ไทยทรงดำ 2


คนไทยด้วยกัน

 

 

                                                       

 

การแต่งกายของไทยทรงดำ

การแต่งกายของชาวไทยทรงดำ   แต่งกายด้วยผ้าสีดำเป็นพื้น  ตามปรกติฝ่ายชายจะสวมกางเกงแค่เข่าเรียกว่า " ซ่วงก้อม"  ใส่เสื้อค่อนข้างรัดรูป     ยาวถึงสะโพกแล้วผ่าปลายทั้งสองข้าง    แขนยาวเป็นกระบอกถึงข้อมือติดกระดุมเงินอย่างถี่ ๆ      ตั้งแต่คอถึงเอว  เสื้อชนิดนี้เรียกว่า  เสื้อก้อมหรือเสื้อไทย  ถ้าไปในงานที่เป็นพิธีการจะสวมกางเกงขายาวเรียกว่า  ซ่วงฮี     และใส่เสื่อตัวยาวมีลายปักประดิษฐ์ ตามแบบเฉพาะของตนเอง  เรียกว่า  เสื้อฮี  

ฝ่ายหญิงตามปรกติสวมเสื้อก้อมติดกระดุมเงิน  ถ้าเป็นงานพิธีจะสวมเสื้อฮี      ผ้าซิ่นที่ใช้นุ่งมีลักษณะเฉพาะคือพื้นดำสลับลาย เส้นสีขาวครามและมีวิธีนุ่งผ้าซิ่นของชาวไทยทรงดำผิดแปลกไป  คือใช้มุมผ้าทางซ้ายและขวาทบกันแล้วหักพับลง  คาดด้วยเข็มขัด  ตรงกลาง แหวกเป็นฉาก    ทรงผมของผู้หญิงนิยมเกล้ามวยซึ่งมี  2  แบบ  คือผู้ที่อยู่ในวัยสาว  จะเกล้าผมที่เรียกว่า ขอดซอย  แต่ถ้าพ้นวัยสาวจะเกล้า แบบ  ปั้นเกล้า  เป็นการแบ่งแยกวัยวุฒิ 

 ประเพณีของไทยทรงดำ

ประเพณีเสนเฮือนหรือประเพณีเซ่นผีเรือน   เนื่องจากชาวไทยทรงดำ  นับถือผีบรรพบุรุษ    เพราะเชื่อว่าถ้าได้ เซ่นผีบรรพบุรุษแล้ว     ผีบรรพบุรุษจะมาปกป้องรักษาลูกหลานเครือญาติให้เกิดความสุขความเจริญ     จึงได้เชิญผีบรรพบุรุษมาไว้บนเรือน      ในห้องที่เรียกว่า   "กะล้อห่อง"   มุมหนึ่งของเสาบ้านในห้องนั้นเป็นที่เซ่นไหว้ผีเรือนทุกๆ 10  วัน  เรียกว่า  ป้าดตง  โดยมีแก้วน้ำ  และชาม ข้าว    วางอยู่เป็นประจำ

ประเพณีเที่ยวขวง  ( โอ้สาว )   คำว่า “ ขวง ” หมายถึงสถานที่แห่งหนึ่งในลานบ้าน  มักยกเป็นแคร่    ซึ่งยามกลางคืนใน ฤดูว่างงานจากการทำนา   สาว ๆ ประจำหมู่บ้านกลุ่มหนึ่ง (  ถ้าหมู่บ้านใหญ่มีสาวมากก็แบ่งเป็นหลายกลุ่มที่เป็นบ้านใกล้เรือนเคียง และตกลงกันว่าจะใช้สถานที่บ้านของใครเป็น  “ ขวง ” ) ประมาณ 3 – 4 คนขึ้นไป  มานั่งรวมกัน  ทำงานฝีมือผู้หญิง   เช่น  ปั่นด้าย    ปักหน้าหมอน เป็นต้น    เริ่มนั่งขวงประมาณ   ๒๐.๐๐ น.  การนั่งขวงเป็นประเพณีมาแต่เดิม     เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องนุ่งห่มอย่างหนึ่ง   และเพื่อเปิดโอกาสหนุ่มสาวในการเลือกคู่ครอง

ประเพณีเล่นคอน( อิ้นคอน )  เป็นประเพณีการเล่น ( ร้องรำ ขับ ขับคล้าย ๆ ขับเสภา) แต่หางเสียงเนิบฟังทอด ๆ   กว่าเซิ้งเอ่วและโอ้สาวอย่างหนึ่ง   มักเริ่มต้นตั้งแต่เดือนห้าขึ้นหนึ่งค่ำเป็นต้นไป  และจะเลิกเล่นคอนต่อเมื่อหมอผีประจำหมู่บ้านกำหนดให้ชาวบ้านเลี้ยงศาลเจ้า      ประจำหมู่บ้านล่วงไปแล้ว เมื่อเริ่มย่างเข้าเดือนห้า    หนุ่ม ๆ ต่างตำบล  ( ตำบลเดียวกันจะเที่ยวเล่นคอนในหมู่บ้านของตนนั้นไม่นิยมกระทำกัน )    มักจะรวมพวกของตนเป็นกลุ่ม ๆ ประมาณ ๕–๑๐ คนขึ้นไป ซึ่งในจำนวนนั้นจะต้องมีหมอแคน ( คนเป่าแคน ) หมอลำ( คนร้องผสมแคน ) หมอขับ   ( คนร้องเพลงระหว่างที่เล่นคอน ) ไปด้วย   การแต่งกายขณะเล่นคอน ( เฉพาะคนที่ทอดช่วง ) ทั้งชายหญิง นิยมใส่เสื้อฮี  

 

หมายเลขบันทึก: 249033เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2009 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ได้รับความรู้ดีคะ ของใกล้ตัวนี้พี่น้องไทยด้วยกัน

ขอสนับสนุนงานนี้ด้วยคน

ที่สุพรรณบุรีก็มีไทยทรงดำมากนะครับ

ขยายความ ไทยทรงดำอีกนิดค่ะ เพราะหาอ่านตอน 1 ไม่ได้ แต่ชุดที่สวมดูคุ้นเคยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณคุณ รัชดาวัลย์ สว่างรัตน์ มากครับที่แวะอ่านทั้งสองแห่ง

ไทยทรงดำในเมืองไทยมีมากนะครับกระจายตามเขตภาคกลาง

และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีอย่างเหนียวแน่นครับ

ขอบคุณคุณ จรัล . สร้อยสุพรรณ ครับ เรามาช่วยกันสนับสนุนอนุรักษ์ ชนเผ่าไทยด้วยกันนะครับ เวลาทางจังหวัดหลายจังหวัดจัดงานจะนำวัฒนธรรมประเพณีไทยทรงดำมาจัดแสดงเสมอๆ ครับ

คุณ คุณน้อยหน่า ครับ

ผมขอเรียนว่า ไทยทรงดำ 1 นั้น อยู่ที่นี่ครับ

http://gotoknow.org/blog/allthai/248180

ตอนแรกผมไปตั้งหัวเรื่องเป็น "ลาวโซ่ง"

คำว่า ลาวโซ่ง เป็นคำชาวบ้านที่เขาเรียกกันมาตั้งแต่สมัยผมเป็นเด็ก

กาลต่อมาทางราชการก็ตั้งคำว่า "ไทยทรงดำ" มาแทนคำว่าลาวโซ่งครับ

ขอบคุณมากครับที่สนใจติดตามอ่าน

สวัสดีครับ คุณศุภฤกษ์ วงษ์สมาน

  • แวะมาอ่านดูไทยดำ
  • ได้ความรู้ดั่งเดิมของไทยดำ ปัจจุบันยังมีอยุ่ไหมครับ

น่าสนใจมากคะ

ได้รับความรู้ถึงวิถีชีวิตเผ่าไทยที่เป็นคนไทยด้วยกันคะ

มาชม

น่าสนใจ มีสาระดีนะครับ

นครปฐมก็มีค่ะที่ ต.สระกะเทียม อ.เมืองและอ.ดอนตูมค่า...

เจ้าของบ้านไม่อยู่หรือคะ..ก๊อกๆๆๆๆ

คุณ เหรียญชัย เหรียญชัย มาวงษ์ ครับ

  • ขอบคุณมากครับที่สนใจชนเผ่าไทย ไทยทรงดำก็คือคนไทยครับ
  • ปัจจุบันนี้ไทยทรงดำยังมีอยู่ทั่วไปครับ ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดีครบถ้วนทุกอย่าง
    ปัจจุบันไทยทรงดำกระจายกันอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายแห่งได้แก่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร เลย กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ชุมพรและสุราษฏร์ธานีครับ

     

คุณ ตรรกะนนท์ ครับ ถ้าคุณอยู่ไม่ไกลจาก กทม. อย่างที่ จ.เพชรบุรีอยากจะสัมผัสไทยทรงดำ ที่อ.เขาย้อยมีชุมชนไทยทรงดำอยู่มากครับ แถวๆบางเค็มก็มีมากครับ ขึ้นมาหน่อยก็แถว จ. นครปฐม ต.สระกระเทียม หมู่ 9 ทั้งหมู่เลยครับ ที่ อ.ดอนตูมและ อ. กำแพงแสนก็มีมากครับ

 

ขอบคุณ คุณ  ตรรกะนนท์ มากครับที่สนใจแวะมาดูวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของไทยทรงดำ ซึ่งเป็นชาวไทยด้วยกัน

สวัสดีครับ

 

  แวะมาอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ "ไทยทรงดำ"

  เพิ่มพูความรู้ดี ครับ

☺  ตัวหนังสือเล็กไปหน่อย...แบบว่า ๆ ผ่านโลกมานาน...อิอิ

☺  ขอบคุณที่แวะไปเยือนบล็อก ครับผม

..............................................................................................

อรุณสวัสดิ์ครับ คุณ augustman

  • ไทยทรงดำทุกวันนี้ยังคงเอกลักษณ์ของตนเองอย่างเหนียวแน่นนะครับ
  • ตัวหนังสืออาจเล็กไปบ้าง เพราะผมไม่มีลูกเล่นที่จะทำให้ใหญ่ได้ครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาอ่าน
  • ขอขอบคุณอาจารย์  umi  มากๆครับ
  • ผมชอบอ่านข้อเขียนของอาจารย์
  • หมู่นี้อาจารย์เขียนข้อบันทึกบ่อยนะครับ

 

 

  • ยินดีที่ได้รู้จักครับคุณอ้อยเล็ก
  • คุณมีความสามารถในเชิงวรรณศิลป์ ผมเข้าไปอ่านมาแล้วครับ
  • ขอบคุณมากครับที่เข้ามาทักทาย

แวะมาทักทายและอ่านสาระดีๆค่ะ

เป็นซ่งเหมือนกันนะแต่ดูจะงงกับเชื้อชาติของตนเองเพราะพ่อไม่ได้สอนสักเท่าไหร่พ่อมาอยู่กับแม่ในสังคมคนจีนเลยไม่รู้จะพูดซ่งกับใคร เราเลยรับแต่วัฒนธรรมจีนของแม่มากกว่า แต่ตัวณัชชา เองชอบในประเพณีของซ่งนะแต่ก็งงงงงงงทำตัวไม่ถูกตอนอยู่กับญาติฝ่ายพ่อที่เป็นซ่งดูเราแปลกๆไม่หล่อหลอมเหมือนญาติทางพ่อ ตอนเรียนโทก็คิดทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับประวัติซ่งนี่แหละแต่เราเรียน บริหารเลยอดทำเพราะมันไม่ตรงกับที่เรียนมาใครมีข้อมูลประวัติเจ๋งก็ส่งmailมาให้เราอ่านบ้างเด้อ ขอบคุณล่วงหน้า

สวัสดีครับท่าน ศุภฤกษ์เพราะการศึกษาแบบ"บ้าใบ ไกล้บ้าน "ทำให้ลูกหลานไม่ห่วงถิ่น  ลืมรากเหง้า และผู้เฒ่าก็ละเลยการต่อเชื่อมให้ความรักความหวงแหนในบรรพบุรุษ และบรรพสตรีของตนเองอ่อนแอครับท่าน

  • ตามมาอ่านเรื่อ
  • คนไทยด้วยกัน
  • จะนับถือศาสนาใดๆ
  • แต่งชุดไหน
  • ก็คนไทยเหมือนกัน

สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์ วงษ์สมาน

ขอบพระคุณมากๆที่แวะไปทักทายนะครับ ^^

ดีจังเลยครับบันทึกนี้ นี่ถ้าเซิร์ชกูเกิ้ลนะเจอปั๊บเลย อิอิ เรื่องไทยทรงดำ ;) ชอบคำสำคัญมากนะครับ...คนไทยด้วยกัน ^_^

อุดรฯบ้านผมมีชุดประจำทรงใดหนอ?

มาชม

น่าสนใจประเพณีของเผ่าชนไทยของเรานะครับ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้..

 ประเพณีของไทยทรงดำ

ขอบคุณมากค่ะ

ฅนซงดำ(อ.บึงนาราง จ.พิจิตร)

ขอขอบพระคุณ คุณศุภฤกษ์ วงษ์สมานมากค่ะที่ให้ความสำคัญกับลาวซ่ง

ดิฉันก็เป็นลาวซ่งเหมือนกัน

ภูมิใจค่ะที่ได้เกิดเป็นลูกหลานลาวซ่ง

ขอบอกว่าเลือดแท้ค่ะ ดิฉันอยู่ บ้านหนองบัวคำ ต.ห้วยแก้ว อ.บึงนาราง จ.พิจิตร

ยังคงยึดถือประเพณีเดิมอยู่ค่ะ อ้ายอู่ เอ็มอู้ ปลูกฝังลูกหลานดี

ไม่มีใครลืมตัวค่ะ

คนซ่งที่สุราษฎร์ก็มีเยอะมาจากเพชรบุรีพี่น้องชาวซ่งช่วยกันสืบสานประเพณีของเรานะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท