เด็กไทย เรียนมากจนไม่มีเวลาคิด


เราจะทดลองให้เด็กไทยเรียนน้อยเหมือนต่างชาติ เผื่อจะได้เก่งเหมือนเขาบ้างดีไหมครับ

                    ผมยังมีสิ่งติดค้างในใจเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย จึงชะโงกออกไปดูผลการสอบแข่งขันของเด็กไทยที่ออกไปสอบนอกประเทศ โดย International Institution for Management Development (IMD) ได้จัดอันดับการศึกษาไทย พ.ศ.2549 ประเมินว่าเด็กไทยมีความสามารถในการแข่งขันอยู่อันดับที่ 48 จาก 61 ประเทศ โดยมีผลคะแนนเฉลี่ยใน 3 รายวิชาจากการสอบ Program for International Student Assessment (PISA) 2006 ดังนี้
                   1. คะแนนเฉลี่ยวิทยาศาสตร์ ประเทศที่ได้คะแนนเฉลี่ย เรียง 5 อันดับ ได้แก่ ฟินแลนด์ (563) จีน-ฮ่องกง (542) จีน-ไทเป (532) ญี่ปุ่น (531) และเกาหลี (522) ส่วนไทย ได้ 421
                   2. คะแนนเฉลี่ยการอ่าน ประเทศที่ได้คะแนนเฉลี่ย เรียง 5 อันดับ ได้แก่ เกาหลี (556) ฟินแลนด์ (547) จีน-ฮ่องกง (536) ญี่ปุ่น (498) และจีน-ไทเป (496) ส่วนไทย ได้ 417
                   3. คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ ประเทศที่ได้คะแนนเฉลี่ย เรียง 6 อันดับ ได้แก่ จีน-ไทเป (549) ฟินแลนด์ (548) จีน-ฮ่องกง (547) เกาหลี (547) จีน-มาเก๊า (525) และญี่ปุ่น (523) ส่วนไทย ได้ 417

                   สรุป  จะเห็นว่า ประเทศที่ได้คะแนนกลุ่มสูง คือ ฟินแลนด์ จีน (ไทเป, ฮ่องกง, มาเก๊า) เกาหลี และญี่ปุ่น

                   ผมสงสัยว่า เด็กในประเทศที่สอบได้คะแนนสูงข้างต้น คงจะเรียนกันหนักมาก เลยลองไปหาข้อมูลเปรียบเทียบกับประเทศไทยดู พบดังนี้ครับ
                   ชั่วโมงตารางเรียนโดยเฉลี่ยต่อปี ระดับประถมศึกษา
                            ไทย = 800-1,000, ฟินแลนด์ = 680, เกาหลี = 828, ญี่ปุ่น = 648
                   ชั่วโมงตารางเรียนโดยเฉลี่ยต่อปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                            ไทย = 1,000-1,200, ฟินแลนด์ = 595, เกาหลี = 565, ญี่ปุ่น = 534
                   ชั่วโมงตารางเรียนโดยเฉลี่ยต่อปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
                            ไทย = 1,122, ฟินแลนด์ = 553, เกาหลี = 550, ญี่ปุ่น =  466

                   ผมผิดหวังมากที่เด็กต่างชาติเรียนน้อยกว่าเด็กไทยเฉลี่ยเกือบครึ่งหนึ่ง แต่ได้คะแนนสอบดีกว่าเด็กไทยเป็นร้อยคะแนน

                   เราจะทดลองให้เด็กไทยเรียนน้อยเหมือนต่างชาติ เผื่อจะได้เก่งเหมือนเขาบ้างดีไหมครับ

                   เพื่อนผมเห็นข้อมูลบอกว่าให้บวกชั่วโมงที่เด็กไทยเรียนพิเศษเพิ่มเข้าไปด้วย วันละเฉลี่ย 3 ชั่วโมง (โอ! อมิตพุทธ)

                  สรุปได้ไหมว่า เด็กไทยคงจะเรียนมากจนไม่มีเวลาคิดน่ะครับ

คำสำคัญ (Tags): #imd#pisa#การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 250133เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2009 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับ

เด็กต่างชาติ ชั้นเรียนสูงขึ้นเวลาเรียนน้อยลง

เด็กไทย ชั้นเรียนสูงขึ้น เวลาเรียนมากขึ้น

กลับตาลปัตรกันเลยนะครับ

เป็นไปได้ว่า นักเรียนในต่างประเทศใช้เวลานอกห้องเรียนเพื่อการค้นคว้า ฝึกคิด พักสมอง สร้างสมาธิ

สวัสดีค่ะอาจารย์

เวลาเรียนเด็กไทยกับต่างประเทศแปรผกผันกันเลยนะคะ

การศึกษาไทยกำลังก้าวไปในทางไหนค่ะ

จากประสบการณ์นะคะ พอเราพยายามให้คิดเด็กก็ไม่ค่อยรับ

ทำไมครูไม่บอกมาเลยว่าคิดยังไง ไม่อยากคิดเอง สาระนอกเนื้อหาวิชาไม่ใส่ใจ

เท่าที่ควร ต้องการวิชาการเพื่อแข่งขัน แข่งขันและแข่งขัน เกิดอาการก้าวร้าว

ว่าเห้อพูดไรเนี๊ยะ ทั้งที่จริงๆแล้วนี่ไปต่อยอดความคิดเองได้ แต่ก็อยากให้คิดนะคะ

จะพยายามค่ะอาจารย์ สังคมไทยเป็นอย่างไรหนอ...มุ่งหวังอะไร..

จริงๆแล้ว พรบ.การศึกษา หลักสูตรก็บอกชัดเจนดีนะคะ แต่ทำได้แค่ไหนนั้นอีกอย่าง

หนึ่ง...แต่ก็จะพยามทำให้ดีที่สุดค่ะ...ถึงจะเป็นเพียงส่วนน้อยนิด...

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • เด็กไทยยังไม่เลิกปลูกผัก ทำนา และเลี้ยงสัตว์ในกระดาษค่ะ
  • ดิฉันเป็นลูกศิษย์อาจารย์ค่ะ
  • พบว่า..โรงเรียนยังไม่มีกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างชัดเจน
  • ยังสอนให้เด็กท่องข้อสอบโอเน็ต เอเน็ต  ภาคเรียนที่สองบางโรงเรียนสอนแต่ข้อสอบค่ะ
  • เพราะ..ใครไม่ทราบยื่นตัวบ่งชี้ไว้ให้ว่า..โรงเรียนใดก็ตามห้ามทำคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเดิมร้อยละ ๕

ต้องมีการเรียนแบบoutdoor เป็นการทำkmค่ะ

เด็กโดนให้เรียนแบบท่องจำ เน้นทฤษฏีค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ :)

อาจจะต้องลองถามผู้ใหญ่ผู้เป็นมันสมองในกระทรวงศึกษาธิการดูครับ ... คิดว่าอย่างไรกับ จำนวนชั่วโมงที่แสนสาหัสกับการยัดเยียดแล้วรู้บ้าง ไม่รู้บ้างของเด็ก

ชอบไปลอกของต่างประเทศมาแล้วปรับใช้กับเด็กไทยไม่ได้

ปฏิรูปรอบ 2 ... จะคิด จะทำยังไงกันหนอ น่าปวดหมองจริง ๆ ครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ :) ...

ปัญหา อยู่ที่ ผู้ยิ่งใหญ่ทางการศึกษา ของประเทศนั้นๆ (ผมไม่ขอแตะ ไม่ขอ ยุ่งการศึกษาไทย) และ พวกเขา (ประเทศที่ด้อยการเรียนรู้) ยังไม่เรียนรู้ครับ

(ประเทศไทย การเรียนรู้ดีมากครับ เพราะ เรามีพระอริยเจ้ามากมาย หลวงปู่ หลวงพ่อ ที่ฝรั่ง สิงคโปร์ ฮ่องกง ฯลฯ ยังต้องเข้ามากราบ เรามี การศึกษานอกระบบ นี่แหละ ที่ ทำให้ ประเทศไทยอยู่รอด)

ปัญหา การศึกษาในประเทศต่างๆ ที่ กำลังเสื่อม เช่น

๑) ควร มีการ อบรม บ่มนิสัย ผู้ยิ่งใหญ่ทางการศึกษา เสียก่อน พวกเขายิ่งแก้ยิ่งสร้างปัญหา เพราะ การเอาคนในปัญหา ไปแก้ไข ย่อม... สร้างปัญหาให้ซับซ้อนขึ้น ..

ทัศนคติ ความเชื่อ ของพวกเขา ยังเป็น ฉันเก่งที่สุดในเรื่องการศึกษา ฉันทำอะไรใคร สั่งใครไม่ได้ ทั้งๆที่ฉันตำแหน่งใหญ่สุด หรือ ฉันรักนักการเมืองมากกว่าการศึกษาของชาติ

อย่าหวงการศึกษา ให้ตกในมือของ คนในกลุ่มคน ไม่ "เรียนรู้" ปิดใจ Closed mind , close heart , close will

บ้าอำนาจ เล่นพวก หลงตนเอง non-fresh eyes และ กลัวไปทุกเรื่อง

๒) เด็กประเทศพวก คะแนนต้นๆ นั้น เรียนตอนเช้า บ่ายเรียนตามอัธยาศัย

ปริญญา ไม่ได้เป็นตัวบอกว่า จะได้งานทำ เพราะ บริษัทสมัยใหม่ ไม่สนใจปริญญา ไม่สนใจเกรด แต่ สนใจที่ "จิตอาสา"

รร พวกเขา มี Dialogue แทบทุกคาบเรียน

พวกเขา "ไม่เร่ง" เรียนให้รู้ Learn how to learn

กระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ สำคัญกว่า การเรียนเพื่อแข่งขัด

๓) โรงเรียนดีๆ กำลัง ค่อยๆ เกิดขึ้นมาครับ

โรงเรียนโหลๆ ที่ ฝ่ายบริหาร เอา "ตัวเลข" "ชื่อเสียงเก่า" ไป หลอกเงินผู้ปกครอง จะค่อยๆ โดนสังคม "จับโกหก" ได้ และ เสื่อมสภาพไป

เด็กรุ่นใหม่ ที่เรียนแบบใหม่ จะ ค่อยๆโตมา ทดแทน เหล่า คนแก่ ที่ ปิดใจ หวงอำนาจ และ เสพนิยม

แต่ คงนานมาก น้ำอาจจะท่วมโลกสะก่อน

๔) ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม บ้านเมือง ที่ได้ คะแนนสูงๆ อาจจะ ไหลไปกับ กิเลส ติดสุข บ้านเมืองที่ได้คะแนนต่ำ อาจจะไหล กับ กิเลสติดกาม

"ในดีมีร้าย ในร้ายมีดี" ปนๆกันไป

ประเทศที่อ่อนแอกว่า ในที่สุดจะโดน ประเทศเข้มแข็งทางโลกกว่า กลืน ตั้งแต่ กลืนวัฒนธรรม กลืนเศรษฐกิจ กลืนแผ่นดิน ...

๕) เรา "เกิดมาทำไม" ..

บริษัทสมัยใหม่ ไม่สนใจปริญญา ไม่สนใจเกรด

ยังไม่มีโอกาศได้เจอเลยครับToT

การเรียนรู้ของเด็กและครูเป็นการเรียนรู้เชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ กล่าวคือเชื่อว่าเมื่อให้ (อัด)ความรู้มาก ๆ ทั้งเนื้อหา และเวลา ย่อมทำให้เด็กเก่ง...แต่รู้หรือไม่ว่าการทำเช่นนั้นเป็นการทำที่ผิดธรรมชาติ...เพราะการเรียนรู้ที่ดีย่อมเกิดจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง..เป็นการเรียนรู้อย่างมีสุข ในสิ่งที่ตนสนใจ จับต้องได้ เป็นอยู่แล้วตามวิถี...ดูอย่างการจัดการศึกษาใกล้บ้านเราซิครับ เช่น สิงคโปร์ ที่เป็นประเทศเก่งเรื่องเทคโนโลยี และการจัดการ ยังจัดให้เด็กเรียนอย่างเข้มแค่ตอนเช้า...ตอนบ่ายก็เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน .....ไม่เห็นเขาเรียนหนัก แต่ประเทศเขาก็ประสบความสำเร็จ เพราะคนของเขามีคุณภาพ...ถึงเวลาแล้วหละครับที่ไทยเราต้องทบทวนการศึกษา ที่เน้นคุณภาพมิใช่ปริมาณ

ขอบคุณครับอาจารย์..ที่ชี้ประเด็นให้เห็นชัด..เพราะคาใจมานานแล้ว

กราบเรียน อาจารย์ด้วยความเครพศัธธาอย่างยิ่ง

การศึกษาของเรา มุ่งเน้นไปที่การตอบโจทย์ ของ การบ้าน-ข้อสอบ ของ ครูที่ออกข้อสอบ(ผมไม่ทราบว่า

ปัจจุบันนี้ยังใช้ข้อสอบจาก สว่นกลาง หรือเปล่าครับ)

จากการสอบถามเด็กๆของเรา(ยกเว้นบางโรงเรียน เช่น สวนกุหลาบฯลฯ) ว่า เครื่องหมาย + นั้น มีความหมาย

ถึง การเพิ่ม ปริมาณ ใช่หรือไม่ เด็กๆโดยมาก จะตอบว่าใช่

อาจารย์ครับ ผมสงสารเด็กๆและคุณครูที่สอนมากครับ ( ที่ต้องทนสอนให้ทันตามหลักสูตร ของ ......)

แต่ เด็กๆไม่เเข้าใจในปรัชญา และ วิธีการนําใช้ ของ เครื่องหมาย + เลยครับ

เด็กๆ เลยไม่ทราบ ในความหมาย ของ สิ่งที่สําคัญ ของ การเรียนรู้ในเชิงปริมาณ ที่เครื่องหมาย + นั้น มีลลักษณะ ของ

เอกลักษณ์ การนําใช้ได้ 2 นัย คือ

นัยที่ 1 หมายถึงการเพิ่ม ของ ปริมาณ เช่น 2 + 2 ได้ เพิ่มเป็น 4

นัยที่ 2 หมายถึงการรวม ของ ปริมาณ เช่น 2 + (-2) จะได้ผลรวมเป็น 0

ขอรบกวนอาจารย์ เพียงแค่นี้ก่อนนะครับ

ขอให้อาจารย์มีความสุขครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท