ส่งต่อ Plagiarism และ Creative Commons ให้น้อง


นี่คืองานที่ส่งต่อให้น้องไปในวันนี้ คาดว่าหนักพอสมควร แต่เชื่อว่าน้องสามารถถ่ายทอดต่อได้อย่างดีแน่นอน

ส่งต่องานให้น้อง

Plagiarism and Creative Commons เป็นงานที่ได้รับมอบหมายจาก อาจารย์จันทวรรณ ไว้นานมากแล้ว

แต่ยังไม่สามารถจัดสรรเวลาของตัวเองเพื่อบรรเลงงานนี้ได้สักที

จนในที่สุดเมื่อน้องอาร์มเข้ามารับหน้าที่ดูแลชุมชน GotoKnow.org อีกคน งานนี้จึงได้รับการส่งมอบให้น้องอาร์มช่วยสานต่อ

จึงอยากสรุปเรื่องราวที่ได้ศึกษา แต่ยังไม่มีโอกาสถ่ายทอด ไว้ในบันทึกงานชิ้นนี้

plagiarism มีชื่อภาษาไทยที่ไม่น่าพิสมัยว่า "การโจรกรรมวรรณกรรม"

แปลตรงๆ ว่าการการไปขโมยผลงานของคนอื่นมา (น่ากลัวจริง)

ถ้าแปลอย่างนี้ ก็คงไม่น่าที่จะมี plagiarism เกิดขึ้นหรอก เพราะคงไม่มีใครเดินเข้าไปขโมยผลงานใครได้ง่ายๆ

แต่ไม่ใช่แค่นั้นสิค่ะ จริงๆ แล้วหมายความถึง การ"คัดลอก"งานคนอื่นมาแล้วมา"แปะ" ไว้ในงานของตน โดยไม่ได้ขออนุญาต หรือไม่ได้อ้างอิงกลับไปหาเจ้าของเดิมค่ะ

ลิขสิทธิ์ ??

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจสักนิด งานวรรณกรรมทุกชิ้นที่เกิดขึ้น รวมทั้ง ภาพ และอื่นๆ อีกหลายอย่าง (หาอ่านได้ที่นี่ )นั้น เมื่อมีใครสักคนสร้างสรรค์ขึ้นงาน งานชิ้นนั้นจะถือเป็นลิขสิทธิ์อันชอบธรรมของคนๆ นั้นทันที ไม่ต้องไปขอลิขสิทธิ์กับใครเลย

แถมยังมีกฎหมายคุ้มครองอีกต่างหาก หากว่ามีใครไปนำผลงานชิ้นนั้นมาใช้ต่อ หรือมาเผยแพร่ต่อโดยที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต นั่นแปลว่า คุณกำลังทำผิดกฎหมาย มีโทษด้วยนะค่ะ  (อ่านได้ที่นี่ และ ที่นี่)

ดูจากโทษแล้วก็ไม่น่าพิสมัยสักเท่าไหร่เลย

คนไทยใจดี ไม่ต้องมีไม่ได้หรือ ??

แม้ว่าคนไทยจะใจดีแต่เราก็ไม่ควรไปละเมิดลิขสิทธิ์ใครค่ะ ไม่ใช่เพราะกลัวกฎหมายนะค่ะ แต่แสดงถึงการให้เกียรติทั้งตนเองและผู้อื่นค่ะ 

  • คือให้เกียรติว่าผู้คิดขึ้นมานั้นเก่ง เยี่ยม
  • ให้เกียรติตัวเอง ว่าฉันเยี่ยมกว่า เพราะฉันกล้ายอมรับว่าฉันได้ต่อยอดความคิดอันยอดเยี่ยมมาจากผู้อื่นและ ฉันเยี่ยมกว่านะเพราะเจ้าของคิดเพียงแค่นี้ แต่ฉันต่อยอดออกไปอีก (เข้าข้างตัวเองสุดๆ )
  • และยังเป็นการชนะใจตนเองด้วย เยี่ยมสุดๆ ยิ่งกว่า เพราะมีคนเคยบอกว่า "ยากนะถ้าจะยอมรับว่าใครสักคนเก่งกว่าเรา คนเรามักคิดเสมอว่าตนเองเก่งที่สุด" (ต้องขอโทษด้วยที่จำที่มาที่ไปมิได้)

ทางเลี่ยงล่ะมีไหม?? มีค่ะ วิธีการคือ

  1.  
    1. ส่งคำขอไปยังเจ้าของเพื่อขออนุญาตนำมาใช้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะอนุญาต
    2. ต้องเขียนในลักษณะ ที่ไม่เป็น plagiarism (อันนี้ต้องรอติดตามต่อจากน้องอาร์มค่ะ) มาชงไว้แล้วจากไป ^_^
    3. ต้องค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะติดประกาศอนุญาตค่ะ   นั้นก็คือ ติด CC หรือ Creative Commons หรือ สัญญาอนุญาต นั่นเอง 

Creative Commons

อธิบายนิดว่า ผู้ที่ใช้ CC นั้นแปลว่า งานเขียนของคุณยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของคุณ แต่คุณได้ติดป้ายประกาศบอกให้คนทั้งโลกรู้ว่า

"ข้าพเจ้าอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำงานของข้าพเจ้าไปใช้ได้ แต่จะต้องอ้างอิงกลับมาหาข้าพเจ้าทุกครั้ง และต้องทำตามกติกาที่ข้าพเจ้าได้กำนดไว้ ได้แก่.... หากใครก็ตามที่นำผลงานข้าพเจ้าไปใช้แล้วไม่ทำตามกติกาที่กำหนดไว้ ก็ถือว่าท่านกำลังละเมิดลิขสิทธิ์ของข้าพเจ้า มีความผิดตามกฎหมาย"

คำพูดนี้ สี่เขียนมาเองนะค่ะ แต่ไม่รู้ว่าไปโดนลิขสิทธิ์ของใครรึเปล่า ถ้าใครรู้โปรดแจ้งด้วย

สำหรับตรงช่วง ได้แก่... เป็นลักษณะของ CC ที่เลือกไว้ค่ะ

อย่างเช่น  by-nc ก็แปลว่า อนุญาตให้ใช้ แต่ต้องไม่เกี่ยวข้องกับการค้า นอกนั้นจะเอาไปทำอะไรก็เชิญ แต่อย่าลืมอ้างอิงกลับมาด้วยนะ

ส่วนลักษณะอย่างอื่นเป็นอย่างไรนั้นต้องติดตามจากน้องอาร์ม หรือบันทึกของต้นกล้าที่เคยเขียนไว้ค่ะ

นี่เป็นงานที่ส่งต่อให้น้องอาร์มที่จะต้องศึกษาและถ่ายทอดให้สมาชิก GotoKnow.org ได้ทราบกันต่อไป 

งานที่ส่งต่อให้น้องไปในวันนี้ คาดว่าหนักพอสมควร แต่เชื่อว่าน้องสามารถถ่ายทอดต่อได้อย่างดีแน่นอน ไว้รอชมผลงานของน้องกันนะค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #creative commons#plagiarism#usablelabs
หมายเลขบันทึก: 250586เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะน้องสี่

  • โอย..เห็นมามาก ..จนไม่อยากจะพูดค่ะ
  • พี่คิมอ่านผลงาน..เจอว่าคล้าย ๆ ของเรานี้
  • พลิกดูบรรณานุกรม อ้อ..อ้างไว้ถุกต้อง
  • อ่านไปจนจบ...ใช่ทั้งนั้นเลยค่ะ
  • เคราะห์ดี..ตัวเลขและความสำคัญต่าง ๆ ที่เป็นจริงของเขาไม่สอดคล้องกัน
  • ตรงนี้..น่าเผยแพร่ให้ความรู้มาก ๆนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครูคิม

ใช่แล้วค่ะ เกิดขึ้นเยอะมากเลยค่ะ โดยเฉพาะในเว็บไซต์ต่างๆ ต้องระวังมากๆ ค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้หาข้อมูลได้ง่ายมากๆ เลย

แต่ก็มีการเขียนที่เป็นการเลี่ยงนะค่ะ แต่จะเขียนอย่างไรนั้น ต้องส่งไม้ต่อให้น้องอาร์มแล้วค่ะ

รักและคิดถึงนะค่ะ

  • เดิมพี่คิมทำเว็ปไซท์
  • นำผลงานวิจัยของตนเองและของเพื่อน ๆลงเพื่อเผยแพร่
  • ตอนนี้ลบแล้วค่ะ
  • น้องอาร์มจะช่วยแบบไหนคะ

น้องอาร์มจะมาช่วยแนะนำวิธีการของการนำข้อมูลมาใช้อย่างถูกต้องค่ะ

เป็นการช่วยให้สมาชิกเข้าใจเพิ่มมากขึ้นอย่างถูกต้อง ว่าเมื่อได้ข้อมูลต่างๆ มา ที่เราไม่ใช่คนต้นคิดนั้น เราต้องทำอย่างไร เขียนลักษณะไหน จึงจะถูกต้อง และแบบไหนที่ไม่ควรทำค่ะ

เพราะว่า GotoKnow.org นั้นเป็นที่สาธารณะค่ะ ใครๆ ก็หาเราเจอค่ะ การที่นำเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจมาเล่าต่อ หรือมาต่อยอดความคิดนั้นเป็นเรื่องดีค่ะ แต่ต้องมีวิธีการที่ถูกต้องด้วยค่ะ เพื่อที่จะไม่เข้าข่าย plagiarism ค่ะ

จะได้รู้สึกว่าตนเองให้เกียรติทั้งเจ้าของผลงานและตัวเองค่ะ (ดูยิ่งใหญ่จังเลย)

คุณครูคิมอีกครั้ง

เรื่องผลงานวิจัยนี้ยากจังค่ะ โดยปกติแล้วจะนำผลงานวิจัยที่ผ่านมานั้น มาอ้างอิง(อ้างว่าเคยมีมาก่อน และต้องอ้างกลับไปยังเจ้าของเดิม) เท่านั้นค่ะ แต่ถ้าถึงขั้นลอกมาทุกบรรทัดนี่ก็แย่ค่ะ

แสดงว่าเค้าไม่ให้เกียรติตัวเค้าเองค่ะ

ถ้าคุณครูคิมจะเปิดเว็บไซต์อีกครั้งอาจจะต้องติดลิขสิทธิ์ทุกหน้าค่ะ ว่าขอสงวนลิขสิทธิ์ ใครเอาไปใช้ผิดกฎหมาย

หรืออาจจะต้องติด Creative Commons ไว้ค่ะ

เหมือนที่ตอนนี้ GotoKnow.org มี CC ให้เลือกนั่นแหละค่ะ

ขอบคุณค่ะ

น้องสี่ซี

ขอบคุณค่ะ กำลังเรียนรู้ค่ะ

เขียนเข้าใจง่าย จะติดตามต่อนะคะ

จะได้ไม่หลงละเมิดใครน อิอิ

 

ขอบคุณค่ะ krutoi

เรื่ิองนี้ส่งไม้ต่อให้น้องอาร์มแล้วค่ะ สี่ส่งต่อข้อมูลไว้เท่านั้นค่ะและยังต้องศึกษาต่อไป เพราะไม่แน่ว่าอาจจะไปละเมิดสิทธิ์ของใครซะเองค่ะ ^_^

ขอบคุณค่ะ

เอ "บล็อกสนทนาวิสาสะ" ของพี่ จะคล้าย ๆ ละเมิดลิขสิทธิ์มั้ย (ถ้ามีใครคิด-ลบ)

ไม่น่านะ ถามเองตอบเอง

 

เพราะประทับใจ คุยติดพัน อยากคุยอีก จึงนำมารวบรวม แถมเชิญท่านเจ้าของบันทึกและแฟนคลับ มาคุยด้วยกันค่ะ

สวัสดีค่ะพี่หมอ

สี่ไปดูแล้วค่ะ แอบอ่านด้วยแล้วสิค่ะ และอยากเห็นต้นฉบับจังค่ะ ^_^

สี่เมลหาพี่หมอด้วยนะค่ะ

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท