สังคมปรนัย


หนังสือชวนอ่าน

ตอนเด็กเราเคยฟังนิทานกันไหมครับ ??  คำถามนี้เชื่อแน่ว่าคำตอบคงเหมือนกันทุกคน นิทานเป็นเสมือนพลังของเรื่องเล่าที่เร้าจินตนาการให้ตลึงพรึงเพริด ให้เราโลดแล่นอยู่ในโลกของความฝัน  สานต่อจินตนาการที่สนุกสนานต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด

แรกเริ่มเรียนรู้ ..เราเริ่มต้นกับ โลกแห่งจินตนาการเสียเป็นส่วนใหญ่ ความรับผิดชอบกับเรื่องราวรอบตัว ในช่วงนั้นเราอาจยังไม่ทันคิด แต่เมื่อเราเติบใหญ่ ก้าวเข้าสู่สังคมที่เป็นโลกแห่งความจริงมากขึ้นพร้อมกับจินตนาการที่หล่นหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้  ผมกำลังมองว่าโลกในวัยเด็กของเรา จินตนาการจำลองจักรวาลอันกว้างใหญ่ไว้รอบตัว เราสร้างเรื่องราวเชื่อมโยง แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จินตนาการที่เคยมีกลับแห้งแล้ง ความท้าทายที่เคยมีในวัยเด็กกลับไม่เหลือ หรือหากมีก็แทบจะไร้พลัง..

“จินตนาการเราถูกทำลาย  ...”

ใช่ครับ คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้เปรียบเปรยถึงวิถีชีวิตปัจจุบัน กับ ชีวิตไร้จินตนาการ ในหนังสือ “สังคมปรนัย”  ที่มักเป็นปรากฏการณ์สามัญของคนสมัยใหม่ที่เป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมความรู้  สังคมปรนัยมีลักษณะสำคัญคือ การนำเสนอตัวเลือกสำเร็จรูปแบบง่ายๆที่ทำให้เราไม่ต้องใช้ความคิดหรือสติปัญญามากมายนักในการมีชีวิตอยู่แต่ละวัน

การคิดง่ายๆ ถามว่าผิดไหม...ไม่ผิดครับ  เพราะใครๆเขาก็คิดแบบนี้ เอาแบบง่ายๆ บริโภคได้ทันที ไม่ต้องคิดให้ยุ่งยาก  ความจริงแล้วปัญหาไม่ได้อยู่ที่ ความง่ายของความคิด หรอกนะครับ ปัญหาอยู่ที่เรามี “กระบวนการคิดบนฐานความตื้นเขินของจินตนาการ” เราผูกกับตัวเลือกเพียงไม่กี่อย่างที่คุ้นชินซึ่งอาจไม่เข้าท่า แต่ลืมตัวเลือกอีกหลากหลายที่เพิ่มคุณค่าให้กับชีวิต เพียงเพราะเรามักง่ายมากเกินไปกับจินตนาการ

ผมนั่งอ่านเรื่องเล่ารวมเล่มของคุณหมอนักมานุษยวิทยา ที่เรารู้จักกันดี คือ หมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ที่ผมคว้ามาทันทีในร้านหนังสือเจ้าประจำ จะว่าไปรสนิยมการอ่านหนังสือผม ส่วนใหญ่จะดูที่นักเขียนก่อน หากเป็นนักเขียนที่ชื่นชอบอยู่แล้ว ก็เป็นสิ่งการันตีได้ว่า หนังสือเล่มที่เลือก ไม่ผิดหวังแน่นอน

 Dscf5001  Dscf5004
   

ชื่อหนังสือน่าสนใจมากครับ “สังคมปรนัย”  ตั้งคำถามในใจหลังจากคว้าหนังสือมาไว้เป็นสมบัติส่วนตัวแล้ว สังคมปรนัยคืออะไร?  จริงๆผมชอบภาพหน้าปกด้วยครับ ภาพหน้าปกสื่อถึงความหมายของสังคมปรนัยที่ชัดเจน ภาพเด็กนักเรียนเดินเรียงแถว มีคุณครูกำกับด้วยหน้าตาเคร่งขรึม ทำท่าออกคำสั่ง ภาพนี้ทำให้ผมคิดถึงนิยามสังคมปรนัยได้ไม่ยากนัก แน่นอนครับ เราล้วนแต่ผ่านการกล่อมเกลาจากสังคมปรนัยมาแล้วทั้งนั้นจากระบบการศึกษาที่มีโรงเรียนเป็นเน้นอุตสาหกรรมผลิตขนาดใหญ่ ผลิตสินค้าลักษณะเดียวกันออกมาคราละมากๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ หลายคนที่ตกหลุมพรางของสังคมแบบนี้  เกิดอาการ "พร่องจินตนาการอย่างรุนแรง" ต้องใช้โพนอิน หรือวีดีโอลิงค์ปลุกเร้าจินตนาการ

ผมชื่นชอบสไตล์การเขียนของคุณหมอโกมาตร เพราะเรื่องราวที่เชื่อมโยงโลกของความเป็นจริงในสังคม กับ ความรู้ทางมานุษยวิทยา อ่านเพลินๆ  แฝงสาระไว้ง่ายงาม หากมองในมุมบุคลากรสาธารณสุขแล้ว หนังสือที่หมอโกมาตรเขียน ก็เป็นต้นแบบของวิธีมองสังคมให้เข้าใจทุกข์ เรียนรู้สุขภาวะ ผ่านความเป็นจริงของชีวิต ในมุมที่เราอาจไม่เคยมอง และมีการสรุปหักมุมได้น่ารัก แอบเจ็บๆคันๆเล็กน้อยในบางมุมคิด

เรื่องเล่าที่รวมอยู่ในหนังสือ “สังคมปรนัย”  ส่วนใหญ่เป็นงานเขียนที่ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร Way และบางส่วนจาก หนังสือมติชนรายวัน  รวม ๓๐ เรื่อง ว่าด้วยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคม แต่ทุกเรื่องล้วนถูกเชื่อมโยงจากผลผลิตจากสังคมปรนัย เราจึงมองเห็นความบูดเบี้ยวของสถานการณ์ เรามองเห็นความธรรมดา ที่ไม่ธรรมดาของมุมมองต่อสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญอ่านแล้วแอบยิ้มที่มุมปากในบางบท บางตอน

ผมชอบในบทสรุปของหนังสือเล่มนี้ที่หมอโกมาตร สรุปความสังคมปรนัย โดยเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ ผมได้ยกมาในบางส่วนว่า “การเรียนรู้แบบปรนัยนั้นมีคำตอบที่ถูกต้องอยู่ล่วงหน้าแล้ว จึงเน้นการจดจำสาระของข้อมูล หรือ Information และสอนให้คิดตาม ...สอนให้คนเชื่อง สร้างคนออกมารับใช้ระบบมากกว่าจะไปเปลี่ยนแปลงระบบ การเรียนรู้แบบนี้จะไม่สามารถนำสู่การค้นพบตัวเองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง หรือ transformation ได้ ดังนั้น การเกิดขึ้นของทัศนะต่อชีวิตและจิตสำนึกใหม่ที่เข้าใจความจริงของโลกภายนอกและโลกแห่งภายในอย่างลุ่มลึกนี้เป็นผลจากการมีประสบการณ์ตรงของผู้เขียนที่ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในความจริงของชีวิต(ไม่ใช่ยืนเกาะรั้วมองดูชีวิตอยู่ห่างๆ) ทั้งยังต้องมีการใคร่ครวญตรึกตรองอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งต่างๆในชีวิต จนเกิดการประจักษ์แจ้งในใจตนเองถึงคุณค่าและความหมายของชีวิต(ไม่ใช่จำมาจากสิ่งที่คนอื่นคิดไว้) นี่เป็นสาเหตุว่าทำไม กระบวนการเรียนรู้เพื่อสู่จิตสำนึกใหม่ จึงไม่สามารถทำให้เป็นแบบปรนัยได้”

ลองหามาอ่านดูนะครับ อย่างน้อยกระบวนการเรียนรู้จากเรื่องเล่า(Narrative)ง่ายๆ ก็ทำให้เราสามารถเชื่อมโยงมิติความซับซ้อนของกระบวนการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์เล็กๆรอบตัวเราได้ นอกจากเราจะเข้าใจปรากฏการณ์เหล่านั้นอย่างลุ่มลึกแล้ว ผมเชื่อแน่ว่าเราจะตั้งรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างรู้เท่าทันด้วย

 

“สังคมปรนัย” ,นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์,พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒,ราคาเล่มละ ๑๗๐ บาท

 

 


<p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 10pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 10pt;">จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 10pt;">๒๙ มีค.๕๒</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 10pt;">นนทบุรี</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 10pt;"> </p> <h5 class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 10pt;">


</h5> </span>

ตีพิมพ์ใน คอลัมภ์ "หนังสือชวนอ่าน" วารสารหมออนามัย ฉบับเดือนมีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒

อ้างอิงภาพจาก : http://antizeptic.wordpress.com/2009/03/03/book-cover-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2/

หมายเลขบันทึก: 251820เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

อ่านแล้วทำให้ต้องหันมามองตัวเองและสังคมมากขึ้นค่ะ

สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

การรู้เท่าทัน จึงทำให้มีจินตนาและความคิด

และที่สำคัญห่างไกลความประมาทมากเท่าไรยิ่งดีค่ะ

ขอบคุณมากคะที่แนะนำหนังสือดีดีให้อ่าน จะไปหาซื้อคะ

สวัสดีค่ะ คุณเอก

ชีวิตแป๋มตัดสินใจก้าวกระโดด
จากความเป็นปรนัยของสังคม
เพื่อทำในสิ่งที่ตนอยากจะเป็น
หลังจากต้องปฏิบัติกับสภาพปรนัย
ให้ที่บ้านและโรงเรียนได้ชื่นใจแล้ว
จึงขอเลือกทางเดินชีวิตฉีกแนวที่
ทางสังคมตีกรอบเอาไว้ในที่สุด

วันนี้แป๋มได้พิสูจน์ให้ครอบครัว
คุณครูเพื่อนๆที่มีอาชีพรักษาคน
และสังคมรอบข้างได้เห็นว่า....
การตัดสินใจเป็น"ผู้สร้างคน"ของแป๋ม
สามารถทำได้ดีพอๆกับ"ผู้ซ่อมคน"
ที่แป๋มได้สละสิทธิ์มาในครั้งนั้นค่ะ


พี่นก  NU 11

สวัสดีตอนเช้าวันทำงานครับ ..กับสังคมปรนัยครับ :)

"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้"

ดังนั้นเเล้ว คุณครูผู้สร้างเยาวชน เราอาจต้องมานั่งคิดกันว่า เราจะจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใดที่จะส่งเสริมจินตนาการให้เด็กมากที่สุด เพื่อการสร้างจิตใต้สำนึกของเด็ก

ให้กำลังใจในการทำงานครับผม

 

 

 

สวัสดีค่ะ พี่เอก ...อาจารย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ มาพูดในเวที Forum ในหัวข้อนี้ด้วยค่ะ น่าสนใจมากๆ เลยๆค่ะ แต่หนังสือยังอ่านไม่จบเลยค่ะ อิอิ

ครูน้อยครับ

หนังสือเล่มนี้เพิ่งวางแผงมาไม่นานนี้ครับ...เป็นเรื่องเล่าสบายๆอ่านสนุกและได้เเง่มุมทางมานุษยวิทยา

ให้กำลังใจในการทำงานนะครับผม

ครูแป๋ม
ยินดี และมีความสุขกับทางที่ครูแป๋มเลือกเดินนะครับ

มีไม่มากครับที่ผู้คนจะเลือกเส้นทางของตนเองได้อย่างอิสระ

นอกจากที่จะเปลื้องพันธนาการอันรัดตรึง แล้วยังต้องต่อสู่กับจิตใจตนเองอย่างหนัก

หากมีโอกาส...ถือว่าครูโชคดี และ อวยพรให้ครูมีความสุขกับสังคมปรนัยเช่นทุกวันนี้นะครับ

;)

น้อง♥.paula ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

ผมเขียนบทความนี้ลงในนิตยสารครับ ...ผมเห็นว่าบุคลากรสาธารณสุขน่าจะได้อ่านเรื่องเล่าง่ายๆของคุรหมอ อ่านง่ายและได้เเง่มุมคิดที่น่าสนใจ

ผมนั่งอ่านรวดเดียวจาก ดอนเมือง ถึง อุบล วางไม่ลงเลยครับ

ขอบคุณและมีความสุขในการทำงานเช้าวันนี้ครับ

(ร้อนหน่อย แต่ขอให้ใจเย็น เย็น)

น่าสนใจครับพี่เอก

ขอยืมอ่าน

อิอิ

  • โดนใจค่ะ
  • "การค้นพบตัวเองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง หรือ transformation "
  • ความบังเอิญไม่มีในโลก .... ศิลาชอบคำนี้มากค่ะ transformation
  • มอบภาพที่รังสรรค์สำหรับกัลยาณมิตรที่งดงามค่ะ

เห็นด้วยกับพี่เอกค่ะ "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" กำลังคิดจะเม้นต์คำคมนี้พอดีเลย พี่เอกเขียนไปซะก่อนแล้ว ^_^ อาจเป็นเพราะว่าจินตนาการสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาได้อยู่ตลอดเวลาก็เป็นไ้ด้ค่ะ

ขอมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ.....

เล่มนี้แอบเห็นแล้ว ... แอบเปิดแล้ว ... แต่ยังไม่มีกะตังค์ซื้อ ครับ อิ อิ

ขอบคุณครับ ... ต้องมีหลายท่านอยากอ่านแน่ ๆ เลยครับ :)

  • สวัสดีครับพี่เอก
  • ผมมีโอกาสได้คว้ามาเป็นเจ้าของ ตอนงานเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ (ในงานมหกรรมสุขภาพชุมชน 2552) เมื่อ 20 ก.พ. ที่ผ่านมาครับ
  • ขอบคุณครับ

"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" ประมาณนั้นมั้งครับ

แวะมาเยี่ยมชม เนื้อหาน่าสนใจมากค่ะ อยากมีโอกาสได้อ่านหนังสือจังเลยค่ะรู้สึกตรงใจมากๆเลย

สวัสดีค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้คุณเอก  คนทำงานเพื่อสังคมค่ะ

“สังคมปรนัย” จะหามาอ่านเพิ่มเติมค่ะ

ขอบคุณมาก น่าสนใจค่ะ

ผมคิดว่าคนเราได้ฝึกสมองฝึกคิดนับเป็นสิ่งที่ดี

แต่จะให้สิ่งที่คิดเป็นจริงไปทุกเรื่องคงเป็นไปไม่ได้

หลังจากอ่านหนังสือเล่มดังกล่าวก็ทำให้เรียนรู้ว่า

เนื้อหาเป็นเรื่องที่เพ้อฝัน อ่านเพื่อความบันเทิงสมองมากกว่าความเป็นจริง

เพราะมันเป็นจริงไม่ได้ในสังคมไทย

ทำไมคนเราจึงมักคิดเรื่องแบบนี้เสมอๆ

 

การอ่านได้อรรถรสก็ไม่แตกต่างกับการติดหนังสือนวนิยายเรื่องหนึ่งอิงทางวิทยาศาสตร์

หวังใจว่าการสนทนาเช่นนี้ถือเป็นบทสนทนาสุนทรียสนทนาบทหนึ่งที่ไม่มีใครผิดใครถูก

ผมเองไม่ชอบคนเพ้อฝันครับ

 

                                                                             นายก้านกล้วย

 

ในสังคมย่อมมีคนที่คิดแตกต่าง
เมื่อมีคนที่คิดต่างจากเรา เราก็นิ่งแล้วฟังเรื่องราวที่เขานำเสนอ
ยิ่งมากคนความคิดก็ยิ่งหลากหลาย

มีสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวอันตรายต่อการระดมความคิด สิ่งนั้นคือการเกรงใจ
เกรงใจเมื่อพูดไปจะเสียมิตร เพราะความคิดจะไปขัดแย้ง จึงทำให้ไม่กล้าทำอะไร
นอกจากคำที่บอกว่า "เห็นด้วย" "ถูกแล้ว" "จับใจมาก"

เราจึงมักเห็นคนเหล่านี้มาเรียงแถวยอเยินสรรเสริญ และไม่มีความคิดใหม่อะไรเลย

นายก้านกล้วยเป็นตัวอย่างหนึ่งของความกล้าหาญที่ไม่เกรงใจใคร
ขอยกย่องคะที่พูดออกจากใจมากกว่าการพูดเออออตามกัน

ถ้าอายที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง เชิญที่นี่คะ               

[email protected]

 

ครูโย่ง

ผมอ่านจบแล้ว อ่านต่อผมได้นะครับ แบ่งกันๆ

Sila Phu-Chaya  ขอบคุณ อ.ศิลา ครับ โดยเนื้อหาเรื่องเล่า อ่านแล้วสบายๆครับ มุมคิดระหว่างเก่า และใหม่ บางทีก็ไม่อาจบอกได้ชัดเจนนะครับ เพียงแต่ว่า เราใช้ critical thinking ขนาดไหน

น้อง วชิราภรณ์  ทุกอย่างอยู่ที่จินตนาการครับ แล้วเราใช้ความรู้เป็นเครื่องนำทางไปสู่จินตนาการ ...ผมเคยดูหนังเรื่องหนังนานมาเเล้ว มีประโยคหนึ่งบอกว่า ความหวัง ความฝันทำให้โลกหมุน

น้องก้อย ♥あ★ 【KiTTyぃJUmP】あ ぁ♥•~ ★ ลองหามาอ่านดูนะครับ

อ.Wasawat Deemarn  หนังสือสังคมปรนัย อ่านง่ายๆ และ มีมุมคิดกลับที่เราต้องย้อนมาทบทวน น่าสนใจครับ :)

น้อง อำนวย สุดสวาสดิ์

ไม่มีโอกาสได้เจอน้องเลยครับ...แต่ก็ได้ยินข่าวเรื่องราวดีๆจากน้องเสมอ โอ้ ...ได้ลายเซ็นต์จากอาจารย์หมอด้วย น่าอิจฉา

 

อ๋อง ธีรนร นพรส  จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ...คลาสสิกดีนะครับ  :)

พี่ว่าอ๋อง ก็ได้ใช้จินตนาการอย่างมากเลยกับกลอน โคลง ที่เขียน ขอให้มีความสุขมากๆครับ

พี่นิตยา จรัสแสง พี่นิตยาครับ ลองหาอ่านดูนะครับ มีหลากหลายรสชาติเป็นตอนๆ  เห็นเเง่มุมทางมนุษยวิทยาผ่านเรื่องเล่าที่ธรรมดา .. :)

น้องครู ยอดฉัตร  ครับ ขอให้กำลังน้องๆและคณะครูโรงเรียนวิทยสัมพันธ์ด้วยครับ :)

พี่ คุณน้อยหน่า  ด้วยพลังการใช้ศัพท์ ก็ทำให้ชื่อเรื่องน่าสนใจ theme การเขียนก็มุ่งชำแหละสังคมปรนัยที่เราสัมผัสอยู่ :)

 

สวัสดีครับ คุณก้านกล้วย

ยินดีมากครับสำหรับความคิดเห็น

ในส่วนตัวผมเชื่อมั่นเรื่องจินตนาการ ซึ่งก็คือ ความฝัน และมนุษย์เราก็ทำสำเร็จจากการที่เริ่มคิด เพ้อฝัน เช่นกัน

เช่น

  • อยากบินเหมือนนก...
  • อยากได้ยินเสียงกันในขณะที่อยู่คนละโลก
  • หรือแม้กระทั่ง Internet ที่เราต้องพึ่งพาในปัจจุบัน

เมื่อความฝันเป็นจุดเริ่มต้น การปฏิบัติเพื่อก้าวไปสู่ฝันก็อาศัยพลังใจจากตรงนี้ ผมเชื่อว่าหากเราไม่แห้งแล้งความฝัน เราก็มีชีวิตที่สนุกสนาน ท้าทายตลอดเวลา

ผมเคยฝันว่า อยากติดคอปเตอร์เล็กๆบนศรีษะ แล้วก็บิน เหมือนโนบีตะ ในการ์ตูน แต่ยังไม่สำเร็จสักที แต่ก็ยังมีหวังว่าสักวันหนึ่งเราจะมีเครื่องมือที่ว่านี้...

ผมฝันว่า เราจะมีการเมืองที่เป็นการเมืองแบบธรรมาภิบาล แต่อาจยังไม่เห็นในเร็ววัน แต่ เป้าหมายนั่นก็จดจ่อกับสิ่งที่ดี เราก็ต้องเริ่มคิดจากตนเองก่อนว่า จากนามธรรม ให้เป็นรูปธรรมยังไง

ส่วนเรื่องหนังสือ สังคมปรนัย เป็นความหลากหลายของความชอบเช่นกันครับ ในเรื่องง่ายๆแต่วิถีที่เราดำเนินไปหากเรามองโดยละเอียดเราก็เห็นถึงการคิดเเบบแยกส่วน ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเรามองไม่ครบมิติ แต่เราก็ยังเชื่อมั่นว่า เรามองถูกต้องเเล้ว เพราะเราถูกทำให้เชื่อแบบนี้

ความเชื่อมั่นนั้นดี แต่ความฝัน และจินตนาการก็ทำให้ชีวิตไม่ติดกรอบ อิสระกว่ากันเยอะเลยครับ

ขอบคุณคุณก้านกล้วยมากครับ การคิดต่างน่าสนใจครับ อย่างน้อยเราก็ได้เห็นความงามของความต่าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

หากเป็นการแลกเปลี่ยนเชิงกัลยาณมิตร แม้จะต่าง เราก็สามารถสุนทรียสนทนากันได้

ด้วยความเคารพครับผม :)

ยินดีครับ สำหรับ ความคิดเห็นของคุณ สุรีย์พร ดวงมณี

เราอยู่ท่ามกลางความแตกต่างอยู่แล้วครับ ดังนั้นเราก็ต้องยืดหยุ่นกับสิ่งเหล่านี้  เพราะสังคมปรนัยก็สอนให้เราคัดทิ้งตัวเลือกที่ไม่ดีออก แต่ทำแบบนั้นไม่ได้ครับ ...มีแต่ทำให้ขัดเเย้งมากขึ้น

สถานการณ์หนึ่งยากมากที่จะตัดสินถูกผิด ด้วยมาตรฐานที่เกิดจากความอคติ สิ่งที่สามารถทำได้คือ เข้าใจตามความเป็นจริง

ยอมรับ ปรับตัว  เรียนรู้...

ซึ่งทุกอย่างก็เป็นเช่นนั้นเอง

ขอบคุณครับ  :)

---------------

ผมชอบมากครับ เมื่ออ่านความเห็นของคุณก้านกล้วย คุณสุรีย์พร ดวงมณี และคุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ที่ออกมาแสดงความเห็นในมุมมองที่ต่างกัน ดีกว่ามายกยอกันโดยหามีเนื้อหาใหม่ไม่

ในหลายๆความเห็นที่ผ่านมาไม่มีอะไรใหม่นอกจากมายกยอสรรเสริญว่าอยู่ในดวงใจ

ทุกๆครั้งอ่านผ่านไปซึ่งไม่มีสาระอะไรเลย

หนังสือน่าสนใจมากครับ...เป็นกำลังใจให้ทุกก้าวย่างในการทำงานสร้างสรรค์งานดีๆให้สังคมนะครับพี่

ต่างมุมมอง เมื่อเย็นนี้เสวนากับนักประพันธ์ เขาบอกว่าหนังสือดังกล่าวมีความงดงามทางภาษา เหมาะเป็นหนังสืออ่านเพื่อลิ้มรสทางวรรณกรรม

แต่เนื้อหาสาระแค่เพียงการจินตนา

คำว่าการจินตนาการคือการคิดในสิ่งไม่ยังมาไม่ถึง

โดยทั่วไปหมายถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

เพียงแค่การนึกฝันแต่ไม่มีการจัดการอะไร

แต่ถ้าคิดและวางแผนเป็นระบบ มันมีความหมายมากกว่าคำว่าจินตนาการ

จินตนาการจึงไม่มีน้ำหนักในทางปฏิบัติ

แค่มาจับกลุ่มคุยกันแค่นั้นเอง

ทุกคนมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง อย่าไปว่ากล่าวความคิดเห็นคนอื่นว่าเขาจะเป็นอย่างที่คุณคิด ไม่มีใครยกยอใคร ทุกคนก็มาแสดงความเห็นด้วยบริสุทธิใจ ไม่มีใครมาอวดตัว

เราต่างสุนทรียสนทนากันทั้งสิ้น ไม่มีใครมาเชียร์ใคร

 

สังคมปรนัยเป็นเพียงคำบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ให้สละสลวย
ไม่มีอะไรดีไปกว่าการเล่นคำให้ดูดี
คิดอีกมุมหนึ่งกลับเป็นการวิตกจริตเกินเหตุอยู่อยู่กลุ่มเดียว
แล้วมาอวดตัวว่าตนเองคิดดีกว่าคนอื่น

สังคมไทยเราอยู่กันมาได้ไม่มีอะไรเลวร้ายจนเกินไป
แต่จะเลวร้ายหากว่ามานั่งวิตกกันแต่ไม่ยอมลงมือทำ
การแก้ด้วยการศึกษาเป็นวิธีทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ แต่ช้า...ไม่ทันกาล
การแก้ด้วยการเมืองเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งกว่า
ดังนั้นต้องปฏิรูปการเมือง
เมื่อคิดแล้วต้องขยายแนวคิดต้องรณรงค์ให้เกิดการทำด้วย
ต้องช่วยกันส่งเสริมคนดี คนรอบข้าง
อย่าส่งเสริมตนเอง อย่าซ้ำเติมสังคมให้สะใจตนเองว่าเป็นสังคมปรนัย

วิธีคิดของ คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ มองสังคมแบบมีอคติ มีปมด้อย พยายามขยายจุดอ่อนของสังคมเป็นแบบฉบับของความเลวร้าย ว่าถูกกำหนดรูปแบบถูกกำหนดคำตอบมาพร้อมสรรพแล้ว ทั้งๆที่ตนเองเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่สังคมเป็นผู้กำหนด

สังคมเป็นนามธรรมในตัวของมันเองกำหนดใครอะไรไม่ได้

คนต่างหากเป็นผู้กำหนดสังคม

 

 

สวัสดีค่ะ เคยอ่านบันทึกของแม่ต้อยเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ยังไม่ได้ซื้อหนังสือเลย ขอบคุณน่ะค่ะที่แนะนำค่ะ

คุณ สพฐ. สารคาม

ก็ต้องตรงไปตรงมาครับ แต่ด้วยการสนทนาด้วยเนื้อหาตรงไปตรงมาต้องประกอบด้วยเหตุผล และจิตใจที่ดีงามด้วย การแสดงออกจากหัวใจที่ดี การสื่อสารก็จะดี ผู้รับสารสามารถรับรู้ได้

คงต้องเปิดใจให้กว้าง ยอมรับ ปรับตัวครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ น้อง เสียงเล็กๆ  ให้กำลังใจน้องชายทำงานเพื่อสังคมเช่นเดียวกันครับ

คุณ มานัสนันท์ พิกุลทอง  ขอบคุณครับที่มาร่วมเสนอความคิดเห็น

นานาจิตตังครับ ความหลากหลายของคนในสังคม  เราได้สัมผัสอยู่เสมอ เป็นเรื่องที่ดี ที่เราได้เรียนรู้ ภายใต้วิธีคิดหนึ่ง มีปัจจัยสาเหตุลึกซึ้งมากกว่าที่เราเข้าใจ...

แสดงความคิดเห็นแตกต่างได้ แต่ขอให้เป็น ไดอะล็อค ที่เชื่อมั่นในเกียรติยศและศักดิ์ของความเป็นคน หลีกเลี่ยงการตัดสินบุคคลที่เราไม่ได้รู้จักเขาดีพอ เพราะเราเองก็ยังไม่รู้จักตนเองดีพอในบางเรื่อง ..

ขอให้มีความสุขในการชีวิตประจำวันครับ ;) ขอบคุณครับ

คุณ กาเหว่า บุรีรมย์

เป็นเรื่องปกตินะครับ การสื่อสารที่มีสีสัน สิ่งหนึ่งที่ผมใช้ หรือ นักเขียนดังๆใช้ คือ การใช้ศัพท์ เพื่อเร้าความสนใจ แต่ตรงนั้นเองก็ไม่ใช่ประเด็นครับ

ความงามของวรรณกรรมแบบที่หมอโกมาตร เขียน  อยู่ที่สามารถสร้างพลังความคิดได้ ในมุมที่ต่าง ในฐานะนักคิด  นักมานุษยวิทยา ซึ่งก็เป็นคยวามนิยมส่วนตัวของผมครับ

ส่วนวิธีการแก้ปัญหา สังคมไทย ที่คุณกาเหว่ายกมานั้น ผมก็คิดว่า มีหลากหลายวิธีการครับ สิ่งหนึ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดคือ การเริ่มแก้ไขปัญหาสังคมจากตนเอง ตั้งคำถามกับตนเองว่า เราในฐานะพลเมือง เราน่าจะทำอะไรให้สังคมได้บ้าง?

ผมชอบความคิดต่างที่เป็นความคิดจากจิตใจที่ดีครับ แต่ต้องเป็นความคิดต่างที่สร้างสรรค์ ไม่เจือด้วยอคติ

ผมเห็นด้วยกับคุณกาเหว่าครับที่บอกว่า

"ดังนั้นต้องปฏิรูปการเมือง
เมื่อคิดแล้วต้องขยายแนวคิดต้องรณรงค์ให้เกิดการทำด้วย
ต้องช่วยกันส่งเสริมคนดี คนรอบข้าง"

ส่วนสังคมเราจะถูกให้นิยามว่า เป็นสังคมปรนัย หรือ อัตนัย หรือ แบบไหนก็แล้วแต่ ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ความคิดนะครับ ในความคิดผมก็ไม่ได้มองว่าเป็นการซ้ำเติมสังคม แต่อย่างไร?

มองอีกมุมว่า เราต้องยอมรับความจริง และเรียนรู้จากความจริงเพื่อการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคม

ยินดีเสมอครับสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

:)

คุณสัพเพ

ขอบคุณที่มาให้ข้อเสนอแนะอีกครั้งครับ

เห็นด้วยครับ "คนเป็นผู้กำหนดสังคม"

สังคมต้องการคนดี เพื่อให้คนดีปกครองบ้านเมืองเป็นพลังในการพัฒนาบ้านเมืองเราครับ

ดังนั้นเราจะมีมุมมองต่อสังคมอย่างไรก็แล้วแต่..ทุกคนต่างมีฐานคิดของตนเอง ว่าจะเลือกวิพากษ์สังคมเราในมุมใด สำคัญอยู่ที่ เราจะคิดต่อจากมุมมองนั้นอย่างไร

คือไม่อยากให้ติดตรงการคิด หรือ ติดในวาทกรรมที่คนคิดไว้

หัวใจก็คือ เปิดใจกว้าง เรียนรู้ แก้ไข และเเลกเปลี่ยน

พื้นที่ของ gotoknow ยินดีอย่างยิ่งสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อการพัฒนาสังคม

ใครรู้อะไรก็นำมาแลกเปลี่ยน ภายใต้บรรยากาศของความสมานฉันท์

ท่านลองเขียนบันทึกดีไหมครับ???

พี่ สุนันทา
ติดตามอ่านหนังสือที่แนะนำได้ตามร้านขายหนังสือนะครับ..

ขอบคุณครับ ;)

สังคมปรนัย เป็นการกากบาด ข้อความที่ถูกต้องใช่ไหม เอก

ถ้าคิดไม่ออกก็เดาได้ด้วยนะ

ดีอย่าง เสียอย่างค่ะ

พี่แก้วครับ

ขอบคุณมุมมองที่น่ารักของพี่แก้วครับ

จริงๆแล้ว ความเป็นปรนัย ก็มีประโยชน์ และช่วยให้ง่ายขึ้น (ในบางเรื่อง)

แต่ในสังคมที่ซับซ้อนไปด้วยเงื่อนไข เป็นการซับซ้อนหลายชั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคิดอย่างบูรณาการ critical thinking เพื่อเข้าใจความเป็นสังคมปรนัย

ขอให้พัฒนาความรู้มากกว่านี้นะค่ะ

คุณฟ้าใส...

จะบอกว่า สะดุ้งกับชื่อนี้ครับ...

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม มาอ่าน มาทักทาย :)

แวะมาเรียนรู้เลยได้รับฟังหลากหลายความคิดนี่ไงคะ"สังคมที่ไม่ปรนัย" ครูแมวเคยเข้าร่วมทำกระบวนการตามล่าหาความจริงภาคปฎิบัติ"เครื่องมีอปฎิบัตงานชุมชนที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์" กับคุณหมอที่จังหวัดพะเยาเมื่อ 4ปีก่อน พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้และมีคุณจตุพรขยายความด้วยการเป็นนักเขียนที่ทำเรื่องยากเป็นเรื่องน่าเรียนรู้ ต้องขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ ครูแมว อักษรา

เย็นนี้เป็นเย็นที่ชุ่มฉ่ำแถบที่ผมอยู่นะครับ (ฝนตก กบร้อง)อ่านข้อคิดเห็นครูแมวก็พลอยสดชื่นไปด้วย

เครื่องมือปฏิบัติงานชุมชน ผมเคยไปใช้กับ ทหารในกองพันพิเศษที่ทำงานชุมชน ให้ฝึกเครื่องมือ ๗ ชิ้น เราทำได้พักใหญ่งานข้อมูลที่ไม่เคยได้ใช้ประโยชน์ กลับเป็นว่าใช้ข้อมูลได้ทุกเม็ดเลย เพิ่มมาอีกคือ ความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับชุมชน

บันทึกนี้เป็นเนื้อหาที่ผมเขียนในคอลัมภ์ แนะนำหนังสือในนิตยสารฉบับหนึ่งครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท