AAR การประชุมให้ข้อเสนอแนะต่อข้อเสนอโครงการวิจัยเรื่อง ตัวบ่งชี้คุณธรรมและจริยธรรม


         การประชุมนี้จัดโดยศูนย์คุณธรรม  เมื่อวันที่ 11 เม.ย.49   หัวหน้าโครงการวิจัยคือ ศ. กิตติคุณ ดร. นงลักษณ์  วิรัชชัย

   

บรรยากาศห้องประชุม 

ทีมนักวิจัย 

เป้าหมายในการเข้าร่วมประชุมของผม
1. ต้องการทำความเข้าใจโครงการวิจัยให้ชัดขึ้น
2. ต้องการเรียนรู้ว่านักการศึกษาเขามองการพัฒนาและใช้ตัวชี้วัดคุณธรรมและจริยธรรมอย่างไร

สิ่งที่ได้มากกว่าที่คาดหมาย
1. ได้เห็นว่ามีแนวทางวิจัยและพัฒนาเรื่องตัวชี้วัดคุณธรรมจริยธรรมหลายระดับ   ทั้งในเชิงภาพใหญ่ (macro) เพื่อใช้เป็นดัชนีบอกการเปลี่ยนแปลงระหว่างปีในทำนอง GDP   บอกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจและในเชิงภาพย่อยที่เป็นประเด็นวิชาการ   หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยจะต้องชัดเจนว่าตนเองต้องการ "ผลผลิต" อะไร   เอาไปทำอะไร
2. ได้พบผู้ใหญ่และกัลยาณมิตรหลายท่าน เช่น  ท่านอมเรศ  ศิลาอ่อน,  รศ. ประภาภัทร  นิยม,  ดร. เจือจันทร์  จงสถิตย์อยู่,  ศ. สุมน  อมรวิวัฒน์  เป็นต้น
3. ได้ความรู้ว่า  คำว่า integrity ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย   แต่มีในภาษาแขกว่า อวิโรธนัง   เป็นธรรมตัวที่ 10 ในทศพิธราชธรรม   แปลว่าถ้ารู้ว่าผิดจะไม่มีวันทำ
4. ได้เข้าใจเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในหลากหลายมิติ   หลากหลายมุมมองยิ่งขึ้น   รวมทั้งโจทย์เชิงภาพใหญ่ที่มองเป้าหมายของคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นของคนในสังคมที่แตกต่างหลากหลายด้านศาสนาและวัฒนธรรม
5. ได้เรียนรู้ข้อจำกัดของการค้นหาความรู้จากเอกสารโดยใช้คำหลัก (key word)   ควรค้นจากเรื่องราวของคนที่มีคุณธรรมจริยธรรม   แล้วนำมาตีความเอาเอง
6. ได้เรียนรู้ข้อจำกัดในการวิจัยสิ่งที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงมากอย่างคุณธรรมจริยธรรม
7. ได้ยืนยันความเชื่อของผมว่าเรื่องคุณธรรมจริยธรรมต้องวิจัยและพัฒนาบนฐานของการปฏิบัติเป็นหลัก   ไม่ใช่บนฐานของความรู้สึกนึกคิดเป็นหลัก

สิ่งที่ได้น้อยกว่าที่คาดหมาย
1. ผู้บริหารของศูนย์คุณธรรมเข้ามาร่วมอภิปราย/สรุปน้อยไปหรือแทบไม่มีเลย
2. มีการมองโครงการนี้เป็นการวิจัยมากไป   ผมมองเป็นโครงการพัฒนามากกว่า

คำแนะนำให้ปรับปรุงหากจะมีการประชุมแบบนี้อีก
         ผู้บริหารของศูนย์คุณธรรมน่าจะแสดงบทบาทเป็น active participant มากกว่านี้

สิ่งที่ผมจะกลับไปทำ
         จะให้ความร่วมมือกับทีมวิจัยหากจะมีการใช้ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นไปหา Best Practice ในโรงเรียน (หรือชุมชน/องค์กรอื่น) นำมา ลปรร. เพื่อทำความเข้าใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมชัดขึ้น   และเพื่อขยายผล สคส. ยินดีใหความร่วมมือด้านเครื่องมือ KM

วิจารณ์  พานิช
 11 เม.ย.49

หมายเลขบันทึก: 24639เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2006 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท