ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมนั่งดูข่าวโทรทัศน์ที่รายงานข่าว "ระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ม.๑ โดยใช้วิธีการจับฉลาก" ของนักเรียนไทยทั่วประเทศ
การจับฉลากเหมือนการประกาศผลล็อตเตอรี่ มีการนำลูกปิงปองขึ้นบนเวที แล้วค่อย ๆ ตรวจสอบทีละลูกต่อหน้าผู้ปกครองและนักเรียนที่จับฉลาก หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ เรียกชื่อให้นักเรียนมาจับลูกปิงปองทีละคนว่าใครสอบได้ หรือ ใครสอบไม่ได้ (อันนี้เหมือนจับใบดำใบแดงของการเกณฑ์ทหาร)
เด็กที่สอบได้ (จับฉลากได้) ... ดีใจ กระโดดโลดเต้น เหมือนประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสูงสุด
แต่เด็กที่สอบไม่ได้ (จับฉลากไม่ได้) ... คอตก น้ำตาไหล ลงมาพ่อแม่ต้องคอยปลอบว่า ไม่เป็นไร ๆ
แถมมีในเบื้องหลังก่อนที่จะมาจับ ยังมีการวิ่งหากำลังใจจากศาลพระภูมิประจำโรงเรียน หรือสิ่งที่เสริมกำลังใจ ภาพข่าวเห็นน้ำสีแดง พวงมาลัยเต็มไปหมดทั่วบริเวณของศาลพระภูมิ
นี่มันอะไรกันครับ ...
จำได้ในสมัยก่อน ตอนที่ผมสอบเข้า ม.๑ ระบบของกระทรวงศึกษาฯ ที่ใช้ คือ การสอบวัดความรู้
แต่ต่อมาอีกสัก ๓ - ๔ ปี ... โรงเรียนยอดนิยมมีผู้เข้ามาสอบเกินกว่าจำนวนที่จะรับได้มากกว่า ๑๐ เท่าตัว กระทรวงศึกษาฯ พยายามหาวิธีการรณรงค์ให้สิทธิ์เด็กที่มีบ้านอยู่ในเขตโรงเรียนก่อน ส่วนเด็กที่อยู่นอกเขตก็ให้จับฉลากเอา
หลังจากนั้นผมก็ไม่ได้ตามข่าวเรื่องนี้มานาน
พอปีหลัง ๆ มานี้ อ้าว ! ... จับฉลากเพียว ๆ เลยหรือนี่ ไม่ต้องสอบเข้ากันแล้วเนอะ ความรู้คงไม่ต้องใช้ ขอให้ได้เข้าเรียนเสียก่อน
ใครมีข้อมูลใหม่ ๆ เรียนเชิญแวะมาเล่าให้ผมฟังหน่อยนะครับ
ขอคิดหน่อยครับ
โจทย์ คือ การจับฉลากเข้าเรียน ม.๑ สอนวิธีคิดอะไรให้กับคนในสังคมไทยบ้าง ?
คิดได้ว่า ...
๑. การเลือกศึกษาต่อของเด็กชั้น ป.๖ ต้องใช้ "ดวง", "โชคชะตา" หรือ "วาสนา" เท่านั้น
๒. "ความรู้" ไม่ใช่เรื่องที่เด็กประถมที่ ๑ - ๖ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้นัก เพราะไม่ได้ใช้วิธีการสอบประมวลความรู้เข้าสู่ประตูมัธยม
๓. เด็กที่สอบได้รู้สึกภาคภูมิใจที่ "มือ" ดีกว่า "หัว"
๔. เด็กที่สอบไม่ได้รู้สึกว่า ชีวิตนี้มันไร้ค่า ถ้าไม่ได้เรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียงแห่งนี้ (แพ้เพราะจับฉลากไม่ได้)
๕. โรงเรียนในประเทศไทยมีคุณภาพและคุณค่าที่ไม่เท่ากันในความรู้สึกของคนในสังคม ทำให้เด็ก ๆ และพ่อแม่ที่คิดว่า อยากให้ลูกมีชีวิตที่ดี แห่กันไปโรงเรียนที่อยู่ในความคิดนั้น
๖. อนาคตของเด็กที่สอบได้ และสอบไม่ได้ จะเล่นหวย เพราะเชื่อเรื่อง "ดวง", "โชคชะตา" หรือ "วาสนา"
๗. อนาคต หรือไม่ก็ปีนี้ สังคมไทยจะเห็นข่าวการฆ่าตัวตาย เพราะพลาดหวังของเด็กชั้น ป.๖ ที่จับฉลากไม่ได้
๘. กระทรวงศึกษาฯ ลืมรณรงค์เรื่องของการสอบไม่ได้ในชั้น ม.๑ ว่า ควรคิดและทำใจอย่างไรบ้าง
๙. กระทรวงศึกษาฯ ควรมีนักจิตวิทยาและการแนะแนวประจำอยู่ทุกโรงเรียนที่มีเด็กแห่มาจับฉลาก เพื่อดูใจคนพลาดหวัง
๑๐. หากระบบการเข้าเรียน ม.๑ ยังคิดได้แค่นี้ ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ควรต้องรับการทบทวน
ผมตั้งคำถามกับตัวเองไว้ว่า
ผมคิดไม่ออกจริง ๆ ครับ ...
เชิญชวนเพื่อน ๆ และกัลยาณมิตรระดมความคิดกันครับ จะในกรอบ หรือ นอกกรอบ ได้ทั้งนั้นครับ
ขอบคุณครับ :)
อ่านข่าวและดูภาพ ได้จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000035488
:)
สวัสดีครับอาจารย์ สังคมในอุดมคติ ต่อไปในอนาคตประเทศไทยจะจับฉลากคนเป็นนายก5555555555
สวัสดีคะอาจารย์
จับฉลากเข้ามอหนึ่ง ตามความคิดเห็นของผมเอง ผมไม่เห็นด้วยครับ
ฝ่ายที่เห็นด้วย เขาให้เหตุผลว่าให้เด็กทุกคนได้มี "โอกาส" ได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะ เด็กที่อยู่ใกล้โรงเรียน ต้องมีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนนั้นด้วยการจับฉลาก
เขามักอ้างถึง "โอกาส" ครับ ที่ให้จับฉลาก
แต่ โอกาส ในมุมมองของผม เป็นโอกาสในเรื่องของ "สติปัญญา" ครับ เด็กที่มีสติปัญญาดี ต้องมีโอกาสเข้าไปเรียนในโรงเรียนที่เหมาะกับสติปัญญาของเขา
ถ้าจับฉลาก เด็กสติญญาดี จับฉลากไม่ได้ ก็จะเป็นการทำลายโอกาสในการพัฒนาสติปัญญาของเขาครับ
ในทางตรงกันข้าม เด็กสติปัญญาไม่ดี จับฉลากเข้าไปเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้ เด็กพวกนี้ จะมีปัญหาตามมาหลายอย่างครับ ทั้งปัญหาเรื่องการเรียนส่วนตัว และ ปัญหาโรงเรียน
ขอแค่นี้ก่อนครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลแลกเปลี่ยนของคุณพยาบาล สีตะวัน ครับ :)...
ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด สัจธรรมที่เกิดขึ้น คนที่รักลูกที่สุดจะทุกข์ใจมาก
ด้วยความเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ท่านรอง small man :) ...
เด็กควรได้รับโอกาสเข้าไปยังโรงเรียนที่เหมาะสมกับสติปัญญาที่เขามี
ชอบคำนี้นะครับ ..
ส่วนคำว่า "โอกาส" สำหรับบุคคลที่คิดแบบนี้ ดูจะเป็นความมักง่ายและไม่ได้ใช้สติปัญญาในการคิดนะครับ หากแต่ใช้ความรู้สึกแทน
น่าสงสารเด็กที่เสียโอกาสที่ไม่เหมาะสมแบบนั้นครับ เราอาจจะเสียคุณหมอ วิศวกร ครูเก่ง ในอนาคตไปจากวิธีจับฉลากแบบนี้ก็ได้นะครับ
อาจารย์คะที่ยากกว่าตอนนี้คือการเรียนฟรี 15 ปี แค่ต้องคุยเรื่องจัดสรรเสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน หนังสือ ก็ปวดหัวแล้ว เพราะผู้ปกครองบางท่านต้องการแค่เม็ดเงินค่ะท่าน
โอกาส
ช่องทาง
สิทธิ
ชนชั้น
ศักดินา
ความไม่เป็นธรรม
และ มายาคติ
:)
ครูแอนมองเช่นนั้นคะอาจารย์ อยากให้คุณภาพการเรียนการสอนทุกโรงเรียนมีคุณภาพ พอที่จะเป็นทางเลือกของเด็กๆ จับสลากก็ดูจะไม่ยุติธรรมนัก อย่างที่หลายท่านบอกอาจทำให้เด็กเสียโอกาสดีดีในชีวิตก็ได้
อะไรๆดูง่ายไปหมดค่ะ
คิดง่าย---
พูดง่าย---
ทำง่าย---
แต่ปัญหาที่ตามมา แก้ยากมากๆ
การจัดการศึกษา จึงขมวดเป็นปมอยู่อย่างนี้ค่ะ
ปัญหาที่ตามมาของการจัดสรรสิ่งต่าง ๆ สำหรับการเรียนฟรี ๑๕ ปี ... ผมได้ข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์มากมายหลายปัญหา รวมถึง บุคลากรที่ทำงานในโรงเรียน ครับ คุณครู ทรายชล :)
"เม็ดเงิน" สำหรับผู้ปกครองที่ไม่มีระบบตรวจสอบที่ชัดเจนว่า ได้นำไปใช้ตามเจตจำนงของรัฐหรือไม่ ?
ขอบคุณครับ ... ปัญหาเริ่มหนักขึ้นครับ
ตัวแปรมากมายที่ทำให้เกิดวิธีคิดง่าย ๆ แบบนี้นะครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร :) ... หากเพียงคิดว่า ถ้าเด็กที่สอบไม่ได้เป็นลูกตัวเองจะทำอย่างไร รู้สึกอย่างไร ก็น่าจะทำให้เกิดการคิดที่รอบคอบกว่านี้ครับ
:)
ขอบคุณครับ คุณ ครูแอน :) ... อาจจะเป็นเหตุที่ต้องตั้งสำนักตรวจสอบมาตรฐานมั้งครับ ... แต่ดูจะทำให้ปัญหามันเกิดขึ้นหนักกว่าเดิม (หรือเปล่า)...
การศึกษาไทยถูกขมวดปมจากผู้ใหญ่ที่อยากใหญ่ คิดให้มีผลงาน ผลงานที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า โดยไม่ย้อนกลับมาตรวจสอบว่า ความคิดผิวเผินจะก่อผลด้านใดที่มากกว่าที่ตนเองคิด เช่นปัจจุบัน
ขอบคุณครับ คุณครูจุฑารัตน์ NU 11 :)
สวัสดีค่ะอ.วสวัตฯ
ไม่แน่ใจว่าจะเห็นอย่างไรดีในเรื่องนี้
คิดออกอยู่เรื่องเดียวคือ ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม
^ ^
มิเป็นไรครับอาจารย์ กมลวัลย์ ... หวังว่า อาจารย์มีความสุขดีนะครับ :)
ผมว่าวิธีคิดเรื่องให้นักเรียน เรียนในโรงเรียนดังๆ หรือที่ตัวเองหรือผู้ปกครองชอบได้หมดทุกคน ไม่จำกัดจำนวนยังใช้ได้อยู่ เลยอยากแสดงความเห็นดูบ้าง
ข้อมูลพื้นฐานว่าที่ไหนสอนแบบไหนบ้างผมมีดังต่อไปนี้
1.ติวเตอร์เชนแนล
2.โรงเรียนไกลกังวล หัวหิน จาก DLTV
3.โรงเรียนมัธยมประจำตำบล(แถวบ้านผมเอง)
4.โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ
5.โรงเรียนประจำจังหวัด(จังหวัดที่ผมอยู่และจังหวัดไกล้เคียง)
6.สอบถามจากหลานที่ไปเรียนกวดวิชา
ทั้ง 6 แห่ง ใช้วิธีครูสอนหน้าชั้นทั้งนั้น แห่งที่ 6 พิเศษหน่อย 5-6 ห้องเรียน เรียนจากครูคนเดียวโดยผ่านเคเบิ้ลทีวี
ดังนั้นคำตอบเพื่อพ่อแม่ที่ลูกเข้าเรียนไม่ได้ (ภาระต่อไปของพ่อแม่คือหาที่เรียนให้ใหม่ เสียเท่าไรก็ยอม) มีดังนี้
ผมประมวลผลจากข้อมูลที่ไหนสอนแบบไหนแล้ว นึกเล่นๆ ว่า
เตรียมอุดม ก็เปิดให้เรียน ม.1 (ม.4 ด้วยก็ได้) 500 ห้อง เลย
หอวัง สตรีวิทย์ สวนกุหลาบ สุรศักดิ์มนตรี (ช่วยเติมด้วยครับชื่อโรงเรียนที่ว่าดังๆ ผมนึกชื่อไม่ออก) ทุกห้องเรียนรับสัญญาณจากกล้องถ่ายแล้วใช้โปรเจคเตอร์ฉายให้เท่าตัวครูจริงๆ เลย และมีครู(อาจเรียกครูเชี่ยวชาญ) ให้คำปรึกษาแนะนำทุกห้องเรียน ไม่ปล่อยให้นักเรียนเรียนโดยลำพัง(ยกเว้นเชื่อมั่นว่าผู้เรียนมุ่งมั่นเรียนจริงๆ)
ครั้งหนึ่ผมอยากบอกหลานไปว่าอยากเรียนโรงเรียนนี้จริงๆ ขอเอากล้องไปถ่ายการเรียนกันสดๆ เลยเอาไหม แล้วเรารวมกันกับคนที่พลาดโอกาสเรียนเป็นกลุ่มซัก3-40 คน หาเช่าห้องไกล้โรงเรียนนี่แหละ ได้เรียนเหมือนกัน
คำถามว่าสอบและเอาวุฒิการศึกษาที่ไหน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542และแก้ไข 2545 ไม่เคยห้ามโรงเรียนจัดการศึกษานอกโรงเรียนเลยครับ ก็ออกระเบียบเอาเอง ยกเอาวิธีการแบบ กศน.ไปศึกษาแล้วปรับใช้ก็ได้ วิธีนี้ก็เข้าหลักเกณฑ์ด้วยว่าโรงเรียเปิดห้องเรียนในระบบได้ตามจำนวนที่กำหนด
สุดท้าย หากจะมีใครอ้างว่าทำไม่ได้ ไม่จริงเลย แล้วอย่าปิดกั้นการเรียนการสอนนะ ผมนั่งอยู่ต่างจังหวัดจะได้เรียนด้วย แค่เอากล้องจากโน้ตบุ๊คหันไปทางครูที่กำลังสอน ผมก็เรียนด้วยได้แล้ว ไม่เห็นต้องมาอยู่ กทม.เลย และบ้านไหนพ่อแม่อยากจัดโฮมสกูล ดูการเรียนการสอนจากโรงเรียนดังๆ ได้ไม่รู้กี่โรงเรียนเลือกตามใจชอบ
ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณท่าน ไม่แสดงตน ก่อนครับ ที่ได้ให้ความเห็นล่าสุดมา ;)
ไม่น่าเชื่อนะครับ บันทึกนี้ผมเขียนไว้เมื่อปีที่แล้ว แต่ยังทันสมัยอยู่คาตาในปีนี้
เขียนไว้อย่างไร ปีนี้ก็ยังคงเป็นอย่างนั้น
แต่มีโรงเรียนหนึ่งที่ผมเห็น จ๊าบสุด คือ โรงเรียนสารวิทยา ขอเอ่ยนาม
ตอนแรกก็จับฉลาก พอดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ
ท่าน ผอ.อดรนทนไม่ได้ ขึ้นมาประกาศว่า จะขอรับเด็กทุกคนที่อยู่ในพื้นที่
โห ... ครั้งแรกที่ผมเห็นความกล้าหาญของท่านผู้บริหารโรงเรียนเช่นนี้
ขอปรบมือดัง ๆ จากผมเลย
ขั้นต่อไป คงต้องเป็นการบริหารจัดการของท่านแล้วล่ะว่าเด็กจะได้รับความทั่วถึงได้อย่างไรได้บ้าง
ขอบคุณมากครับ ;)
เสียดายเด็ก ๆ ที่มีความรู้ ความสามารถความพร้อม ต้องแพ้เพราะ ฉลาก
แต่ สำหรับผมถ้าจะมองถึงความเท่าเทียมกัน ก็คงได้นะ ........ เท่าเทียมกันแต่ไม่แฟร์ เอ๊ะยังไง อิอิ
น้องชายผม ก็เรียนที่ โรงเรียนสารวิทยา เช่นกันครับครู ...
ครูเขียนเรื่องได้น่าสนใจมาก ๆ ครับ ติดตามเรื่อย ๆ ครับผม
"ความเท่าเทียม" คงเป็นตัวตั้งของสถานศึกษาที่คิดได้น่ะครับ คุณ นายนะ ;)
โดยเฉพาะโรงเรียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีการแย่งที่นั่งโรงเรียนที่มีชื่อเสียงกันมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ
อาจจะเป็นสิ่งที่เขาคิดว่า "ดีที่สุด" ก็ได้มั้งครับ
ขอบคุณที่มาเยี่ยมและพรวนบันทึกครับ ;)
สวัสดีครับ พี่ nui ;)
บันทึกนี้ยังคงทันสมัยและเป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอยู่เสมอนะครับ
สำหรับหัวอกคนเป็นแม่ ย่อมคิดแบบนี้ทุกคนครับ
การศึกษาไทยพังทลายไปหมดแล้วครับ
เรียนเพื่อแข่งขัน มากกว่า เรียนเพื่อมีความสุข หรือ รู้จักความสุขในชีวิตมนุษย์
หลัง ๆ โรงเรียนทางเลือกต่าง ๆ ที่เน้นเรื่องของ "ความสุข" จึงเริ่มมีคนเข้ามาสนใจมากขึ้น
ติดอย่างเดียว คือ ค่าเรียนที่แพงกว่าโรงเรียนของรัฐมาก
ขอบคุณมากครับ ;)