AAR Workshop KM ที่ชัยนาท


อย่าถวิลหาแต่ความชัดเจน เพราะหลายเรื่องเป็นไปไม่ได้ที่จะชัดเจน ยิ่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบันนี้ และให้ถือเสมอว่า ความคลุมเครือเป็นบ่อเกิดของการเรียนรู้และความรู้

          มีการทำAARหลังทำกิจกรรมกลุ่มKMระยะที่ 1 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาทเมื่อ 26-27 มีนาคม 2549     

         หลังจากเสร็จกิจกรรมก่อนแยกย้ายกันกลับได้มีการจัดกิจกรรมทบทวนหลังปฏิบัติของกิจกรรมทั้งสองวันนี้ แต่ก็ไม่ได้ใช้คำถามอย่างที่ควรจะทำคือ

  1. วัตถุประสงค์ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้หรือความคาดหวัง
  2. อะไรที่ได้เกินกว่าความคาดหวัง
  3. อะไรที่ได้น้อยกว่าความคาดหวัง
  4. ควรปรับปรุงอะไรบ้างในครั้งต่อไป
  5. กลับไปแล้วจะทำอะไรต่อ

               โดยได้ให้อิสระในการพูดของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนเลยว่ารู้สึกอย่างไร อยากบอกอะไร อยากฝากอะไรหรือแม้แต่อยากบ่นอะไรก็ได้ ผมเองก็ทำตัวเป็นคุณลิขิต บันทึกที่ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคนพูดออกมา ดังนี้

  1. ยังมองเป้าของKMไม่ชัด ยังไม่รู้ว่าทำอะไร แต่รู้จักKMแล้ว
  2. สุดท้ายแล้วทำKMจะไปให้ถึงแค่ไหนขององค์กร คิดว่าไม่ได้แยกKMออกมาทำอย่างเดียว ควรทำไปกับอย่างอื่นด้วย น่าจะมาทำSWOTกันใหม่ เราน่าจะดึงเอาสิ่งที่ทำอยู่แล้วออกมาด้วย
  3. สิ่งที่ต้องทำต่อหลังจากทราบเส้นทางKMแล้ว 1) เราต้องไปดูว่าเส้นทางKMของเราควรเป็นอย่างไร 2) เราต้องมาดูว่าใครควรจะเป็นคุณ...อะไร ทั้งการผลักดันระบบใหญ่ ระบบย่อย
  4. คงต้องมีคณะบุคคลมาดูว่าอะไรมีอยู่แล้ว อะไรต้องสร้างใหม่
  5. วันแรกไม่เข้าใจว่าวัตถุประสงค์คืออะไร วันนี้ชัดขึ้นมานิดหนึ่ง แต่ที่จะทำคือต้องไปดูว่าที่เขียนมานี้ จะทำอะไรได้บ้างในปีนี้
  6. มองว่า LKASA Model เป็นมุมมองเชิงระบบ จะสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลเสริมพลังซึ่งกันและกัน
  7. ถ้าเราเรียนรู้พัฒนางานก็คือKMใช่ไหม ยังดูสะเปะสะปะอยู่เลย
  8. KMคือการบริหารจัดการเมื่อเราไม่อยู่ คนอื่นก็ทำแทนเราได้ จากสองวันที่ผ่านมา จะทำอะไร เป้าหมายของตนเองพอทำได้ แต่เป้าหมายของภาพรวมทั้งวิทยาลัยยังมองไม่ออก หลายอย่างยังรู้สึกว่าเป็นการเขียนกระดาษ มองไม่เห็นการปฏิบัติที่ชัดเจน รู้สึกว่าโครงการเยอะมากอยู่แล้ว
  9. หลายคนอาจจะกังวลเพราะดูว่าโครงการมีเยอะมาก แต่เราต้องมาทบทวนดูว่าอะไรคือเรื่องสำคัญ อาจต้องมาดูเรื่องที่วิทยาลัยเรามีความโดดเด่น ถ้าบอกว่าทุกงานต้องไปทำKMรู้สึกว่าจะยาก
  10. KVกับVisionของวิทยาลัยใช้อันเดียวกันเลยไหม ถ้าแยกกันจะยุ่งยากไป ควรเป็นอันเดียวกัน ไม่เข้าใจเรื่องตัวชี้วัด อะไรOutput outcome process ซึ่งของวิทยาลัยมีเยอะมาก
  11. เรามีทุกอย่างแล้ว เราทุ่มไปเต็มร้อยแล้ว  พอมาทำKMทีหลัง ก็เลยรู้สึกว่ามันมีอะไรมากขึ้นไปอีกเกิน 100
  12. ควรเริ่มที่ฐาน ดีกว่าการเอาต้นไม้ใหญ่มาปลูกหรือฝัง จะไม่แข็งแรง เข้าใจModel แต่มองว่าความยากอยู่ที่คนในองค์กร ที่จะหลอมรวมกันเป็นหนึ่งได้
  13. แนวคิดในการทำไม่ยาก แต่ยากที่การสร้างจิตสำนึกของคน
  14. ถึงไม่รู้ ก็รู้สึกดี เจอตอเยอะ โดยเฉพาะ ต ที่ 1 คือตัวเราเอง  มีอัตตาเยอะ อยากเอามาผนวกกับของเราให้โดดเด่นมากขึ้น
  15. สองวันที่ได้ ทำให้เรียนรู้ระบบการทำKM แต่เราต้องมาคุยกันว่าจะทำเรื่องอะไร เป็นอันดับต่อไป
  16. สิ่งที่ได้เกินกว่าที่ตั้งใจไว้คือมาตรฐานที่ 5 ของมาตรฐานการประกันการศึกษา  เพราะเรายังไม่ชัด แต่วันนี้ชัดมากขึ้น เข้าใจมากขึ้น  เป็นคำถามกับพวกเราหลายๆคน ว่าจะทำเฉพาะองค์กรใหญ่หรือต้องทำในแผนกย่อยๆด้วย ซึ่งคิดว่าทุกคนในแผนกต้องทำ แต่อาจไม่ได้ทำวันนี้
  17. ควรมีการจัดทำValue chain แบบที่อาจารย์นำมาเสนอตัวอย่างให้ดูเพื่อมองความเชื่อมโยงของกระบวนการต่างๆของวิทยาลัย

               ส่วนไหนที่เป็นข้อสงสัยหรือคำถาม ผมก็ได้อธิบายให้เข้าใจ ซึ่งจะเห็นว่าสิ่งที่ผู้ร่วมกิจกรรมพูดมาจะมีทั้งสิ่งที่เป็นคำถามและคำตอบ สิ่งที่หวัง สิ่งที่ได้ สิ่งที่ได้เกินและสิ่งที่ไม่ได้อยู่แล้ว

ข้อควรปรับปรุงในครั้งนี้

  1. ไม่ชี้แจงวัตถุประสงค์การทำกิจกรรมให้ชัด
  2. ไม่เข้าใจแนวคิด แนวทางและแนวทำKM เพราะไม่ได้ปูพื้นฐานความเข้าใจครบทุกคน หรือแม้แต่คนที่ฟังแล้วสองรอบก็ยังบอกว่า ฟังดูเหมือนง่าย แต่ทำยาก
  3. หัวหน้างานที่มีส่วนในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาเข้าร่วมประชุมน้อยไป จึงขาดความคิดหลากหลาย เวลาระดมสมองจึงดูเหมือนยาก
  4. การทำการจัดการความรู้แบบบูรณาการ ตามLKASA Model จะมีความซับซ้อนมากและเป็นเรื่องใหญ่ ทำให้ทำกิจกรรมได้ยาก เข้าใจยาก คนทำจะดูเป็นเรื่องยากเพราะมันเกี่ยวพันไปทุกส่วนขององค์การ

สิ่งที่วิทยาลัยจะต้องทำต่อก่อนมีการจัดกิจกรรมในครั้งที่สองคือ

  1. นำเอาแนวทางกิจกรรมทั้ง 5 ขั้นตอน ไปเปรียบเทียบกับแผนเดิมหรือดูว่าอะไรที่มีอยู่แล้วในวิทยาลัย จะได้เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติ
  2. ทบทวนเป้าหมายขององค์การ ตัวชี้วัดและทบทวนเป้าหมายของการนำการจัดการความรู้มาใช้
  3. ทำความเข้าใจหลักการและแนวความคิดที่แท้จริงของKM
  4. สรุปแผนที่ควรมีของวิทยาลัย พร้อมทั้งนำแผนไปฝังอยู่ในแผนเดิมที่มีอยู่
  5. วางระยะการทำKMในวิทยาลัยเป็นกิจกรรมระยะยาว

ข้อคิดที่ฝากไว้กับทีมงานที่เข้าร่วมกิจกรรม

  1. KMกับQAกับงานประจำเป็นเรื่องเดียวกัน แต่จะเป็นเรื่องเดียวกันได้เราต้องเข้าใจแนวคิดที่แท้จริงของทั้งสองเรื่องก่อน จึงจะเอามาบูรณาการกันได้ เพราะต้องมีการตัดแต่ง เสริมต่อให้เป็นเรื่องเดียวกัน
  2. อย่าถวิลหาแต่ความชัดเจน เพราะหลายเรื่องเป็นไปไม่ได้ที่จะชัดเจน ยิ่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบันนี้ และให้ถือเสมอว่า ความคลุมเครือเป็นบ่อเกิดของการเรียนรู้และความรู้
  3. อย่าเริ่มที่คนอื่น จงเริ่มที่ตัวเอราเองก่อน อย่าเริ่มที่ไกลตัว จงเริ่มที่ใกล้ตัวก่อน
  4. จงเชื่อมั่นในตัวผู้บริหารและไว้ใจในตัวผู้ปฏิบัติ
คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 24094เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2006 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท