การจัดการความรู้ ในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 6


สำหรับเรื่อง QA ซึ่งเป็นเรื่อง AAR ขององค์กร ปีละครั้ง จึงเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

ติดตามตอน 5 ได้ที่ "Click" 

ติดตามตอน 4 ได้ที่ "Click" 

ติดตามตอน 3 ได้ที่ "Click" 

ติดตามตอน 2 ได้ที่ "Click"

ติดตามตอน 1 ได้ที่ "Click"

เครื่องมือวิเคราะห์ผลหลังปฏิบัติ (ทันที)  AAR = After action review

เครื่องมือนี้ ใช้งานง่าย  ควรฝึกใช้บ่อยๆ โดยเฉพาะใช้กับตนเอง ใช้กับทุกเรื่อง ทุกการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน นับตั้งแต่ตื่นนอนก็ยังได้

เช่นคืนก่อนเข้านอน  กะว่าเช้าจะตื่นสัก 6 โมง (สัญญากับตัวเอง)

รุ่งเช้า  ตื่นนอนตอน 6 โมง จริงรึเปล่า? (ถามตัวเอง)

ตอบ "ตื่นแล้วตอน 6 โมง  แต่ยังนอนบิดขี้เกียจ จนกระทั่ง 7 โมง  ถึงค่อยลุกจากที่นอนจริงๆ"

"ทำไม ถึงเป็นอย่างนั้น?"  (ถามตัวเอง)

ตอบ  "เพราะหลงติดความสบายบนที่นอนอันอบอุ่น อยากฝันต่อ"

แล้วทำอย่างนี้ ดีมั้ย?

ไม่ดี เพราะไปทำงานสาย ทำงานค้างไม่ทัน

แล้วจะทำอย่างนี้อีกมั้ย?

สัญญาว่าจะไม่ทำ และจะใช้ตัวช่วย ด้วยการนอนแต่หัวค่ำ

แค่นี้เองง่ายๆ ค่ะ  กับ คำถาม 4-6 ข้อประมาณนี้ โดยข้อสุดท้าย ตอบแล้วต้องทำจริงด้วยนะค่ะ

สรุป  สูตร AAR

1) เราวางแผนกันไว้อย่างไร อะไรคือจุดหมายของการปฏิบัติการ
2) เมื่อเราดำเนินงานไประยะหนึ่งแล้ว สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งใดเป็นไปตามที่วางแผนไว้/ทําไมเป็นเช่นนั้น
3) สิ่งใดไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้/ทำไมเป็นเช่นนั้น
4) เรามีปัญหาอะไรบ้าง
5) เราน่าจะทำสิ่งใดให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้บ้าง
6) ในการดำเนินงานครั้งต่อไป สิ่งใดที่เราจะปฏิบัติให้แตกต่างไปจากครั้งที่ผ่านๆ มาบ้าง ฯลฯ

ดังนั้น  สำหรับเรื่อง QA ซึ่งเป็นเรื่อง AAR ขององค์กร ปีละครั้ง จึงเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด  ต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ถ้าหน่วยย่อยในองค์กร หรือบุคลากรทุกคน ทำ AAR งานของตนเองเป็นประจำอยู่แล้ว องค์กรก็สบาย ภาพรวมก็ดี มีพัฒนาในทุกๆด้าน

สำหรับระบบการประกันคุณภาพของ มน. ที่ผ่านมา 5 ปี  ( ปี 44 - 48) ถูกบังคับไว้ว่า นอกจากจะประเมินตนเอง (ทำรายงานประเมินตนเอง SAR = Self Assessment Report)  แล้ว  ต้องให้บุคคลภายนอกมาตรวจประเมิน (ทำรายงานประเมินตรวจสอบ CAR = Check Assessment Report) ด้วย และต้องประเมิน ทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพของ สกอ.  กับ 8 มาตรฐานของ สมศ.  โดยเกณฑ์การให้คะแนน มี 6 ระดับ คือ 0 - 5 

คะแนนที่ได้ในแต่ละปีจะช่วยให้เห็นพัฒนาการได้ และเปรียบเทียบกับหน่วยงานประเภทเดียวกันได้

หมายเลขบันทึก: 24090เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2006 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท