ตัวอย่างงานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล


การวิจัยที่มุ่งพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล หากพัฒนาเสร็จแล้วเครื่องมือเหล่านี้ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ก็น่าเสียดายงบประมาณ เวลา หรือแรงกายในการวิจัย

        ผมรวบรวมข้อมูลตัวอย่างงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลหรือมุ่งวัดตัวแปรต่าง ๆ จากการสัมมนานักศึกษาที่เรียนวิชา 24702 การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการวิจัยและประเมิน ในหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการประเมินการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ณ โรงแรมโฆษิต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.2552 โดยเห็นว่า “น่าจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อเพื่อนครู-อาจารย์ ที่อาจเลือกเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ในอนาคต”  หรือ “จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อการวิจัยต่าง ๆ ของตนเอง ในอนาคต” (จะได้ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ ต่อไป)

        1. การสร้างแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพบพระ จังหวัดตาก(วรพงษ์  กาแก้ว;2548 ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์)

        2. การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสุราษฎร์ธานี(แววมณี บุตรเรืองศักดิ์;2549 ม.สุโขทัยธรรมาธิราช)

        3. การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสงขลา(รำพู ปัตระวรรณ,ม.ทักษิณ)

        4. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้สึกและเหตุผลการแสดงพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันทางสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(สิเนหา  เมืองมูล, ม.เชียงใหม่)

        5. การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม(นิติกานต์ สารมาคม 2546, ม.มหาสารคาม)

        6. การพัฒนาแบบประเมินสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เขตการศึกษา 2(จันทนา  พลรักดี,2546  ม.ทักษิณ)

        7. การพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสงขลา(เสาวภา สุวรรณวงศ์,2549  ม.ทักษิณ)

        8. การพัฒนาเครื่องมือประเมินจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา(สนิท  ยุจันทร์,2550 ม.ทักษิณ)

        9. การพัฒนาแบบทดสอบวัดเชาว์อารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสงขลา(โสภิณ วัฒนเมธาวี,2545  ม.ทักษิณ)

       10. การพัฒนาแบบประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู(ปุญชรัสมิ์  เต็มชัย,2546)

       11. การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิยดา  ซ่อนขำ,2551  ม.ศรีนครินทร์วิโรฒ)

       12. การสร้างเครื่องมือวัดจริยธรรมของผู้ปกครองและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น(เทพวิกรณ์ มณีวัง, ม.เชียงใหม่)

       13. การพัฒนาแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามแนวทางการวัดและประเมินผลที่เน้นการปฏิบัติ(ดาราพร สุวรรณศรี,  ม.ขอนแก่น)

        คงจะมีเครื่องมือต่าง ๆ อีกมาก ที่ครูสามารถเลือกใช้ได้ แต่ไม่ค่อยได้มีการเผยแพร่...ก็เอามาฝาก เท่าที่เจอในการสัมมนานะครับ  น่าจะเป็นประโยชน์บ้าง สนใจรายละเอียด ติดต่อกับมหาวิทยาลัยที่ผลิตผลงานวิจัย หรือผู้วิจัยเอาเองนะครับ

         (ขอขอบคุณลูกศิษย์ ป.โท ที่เรียนวิชา 24703 การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการวิจัยและประเมิน ศูนย์สงขลา ที่เข้าร่วมสัมมนา ณ โรงแรมโฆษิต อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทุกคน ที่เป็นผู้รวบรวมและนำผลงานวิจัยเหล่านี้มาเสนอในการสัมมนา และนำมาซึ่งการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนครู-อาจารย์ หรือนักวิจัยทั่วไป ในครั้งนี้)

 

หมายเลขบันทึก: 238986เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ยินดีครับ ครูอ้อย   ไม่แน่ใจว่าการนำมาเสนอในลักษณะนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครู-อาจารย์ หรือสมาชิกหรือไม่ เพียงใด

เป็นประโยชน์มากครับอาจารย์

  • ขอบคุณมากครับ อ.พิสูจน์ ที่เข้ามายืนยันว่าเป็นประโยชน์
  • ต่อไปจะนำมาแจ้งเพื่อบอกแหล่งเรียนรู้เป็นระยะ ๆ ครับ (ก็ต้องอาศัยลูกศิษย์ ป.โท  ป.เอก ที่คอยค้นคว้าแล้วนำมาเสนอในห้องเรียน   แต่ที่ผ่านมา รู้สึกเสียดาย   เห็นว่า หลังจากลูกศิษย์นำมาเสนอและอาจารย์ผู้สอนรับทราบ หรือให้ความเห็นเพิ่มเติมแล้ว น่าจะนำสิ่งที่เห็นว่าดี ๆ มาบอกต่อกับครูหรือสมาชิกอื่น ๆ ต่อไป)
ครูสุวรรณี นครศรีฯ

ดีมากๆ เลยค่ะอาจารย์อยากได้มาก ๆเลยค่ะ

พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท