๑. สื่อเพื่อพัฒนาเครือข่ายวิจัยกับกลุ่มปัจเจกและองค์กรท้องถิ่น


สื่อ ภาษาศิลปะ และทักษะการถ่ายทอด เป็นตัวแปรและเครื่องบ่งชี้เชิงคุณภาพ ในการดำเนินโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งเน้นการสร้างความตื่นตัวของพลเมืองและการมีส่วนร่วมที่พลเมืองจะสามารถกำกับกระบวนการต่างๆให้สนองตอบต่อสิ่งที่ตนเองต้องการในทุกระยะ (Citizen control and Participatory Management Research)ที่สำคัญ และมีความหมายต่อการทำงานของเราเป็นอย่างยิ่ง

       ผมลงไปประสานการวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต กับกลุ่มคนในพื้นที่ 8 จังหวัดของลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง โดยมีพื้นที่สำหรับประสานงานให้เป็นเป้าหมายการวิจัย 17 ชุมชนเทศบาล กระบวนการแต่เดิมนั้น ได้ส่งเอกสารโครงการและหนังสือติดต่อ  รวมทั้งโทรศัพท์ประสานงาน  ทั้งโทรเองและผู้ช่วยนักวิจัยช่วยกันโทร จากนั้น ก็นัดแนะกันเพื่อลงพื้นที่ ขอแนะนำโครงการพร้อมทั้งสอดส่องหาตัวจริงเสียงจริงตามแนวคิดที่เราต้องการ เพื่อชวนเชิญร่วมมาร่วมทำงานและเรียนรู้การจัดการเรื่องส่วนรวมด้วยกัน  ผลการลงสนามรอบแรก แทบจะเรียกได้ว่าไม่ได้อะไรเลย  เอกสารโครงการที่ส่งไปล่วงหน้ารอบแรกนั้น เป็นเครื่องมือและวิธีประสานงานที่แทบจะไม่ช่วยในการริเริ่มงานกับพื้นที่เลย เหตุผลที่ได้จากตามลงไปดูก็คือ  การถ่ายเอกสาร มันทำให้การประสานงานของท้องถิ่นลำบากมาก  เขาประสานงานต่อไม่ไหว มันเป็นภาระเกินไป  และในส่วนที่ทำหนังสือเวียนไปแล้ว การอ่านเอกสารโครงการก็เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว  คนเขาเลยไม่อ่าน

         พวกเราปรับตัวและทำเครื่องมือใหม่ขึ้นมาทันทีในการลงสนามวันรุ่งขึ้นในอีกพื้นที่หนึ่ง    ผมเอาเอกสารโครงการมาทำเป็นแผ่นภาพ  วาดและเขียนประเด็นย่อๆ อย่างสวยงาม บนแผ่นโปสเตอร์แผ่นใหญ่สุด โดนพื้นที่ตั้งคำถามตรงไหน และสื่อสารกันไม่รู้เรื่องตรงไหน ก็จะหยิบประเด็นนั้นๆขึ้นมาทำก่อน  เสร็จแล้วก็วางแผนลงพื้นที่อีกรอบ  พอเสร็จ  งานทบทวนข้อมูลสนามข้อหนึ่งที่เพิ่มขึ้นจากการสรุปข้อมูลสนามทั่วไป จึงได้แก่การหารือกันเพื่อรวบรวมประเด็นสื่อสารและการชี้แจงต่อชุมชน ที่ประสบในแต่ละพื้นที่ เสร็จแล้วก็ทำสื่อและวางแผนการสื่อสารโครงการวิจัยสำหรับพื้นที่ที่จะลงในลำดับต่อไปอีก ผลการทำงานสนามจึงคืบหน้าไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ

        พอประสานงานสนามในรอบแรกเสร็จ  พบกลุ่มปัจเจกและเครือข่ายองค์กรท้องถิ่น ที่มีแนวโน้มว่าพอจะมีแนวคิดสอดคล้องกันและพอจะคุยกันรู้เรื่อง อาจจะพัฒนาโครงการด้วยกันในลำดับต่อไปได้ ก็พบว่า  ได้ก่อเกิดผลพลอยได้เกิดขึ้นมาด้วยเป็นกองพะเนินเลยคือ สื่อ แผนการลงพื้นที่ และการออกแบบเวทีสำหรับการสื่อสารโครงการวิจัยกับพื้นที่

        ประสบการณ์ครั้งนี้ ให้บทเรียนที่มีคุณค่ามากอย่างยิ่งว่า สื่อ ภาษาศิลปะ และทักษะการถ่ายทอด เป็นตัวแปรและเครื่องบ่งชี้เชิงคุณภาพ ในการดำเนินโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม  ซึ่งเน้นการสร้างความตื่นตัวของพลเมืองและการมีส่วนร่วมที่พลเมืองจะสามารถกำกับกระบวนการต่างๆให้สนองตอบต่อสิ่งที่ตนเองต้องการในทุกระยะ (Citizen control and Participatory Management Research)  ที่สำคัญ และมีความหมายต่อการทำงานของเราเป็นอย่างยิ่ง

หมายเลขบันทึก: 24096เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2006 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เข้ามาแวะอ่านบันทึกนี้เพราะชื่อ Blog น่าสนใจ

คุณวิรัตน์ก็มีประวัติและผลงานที่น่าชื่นชมมาก

 สุดท้ายอ่านบันทึกนี้แล้วน่าสนใจค่ะ...เป็นประสบการณ์ที่ดีคนที่ทำงานภาคสนามต้องศึกษา  ...การลงพื้นที่แม้จะส่งเอกสารโครงการและหนังสือติดต่อ  รวมทั้งโทรศัพท์ประสานงานก็ยังไม่ work น่าเป็นข้อคิดที่ดีโดยเฉพาะการทำงานกับชุมชน

ขอบคุณคุณน้องมากครับ
ขอขอบคุณ คุณวิรัตน์ิ์  คำศรีจันทร์ ที่ให้ความกรุณาเข้าร่วมกับ ชุมชน: ศูนย์รวมความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท