ตามไปดู "ลาหู่" ทอผ้า


หลักสูตรท้องถิ่น เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่เป็นการจัดการองค์ความรู้ ที่สำคัญในการสืบสานสิ่งดีๆ จากชุมชน เป็นกลวิธีให้เยาวชน เข้าถึง เข้าใจ ความเป็นชุมชนได้ หากกระบวนการทำ "หลักสูตรท้องถิ่น" เกิดขึ้นบนฐานของความเข้าใจของคุณครู ชุมชน ว่าเนื้อหา สาระ ที่น่าจะเป็น ควรจะเป็นไปตามแนวทางใด และ มีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด

หลังจากไปแอ่วอีสานใต้ ก็กลับมายังแม่ฮ่องสอนถิ่นเกิดโดยสวัสดี เริ่มต้นทำงาน

ใหม่ด้วยพลังใจเกินร้อย

วันนี้ได้เดินทางไป บ้านชาวไทยภูเขาเผ่า ลาหู่แดง  หรือ "มูเซอ" แดง บ้านผามอน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อออกไปบริการงานส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เป็นประจำทุกเดือน

สภาพการเดินทางก็ทุลักทุเลพอสมควร เมื่อคืนฝนตกครับ ถนนพื้นดินอ่อนดูไม่ค่อยเป็นมิตรกับผู้มาเยือนมากนัก

ที่บ้านผามอน ชาวบ้านที่นี่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ปลูกถั่วแดง ข้าวไร่ ตามวิถีชีวิตชาวไทยภูเขาทั่วไป

ประเด็นที่จะแลกเปลี่ยน วันนี้ สอดคล้องกับ การที่ได้ไปเบิ่งแม่ใหญ่สาว ที่อุบล ที่นี่มาดู พี่น้อง "ลาหู่" ทอผ้ากันดีกว่า

คุยกับ "นามีศรี" เธอกำลังนั่งทอผ้า  ปักผ้าลาย ชาวเขาอยู่อย่างขมักเขม้น เธอบอกกับผมว่า เวลาว่างหลังจากไม่ได้ทำงานในไร่  ลายผ้าที่สวยงามที่นามีศรี ปัก เธอบอกว่า เธอปักมาตั้งแต่เป็นเด็ก แม่สอนมา เธอก็จำมาเรื่อย ยังมีลายใหม่ๆ ที่เธอคิดค้นขึ้นมาเอง เป็นลายธรรมชาติทั่วๆไป

ความสุข จากความตั้งใจในการทอผ้า ลายชาวเขาของเธอ ทำให้ผมคิดถึงแม่ใหญ่สาว ที่อุบล ผู้หญิงสองคนที่พยายามสืบสาน สิ่งดีๆที่บรรพบุรุษสั่งสมมา

การสืบทอด เป็นประเด็นที่ผมพูดคุยกับ นามีศรีในวันนั้น เธอบอกว่า เธอได้รับเชิญจากโรงเรียนใกล้บ้าน เป็นครูภูมิปัญญา สอนลูกหลานลาหู่ ให้ทอผ้าได้เหมือนเธอ การทอผ้าของเธอ ถูกบรรจุเข้าไปใน "หลักสูตรท้องถิ่น" ของทางโรงเรียน

หลักสูตรท้องถิ่น เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่เป็นการจัดการองค์ความรู้ ที่สำคัญในการสืบสานสิ่งดีๆ จากชุมชน เป็นกลวิธีให้เยาวชน เข้าถึง เข้าใจ ความเป็นชุมชนได้ หากกระบวนการทำ "หลักสูตรท้องถิ่น"  เกิดขึ้นบนฐานของความเข้าใจของคุณครู ชุมชน ว่าเนื้อหา สาระ ที่น่าจะเป็น ควรจะเป็นไปตามแนวทางใด และ มีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใดตอบสนองชุมชนได้หรือไม่

 

หมายเลขบันทึก: 24931เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2006 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากรู้เรื่องความต้องการทางกายภาพของถั่วแดงต่อสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูก เช่น

อุณหภูมิ

ความชื้น

ปริมาณน้ำฝน

ความสูงจากระดับน้ำทะเล

ฤดูการที่ปลูก - เก็บเกี่ยว

http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/peanut.pdf

อีกฐานข้อมูล แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นถั่วแดงเหมือนกับที่แม่ฮ่องสอนหรือเปล่านะครับ  เพราะที่แม่ฮ่องสอนเม็ดใหญ่ สีแดงจัด (เหมือนถั่วแดงนอก)

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

ที่แม่ฮ่องสอนเป็นพันธุ์ั่วแดงหลวง

(Red Kidney Bean, Phaseolus vulgaris)
ถั่วแดง ที่เมล็ด แก่เหมือน รูปไต และ มีสีแดง น่าจะเริ่ม มีมาตั้งแต่ สมัยอินคา แล้ว แพร่ กระจาย สู่อินเดียนแดง ในทวีปอเมริกา 

 เป็นพืช เศรษฐกิจ ทำรายได้ ดี แก่เกษตรกร ตลาดกว้างขวาง และคาดว่า จะเป็นสินค้า ส่งออก ได้ดี

ช่วงปลูก ที่เหมาะสม คือ เดือน ก.ย. - ต.ค.

 เก็บเกี่ยวได้ ราวเดือน ม.ค. - ก.พ. ซึ่งอากาศแห้ง เมล็ด คุณภาพดี

บริเวณที่ ผลิตถั่วแดงหลวง ได้ผลดี ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน น่าน และลำปาง

การใช้ประโยชน์ ต้มน้ำตาล เป็นของหวานต้มรวมสลัด รับประทาน เป็นผัก รวมกับ อาหารฝรั่ง ต่าง ๆ

พันธุ์ที่ใช้ปลูก Canadian Wonder

สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับการทอผ้าด้วยมือ อยากทราบว่า

  • ภาคเหนือมี จ.?ที่เป็นแหล่งน่าศึกษา
  • กระบวนการผลิต
  • การศึกษาที่ผ่านมาได้ศึกษาเรื่องไหนบ้าง

 

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท