ชั่วโมงทองของห้องฉุกเฉิน


กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

 

วลามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ( Acute  coronary  syndrome :  ACS ) ที่ห้องฉุกเฉิน   การที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มาโรงพยาบาลเร็วหลังมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกและทีมดูแลผู้ป่วยให้การตอบสนองอย่างรวดเร็วตามมาตรฐานสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้  ผู้ป่วย  ST  elevation  acute  coronary  syndrome ที่ไม่มีข้อห้ามในการให้ยาละลายลิ่มเลือดควรได้ยาภายใน 30 นาทีตั้งแต่เข้ามาถึงโรงพยาบาล  ถ้าให้ยาภายใน 1-3 ชั่วโมงจะลดอัตราการเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 50  และจะไม่มีประโยชน์ถ้าให้หลัง 12 ชั่วโมงไปแล้ว   ผู้ป่วย Non ST  elevation myocardial infarction  และ Unstable  angina ที่มีอาการไม่คงที่ ( Hemodynamic  unstable ) ควรได้รับการรักษาโดยวิธีขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนัง ( Percutaneous  coronary  intervention  : PCI ) ภายใน 90 นาที ลดอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยที่ 30 วันได้ ร้อยละ 34 โดยมีอุบัติการณ์ของเลือดออกในสมองเพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น  เป็นต้น 

 

ารพยาบาลผู้ป่วย

1.        ประเมินระดับความรู้สึกตัว สัญญาณชีพ ลักษณะผิวหนัง  O2 sat  ประเมินอาการเจ็บหน้าอกอาการ   อาการแสดง    และบันทึกระดับความรุนแรง   แรกรับ- ทุก15  นาที

2.        ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(12 Lead EKG)ใน 10 นาทีหลังจากมาถึงห้องฉุกเฉิน  

3.        ติดตามประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(Monitor EKG )ทุก 15 นาที

4.        จัดท่าให้นอนศีรษะสูง (30-45 องศา ) Absolute  bedrest

5.        ให้ออกซิเจนตามแนวทางการรักษา

6.        ให้สารละลาย 5DS หรือ NSS   500  cc  KVO  แขนซ้าย ใช้เข็ม Medicult เบอร์  20

7.        เจาะ Lab และส่งสิ่งส่งตรวจ    CBC  BS BUN Cr  ELECTROLYTE  CK-MB  TROP-T  Ca  Mg  HDL  LDL  TG  CHOLESTEROL

8.        Anti  HIV  G/M  PRC 2 u และ Hepatitis  profile  

9.        ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา  ประเมินผลข้างเคียงของยาและบันทึก

บรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก

-       ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Isordil 5 mg SL ห่างกันทุก 3-5 นาที 3 ครั้ง   (ประเมินBPก่อนให้ยาทุกครั้ง BPควรมากกว่า 90/60 mmHg)

-       ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Morphine 2-4 มก dilute vein  slow  (ประเมินBPก่อนให้ยาทุกครั้ง BPควรมากกว่า 90/60 mmHg)

-       ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา  NTG vein  drip   (ประเมินBPก่อนให้ยาทุกครั้ง BPควรมากกว่า 90/60 mmHg)  

ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาต้านเกร็ดเลือด เช่น

-       ASA gr  v 1 เม็ด   เคี้ยวกลืนทันที (กรณียังไม่ได้รับยามาก่อน)

-       Clopidogrel หรือ Plavix (75 mg) 8 Tab  stat  (กรณียังไม่ได้รับยามาก่อน  หรือกรณีได้ยาไม่ครบต้องให้เพิ่มจนครบ8 Tab  )

ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอื่นๆ  เช่น

-       Omeprazol 40 mg  vein

-       N-acetylcysteine กรณีผู้ป่วย GFR < 30

8.        ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจพิเศษ เช่น ทำ Echocardiogram  

9.        Prep  skin

10.     ติดตามผล LAB   EKG   CXR  และรายงานให้แพทย์ทราบ

11.     สังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น  เช่น   หัวใจเต้นผิดจังหวะ     ช็อคจากกล้ามเนื้อหัวใจ    หัวใจวาย

12.     เตรียมยาและอุปกรณ์ในการช่วยชีวิตฉุกเฉินให้พร้อมใช้งาน

13.     รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ  เช่น  เจ็บแน่นหน้าอก  หอบเหนื่อย  SBP>180 or < 90  mmHg  , HR >100 or < 50 ครั้ง/ นาที  , RR> 25   or < 10 ครั้ง/ นาที  EKG ผิดปกติ

14   ดูแลผู้ป่วยและญาติให้สามารถเผชิญกับภาวะวิตกกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย

สร้างสัมพันธภาพที่ดี เปิดเผย แนะนำตนเอง สร้างความไว้ใจแก่ผู้ป่วยและญาติ ประเมินอาการ อาการแสดงความวิตกกังวลและให้ความช่วยเหลือ  ประเมินความต้องการของผู้ป่วยและญาติและตอบสนองตามความเหมาะสม  เจ้าหน้าที่หรือให้ญาติอยู่เป็นเพื่อนและปลอบโยนเมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกจนกว่าผู้ป่วยอาการจะดีขึ้น ดูแลความสุขสบายทั่วไปและช่วยเหลือผู้ป่วย  โดยเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้ป่วย  ให้ญาติสามารถเข้ามีเยี่ยมตามความเหมาะสมและทั้งนี้ต้องไม่รบกวนการพักของผู้ป่วยจนเกินไป

15    ให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมแก่ผู้ป่วยหรือญาติ

-       อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบทุกครั้งก่อนให้การรักษาพยาบาล  ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและประเมินการรับรู้ข้อมูลอย่างมีระบบ และบันทึกในบันทึกทางการพยาบาลเพื่อให้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการให้ข้อมูลที่มากเกิน           

-        เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัย  

-       แนะนำผู้ป่วยและ/หรือญาติ   เกี่ยวกับ    การใช้สิทธิ์เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

-       การถูกส่งต่อไปทำ PCI ที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์  การเตรียมย้ายเข้ารักษาต่อที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ICU/CCU หรือหอผู้ป่วย            

 

ังนั้น พยาบาลหน่วยผู้ป่วยนอกฉุกเฉินจึงมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ( Acute  coronary  syndrome ) ตามแนวทางปฏิบัติในชั่วโมงแรกที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลก่อนส่งต่อไปที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์และหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต  โดยพยาบาลต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรค  การดูแลช่วยเหลือด้านร่างกาย จิตใจ  จิตวิญญาณ สังคม  มีการวางระบบ  สร้างเครือข่าย  การสื่อสาร  เตรียมบุคลากร  อุปกรณ์ให้พร้อม เพื่อให้ชั่วโมงนี้เป็นชั่วโมงของผู้ป่วยที่จะได้รับการดูแลที่มีคุณภาพสูงสุด

 

 

 

ารดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉิน

ู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มาใช้บริการที่หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉินแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ  ดังนี้

1.      ผู้ป่วยACS ที่มีอาการคงที่ เช่น รู้สึกตัวดี  สัญญาณชีพ  O2  sat   ปกติ

2.      ผู้ป่วย ACS ที่มีอาการไม่คงที่ เช่น ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง  ความดันโลหิตต่ำ   O2  sat  ต่ำ  หัวใจเต้นผิดจังหวะ  ช็อค  หัวใจวาย เป็นต้น การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภาวะวิกฤตฉุกเฉินจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างรีบด่วน   

 

      เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลผู้ป่วยจะได้รับการดูแลตามแนวทางปฏิบัติโดยพยาบาล คัดแยกจะทำหน้าที่ประเมินอาการและคัดแยกผู้ป่วยเข้าบริเวณห้องฉุกเฉินทุกรายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมสุขภาพ  จากนั้นพยาบาลห้องฉุกเฉินจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงหรือท่าที่ผู้ป่วยสบาย  ซักประวัติ   วัดสัญญาณชีพ  O2  sat   เตรียมออกซิเจนให้ผู้ป่วยตามอาการ  รายงานให้แพทย์อายุรกรรม ทราบและตรวจอาการภายใน 4  นาที  พยาบาลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที  เจาะเลือดส่ง Cardiac enzyme และ Lab อื่นๆ  ปรึกษาแพทย์หัวใจและหลอดเลือดเพื่อพิจารณาเปิดหลอดเลือด ภายใน 15 นาที  เมื่อแพทย์ตัดสินใจเปิดเส้นเลือดโดยวิธี  PCI ที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์   เพราะรักษาช้ามีค่าเท่ากับไม่ได้รักษา  เวลาจึงมีผลสำคัญมากในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ พยาบาลห้องฉุกเฉินต้องเตรียมผู้ป่วยให้เสร็จภายใน 90±30 นาที  

หมายเลขบันทึก: 238237เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2009 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มาเป็นกำลังใจให้พยาบาลค่ะ ขอบคุณค่ะ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง โรคภัยหนีหายนะคะ

คุณพยาบาลคงเหนื่อยนะคะ..แวะมาให้กำลังใจค่ะ...

ตามท่านพี่ทั้งสองมาติดๆ ค่ะ

P 1. krutoi                     P 2. add       

 

มาให้กำลังใจพี่ดอกไม้   

เราต่างให้กำลังใจกันและกัน

และมาชวนไปดูบรรยากาศ

ยังไม่ตก............แต่อยากเก็บ


 กาแฟนะคะ..ทร จะได้หายง่วงค่ะ
เห็นกาแฟแก้วนี้แล้วคิดถึงความรัก ความอ่อนหวาน สดชื่นและหายห่วงเป็นปลิดทิ้ง พร้อมจะสู้งานใหม่แล้วจ้า


 Ki(K)BuM
กุ๊กกิ๊กมาเยี่ยมเยียน ฝากหัวใจไว้ให้ดูแลนะจ๊ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทาย ถ้ามีทีมทีเข้มแข็ง รับรองคนไข้ปลอดภัย

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายและขอบพระคุณที่ให้ความรู้ในวันนั้น

แค่คิดถึง

PH

ทำไมต้อง door to EKG ภายใน 10 นาที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท