆ นะค่ะ

แต่วันนี้มาทำงานแล้วค่ะ เดี๋ยวว่างๆ แวะไปหานะค่ะ

รักและคิดถึงค่ะ

  • ผมว่าเรากำลังหลงติดอยู่กับอาการของปัญหา digital divide เป็นอาการของปัญหาของสังคมมนุษย์อย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในสังคมด้อยพัฒนา เช่นสังคมไทย  (คิดว่าคงไม่มีสังคมไหนหรอก ที่ไม่มีอาการเหล่านี้  อยู่ที่จะมีความรุนแรงมากน้อยกว่ากันเท่านั้น)
  • อาการทำนอง digital divide  ในสังคมของเรามีเยอะแยะหมด เช่น 
          -คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในบ้านเรา  โรงเรียนในเมือง โรงเรียนในชนบท  โรงเรียนของรัฐ  โรงเรียนของท้องถิ่นโรงเรียนในกรุงเทพฯ  โรงเรียนที่หนองหมาว้อ เป็นต้น ล้วนแตกต่างกัน
          -งบประมาณที่จัดสรรให้กับกรุงเทพฯ กับ จังหวัดต่าง ๆก็แตกต่างกัน
          -โครงการพัฒนาที่ลงในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัดก็แตกต่างกัน
          -เงินประกันราคาข้าวเอาไปให้โรงสีแทนที่จะเอาไปให้ชาวนา
          -ชาวบ้านถูกไล่ออกจากป่าสงวน ในขณะที่พวกเจ้าขุนมูลนาย เศรษฐี และนายทุน ปลูกบ้าน ปลูกรีสอร์ทในป่าสงวนได้ เป็นต้น
  • ความสนใจที่จะบำบัดอาการก็เพียงเป็นการบรรเทาอาการแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น  วันหนึ่งความเจ็บป่วยถึงขั้นโคม่า ก็ยากจะเยียวยาแก้ไข แม้รู้ว่าการเจ็บป่วยที่แท้จริงคืออะไร
  • สิ่งที่สีซี่ยกขึ้นมาทั้งหมด ก็เป็นอาการอย่างหนึ่งเท่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างที่ 1 2 3 และ 4
  • ท่านหมอประเวศท่านว่า ปัญหาสำคัญของสังคมมนุษย์ คือปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  ในสังคมด้อยพัฒนาโครงสร้างของสังคมในด้านต่าง ๆเหล่านี้นำมาสู่ความเหลื่อมล้ำในทุกเรื่องในวิถีชีวิตของคน และชุมชน
  • จงมองให้เห็นว่า ......divide ทั้งหลายที่อาจมีผู้หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีก  มันเป็นอาการของความป่วยไข้ของสังคม หากรักจะเยี่ยวยากันจริง ๆ  อย่าไปหลงที่อาการ  จงมองให้เห็นและไปเยียวยาที่การเจ็บป่วยที่แท้จริงด้วย
  • จงเชื่อเถิดว่า โดยธรรมชาติ ธรรมชาติได้สร้างให้โครงสร้างของชีวิตและสังคมมนุษย์มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่แล้ว ความพยายามทำให้ความเหลื่อมล้ำน้อยลงเป็นเพราะมนุษย์มีสติปัญญาและรู้จักเรียนรู้  ความเป็นสัตว์ประเสริฐของมนุษย์อยู่ตรงนี้
  • ความคิดที่จะคุยกันถึงเรื่อง digital divide  เป็นความประเสริฐของพวกเรา โดยเฉพาะผู้ดูแล G2K ขออนุโมทนา

                                                                         paaoobtong
16/4/52
10:07

สวัสดีค่ะอาจารย์ (paaoobtong)

ขอบคุณมากค่ะ

ความเหลื่อมล้ำทางความรู้กลายเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่งที่คนในสังคมต้องหันมาใส่ใจ และช่วยกันลดช่องว่างเหล่านี้ค่ะ

มือน้อยๆ หลายๆ มือ รวมกันอาจจะพอช่วยกันได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ความเลื่อมล้ำทุก ๆ ทาง เกิดจากความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เราเองครับ ไม่ว่าจะเป็นความเลื่อมล้ำทางการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง สุขภาวะ สังคมใดมีความเห็นแก่ตัวน้อยมีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือตนเองร่วมกัน มาก มองความมั่งคงที่อยู่นอกระบบเงินตรา เช่น ความเป็นพี่เป็นน้อง ความเมตตากรุณาต่อเพื่อนในชุมชน การรู้จักให้การแบ่งปันสิ่งของและน้ำใจ การเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ความสามัคคีของหมู่คณะ การรู้จักให้อภัยอย่างมีเหตุผล ถ้าชุมชนใดสังคมใด พยายามสะสมความมั่งคั่งที่ไม่ใช่ระบบเงินตรา สังคมนั้นก็จะมีความเหลื่อมล้ำน้อยลง ความขัดแย้งก็น้อยเช่นกัน แต่สังคม ชุมชน คน ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ถูกสอน ให้เป็นผู้เอาตัวรอด สอนให้ชนะ สอนให้แข่งขันกันอย่างเสรี จนในที่สุดก็ขาดคุณธรรม สั่งสมความมั่งคั่งในรูปของเงินตรา และวัตถุ ขาดน้ำใจ ขาดความเมตตา ธุระไม่ใช่ ทำงานที่มีผลตอบเป็นเงินตรา ไม่ได้เงินไม่ทำ หรือได้น้อยก็ไม่อยากทำ จนกลายเป็นสังคมตัวใครตัวมัน บูชาทฤษฎีของชาลดาวิน ผู้ชนะเท่านั้นที่จะอยู่รอด(ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล จนถึงขั้นทุจริต คดโกง และทำร้าย และทำลายล้างก็มี) และผสมผสานกับทฤษฎีของอาดัม สมิธ ทางเศรษฐกิจทุนนิยม+เสรีนิยม คนมีทุนเงินและทรัพย์สิน รวมถึงปัจจัยการผลิตเท่านั้นที่จะได้รับความนิยม และมีความเสรี ที่จะทำอะไรก็ได้ที่ตนคิดจะทำ บางคนร่ำรวยมาก ๆ สามารถทำสิ่งผิดให้เป็นถูก ทำสิ่งถูกให้เป็นผิดก็มีให้เห็นในสังคม จากเหตุผลส่วนหนึ่งที่กล่าวมา ทำให้คนยิ่งสะสม เงินทอง วัตถุ เพื่อความสนุก สะดวก สบาย คิดว่าเงินเท่านั้นที่จะทำให้มีความสุข แต่ส่วนใหญ่เป็นความสุขที่ตามมาด้วยปัญหามากมาย ครับ สิ่งที่ผมเจออยู่ในชีวิตประจำวันขณะนี้ก็คือ

อาหารแพง

ที่อยู่อาศัยแพง

พลังงานแพง

ค่าเรียนพิเศษแพง กลัวลูกสู้คนเมืองไม่ได้

ตำรา หนังสือ ดี ๆ แพง

ห้องสมุดสาธารณะมีหนังสือน้อย หนังสือเก่าๆ แย่งกันยืมอ่าน

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีตำรา หนังสือดี ๆ ค่าบำรุงแพง ประชาชนทั่วไปเข้าไม่ถึง

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ไม่ได้เรียนต่อมีเยอะ

เด็กและคนไทยที่ยังเข้าไม่ถึงสื่อ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต ยังมีอีกมาก

และเด็ก ๆ เข้าถึงสื่อเหล่านี้ได้ส่วนมากก็คือ ติดเกม และถูกมอมเมา

ค่าแรงต่ำสำหรับผู้ไม่มีการศึกษา ไม่มีวุฒิ ทำงานกันทั้งบ้าน เดือนหนึ่งได้รายได้น้อยกว่าผู้มีความรู้ทำคนเดียว คนงานรับจ้างแรงงานทำขนมทั้งวัน 8 ชั่วโมง ได้รายได้วันไม่เกิน 180 บาทอาจารย์มาบรรยายให้ความรู้เรื่องทำขนม ชั่วโมงละ 2000 บาท ผู้มีความรู้ นักวิชาการ อาจารย์ นักธุรกิจ มีรายได้หลายทาง รายได้ห่างกันมากครับ สังคมบ้านเรา

อ่านข้อความข้างล่างนี้แลัวทำให้ผมสบายใจขึ้นครับ

"สิ่งที่ติดตามร่างผู้ตายไปนั้นมีอยู่สามประการ

หนึ่งคือลูกเมีย

หนึ่งคือทรัพย์สิน

และอีกหนึ่งคือผลแห่งกรรมที่ทำไว้

สองในสามหันหลังกลับและเหลือไว้เพียงหนึ่งเดียว

ที่หวนกลับคือลูกเมียและทรัพย์สิน

ส่วนที่คงอยู่คู่คนตาย

เพียงหนึ่งเดียวย่อมเป็นผลแห่งกรรมของตน”

(บุคอรีและมุสลิม)

มนุษย์เรามักชอบสะสมและแก่งแย่ง ชิงดี เพื่อให้ได้ซึ่งทรัพย์สินเงินทอง

ลาภ ยศ ตำแหน่ง สรรเสริญ และสุขทางโลก (กิน กาม เกียรติ)

บางคนถึงกับทำลายล้างผู้อื่น คิดทำทุจริต คดโกง ทำในสิ่งที่ผิดทำนองครองธรรม

ขาดสติ และจิตสำนึกที่ดี ต่อสังคมส่วนรวม บางคนทำไม่ได้สมดังใจหวัง

ที่อยากจะได้ ก็ถึงกับทำร้ายตนเองก็มี นับวันแต่จะมีทุกข์

สังคมวุ่นวายมาขึ้นถ้าทุกคนคิดแต่จะได้ ไม่ยอมเสียสละบ้าง

การเสียสละคือการรู้จักให้ เป็นการให้อย่างมีสติ คือมีศรัทธาก็ทำบุญทำกุศลโดยไม่เกิดกำลังทรัพย์ปัญญาของตน

รู้จักคำว่าพอ รู้จักคำว่าให้ รู้จักคำว่าแบ่งปัน ค่อยทำ ค่อยฝึก

ชีวิตจะเป็นสุขเย็น มากกว่าความสุขจากการสะสม เพราะความสุขที่แท้จริงคือความสุขที่ไม่ตามมาด้วยความทุกข์และปัญหา

เงิน ทรัพย์สมบัติ ส่งเราได้แค่เพียงโรงพยาบาล ร้านหมอ

ลูกคู่สมรส ญาติ เพื่อน ส่งเราได้แค่เพียง เชิงตะกอน หรือหลุมฝังศพ

การกระทำกรรมดี หรือกรรมไม่ดีต่างหากที่เราทำ

จะติดตามไปส่งเราและอยู่กับเรา

“เศรษฐี ตามอุดมคติทางศาสนาพุทธ แปลว่า มีความประเสริฐที่สุด

ประเสริฐตรงเศรษฐีนั้นมีธรรมะ รู้ว่าการงานนี้เป็นธรรมะ ก็สนุกในการทำงาน

ก็เลยผลิตได้มาก ครั้นได้มาก แต่กิน - ใช้แต่พอดี มันก็เหลือมาก

เมื่อเหลือมากก็เอาไปช่วยผู้อื่น

สรุปว่า ผลิตมาก กินใช้แต่พอดี เหลือช่วยผู้อื่น

ฉะนั้น ชาวไร่ชาวนาก็เป็นเศรษฐีได้

ถ้าทำนาทำไร่เต็มความสามารถ

มันก็กินไม่หมด กินแต่พอดี ยิ่งไม่หมด เหลือก็ช่วยผู้อื่น”

(ท่านพุทธทาส)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท