1.2. คนลาวโดยเชื้อชาติลาว


       

           

            คนลาวโดยเชื้อชาติลาว หมายความว่า บุคคลที่มีเชื้อชาติลาว มีสัญชาติลาว เกิดอยู่ในสาธารณะรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวหรือเกิดนอกดินแดนสาธารณะรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวก็ตาม ซึ่งบิดามารดา ปู่ ตา ย่าทวดที่เป็นคนลาว บุคคลที่เกิดขึ้นมาก็จะเป็นคนลาวโดยเชื้อชาติลาวอาจอยู่ในหรืออยู่นอกดินแดนของสาธารณะรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ก็ได้

            ตัวอย่าง 1 ในกรณีของนางแสงเดือน ทานะสมบัติ เกิดเมื่อวันที่  15 กันยายน พ.ศ.2516 (ค.ศ. 1973)  ที่แขวงไชยบุรี  ประเทศลาว นางแสงเดือน  ทานะสมบัติ มีพี่น้อง ทั้งหมด จำนวน 6 คน นางแสงเดือนเป็นคนที่ 4 ที่บ้านในประเทศลาว อยู่ในเขตชนบท  ครอบครัวประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน

            นางแสงเดือนได้รับการศึกษาในสถาบันการศึกษาของประเทศลาว เรียนจบชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5  และไม่ได้ศึกษาต่อ เนื่องจากฐานะยากจน จนเมื่ออายุ ครบ 20 ปี  นางแสงเดือนได้รับการชักชวนจากเพื่อนที่มีพี่สาวมาทำงานอยู่เมืองไทย ได้มาหางานทำที่เมืองไทย ตอนนั้นพ่อของนางแสงเดือนไม่อยากให้มา แต่นางแสงเดือนก็หนีมา  ซึ่งขณะนั้นแม้จะอายุ 20 ปี ซึ่งสามารถทำบัตรประชาชนได้แล้ว แต่นางแสงเดือนอยู่ชนบท จึงยังไม่ได้ไปทำ และไม่เห็นความสำคัญ (นางแสงเดือนให้การว่าถ้าคนที่เขาเรียนสูงๆ และอยู่ในเมืองก็คงจะไปทำบัตรกันหมดแล้ว แต่นางไม่ได้ไปทำ)

            นางแสงเดือนได้เดินทางเข้ามาเมืองไทย ทางชายแดนจังหวัดเลย  โดยได้เข้ามาอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่พี่สาวของเพื่อนทำงานอยู่ นางแสงเดือนประกอบอาชีพรับจ้างที่ร้านค้าขายของชำกับเพื่อนที่มาด้วยอยู่ที่นั้นได้ประมาณ 2 เดือน โดยมีค่าจ้างเล็กๆน้อยๆ เพราะอยู่ระหว่างหางานทำ หลังจากอยู่ได้ 2 เดือนนั้น ก็ได้งานที่จังหวัดภูเก็ต โดยทำงานอยู่ร้านเสริมสวยมาตลอด ที่จังหวัดภูเก็ตนั้นเองที่ได้เจอกับนายเสน่ห์  เลิศศิริ  พนักงานขับรถของโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ชอบพอกัน และได้อยู่กินฉันท์สามีภรรยามาตั้งแต่ ปี 2536 แต่เนื่องจากนางแสงเดือนได้เข้ามาโดยไม่มีใบอนุญาต จึงต้องอยู่แบบหลบๆซ่อนๆและไม่ได้ทำการจดทะเบียนสมรส  ต่อมานางแสงเดือนและนายเสน่ห์ได้มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ เด็กหญิงเกศรา  และเด็กชายสหภาพ ปัจจุบันอายุ  9 ขวบ และ  5 ขวบ  (ปรากฏชื่อนางแสงเดือนเป็นมารดาในสูติบัตรและทะเบียนบ้าน)

            ในปี 2547 นางแสงเดือนได้ไปขึ้นทะเบียนแรงงานเพื่อให้มีเอกสารพิสูจน์ตน และได้ไปทำการพิสูจน์สัญชาติกับคณะทำงานพิสูจน์สัญชาติของทางการลาว โดยความร่วมมือของรัฐบาลไทย กับรัฐบาลลาว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547  ที่สำนักงานจัดหางานเขต 7  กรุงเทพฯ และได้รับการยอมรับเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติลาว เป็นประชาชนลาว เรียบร้อยแล้ว  ซึ่งคณะทำงานพิสูจน์สัญชาติฯได้ออกพาสปอร์ตชั่วคราวให้เรียบร้อยแล้ว

            นางแสงเดือนให้การว่า ครอบครัวของเธอมีสำมะโนครัวของประเทศลาว (ทะเบียนบ้าน) และพ่อแม่พี่น้องมีบัตรประจำตัวประชาชนลาวอยู่ทั้งหมด และได้มีการติดต่อกับน้องสาวตลอด  แต่เธอตกเป็นคนไร้สัญชาติอยู่ในประเทศไทยมากว่า 10 ปี เมื่อมีความตกลงไทย ลาว เช่นนี้จึงได้มีโอกาสได้รับการพิสูจน์สัญชาติเป็นคนลาว เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมานางแสงเดือนไม่กล้ากลับเข้าประเทศลาวเนื่องจากกลัวการถูกจับกุม และกลัวว่าไม่สามารถกลับเข้ามาในประเทศไทยหาลูกๆและครอบครัวได้อีก[1]

            ตัวอย่าง 2 ในกรณีของนางสาว วิไลวรรณ  เกิดเมื่อวันที่  13 กันยายน พ.ศ.2526  ที่เมืองทุละคม แขวงเวียงจันทน์  ประเทศลาว  นางสาว วิไลวรรณ มีพี่น้อง ทั้งหมด 4 คน นางสาว วิไลวรรณ เป็นคนที่ 2 ที่บ้านในประเทศลาว อยู่ในเขตชนบท  ครอบครัวประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา

            นางสาว วิไลวรรณ ได้รับการศึกษาในสถาบันการศึกษาของประเทศลาว เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  และไม่ได้ศึกษาต่อ เนื่องจากฐานะยากจน จนเมื่ออายุ ครบ 20 ปี  นางสาว วิไลวรรณ ได้รับการชักชวนจากเพื่อนที่มีพี่สาวมาทำงานอยู่เมืองไทย ได้มาหางานทำที่เมืองไทย  ถึงแม้นางสาว วิไลวรรณ จะมีอายุ 20 ปี ซึ่งสามารถทำบัตรประชาชนได้แล้ว แต่นางสาว วิไลวรรณ ก็ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัว และไม่เห็นความสำคัญในการมีบัตรประจำตัว

            นางวิไลวรรณได้เดินทางเข้ามาเมืองไทย ทางชายแดนจังหวัดหนองคาย  โดยได้เข้ามาทำงานอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ทำงานอาชีพรับจ้างเป็นแม่บ้านมาตลอด และได้อยู่แบบหลบๆซ่อนๆ เพราะเนื่องจากนางสาว วิไลวรรณ ได้เข้ามาในประเทศไทยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน

            ในปี 2547 นางสาว วิไลวรรณ ได้ไปขึ้นทะเบียนแรงงานเพื่อให้มีเอกสารพิสูจน์ตน และได้ไปทำการพิสูจน์สัญชาติกับคณะทำงานพิสูจน์สัญชาติของทางการลาว โดยความร่วมมือของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลาว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547  ที่สำนักงานจัดหางานเขต 7  กรุงเทพฯ และได้รับการยอมรับเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติลาว เป็นประชาชนลาว เรียบร้อยแล้ว  ซึ่งคณะทำงานพิสูจน์สัญชาติฯได้ออกพาสปอร์ตชั่วคราวให้เรียบร้อยแล้ว

            นางสาว วิไลวรรณ ให้การว่าเขามีฝันที่อยากเรียนสูงๆและมีความฝันที่อยากจะเรียนนิติศาสตร์และต้องการอยากเป็นนักกฎหมายแต่ไม่มีโอกาสที่จะเข้าเรียนได้เพราะด้วยปัญหาความยากจน ถึงแม้นางสาว วิไลวรรณ ที่คิดว่าอาจไม่มีโอกาสที่เข้าเรียนได้ก็ตาม แต่นางสาว วิไลวรรณ ก็เป็นคนที่ชอบที่หาความรู้ ชอบอ่านหนังสือในเวลาที่ว่าง และในที่สุดนายจ้างก็อยากส่งเสริมให้เขาได้เรียนหนังสือ และนายจ้างที่แสนดีคนท่านนั้น ก็หาทุกวิธีที่จะทำให้เขามีโอกาสได้เข้าเรียน และยอมสละทุนที่เป็นเงินตัวในครอบของเขา ทั้งครอบครัวของนายจ้างทั้งหมดยินดีที่จะส่งเสริมให้ได้เรียนหนังสือ และในที่สุดนายจ้างท่านนั้นก็ได้ติดหาผู้เขียนทางอินเตอร์เน็ต และทางโทรศัพท์หาผู้เขียน นายจ้างบอกว่า มีปัจจัยที่สำคัญคือความต้องการอยากให้เขาได้รับการศึกษา ซึ่งในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2551 นางสาว วิไลวรรณ ก็ได้กลับไปเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยมแห่งหนึ่งอยู่ที่แขวงเวียงจันทน์ และทางโรงเรียนก็รับเข้าเรียนหนังสือได้ปกติ ปัจจุบันเรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 4[2]

            ในกรณีที่คนลาว ที่ไม่มีสัญชาติลาวหรือเสียสัญชาติลาว มีเหตุผลด้วยกันหลายประการ เช่น เกิดขึ้นด้วยตัวเขาเอง ซึ่งเป็นคนเลื่อนลอยไปมาไม่อยู่ที่เดิม ไปอยู่ต่างจังหวัด ต่างอำเภอ ไม่มีหลักฐานที่จะแสดงตนได้ว่าเป็นคนลาว หรือหนีไปอยู่ต่างประเทศโดยไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆเลยที่จะยืนยันได้ว่าเป็นคนลาวและไม่มีพยานทางบุคคลที่รู้เห็น ไม่มีญาติพี่น้อง ไม่รู้ที่มาของตัวเอง หรืออีกกรณีหนึ่งเป็นกรณีที่คนตกหล่นจากทะเบียนราษฎร

            ตัวอย่าง 3 ในกรณีของนาย บุญ สันติสุก เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2516 ที่บ้าน นาเงิน อำเภอทุละคม แขวงเวียงจันทน์ ซึ่งได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ที่ บ้าน หัดสะดีเหนือ อำเภอจันทบุรี นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ซึ่ง นาย บุญ ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนที่จะสามารถแสดงหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นคนที่มีสัญชาติลาวได้ ซึ่งได้กลายเป็นคนตกหล่นจากทะเบียนราษฎรลาวจนมาถึงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2547 จึงสามารถมีบัตรประจำตัวประชาชนได้[3]

            ในกรณี บุคคลที่หนีไปอยู่ต่างประเทศเกิน 7 ปี โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ ได้รับการอนุญาตให้ไปอยู่ต่างประเทศ แต่หากเกินกำหนดและไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของสถานทูตหรือกงสุลลาวประจำประเทศนั้น และขาดความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับรัฐสาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย  ประชาชนลาว เกิน 10 ปี ก็จะเสียสัญชาติลาว ตามมาตรา 20 ของกฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาว

            ตัวอย่าง 4 ในกรณีของนายคำตุ่น ไชยะสี เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1988 ที่ บ้านหัวน้ำสร้าง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว มีพี่น้องด้วยกัน 3 คน นายคำตุ่น เป็นบุตรคนที่ 2 ได้เรียนจบมัธยมต้น แต่นายคำตุ่น ไม่มีโอกาสที่จะเข้าเรียนต่อเพราะความยากจน จึงได้ออกจากโรงเรียนเพื่อหางานทำ จึงได้เข้ามาหางานทำกับเพื่อน ซึ่งได้เข้ามาในประเทศไทย ในปี ค.ศ. 2002 ซึ่งตอนที่เข้ามาในประเทศไทยนายคำตุ่นไม่มีหนังสืออันใดเลยที่ติดตัวมาเช่น ไม่บัตรประจำตัว ไม่มี passport เป็นต้น ซึ่งจากดูสถานะภาพของนายคำตุ่นแล้วไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่านายคำตุ่นเป็นคนลาวได้ นายคำตุ่น ไชยะสี จึงกลายเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย[4]

            ตัวอย่าง 5 ในกรณีของ นาง ไพรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่บ้านปากตมดอนกาง ตำบลตาแสงปากแกม เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ประเทศลาว ซึ่งมีพี่น้องร่วมท้องแม่เดียวกัน 3 คนคือ 1. นาง ไพรินทร์ 2. นาย บัวไล 3. นาย เฉลิม ซึ่งเป็นบุตรของนาย ตาบินและนางบัวลี ที่มีเชื้อชาติลาวและมีสัญชาติลาว

            นางไพรินทร์เกิดโดยหมอตำแยชื่อแม่คำพีเป็นผู้ทำคลอด นางไพรินทร์ยเคยได้เรียนหนังสือแค่ชั้นประถมปีที่ 1 แต่ไม่จบเพราะขี้เกียจที่จะเรียน ซึ่งในปัจจุบันนางไพรินทร์ไม่สามารถเขียนและอ่านหนังสือแต่พูดภาษาลาวได้

            นางไพรินทร์ ได้เข้ามาในประเทศในปี พ.ศ. 2528 ตอนที่มีอายุประมาณ 16 ปี ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยผ่านเขตชายแดนระหว่างแม่น้ำเหืองผ่านด่านบ้านแม่หนอในฝั่งประเทศลาวและในเขตบ้านนากะเส็ง อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลยประเทศไทย

            นางไพรินทร์หลังที่ข้ามมาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ. 2528 แล้ว นางไพรินทร์ก็ได้กลับไประเทศลาวอีกครั้งในช่วงท้ายปีพ.ศ. 2533 ต่อต้นปี 2534 พร้อมด้วยลูก 2 คน ซึ่งอยู่ประเทศได้เพียงประมาณ 8 ถึง 9 เดือนเท่านั้นก็ได้กลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้งด้วยเหตุผลที่ว่า สามีของตนถูกจับจึงได้เข้ามาอีก จากปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2551 นางไพรินทร์ ก็ไม่เคยกลับไปประเทศลาวและขาดการติดต่อจากพ่อแม่และญาติพี่น้องเลย อาจด้วยเหตุผลที่ว่า นางไพรินทร์เขียนหนังไม่เป็นและในระยะนั้นอาจยังไม่สะดวกในเรื่องการสื่อสารทางโทรศัพท์ก็อาจเป็นไปได้ จึงเป็นเหตุที่ทำให้นางไพรินทร์ไม่สามารถติดต่อหาพ่อแม่และญาติพี่น้องของตนได้

            จากการเล่าและการสอบถามตัวบุคคลแล้วนางไพรินทร์ยังไม่มีหนังเอกสารใดๆเลยที่พอยืนยันได้ว่านางไพรินทร์จะเป็นคนลาวในขณะนี้ ยังขาดตัวพยานบุคคลที่พอยืนยันว่านางไพรินทร์เป็นที่เกิดในประเทศลาวจริงหรือไม่ เพราะอีกปัญหาหนึ่งชื่อบุคคลที่นางไพรินทร์กล่าวขึ้นมานั้นก็ยังไม่สามารถมาปรากฏตัวที่จะยืนยันได้(หาตัวยังไม่พบ)

            สถานะของนางไพรินทร์ในปัจจุบันเป็นคนที่ไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทยซึ่งไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรของประเทศใดในบนโลกนี้และนอกนั้นรัฐไทยยังถือว่านางไพรินทร์เป็นคนที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและไม่มีสิทธิอาศัย[5]



[1] โปรดอ่านในบทที่ ๓

[2] โปรดอ่านในบทที่๓ต่อ

(ท่านผูอ่านที่เคารพกรุณาติดตามต่อไปว่าความฝันของจะสำเล็จผลเป็นจริงหรือไม่ผู้เขียนจะได้รายงานต่อไปในทาง Gotoknow.org)

[3] เป็นระยะ๒๑ปีที่นายบุญไม่มีชื่ออยู่ทะเบียนราษฎรลาว

[4] โปรดอ่านในบทที่๓ต่อ

[5] โปรดอ่านในบทที่๓

หมายเลขบันทึก: 251816เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท