จับประเด็นบ้านผู้หว่าน : ชุมพร


              เวทีเสวนาการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อการปฏิบัติของ คุณอำนวย   17 18 เมษายน 2549 ณ ศูนย์ฝึกอบรมบ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความคุ้นเคย  เก็บความรู้  จัดตั้ง CoP คุณอำนวย  และสร้างความยั่งยืน ของ  “ขบวนการ KM” 

              จังหวัดชุมพร เข้าสู่ยุคการจัดการความรู้ ตั้งแต่ปี 2548 โดยยังมิได้ลึกซึ้งถึงการนำการจัดการความรู้ไปพัฒนาองค์กร แต่ขณะเดียวกันหน่วยงาน/ส่วนราชการภายในจังหวัด ซึ่งเป็นองค์กรที่มีการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม ได้นำกระบวนการจัดการความรู้ โดยมิรู้ตัว
การเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ คุณอำนวยชุมพร (จุรีรัตน์ จันทร์ภักดี สำนักงานจังหวัดชุมพร) รู้สึกเหมือนว่า ได้นำเครื่องยนต์ที่รอการซ่อมแซม เนื่องจากขาดเครื่องมือ พ่วงเข้าร่วมด้วย และในเวทีนี้ ได้เกินคาดหวัง เพราะว่า เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา อาทิเช่น ช่างเชื่อมความรู้ ช่างออกแบบกระบวนการ ช่างขุดคุ้ยความรู้ นักพัฒนา นักจัดเวที (จนรู้สึกว่าตัวเองช่างต่ำต้อยเหลือเกิน ทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ)  เมื่อช่างต่าง ๆ นำเสนอเครื่องมือที่ประจำตัวออกมา คุณอำนวย ก็หยิบจับมาเก็บในกระเป๋าโดยพลัน  อันได้แก่

    ตัวที่ 1   คน/หน่วยงาน ที่เข้าร่วมการบวนการจัดการความรู้ ต้องสามารถขยายผลได้  : คุณอำนวยต้องเป็น แมวมอง

    ตัวที่ 2   คน/หน่วยงานที่ไม่ต้องการเข้าร่วมจัดการความรู้ ทั้งที่น่าจะทำได้ดี ให้จูงใจโดยการชื่นชมในสิ่งดีที่เขามีอยู่ แล้วนำเสนอเป้าหมายของเรา : คุณอำนวยต้องเป็นเซลล์แมน

    ตัวที่ 3   เปลี่ยนแปลงจากการถ่ายทอดเป็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ตัวที่ 4   กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) 
               -  เชิญคนเก่ง ผู้รู้ มาเล่าเรื่องแลกเปลี่ยนในสิ่งที่ทำสำเร็จ
               -  กระตุ้น(ยั่ว) ให้เกิดการแลกเปลี่ยน
               -  กำหนดให้มีคนบันทึก สังเกตการณ์
               -  มอบให้มีคนซักถาม ตั้งคำถามให้ตอบ เพื่อขุดคุ้ยความรู้
               - สรุปประเด็น และนำเสนอสิ่งที่จะทำต่อไป

    ตัวที่ 5   การ ลปรร. เป็นไปอย่างเสมอภาค ไม่มีบทบาทวิทยากร ไม่มีกฎกติกา สามารถยืดหยุ่นได้ และไร้รูปแบบ 

    ตัวที่ 6   หากยังเป็นรูปแบบการประชุม ขอความร่วมมือจากคุณเอื้อ(CKO) ให้แสดงท่าทีในการให้โอกาสนำเสนอแบบไม่เป็นทางการ 

    ตัวที่ 7   สร้างบรรยากาศในการ ลปรร. ให้เหมือนกับการพูดคุย พบปะ เช่น จัดบรรยากาศแบบห้องอาหาร นั่งกับพื้น 

    ตัวที่ 8   การเล่าเรื่อง ใช้เวลาเพียง 2-3 นาที
               -  เล่านิดเดียวที่เป็นความสำเร็จ (ความภูมิใจ)
               -  ความสำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างไร                                                                             - ไม่ต้องตีความ

    ตัวที่ 9    สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคน/งาน/องค์กร โดยมีรางวัลตอบแทน 

    ตัวที่ 10  การสร้างแรงจูงใจในการบันทึกความรู้ ในคลังความรู้ (Blog ของ Gotoknow) ในช่วงแรก คุณอำนวย เป็นผู้บันทึกให้ แล้วนำบันทึกที่มีการตีพิมพ์และมีการแสดงความคิดเห็น แจ้งให้กลุ่มทราบ

    ตัวที่ 11  สำหรับคุณกิจที่ยังไม่ ลปรร. และไม่มี Blog ให้คุณอำนวยเข้าไปตั้งประเด็น เพื่อให้คุณกิจแสดงความคิดเห็น เป็นการฝึกการเขียน หลังจากนั้นค่อยเปิด Blog

    ตัวที่ 12   คุณอำนวย ควรดำเนินการด้วยตัวเองเพื่อฝึกความลื่นไหล ในการกระตุ้น ผลักดัน ในเกิดการ ลปรร.

    ตัวที่ 13   สุดท้าย คุณกิจ (ผู้ปฏิบัติ) ต้องเห็นคุณค่าในตัวเอง และท้ายสุด กำลังใจในความสำเร็จมาจาก คุณเอื้อ

บันทึกโดย ออย

หมายเลขบันทึก: 25192เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2006 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
     เข้ามาอ่านครับ ขอทิ้งรอยไว้ก่อน ว่าง ๆ แล้วจะมาขอ ลปรร.ด้วยครับ
คิดว่า คุณออย ช่างเก็บความและสอดใส่ความคิดตนเองในบันทึกได้ดีมาก ซึ่งทำให้เห็นแนวปฏิบัติไปได้ด้วย ถ้าคุณออยสามารถเผยแพร่บันทึกสิ่งที่คุณออยได้รับจากเวที บ้านผู้หว่าน ไปสู่ส่วนงานย่อยอื่นๆ น่าจะทำให้ "คุณกิจ" และ "คุณอำนวย" ผู้ซึ่งแอบแฝงอยู่ในทุกๆหน่วยงาน เกิดแรงบันดาลใจอะไรทีละเล็กละน้อยได้นะคะ
  • เห็นนั่งเงียบๆอยู่ข้างๆ....โห!..เก็บประเด็นได้เยอะจังเลยนะคะ...
  • พี่เม่ยขอยืมไปประยุกต์ใช้กับตนเองด้วยนะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท